ปชป.ยื่นหนังสือนายกฯ จี้ รมว.อุตสาหกรรมยกเลิกประกาศ "13 พืชอันตราย" เชื่อมีเงื่อนงำ เอื้อข้าราชการใช้อำนาจมิชอบ หนุนกลุ่มทุนเกษตร ด้าน"ชาญชัย" รับลูกเตรียมเชิญ รมว.อุตฯ- ขรก. ชี้แจงต่อ กมธ.ป.ป.ช. ฝ่าย นายกฯ สั่ง"กอร์ปศักด์" คุยอุตฯจัดการ ไม่นานรู้ผล
จากกรณีกระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 กำหนดให้ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี 13 ชนิด ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คื่นฉาย ชุมเห็ดเทศ ดอกดึง และหนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข. นั้น ได้สร้างความสับสนให้กับประชาชน และมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า การออกประกาศฉบับนี้ น่าจะมีเงื่อนงำ หรือความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับผลประโยชน์ของกลุ่มทุนด้านเกษตร ซ่อนเร้นอยู่
วานนี้ (12 ก.พ.) สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ พล.อ.วินัย สมพงษ์ นางรัชดาภรณ์ แก้วสนิท และนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ร่วมกันแถลงข่าว ว่าได้ยื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม เพื่อเรียกร้องให้ทบทวน และยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับดังกล่าว
เนื่องจากเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 65 (สิทธิชุมชน), มาตรา 79 (อนุรักษ์ปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่น) มาตรา 82 (แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) และ มาตรา 85 (ทรัพย์สินทางปัญญา และรักษาพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น) อีกทั้งส่งผลกระทบต่อวิถีการผลิตทางเกษตร อุตสาหกรรมครัวเรือน และอุตสาหกรรมการส่งออก ทำลายและตัดตอนองค์ความรู้ในวิถีชาวบ้านที่สั่งสมและมีวิวัฒนาการมาช้านาน แต่ในทางกลับกัน ประกาศดังกล่าว ส่งผลดีต่อเกษตรเคมี และระบบทุนเกษตรผูกขาด แบบครบวงจร
พ.อ.วินัย กล่าวว่า จากการเข้าพบนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทบทวนในเรื่องดังกล่าวซึ่งนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพก็เห็นด้วย และได้โทรศัพท์ถึง นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขในเรื่องดังกล่าว
ขณะที่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การออกประกาศดังกล่าว จะกลายเป็นเครื่องมือให้ข้าราชการใช้อำนาจในทางที่มิชอบ เพราะมีการตีความอย่างกว้าง โดยประกาศดังกล่าว จะต้องมีต้นสายปลายเหตุ ขณะนี้แต่ละฝ่ายต่างออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้อง เรื่องนี้รัฐมนตรีมีความบกพร่องซึ่งหากไม่ดำเนินการแก้ไข ทางคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ รัฐสภา จะเชิญ รมว.อุตสาหกรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงว่า การออกประกาศมีผลประโยชน์ใดแอบแฝง ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า เรื่องนี้จะมีหน่วยงานระดับกรม ของกระทรวงสาธารณสุข ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะอยู่แล้ว แต่กลับมีการประกาศโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการทำลายกระทรวงสาธารณสุข อย่างชัดเจน
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าได้มอบหมายให้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ไปคุยกับทางกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ทั้งนี้ยอมรับว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อ่อนไหว กระทบกับเกษตรกร ทำให้มีปัญหาอยู่เป็นระยะๆ ในแง่ของวัตถุที่ถูกกำหนดโดยอุตสาหกรรม โดยเกษตรบ้าง จึงต้องขอให้นายกอร์ปศักดิ์ไปดูแล้ว และขอให้ชี้แจงมา
ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่า มีฝ่ายการเมืองมีผลประโยชน์กับพวกยาฆ่าแมลงนั้น ก็กำลังหาข้อมูลเพื่อชี้แจง ซึ่งคงไม่ช้าเพราะไม่ใช่เรื่องซับซ้อน
**จี้ยกเลิกประกาศฉบับนี้โดยด่วน
ด้านนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ต้องยกเลิกประกาศฉบับนี้ เพราะหากยังคงอยู่ จะเป็นปัญหาเรื่องภาพลักษณ์ของภูมิปัญญาชาวบ้าน เรื่องเกษตรอินทรีย์ทั้งประเทศ ส่วนที่มีการอ้างกันว่า ผลิตภัณฑ์ของเกษตรอินทรีย์ไม่ได้มาตรฐาน จึงต้องออกประกาศเพื่อเข้ามาควบคุมการใช้ภูมิปัญญาระดับชาวบ้านที่ทำใช้เอง หรือขายกันเองในกลุ่มเล็กๆ ถือว่าไม่ถูกต้องภาครัฐควรเข้าไปดูแลการสารสกัดในระดับอุตสาหกรรมใหญ่ โดยให้สารสกัดเหล่านี้อยู่ในบัญชีที่ 2 แทน
"หากกรมวิชาการเกษตรต้องการควบคุมพืชสมุนไพรที่แปรรูปเป็นสารกำจัด ควบคุม โรค และแมลงศัตรูพืชเพื่อการค้าจริงตามที่ได้แถลง ก็ควรจะเน้นการควบคุมอุตสาหกรรมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพราะเป็นต้นเหตุปัญหาสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ อีกทั้งมีเม็ดเงินมหาศาลโดยในปี2551 มียอดการจำหน่าย 1.8 หมื่นล้านบาท ไม่ใช่เหวี่ยงแหคลุมสมุนไพรทั้งหมดเช่นนี้ และควรระบุให้สารสกัดของสมุนไพรที่จะนำมากำจัดศัตรูพืชเหล่านั้น อยู่ในวัตถุอันตราย บัญชีที่ 2 เพราะบัญชีที่ 2 คือ การต้องขออนุญาตก่อนดำเนินการ แต่บัญชีที่ 1 ที่กรมวิชาการเกษตรอ้างว่า ขึ้นสมุนไพร 13 รายการนั้น เป็นการจดแจ้งให้ทางการทราบภายใต้กฎระเบียบเท่านั้น" นายวิฑูรย์กล่าว
นายวิฑูรย์ กล่าวด้วยว่า ก่อนอื่นคณะกรรมการวัตถุอันตราย จะต้องถอนประกาศของคณะกรรมการวัตถุอันตรายในเรื่องดังกล่าวก่อน และกรมวิชาการเกษตรก็ถอนประกาศอีกรายการ ที่กำลังดำเนินการร่างอยู่ด้วยเช่นกัน รวมทั้งหากจะดำเนินการทำประกาศที่ต้องการควบคุมสารสกัดจากสมุนไพรในอุตสาหกรรม จะต้องมีกระบวนการที่โปร่งใส โดยมีคณะกรรมการที่มาจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง 5 หน่วยงานตามที่ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม 2551 ระบุไว้ ดำเนินการทำประกาศใหม่ด้วยความมีธรรมาภิบาล
จากกรณีกระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 กำหนดให้ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี 13 ชนิด ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คื่นฉาย ชุมเห็ดเทศ ดอกดึง และหนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข. นั้น ได้สร้างความสับสนให้กับประชาชน และมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า การออกประกาศฉบับนี้ น่าจะมีเงื่อนงำ หรือความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับผลประโยชน์ของกลุ่มทุนด้านเกษตร ซ่อนเร้นอยู่
วานนี้ (12 ก.พ.) สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ พล.อ.วินัย สมพงษ์ นางรัชดาภรณ์ แก้วสนิท และนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ร่วมกันแถลงข่าว ว่าได้ยื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม เพื่อเรียกร้องให้ทบทวน และยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับดังกล่าว
เนื่องจากเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 65 (สิทธิชุมชน), มาตรา 79 (อนุรักษ์ปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่น) มาตรา 82 (แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) และ มาตรา 85 (ทรัพย์สินทางปัญญา และรักษาพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น) อีกทั้งส่งผลกระทบต่อวิถีการผลิตทางเกษตร อุตสาหกรรมครัวเรือน และอุตสาหกรรมการส่งออก ทำลายและตัดตอนองค์ความรู้ในวิถีชาวบ้านที่สั่งสมและมีวิวัฒนาการมาช้านาน แต่ในทางกลับกัน ประกาศดังกล่าว ส่งผลดีต่อเกษตรเคมี และระบบทุนเกษตรผูกขาด แบบครบวงจร
