ASTVผู้จัดการรายวัน/ศูนย์ข่าวศรีราชา – แกนนำภาคประชาชนขีดเส้นตายรัฐบาล 24 ต.ค.ประกาศอดข้าวยอมตายนำเหยื่อมลพิษมาบตาพุดเดินเท้าเข้ากรุง พิสูจน์ความจริงใจรัฐบาลจะเลือกนายทุนหรือชาวบ้าน ลั่น 14 ต.ค. แจ้งความดำเนินคดี “รมว.อุตฯ-กรมโรงงาน-กนอ.” ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ปล่อยโรงงานฝ่าฝืนคำสั่งศาลลอบก่อสร้างต่อเนื่อง กระทรวงอุตฯ ปัดไม่มีอำนาจสั่งหยุด ภาคเอกชนลงมติยื่นอุทธรณ์ แบงก์ขู่หยุดปล่อยสินเชื่อ “อภิสิทธิ์”สั่งตรวจสอบ 500 โครงการเข้าข่าย ม.67 หรือไม่
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เปิดเผยว่า ในวันที่ 14 ต.ค.นี้ เครือข่ายฯจะไปแจ้งความที่ สภ.เมืองระยอง ให้ดำเนินคดีกับนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ที่ปล่อยละเลยให้โรงงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่โดนคำสั่งศาลปกครองกลางระงับชั่วคราว แต่กลับพบหลักฐานว่า ขณะนี้โรงงานดังกล่าวยังคงมีการก่อสร้างอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการละเมิดคำสั่งศาลฯ
นายสุทธิ เผยต่อว่า ขณะนี้ตนได้ตั้งทีมงานขึ้นมา 5 ชุด ประกอบด้วย นักวิชาการ ทนายความ และตัวแทนชาวบ้านที่ประสบปัญหา ฯลฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากสภาทนายความ ทีมนักกฎหมาย รวมทั้งสถาบันการศึกษา มาเขียนคำคัดค้านคำอุทธรณ์คดี ที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้ยื่นอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งระงับชั่วคราว 76 โครงการ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง
“คาดว่าในวันที่ 15 ต.ค.นี้จะสามารถนำคำคัดค้านยื่นต่อศาลปกครองกลางได้ และในวันเดียวกันก็จะนำเอาสำเนาบันทึกการแจ้งความจาก สภ.เมืองระยอง ที่ให้ดำเนินคดีกับ รมว.อุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ปล่อยละเลยให้โรงงานที่โดนคำสั่งศาลฯระงับชั่วคราว 76 โครงการ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลฯ เนื่องจากไปตรวจพบหลักฐานว่า ยังไม่ได้หยุดปฏิบัติงานจริง มีการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการละเมิดคำสั่งศาลฯไปยื่นต่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร. เพื่อให้ดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวด้วย” นายสุทธิ กล่าว
นายสุทธิ กล่าวต่อว่า หลังจากนั้นในวันที่ 16 ต.ค.ตนจะไปยื่นหนังสือที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช 1 ในคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ตีความให้กระทรวงอุตสาหกรรม สามารถออกใบอนุญาตประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้ และนายจักรมณฑ์ เป็นกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) นายชาญชัย และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67
จากนั้นจะไปยื่นหนังสือที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของภาครัฐในการจัดทำแผนลดและขจัดมลพิษในปี 2550 งบประมาณ 2,000 ล้านบาทเศษโดยไม่มีการชี้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายเงิน
“วันที่ 22 ต.ค.นี้ เราจะจัดทำบุญสิ่งแวดล้อมที่บริเวณชายหาดแสงจันทร์ ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง จากนั้นในวันที่ 24 ต.ค. สมาชิกเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษโรงงานอุตฯมาบตาพุด จะนัดรวมพลกันที่วัดลุ่มมหาชัยชุมพล ต.ท่าประดู่ อ.เมืองระยอง เพื่อเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯ และจะประกาศทุบหม้อข้าว หม้อแกง อดข้าวเพื่อประท้วงรัฐบาลด้วย หากมีสมาชิกล้มป่วย เป็นลม หรือเสียชีวิตในระหว่างเดินเท้าเข้ากรุง ก็จะได้เห็นธาตุแท้ของรัฐบาลว่า ท้ายสุดแล้วรัฐบาลจะเลือกชาวบ้านทีได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือเลือกกลุ่มนายทุน” นายสุทธิ กล่าว
**สภาทนายฯ แถลงโต้วันนี้
นายศรีสุวรรณ จรรยา กรรมการสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในฐานะนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ผู้ฟ้องคดีที่ 1 กับพวกรวม 43 ราย ที่ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง ให้สั่งระงับการก่อสร้าง 76 โครงการในเขตจังหวัดระยองไว้ชั่วคราวและศาลฯมีคำสั่งตามคำขอ เปิดเผยว่า วันนี้ (13 ต.ค.) เวลา 11.00 น.สภาทนายความแห่งประเทศไทย โดยนายกสภาทนายฯ พร้อมด้วยทีมทนายความที่ทำคดีนี้ จะแถลงข่าวเพื่อตอบโต้กรณีที่รัฐบาลและเอกชน ออกมาให้ข่าวมาตลอดหลังศาลปกครองกลางมีคำสั่งว่า ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความเสียหายมหาศาล ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลด้านเดียว ไม่ได้มองผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชนซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ศาลฯ มีคำสั่งดังกล่าว
