ASTV ผู้จัดการรายวัน- กระทรวงอุตสาหกรรมแจงกรณีดึง พืชสมุนไพร 13 ชนิดเข้าควบคุมเป็นวัตถุอันตรายผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการฯที่มี 9 กระทรวงหลักร่วมพิจารณา โต้สาธารณสุขรับรู้แล้ว วอนประชาชนอย่าตระหนก ควบคุเฉพาะผู้นำเข้า ส่งออก จำหน่ายเพื่อนำไปใช้ป้องกัน กำจัด ทำลายควบคุมแมลง วัชพืช ที่ต้องแจ้งต่อกรมวิชาการเกษตรเท่านั้นเพื่อป้องกันนำสารเคมีอื่นๆปะปนจนเป็นอัตรายต่อบุคคล พืช และสัตว์
นายรัชดา สิงคาลวณิช อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้เห็นชอบให้ประกาศบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชที่ไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเฉพาะที่นำไปใช้ป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุมแมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืชได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คึ่นฉ่าย ชุมเห็นเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก ว่า การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปตามความประสงค์ของกรมวิชาการเกษตร เนื่องจากมีการร้องเรียนให้มีการควบคุมเนื่องจากเกรงว่าจะมีการนำสารเคมีอื่นมาปะปนแล้วเป็นอันตรายต่อบุคคล พืชและสัตว์ รวมถึงสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนอย่าได้ตระหนกเพราะจะไม่เกี่ยวข้องกับการนำไปประกอบอาหาร หรือ ยา แต่อย่างใด
“ระเบียบดังกล่าวทำให้ผู้ที่ต้องนำเข้า ส่งออก จำหน่าย เฉพาะนำไปใช้ป้องกัน กำจัด ทำลายควบคุมแมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต้องแจ้งข้อเท็จจริงตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดจะไม่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรมแต่อย่างใดเพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการดูแลจากนี้คือกรมวิชาการเกษตร ”นายรัชดากล่าว
สำหรับสาเหตุที่กำหนดบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายดังกล่าวเกิดจากกรมวิชาการเกษตรไม่มีกฏหมายจะควบคุมหากออกกฏหมายใหม่จะต้องใช้เวลานานจึงได้หารือและอาศัยช่องทางของพ.ร.บ.วัตถุอันตรายซึ่งกฏหมายนี้กำหนดไว้ว่าวัตถุอื่นๆที่เป็นอัตรายต่อบุคคล พืช สัตว์ ก็สามารถใช้กฏหมายนี้ได้ และตามพ.ร.บ.ฯจะมีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง 9 กระทรวงได้แก่ กลาโหม เกษตรและสหกรณ์ คมนาคม กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พลังงาน มหาดไทย วิทยาศาสตร์ สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมและยังมีอนุกรรมการกลั่นกรองอีก ดังนั้นทุกขั้นตอนทุกฝ่ายย่อมรับทราบแล้วโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขไปชี้แจงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
ทั้งนี้การประกาศบัญชีดังกล่าวจัดระดับการควบคุมเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 หมายถึงการดูแลต่ำสุดเพราะอันตรายน้อยซึ่งหลังจากนี้กรมวิชาการเกษตรจะต้องไปออกรายละเอียดเงื่อนไขและคุณสมบัติตามที่กระทรวงเกษตรฯประกาศโดยรายละเอียดสอบถามได้ที่สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร 0 25797986 ประกอบกับกระทรวงเกษตรฯจะมีการแถลงรายละเอียดในวันนี้(12ก.พ.) อีกครั้ง
นายรัชดา สิงคาลวณิช อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้เห็นชอบให้ประกาศบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชที่ไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเฉพาะที่นำไปใช้ป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุมแมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืชได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คึ่นฉ่าย ชุมเห็นเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก ว่า การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปตามความประสงค์ของกรมวิชาการเกษตร เนื่องจากมีการร้องเรียนให้มีการควบคุมเนื่องจากเกรงว่าจะมีการนำสารเคมีอื่นมาปะปนแล้วเป็นอันตรายต่อบุคคล พืชและสัตว์ รวมถึงสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนอย่าได้ตระหนกเพราะจะไม่เกี่ยวข้องกับการนำไปประกอบอาหาร หรือ ยา แต่อย่างใด
“ระเบียบดังกล่าวทำให้ผู้ที่ต้องนำเข้า ส่งออก จำหน่าย เฉพาะนำไปใช้ป้องกัน กำจัด ทำลายควบคุมแมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต้องแจ้งข้อเท็จจริงตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดจะไม่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรมแต่อย่างใดเพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการดูแลจากนี้คือกรมวิชาการเกษตร ”นายรัชดากล่าว
สำหรับสาเหตุที่กำหนดบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายดังกล่าวเกิดจากกรมวิชาการเกษตรไม่มีกฏหมายจะควบคุมหากออกกฏหมายใหม่จะต้องใช้เวลานานจึงได้หารือและอาศัยช่องทางของพ.ร.บ.วัตถุอันตรายซึ่งกฏหมายนี้กำหนดไว้ว่าวัตถุอื่นๆที่เป็นอัตรายต่อบุคคล พืช สัตว์ ก็สามารถใช้กฏหมายนี้ได้ และตามพ.ร.บ.ฯจะมีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง 9 กระทรวงได้แก่ กลาโหม เกษตรและสหกรณ์ คมนาคม กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พลังงาน มหาดไทย วิทยาศาสตร์ สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมและยังมีอนุกรรมการกลั่นกรองอีก ดังนั้นทุกขั้นตอนทุกฝ่ายย่อมรับทราบแล้วโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขไปชี้แจงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
ทั้งนี้การประกาศบัญชีดังกล่าวจัดระดับการควบคุมเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 หมายถึงการดูแลต่ำสุดเพราะอันตรายน้อยซึ่งหลังจากนี้กรมวิชาการเกษตรจะต้องไปออกรายละเอียดเงื่อนไขและคุณสมบัติตามที่กระทรวงเกษตรฯประกาศโดยรายละเอียดสอบถามได้ที่สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร 0 25797986 ประกอบกับกระทรวงเกษตรฯจะมีการแถลงรายละเอียดในวันนี้(12ก.พ.) อีกครั้ง