พ.อ.วินัย กล่าวว่า จากการเข้าพบนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทบทวนในเรื่องดังกล่าวซึ่งนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพก็เห็นด้วย และได้โทรศัพท์ถึง นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขในเรื่องดังกล่าว
ขณะที่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การออกประกาศดังกล่าว จะกลายเป็นเครื่องมือให้ข้าราชการใช้อำนาจในทางที่มิชอบ เพราะมีการตีความอย่างกว้าง โดยประกาศดังกล่าว จะต้องมีต้นสายปลายเหตุ ขณะนี้แต่ละฝ่ายต่างออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้อง เรื่องนี้รัฐมนตรีมีความบกพร่องซึ่งหากไม่ดำเนินการแก้ไข ทางคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ รัฐสภา จะเชิญ รมว.อุตสาหกรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงว่า การออกประกาศมีผลประโยชน์ใดแอบแฝง ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า เรื่องนี้จะมีหน่วยงานระดับกรม ของกระทรวงสาธารณสุข ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะอยู่แล้ว แต่กลับมีการประกาศโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการทำลายกระทรวงสาธารณสุข อย่างชัดเจน
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าได้มอบหมายให้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ไปคุยกับทางกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ทั้งนี้ยอมรับว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อ่อนไหว กระทบกับเกษตรกร ทำให้มีปัญหาอยู่เป็นระยะๆ ในแง่ของวัตถุที่ถูกกำหนดโดยอุตสาหกรรม โดยเกษตรบ้าง จึงต้องขอให้นายกอร์ปศักดิ์ไปดูแล้ว และขอให้ชี้แจงมา
ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่า มีฝ่ายการเมืองมีผลประโยชน์กับพวกยาฆ่าแมลงนั้น ก็กำลังหาข้อมูลเพื่อชี้แจง ซึ่งคงไม่ช้าเพราะไม่ใช่เรื่องซับซ้อน
**จี้ยกเลิกประกาศฉบับนี้โดยด่วน
ด้านนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ต้องยกเลิกประกาศฉบับนี้ เพราะหากยังคงอยู่ จะเป็นปัญหาเรื่องภาพลักษณ์ของภูมิปัญญาชาวบ้าน เรื่องเกษตรอินทรีย์ทั้งประเทศ ส่วนที่มีการอ้างกันว่า ผลิตภัณฑ์ของเกษตรอินทรีย์ไม่ได้มาตรฐาน จึงต้องออกประกาศเพื่อเข้ามาควบคุมการใช้ภูมิปัญญาระดับชาวบ้านที่ทำใช้เอง หรือขายกันเองในกลุ่มเล็กๆ ถือว่าไม่ถูกต้องภาครัฐควรเข้าไปดูแลการสารสกัดในระดับอุตสาหกรรมใหญ่ โดยให้สารสกัดเหล่านี้อยู่ในบัญชีที่ 2 แทน
"หากกรมวิชาการเกษตรต้องการควบคุมพืชสมุนไพรที่แปรรูปเป็นสารกำจัด ควบคุม โรค และแมลงศัตรูพืชเพื่อการค้าจริงตามที่ได้แถลง ก็ควรจะเน้นการควบคุมอุตสาหกรรมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพราะเป็นต้นเหตุปัญหาสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ อีกทั้งมีเม็ดเงินมหาศาลโดยในปี2551 มียอดการจำหน่าย 1.8 หมื่นล้านบาท ไม่ใช่เหวี่ยงแหคลุมสมุนไพรทั้งหมดเช่นนี้ และควรระบุให้สารสกัดของสมุนไพรที่จะนำมากำจัดศัตรูพืชเหล่านั้น อยู่ในวัตถุอันตราย บัญชีที่ 2 เพราะบัญชีที่ 2 คือ การต้องขออนุญาตก่อนดำเนินการ แต่บัญชีที่ 1 ที่กรมวิชาการเกษตรอ้างว่า ขึ้นสมุนไพร 13 รายการนั้น เป็นการจดแจ้งให้ทางการทราบภายใต้กฎระเบียบเท่านั้น" นายวิฑูรย์กล่าว
นายวิฑูรย์ กล่าวด้วยว่า ก่อนอื่นคณะกรรมการวัตถุอันตราย จะต้องถอนประกาศของคณะกรรมการวัตถุอันตรายในเรื่องดังกล่าวก่อน และกรมวิชาการเกษตรก็ถอนประกาศอีกรายการ ที่กำลังดำเนินการร่างอยู่ด้วยเช่นกัน รวมทั้งหากจะดำเนินการทำประกาศที่ต้องการควบคุมสารสกัดจากสมุนไพรในอุตสาหกรรม จะต้องมีกระบวนการที่โปร่งใส โดยมีคณะกรรมการที่มาจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง 5 หน่วยงานตามที่ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม 2551 ระบุไว้ ดำเนินการทำประกาศใหม่ด้วยความมีธรรมาภิบาล