นายศรีสุวรรณ กล่าวต่อว่า ขณะนี้กำลังทำหนังสือจี้ไปยังหน่วยงานผู้ถูกฟ้องว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้ระงับการก่อสร้างหรือกิจกรรมใดๆ ใน 76 โครงการหรือไม่ เพราะเห็นว่ายังมีการเดินหน้าก่อสร้างไม่หยุด ซึ่งถือเป็นการละเมิดคำสั่งศาล
**เอกชนยืนยันยื่นอุทธรณ์
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากการหารือภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลปกครองกลางกรณีระงับ 76 โครงการนั้นเอกชนที่เกี่ยวข้องได้ยืนยันที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองกลางสูงสุดขอกลับคำสั่งศาลปกครองกลางและยกคำร้องขอคุ้มครองบรรเทาทุกข์ชั่วคราวจากผู้ยื่นฟ้อง 43 รายภายในไม่เกินวันที่ 28 ต.ค. ซึ่งเป็นวันครบกำหนดให้ยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันหลังศาลฯมีคำสั่ง
“ เอกชนจะเตรียมข้อมูลเพื่อเตรียมยื่นอุทธรณ์แต่ละรายไป แต่บางรายคงจะรวมตัวกันยื่น เพราะมีหลายบริษัท เช่น เครือปตท. เครือปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งสาเหตุที่เราต้องยื่นก็เพราะเป็นผู้ที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากหากต้องถูกระงับกิจการจริง และที่ผ่านมาก็ยืนยันว่าได้ทำตามระเบียบทุกขั้นตอน” นายพยุงศักดิ์กล่าว
**ปตท.ยื่นอุทธรณ์ฯ25โครงการ
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ปตท.จะประชุมหารือภายในองค์กรเพื่อสรุปรายละเอียดของเนื้อหาที่จะนำไปเป็นข้อมูลในการยื่นอุทธรณ์กับศาลฯ ซึ่งโครงการลงทุนของปตท.มีจำนวน 25 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 1.2 แสนล้านบาท โดยจะให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรการดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะต้องชี้แจงให้ชัดเจนตามประเด็นที่ผู้ฟ้องร้องอ้างมา และคงไม่ใช่เนื้อหาที่ศาลฯ ทราบอยู่แล้วตามสื่อต่างๆ เพราะเราคงไม่ต้องการไปบีบการตัดสินใจของศาล แต่เป็นการรายงานข้อมูลที่แท้จริงในเชิงลึก
**ชาญชัยท้าฟ้องอีกก็อุทธรณ์อีก
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า กรณีที่กลุ่มเอ็นจีโอ เตรียมฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งชะลอโครงการลงทุน 500 โครงการของภาคเอกชนทั่วประเทศเป็นสิทธิของแต่ละบุคคลจะดำเนินการได้ เช่นเดียวกับกระทรวงอุตสาหกรรม ก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์เรื่องต่อศาลฯ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนสามารถดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งในที่สุดเชื่อว่าจะมีทางออกได้หากทุกฝ่ายเอาประโยชน์ชาติเป็นที่ตั้ง
สำหรับประกาศกระทรวงเกี่ยวกับกำหนด 8 กิจการที่เข้าข่ายผลกระทบรุนแรงนั้นมีผลบังคับใช้แล้วโดยยืนยันว่าได้มีการกลั่นกรองมาเป็นอย่างดีจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและหากหน่วยงานใดเห็นว่าควรจะมีมากกว่า 8 กิจการที่กำหนดก็สามารถยื่นเรียกร้องมาได้กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมที่จะดำเนินการ
**ก.อุตฯยันไม่มีอำนาจบังคับ
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)ไม่มีอำนาจไปบังคับให้ 76 โครงการหยุดกิจการได้ตามคำสั่งศาลฯเนื่องจากตามระเบียบหากโรงงานใดกระทำผิดเช่น น้ำเสีย ก็จะใช้มาตรา 37 คือสั่งให้ปรับปรุง หากเห็นว่าเพิกเฉยก็ใช้มาตรา 39 คือการหยุดชั่วคราว หรือปิดหรือการถอนใบอนุญาต แต่การระงับตามคำสั่งศาลฯไม่มีระบุในกฎหมาย ดังนั้นเรื่องนี้ทางรมว.อุตสาหกรรม ได้ชี้แจงกับภาคเอกชนไปแล้ว
**กกร.ตั้งคณะทำงานให้เป็นเอกภาพ
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าว ที่ประชุมกกร.มีมติตั้งคณะทำงานร่วม 3 สถาบัน โดยมีนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เป็นประธานคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามาบตาพุดอย่างเป็นเอกภาพมากขึ้นว่าโครงการได้ดำเนินการลงทุนภายใต้กฎหมายทั้งสิ้นและห่วงใยในสิ่งแวดล้อม
