"มาร์ค"รับทำงานมา 10 เดือนยังไม่สามารถยุติการเมืองที่ล้มเหลวซึ่งเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งแบ่งฝ่ายได้ ขณะเดียวกันยังอ่านเกม"นช.แม้ว" จะทำทุกวิถีทางเพื่อล้มคดี ที่ตัดสินไปแล้ว ซึ่งถ้าจะทำให้ได้ก็มีอยู่ทางเดียวคือโค่นระบอบคืนสู่อำนาจ แนะสังคมไทยรู้เท่าทัน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางไปร่วมงานเปิดตัวหนังสือ "อภิสิทธิ์คนเดิม บนเก้าอี้นายกรัฐมนตรี" เขียนโดย น.ส.สมจิตต์ นวเครือสุนทร ผู้สื่อข่าวการเมืองสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ โดยเนื้อหาในหนังสือเป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญนับตั้งแต่นายอภิสิทธิ์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึงการบริหารงานในปัจจุบัน สะท้อนถึงวิธีคิดในการ บริหารประเทศและแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
โดยนายอภิสิทธิ์ยืนยันภารกิจที่จะต้องยุติการเมืองที่ล้มเหลว เพราะเป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แบ่งภาค แบ่งสีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ยอมรับว่าหลังบริหารประเทศมานานกว่า 10 เดือน ยังมาสามารถยุติความล้มเหลวทางการเมืองได้ ซึ่งเป็นเรื่อง ที่ต้องพยายามเดินหน้าต่อไป โดยนำระบบรัฐสภาเข้ามาแก้ปัญหา ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นจุดเริ่มต้นในการลดเงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น และย้ำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องได้รับฉันทามติจากประชาชนด้วยการทำประชามติ
"ผมคิดว่าจากนี้ไปเป็นจุดที่ท้าทายเรามากทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ ถ้าเราพ้นตรงนี้ไปได้ แล้วทำให้เราเข้มแข็งขึ้น มันเป็นโอกาสใหม่สำหรับเศรษฐกิจ ถ้าเราถือโอกาสปรับในเรื่องพื้นฐานด้วย เช่น ภาคเกษตร ระบบสวัสดิการ ความไม่เป็นธรรมด้วย มันก็น่าจะแข็งแรงขึ้น ส่วนการเมืองถ้าเราผ่านจุดนี้ไปได้ ผมว่าเราก็เหมือนกับขึ้นชั้นในแง่ของความมีวุฒิภาวะในเรื่องของระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น"
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการทำงานกับพรรคร่วมรัฐบาลด้วยว่า แม้ที่ผ่านมาจะมีความไม่เข้าใจกันบ้างแต่ก็พูดคุยด้วยเหตและผล โดยยึดประโยชน์ของชาติเป็นหลัก และจะไม่ยอมให้มีการต่อรองในเรื่องผลประโยชน์ เพราะจะไม่ประนีประนอมกับการทุจริต เพียงเพื่อให้รัฐบาลอยู่รอด ซึ่งเป็นเรื่องที่พรรคร่วมรัฐบาลเข้าใจดี
"ใครที่คิดว่าการต่อรองเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์หรือโครงการ คิดว่าผมจะให้ความสำคัญเพียงแต่การอยู่รอดของรัฐบาลล ก็คงจะได้รับทราบจุดยืน แรงคิดของผมอย่างัดเจนว่า ผมไม่ได้สนใจในเรื่องความอยู่รอดของรัฐบาล แต่สนใจในเรื่องของการที่จะทำให้ระดับหรือมาตรฐานทางการเมืองไทย เป็นไปอย่างโปร่งใส"
นายกรัฐมนตรี ยังวิเคราะห์ถึงเส้นทางการเมืองของตัวเองผ่านการให้สัมภาษณ์ในหนังสือเล่มนี้ด้วยว่า ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคประชาธิปัตย์ยังมีโอกาสที่จะได้รับชัยชนะ โดยปัจจัยสำคัญอยู่ที่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการคลี่คลายความขัดแย้งในสังคม รวมทั้งการสร้างสวัสดิการให้กับประชาชน
"พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรยังคงมีบทบาทแน่นอน เพราะว่ายังคงมีความมุ่งหมาย ที่จะกลับเข้ามามีอำนาจ โดยมีความพยายามที่จะล้มล้างคดีต่างๆ ซึ่งได้มีการตัดสินไปแล้ว นั่นหมายถึงว่า ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ จะมีการต่อสู้เพื่อเอาชนะคะคานให้ได้ ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบหรือเปลี่ยนแปลงระบอบ เพราะฉะนั้นก็จะเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมไทย ขึ้นอยู่กับประชาชนคนไทยว่าจะมองสถานการณ์ตรงนี้ทะลุหรือไม่อย่างไร"