**แบงก์ขู่หยุดปล่อยกู้หากระงับ
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า หากในที่สุดศาลฯสั่งระงับ การดำเนินงาน 76 โครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจริง ยอมรับว่าสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับ 76 โครงการก็คงต้องระงับการสนับสนุนสินเชื่อทันที เพราะถือว่าไม่มีศักยภาพในการชำระหนี้ได้อีกต่อไปเพราะไม่ได้ดำเนินงานแล้ว
“กรุงไทยสนับสนุนสินเชื่อประมาณ 10 โครงการ 4 หมื่นล้านบาท โครงการส่วนอื่นๆ ก็แยกกันไปอีกเพราะทั้งหมดมูลค่าลงทุนราว 3-4 แสนล้านบาท แต่ขณะนี้ยังไม่มีการระงับ เนื่องจากหน่วยราชการยังไม่มีคำสั่งหยุดโครงการ จึงยังไม่มีผลกระทบต่อสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อ และทุกธนาคารยังคงให้เบิกเงินกู้ตามปกติ ประกอบกับผู้ลงทุนส่วนใหญ่ยังดูแลตัวเองได้” นายอภิศักดิ์กล่าว
**นายกฯ ไม่เชื่อ 500 โครงการขัด ม.67
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่เอ็นจีโอ เตรียมฟ้องศาลปกครอง กรณีที่มีอีกว่า 500 โครงการทั่วประเทศ ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ว่า หากแนวคำสั่งศาลเป็นเรื่องของทุกโครงการ หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการศาลคงมีมากกว่า 76 โครงการที่มาบตาพุดอยู่แล้ว ก็เป็นข้อกังวลอย่างหนึ่ง ตนยืนยันว่าที่รัฐบาลดำเนินการถือว่าโครงการที่ไม่เข้าข่าย มาตรา 67 วรรค 2 โดยอาศัยรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นเกณฑ์ ซึ่งในวันที่ 13 ต.ค. จะมีการหารือกันใน ครม.เกี่ยวกับแนวทางที่จะเร่งหามาตรการรองรับ
ส่วนโครงการที่เอ็นจีโอเรียกร้องมามีถึง 500 โครงการจริงหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปสำรวจตรวจสอบ ก็ไม่คิดว่าจะมีโครงการที่เป็นปัญหาถึง 500 โครงการ แต่ก็ยอมรับว่าปัญหานี้มีอยู่ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มเอ็นจีโอ ยื่นร้องต่อศาลปกครองจริง ก็คงต้องดูการวินิฉัยของศาล ก่อนที่จะมีการอุทธรณ์ไป
ส่วนจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนหรือไม่นั้น ขณะนี้เราก็พยายามทำความเข้าใจ แต่ต้องแยกกันระหว่างหน้าที่ของผ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ เมื่อศาลวินิจฉัยมาเราก็ต้องเคารพ เพราะถือว่าเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งการอุทธรณ์นั้น เพื่อทำให้ได้มาตรการและมาตฐานที่พอดี ซึ่งตนก็พยายามเชิญทุกฝ่ายมาคุยกัน และระมัดระวังไม่ให้อนุมัติอะไรที่ส่งผลกระทบ
ในส่วนของภาคเอกชนเกิดความหวั่นไหว นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เขาก็ต้องหวั่นไหว แต่เราก็ได้เชิญมาทำความเข้าใจ ไม่ได้นิ่งนอนใจ
เมื่อถามว่า ทางเครือข่ายภาคประชาชน ทวงติงมาว่า ที่ผ่านมาไม่มีการประเมินว่าความเสียหายทางทรัพยากรธรรมชาติ อาจมีมูลค่ามากกว่าทางเศรษฐกิจ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เราก็ดูแลอยู่ ในการประชุมครม.เศรษฐกิจครั้งล่าสุด ได้สั่งให้ทบทวนแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งหมด เพื่อที่จะประเมินดูว่า อะไรคือความคุ้มค่าที่สุดของประเทศ
สำหรับการปรับทิศทางอุตสาหกรรมที่ได้มอบหมายให้สภาพัฒน์ฯ นำไปพิจารณาจะส่งผลอย่างไรกับโฉมหน้าอุตสาหกรรมไทยในอนาคต นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จะต้องชี้ให้เห็นว่า หากเราปฎิเสธอุตสาหกรรมบางอย่าง เพราะคิดว่ากระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าที่เรารับได้ ผลต่อการจ้างงาน รายได้ วัตถุดิบ จะเป็นอย่างไร สามารถทดแทนได้ด้วยอุตสาหกรรมอื่นอย่างไร เช่น การท่องเที่ยว เหล่านี้คือโจทย์ที่สภาพัฒน์ต้องทำ เพื่อเป็นคำตอบในระยะยาว ซึ่งในอดีตใครสนใจที่จะลงทุนเราก็ไปเจรจา แต่เมื่อตนเข้ามาทำงาน ตนก็ไปเจรจากับต่างประเทศ เรื่องอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ซึ่งในความจริงการหาพื้นที่ที่ประชาชนยอมรับยังเป็นไปได้ยาก
**เปิดร่างแก้ไข กม.สิ่งแวดล้อมใหม่
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในการประชุมครม.วันที่ 13 ต.ค.นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จะเสนอร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ.... (กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง) มาเพื่อดำเนิน การ และขอมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่อง
ทั้งนี้ ร่างกม.ดังกล่าว เห็นควรให้รมว.ทรัพย์ ประกาศกำหนดประเภทของโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง รวมกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบ โดยประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมฯ ทรัพยากรฯ และสุขภาพประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีคณะกรรมการชำนาญการเป็นผู้พิจารณารายงานการวิเคราะห์ โดยองค์กรอิสระต้องรายงานความเห็นภายใน 90 วัน และกรณีที่องค์กรอิสระฯไม่ให้ความเห็นชอบหรือความเห็นแตกต่าง ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เสนอความเห็นกลับมาอีกครั้งต่อคณะกรรมการชำนาญการฯและให้ความเห็นนี้ให้เป็นที่สุด
รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงสาธารณสุข ให้ความเห็นว่า การกำหนดให้มีองค์กรอิสระจำนวนหลายองค์กรนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้ จึงเสนอให้มีองค์การอิสระตามกลุ่มประเภทของโครงการหรือกิจกรรมที่ประกาศตามาตรา 51/1 เพื่อให้ได้องค์ประกอบด้านองค์กรเอกชนและสถาบันการศึกษาที่สอดคล้องกับประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องพิจารณา รวมทั้งควรกำหนดแนวทางในการคัดเลือกผู้แทนขององค์กรเอกชนและสถาบันการศึกษาและแนวทางการพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมไว้ด้วย
กรณีที่องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมได้จดทะเบียนแล้ว และให้ความเห็นที่ไม่เป็นกลางหรือไม่เหมาะสม ให้อำนาจรัฐมนตรีในการเพิกถอนการจดทะเบียนได้นั้น เสนอให้กำหนดเป็นเงื่อนไขหรือมีกระบวนการพิจารณาที่ชัดเจนว่า ความห็นอย่างไรที่ไม่เป็นกลางหรือไม่เหมาะสม รวมทั้งกรณีที่องค์กรอิสระฯ ไม่ได้ให้ความเห็นภายใน 90 วัน จำนวนกี่ครั้ง จะเพิกถอนการจดทะเบียนหรือไม่ ทั้งนี้ควรกำหนดไว้ในกฏกระทรวงเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาตามเงื่อนไขที่กำหนด มิใช้ดุลยพินิจของรัฐมนตรีเท่านั้น
ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย ในหลักการร่างพ.ร.บ.นี้ และมีข้อสังเกตในร่างมาตรา 51/2 ว่า หากสามารถลดกรอบระยะเวลาลงให้น้อยกว่า 90 วันได้ก็จะเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนอีกทางหนึ่ง
ส่วน สภาพัฒน์เห็นชอบในหลักการของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ และมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1.เห็นควรให้พิจารณาแนวทางการจัดตั้งองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมโดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานรัฐ เพื่อให้องค์กรดังกล่าวมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง เหมาะสมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
2.ควรแยกบทบาทหน้าที่ของผู้แทนขององค์กรอิสระ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ออกจากการเป็นผู้จัดทำรายงานดังกล่าวอย่างเด็ดขาด โดยกำหนดเงื่อนไขของผู้แทนในองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ให้สามารถเป็นผู้จัดทำรายการดังกล่าวได้ในขณะที่ดำรงสถานะของผู้แทนฯ รวมทั้งการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากเจ้าของโครงการหรือกิจกรรมอย่างเหมาะสมเพื่อเป็นค่าตอบแทนให้แก่องค์กรอิสระนั้นเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ และกำหนดสัดส่วนเงินสนับสนุนจากภาครัฐให้ชัดเจน
3.ควรกำหนดแนวทางให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมสามารถพิจารณารายงานการวิเคราะห์ฯ ควบคู่ไปกับการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดระยะเวลาในการพิจารณาโครงการ
4.ด้านกระบวนการรับฟังของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเห็นควรให้กระทรวงทรัพย์ฯ พิจารณายกร่างหลักเกณฑ์การรับฟังความคิดเห็น โดยยึดหลักความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล และเปิดกว้างให้ผู้มีส่วนได้เสียมุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม โดยใช้ประสบการณ์ละปัญหาอุปสรรคในการรับฟังความคิดเห็นของโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมาประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อให้สามารถนำผลการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วน้สียไปเป็นข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจได้อย่างแท้จริง มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
5. เห็นควรให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพย์ฯ และกระทรวงสาธารณสุข เร่งกำหนดขอบเขตหรือนิยามขนาดและประเภทโครงการ หรือกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนอย่างรุนแรง รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอน และแนวทางปฏิบัติในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการบูรณาการการประเมินผลกระทบด้านสุขภสพ (เอชไอเอ) ไว้ในรายงานดังกล่าว เพื่อรองรับการดำเนินงานตามาตรา 51/1 ของร่างพ.ร.บ.ฯ
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เปิดเผยว่า ในวันที่ 14 ต.ค.นี้ เครือข่ายฯจะไปแจ้งความที่ สภ.เมืองระยอง ให้ดำเนินคดีกับนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ที่ปล่อยละเลยให้โรงงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่โดนคำสั่งศาลปกครองกลางระงับชั่วคราว แต่กลับพบหลักฐานว่า ขณะนี้โรงงานดังกล่าวยังคงมีการก่อสร้างอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการละเมิดคำสั่งศาลฯ
นายสุทธิ เผยต่อว่า ขณะนี้ตนได้ตั้งทีมงานขึ้นมา 5 ชุด ประกอบด้วย นักวิชาการ ทนายความ และตัวแทนชาวบ้านที่ประสบปัญหา ฯลฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากสภาทนายความ ทีมนักกฎหมาย รวมทั้งสถาบันการศึกษา มาเขียนคำคัดค้านคำอุทธรณ์คดี ที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้ยื่นอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งระงับชั่วคราว 76 โครงการ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง
“คาดว่าในวันที่ 15 ต.ค.นี้จะสามารถนำคำคัดค้านยื่นต่อศาลปกครองกลางได้ และในวันเดียวกันก็จะนำเอาสำเนาบันทึกการแจ้งความจาก สภ.เมืองระยอง ที่ให้ดำเนินคดีกับ รมว.อุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ปล่อยละเลยให้โรงงานที่โดนคำสั่งศาลฯระงับชั่วคราว 76 โครงการ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลฯ เนื่องจากไปตรวจพบหลักฐานว่า ยังไม่ได้หยุดปฏิบัติงานจริง มีการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการละเมิดคำสั่งศาลฯไปยื่นต่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร. เพื่อให้ดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวด้วย” นายสุทธิ กล่าว
นายสุทธิ กล่าวต่อว่า หลังจากนั้นในวันที่ 16 ต.ค.ตนจะไปยื่นหนังสือที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช 1 ในคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ตีความให้กระทรวงอุตสาหกรรม สามารถออกใบอนุญาตประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้ และนายจักรมณฑ์ เป็นกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) นายชาญชัย และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67
จากนั้นจะไปยื่นหนังสือที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของภาครัฐในการจัดทำแผนลดและขจัดมลพิษในปี 2550 งบประมาณ 2,000 ล้านบาทเศษโดยไม่มีการชี้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายเงิน
“วันที่ 22 ต.ค.นี้ เราจะจัดทำบุญสิ่งแวดล้อมที่บริเวณชายหาดแสงจันทร์ ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง จากนั้นในวันที่ 24 ต.ค. สมาชิกเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษโรงงานอุตฯมาบตาพุด จะนัดรวมพลกันที่วัดลุ่มมหาชัยชุมพล ต.ท่าประดู่ อ.เมืองระยอง เพื่อเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯ และจะประกาศทุบหม้อข้าว หม้อแกง อดข้าวเพื่อประท้วงรัฐบาลด้วย หากมีสมาชิกล้มป่วย เป็นลม หรือเสียชีวิตในระหว่างเดินเท้าเข้ากรุง ก็จะได้เห็นธาตุแท้ของรัฐบาลว่า ท้ายสุดแล้วรัฐบาลจะเลือกชาวบ้านทีได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือเลือกกลุ่มนายทุน” นายสุทธิ กล่าว
**สภาทนายฯ แถลงโต้วันนี้
นายศรีสุวรรณ จรรยา กรรมการสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในฐานะนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ผู้ฟ้องคดีที่ 1 กับพวกรวม 43 ราย ที่ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง ให้สั่งระงับการก่อสร้าง 76 โครงการในเขตจังหวัดระยองไว้ชั่วคราวและศาลฯมีคำสั่งตามคำขอ เปิดเผยว่า วันนี้ (13 ต.ค.) เวลา 11.00 น.สภาทนายความแห่งประเทศไทย โดยนายกสภาทนายฯ พร้อมด้วยทีมทนายความที่ทำคดีนี้ จะแถลงข่าวเพื่อตอบโต้กรณีที่รัฐบาลและเอกชน ออกมาให้ข่าวมาตลอดหลังศาลปกครองกลางมีคำสั่งว่า ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความเสียหายมหาศาล ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลด้านเดียว ไม่ได้มองผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชนซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ศาลฯ มีคำสั่งดังกล่าว
นายศรีสุวรรณ กล่าวต่อว่า ขณะนี้กำลังทำหนังสือจี้ไปยังหน่วยงานผู้ถูกฟ้องว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้ระงับการก่อสร้างหรือกิจกรรมใดๆ ใน 76 โครงการหรือไม่ เพราะเห็นว่ายังมีการเดินหน้าก่อสร้างไม่หยุด ซึ่งถือเป็นการละเมิดคำสั่งศาล
**เอกชนยืนยันยื่นอุทธรณ์
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากการหารือภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลปกครองกลางกรณีระงับ 76 โครงการนั้นเอกชนที่เกี่ยวข้องได้ยืนยันที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองกลางสูงสุดขอกลับคำสั่งศาลปกครองกลางและยกคำร้องขอคุ้มครองบรรเทาทุกข์ชั่วคราวจากผู้ยื่นฟ้อง 43 รายภายในไม่เกินวันที่ 28 ต.ค. ซึ่งเป็นวันครบกำหนดให้ยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันหลังศาลฯมีคำสั่ง
“ เอกชนจะเตรียมข้อมูลเพื่อเตรียมยื่นอุทธรณ์แต่ละรายไป แต่บางรายคงจะรวมตัวกันยื่น เพราะมีหลายบริษัท เช่น เครือปตท. เครือปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งสาเหตุที่เราต้องยื่นก็เพราะเป็นผู้ที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากหากต้องถูกระงับกิจการจริง และที่ผ่านมาก็ยืนยันว่าได้ทำตามระเบียบทุกขั้นตอน” นายพยุงศักดิ์กล่าว
**ปตท.ยื่นอุทธรณ์ฯ25โครงการ
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ปตท.จะประชุมหารือภายในองค์กรเพื่อสรุปรายละเอียดของเนื้อหาที่จะนำไปเป็นข้อมูลในการยื่นอุทธรณ์กับศาลฯ ซึ่งโครงการลงทุนของปตท.มีจำนวน 25 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 1.2 แสนล้านบาท โดยจะให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรการดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะต้องชี้แจงให้ชัดเจนตามประเด็นที่ผู้ฟ้องร้องอ้างมา และคงไม่ใช่เนื้อหาที่ศาลฯ ทราบอยู่แล้วตามสื่อต่างๆ เพราะเราคงไม่ต้องการไปบีบการตัดสินใจของศาล แต่เป็นการรายงานข้อมูลที่แท้จริงในเชิงลึก
**ชาญชัยท้าฟ้องอีกก็อุทธรณ์อีก
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า กรณีที่กลุ่มเอ็นจีโอ เตรียมฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งชะลอโครงการลงทุน 500 โครงการของภาคเอกชนทั่วประเทศเป็นสิทธิของแต่ละบุคคลจะดำเนินการได้ เช่นเดียวกับกระทรวงอุตสาหกรรม ก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์เรื่องต่อศาลฯ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนสามารถดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งในที่สุดเชื่อว่าจะมีทางออกได้หากทุกฝ่ายเอาประโยชน์ชาติเป็นที่ตั้ง
สำหรับประกาศกระทรวงเกี่ยวกับกำหนด 8 กิจการที่เข้าข่ายผลกระทบรุนแรงนั้นมีผลบังคับใช้แล้วโดยยืนยันว่าได้มีการกลั่นกรองมาเป็นอย่างดีจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและหากหน่วยงานใดเห็นว่าควรจะมีมากกว่า 8 กิจการที่กำหนดก็สามารถยื่นเรียกร้องมาได้กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมที่จะดำเนินการ
**ก.อุตฯยันไม่มีอำนาจบังคับ
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)ไม่มีอำนาจไปบังคับให้ 76 โครงการหยุดกิจการได้ตามคำสั่งศาลฯเนื่องจากตามระเบียบหากโรงงานใดกระทำผิดเช่น น้ำเสีย ก็จะใช้มาตรา 37 คือสั่งให้ปรับปรุง หากเห็นว่าเพิกเฉยก็ใช้มาตรา 39 คือการหยุดชั่วคราว หรือปิดหรือการถอนใบอนุญาต แต่การระงับตามคำสั่งศาลฯไม่มีระบุในกฎหมาย ดังนั้นเรื่องนี้ทางรมว.อุตสาหกรรม ได้ชี้แจงกับภาคเอกชนไปแล้ว
**กกร.ตั้งคณะทำงานให้เป็นเอกภาพ
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าว ที่ประชุมกกร.มีมติตั้งคณะทำงานร่วม 3 สถาบัน โดยมีนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เป็นประธานคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามาบตาพุดอย่างเป็นเอกภาพมากขึ้นว่าโครงการได้ดำเนินการลงทุนภายใต้กฎหมายทั้งสิ้นและห่วงใยในสิ่งแวดล้อม
**แบงก์ขู่หยุดปล่อยกู้หากระงับ
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า หากในที่สุดศาลฯสั่งระงับ การดำเนินงาน 76 โครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจริง ยอมรับว่าสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับ 76 โครงการก็คงต้องระงับการสนับสนุนสินเชื่อทันที เพราะถือว่าไม่มีศักยภาพในการชำระหนี้ได้อีกต่อไปเพราะไม่ได้ดำเนินงานแล้ว
“กรุงไทยสนับสนุนสินเชื่อประมาณ 10 โครงการ 4 หมื่นล้านบาท โครงการส่วนอื่นๆ ก็แยกกันไปอีกเพราะทั้งหมดมูลค่าลงทุนราว 3-4 แสนล้านบาท แต่ขณะนี้ยังไม่มีการระงับ เนื่องจากหน่วยราชการยังไม่มีคำสั่งหยุดโครงการ จึงยังไม่มีผลกระทบต่อสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อ และทุกธนาคารยังคงให้เบิกเงินกู้ตามปกติ ประกอบกับผู้ลงทุนส่วนใหญ่ยังดูแลตัวเองได้” นายอภิศักดิ์กล่าว
**นายกฯ ไม่เชื่อ 500 โครงการขัด ม.67
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่เอ็นจีโอ เตรียมฟ้องศาลปกครอง กรณีที่มีอีกว่า 500 โครงการทั่วประเทศ ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ว่า หากแนวคำสั่งศาลเป็นเรื่องของทุกโครงการ หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการศาลคงมีมากกว่า 76 โครงการที่มาบตาพุดอยู่แล้ว ก็เป็นข้อกังวลอย่างหนึ่ง ตนยืนยันว่าที่รัฐบาลดำเนินการถือว่าโครงการที่ไม่เข้าข่าย มาตรา 67 วรรค 2 โดยอาศัยรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นเกณฑ์ ซึ่งในวันที่ 13 ต.ค. จะมีการหารือกันใน ครม.เกี่ยวกับแนวทางที่จะเร่งหามาตรการรองรับ
ส่วนโครงการที่เอ็นจีโอเรียกร้องมามีถึง 500 โครงการจริงหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปสำรวจตรวจสอบ ก็ไม่คิดว่าจะมีโครงการที่เป็นปัญหาถึง 500 โครงการ แต่ก็ยอมรับว่าปัญหานี้มีอยู่ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มเอ็นจีโอ ยื่นร้องต่อศาลปกครองจริง ก็คงต้องดูการวินิฉัยของศาล ก่อนที่จะมีการอุทธรณ์ไป
ส่วนจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนหรือไม่นั้น ขณะนี้เราก็พยายามทำความเข้าใจ แต่ต้องแยกกันระหว่างหน้าที่ของผ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ เมื่อศาลวินิจฉัยมาเราก็ต้องเคารพ เพราะถือว่าเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งการอุทธรณ์นั้น เพื่อทำให้ได้มาตรการและมาตฐานที่พอดี ซึ่งตนก็พยายามเชิญทุกฝ่ายมาคุยกัน และระมัดระวังไม่ให้อนุมัติอะไรที่ส่งผลกระทบ
ในส่วนของภาคเอกชนเกิดความหวั่นไหว นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เขาก็ต้องหวั่นไหว แต่เราก็ได้เชิญมาทำความเข้าใจ ไม่ได้นิ่งนอนใจ
เมื่อถามว่า ทางเครือข่ายภาคประชาชน ทวงติงมาว่า ที่ผ่านมาไม่มีการประเมินว่าความเสียหายทางทรัพยากรธรรมชาติ อาจมีมูลค่ามากกว่าทางเศรษฐกิจ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เราก็ดูแลอยู่ ในการประชุมครม.เศรษฐกิจครั้งล่าสุด ได้สั่งให้ทบทวนแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งหมด เพื่อที่จะประเมินดูว่า อะไรคือความคุ้มค่าที่สุดของประเทศ
สำหรับการปรับทิศทางอุตสาหกรรมที่ได้มอบหมายให้สภาพัฒน์ฯ นำไปพิจารณาจะส่งผลอย่างไรกับโฉมหน้าอุตสาหกรรมไทยในอนาคต นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จะต้องชี้ให้เห็นว่า หากเราปฎิเสธอุตสาหกรรมบางอย่าง เพราะคิดว่ากระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าที่เรารับได้ ผลต่อการจ้างงาน รายได้ วัตถุดิบ จะเป็นอย่างไร สามารถทดแทนได้ด้วยอุตสาหกรรมอื่นอย่างไร เช่น การท่องเที่ยว เหล่านี้คือโจทย์ที่สภาพัฒน์ต้องทำ เพื่อเป็นคำตอบในระยะยาว ซึ่งในอดีตใครสนใจที่จะลงทุนเราก็ไปเจรจา แต่เมื่อตนเข้ามาทำงาน ตนก็ไปเจรจากับต่างประเทศ เรื่องอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ซึ่งในความจริงการหาพื้นที่ที่ประชาชนยอมรับยังเป็นไปได้ยาก
**เปิดร่างแก้ไข กม.สิ่งแวดล้อมใหม่
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในการประชุมครม.วันที่ 13 ต.ค.นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จะเสนอร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ.... (กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง) มาเพื่อดำเนิน การ และขอมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่อง
ทั้งนี้ ร่างกม.ดังกล่าว เห็นควรให้รมว.ทรัพย์ ประกาศกำหนดประเภทของโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง รวมกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบ โดยประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมฯ ทรัพยากรฯ และสุขภาพประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีคณะกรรมการชำนาญการเป็นผู้พิจารณารายงานการวิเคราะห์ โดยองค์กรอิสระต้องรายงานความเห็นภายใน 90 วัน และกรณีที่องค์กรอิสระฯไม่ให้ความเห็นชอบหรือความเห็นแตกต่าง ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เสนอความเห็นกลับมาอีกครั้งต่อคณะกรรมการชำนาญการฯและให้ความเห็นนี้ให้เป็นที่สุด
รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงสาธารณสุข ให้ความเห็นว่า การกำหนดให้มีองค์กรอิสระจำนวนหลายองค์กรนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้ จึงเสนอให้มีองค์การอิสระตามกลุ่มประเภทของโครงการหรือกิจกรรมที่ประกาศตามาตรา 51/1 เพื่อให้ได้องค์ประกอบด้านองค์กรเอกชนและสถาบันการศึกษาที่สอดคล้องกับประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องพิจารณา รวมทั้งควรกำหนดแนวทางในการคัดเลือกผู้แทนขององค์กรเอกชนและสถาบันการศึกษาและแนวทางการพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมไว้ด้วย
กรณีที่องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมได้จดทะเบียนแล้ว และให้ความเห็นที่ไม่เป็นกลางหรือไม่เหมาะสม ให้อำนาจรัฐมนตรีในการเพิกถอนการจดทะเบียนได้นั้น เสนอให้กำหนดเป็นเงื่อนไขหรือมีกระบวนการพิจารณาที่ชัดเจนว่า ความห็นอย่างไรที่ไม่เป็นกลางหรือไม่เหมาะสม รวมทั้งกรณีที่องค์กรอิสระฯ ไม่ได้ให้ความเห็นภายใน 90 วัน จำนวนกี่ครั้ง จะเพิกถอนการจดทะเบียนหรือไม่ ทั้งนี้ควรกำหนดไว้ในกฏกระทรวงเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาตามเงื่อนไขที่กำหนด มิใช้ดุลยพินิจของรัฐมนตรีเท่านั้น
ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย ในหลักการร่างพ.ร.บ.นี้ และมีข้อสังเกตในร่างมาตรา 51/2 ว่า หากสามารถลดกรอบระยะเวลาลงให้น้อยกว่า 90 วันได้ก็จะเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนอีกทางหนึ่ง
ส่วน สภาพัฒน์เห็นชอบในหลักการของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ และมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1.เห็นควรให้พิจารณาแนวทางการจัดตั้งองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมโดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานรัฐ เพื่อให้องค์กรดังกล่าวมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง เหมาะสมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
2.ควรแยกบทบาทหน้าที่ของผู้แทนขององค์กรอิสระ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ออกจากการเป็นผู้จัดทำรายงานดังกล่าวอย่างเด็ดขาด โดยกำหนดเงื่อนไขของผู้แทนในองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ให้สามารถเป็นผู้จัดทำรายการดังกล่าวได้ในขณะที่ดำรงสถานะของผู้แทนฯ รวมทั้งการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากเจ้าของโครงการหรือกิจกรรมอย่างเหมาะสมเพื่อเป็นค่าตอบแทนให้แก่องค์กรอิสระนั้นเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ และกำหนดสัดส่วนเงินสนับสนุนจากภาครัฐให้ชัดเจน
3.ควรกำหนดแนวทางให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมสามารถพิจารณารายงานการวิเคราะห์ฯ ควบคู่ไปกับการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดระยะเวลาในการพิจารณาโครงการ
4.ด้านกระบวนการรับฟังของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเห็นควรให้กระทรวงทรัพย์ฯ พิจารณายกร่างหลักเกณฑ์การรับฟังความคิดเห็น โดยยึดหลักความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล และเปิดกว้างให้ผู้มีส่วนได้เสียมุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม โดยใช้ประสบการณ์ละปัญหาอุปสรรคในการรับฟังความคิดเห็นของโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมาประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อให้สามารถนำผลการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วน้สียไปเป็นข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจได้อย่างแท้จริง มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
5. เห็นควรให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพย์ฯ และกระทรวงสาธารณสุข เร่งกำหนดขอบเขตหรือนิยามขนาดและประเภทโครงการ หรือกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนอย่างรุนแรง รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอน และแนวทางปฏิบัติในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการบูรณาการการประเมินผลกระทบด้านสุขภสพ (เอชไอเอ) ไว้ในรายงานดังกล่าว เพื่อรองรับการดำเนินงานตามาตรา 51/1 ของร่างพ.ร.บ.ฯ