นายกรัฐมนตรี ยังแสดงความเป็นห่วงกรณีที่มีคนบางกลุ่มพยายาม จาบจ้วงเบื้องสูง หรือเคลื่อนไหวในลักษณะกระทบกับสถาบันหลัก โดยจะใช้ทั้งมาตรการทั้งทางกฎหมายและทางบริหารแต่ต้องทำด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของคนที่พยายามจะใช้การกระทำของรัฐบาล ไปเป็นเครื่องมือในการสร้างกระแสที่เกี่ยวข้องกับสถาบันไปในทางลบด้วย เพราะมีความพยายามที่จะดึงสถาบันเข้ามาสู่ความขัดแย้งทางการเมือง ถือเป็นเป้าหมาย ของคนบางกลุ่มที่มองว่า การมีกลไกต่างๆ ที่เป็นลักษณะของสถาบันสามารถที่จะยับยั้งความไม่ถูกต้อง โดยไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางการเมืองได้ หรือเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของประชาชนอยู่เป็นอุปสรรคของเขา แต่ก็ไม่คิดว่าคนเหล่านี้จะทำสำเร็จ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของสังคมไทยด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางไปร่วมงานเปิดตัวหนังสือ "อภิสิทธิ์คนเดิม บนเก้าอี้นายกรัฐมนตรี" เขียนโดย น.ส.สมจิตต์ นวเครือสุนทร ผู้สื่อข่าวการเมืองสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ โดยเนื้อหาในหนังสือเป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญนับตั้งแต่นายอภิสิทธิ์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึงการบริหารงานในปัจจุบัน สะท้อนถึงวิธีคิดในการ บริหารประเทศและแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
โดยนายอภิสิทธิ์ยืนยันภารกิจที่จะต้องยุติการเมืองที่ล้มเหลว เพราะเป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แบ่งภาค แบ่งสีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ยอมรับว่าหลังบริหารประเทศมานานกว่า 10 เดือน ยังมาสามารถยุติความล้มเหลวทางการเมืองได้ ซึ่งเป็นเรื่อง ที่ต้องพยายามเดินหน้าต่อไป โดยนำระบบรัฐสภาเข้ามาแก้ปัญหา ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นจุดเริ่มต้นในการลดเงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น และย้ำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องได้รับฉันทามติจากประชาชนด้วยการทำประชามติ
"ผมคิดว่าจากนี้ไปเป็นจุดที่ท้าทายเรามากทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ ถ้าเราพ้นตรงนี้ไปได้ แล้วทำให้เราเข้มแข็งขึ้น มันเป็นโอกาสใหม่สำหรับเศรษฐกิจ ถ้าเราถือโอกาสปรับในเรื่องพื้นฐานด้วย เช่น ภาคเกษตร ระบบสวัสดิการ ความไม่เป็นธรรมด้วย มันก็น่าจะแข็งแรงขึ้น ส่วนการเมืองถ้าเราผ่านจุดนี้ไปได้ ผมว่าเราก็เหมือนกับขึ้นชั้นในแง่ของความมีวุฒิภาวะในเรื่องของระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น"
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการทำงานกับพรรคร่วมรัฐบาลด้วยว่า แม้ที่ผ่านมาจะมีความไม่เข้าใจกันบ้างแต่ก็พูดคุยด้วยเหตและผล โดยยึดประโยชน์ของชาติเป็นหลัก และจะไม่ยอมให้มีการต่อรองในเรื่องผลประโยชน์ เพราะจะไม่ประนีประนอมกับการทุจริต เพียงเพื่อให้รัฐบาลอยู่รอด ซึ่งเป็นเรื่องที่พรรคร่วมรัฐบาลเข้าใจดี
"ใครที่คิดว่าการต่อรองเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์หรือโครงการ คิดว่าผมจะให้ความสำคัญเพียงแต่การอยู่รอดของรัฐบาลล ก็คงจะได้รับทราบจุดยืน แรงคิดของผมอย่างัดเจนว่า ผมไม่ได้สนใจในเรื่องความอยู่รอดของรัฐบาล แต่สนใจในเรื่องของการที่จะทำให้ระดับหรือมาตรฐานทางการเมืองไทย เป็นไปอย่างโปร่งใส"
นายกรัฐมนตรี ยังวิเคราะห์ถึงเส้นทางการเมืองของตัวเองผ่านการให้สัมภาษณ์ในหนังสือเล่มนี้ด้วยว่า ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคประชาธิปัตย์ยังมีโอกาสที่จะได้รับชัยชนะ โดยปัจจัยสำคัญอยู่ที่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการคลี่คลายความขัดแย้งในสังคม รวมทั้งการสร้างสวัสดิการให้กับประชาชน
"พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรยังคงมีบทบาทแน่นอน เพราะว่ายังคงมีความมุ่งหมาย ที่จะกลับเข้ามามีอำนาจ โดยมีความพยายามที่จะล้มล้างคดีต่างๆ ซึ่งได้มีการตัดสินไปแล้ว นั่นหมายถึงว่า ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ จะมีการต่อสู้เพื่อเอาชนะคะคานให้ได้ ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบหรือเปลี่ยนแปลงระบอบ เพราะฉะนั้นก็จะเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมไทย ขึ้นอยู่กับประชาชนคนไทยว่าจะมองสถานการณ์ตรงนี้ทะลุหรือไม่อย่างไร"
นายกรัฐมนตรี ยังแสดงความเป็นห่วงกรณีที่มีคนบางกลุ่มพยายาม จาบจ้วงเบื้องสูง หรือเคลื่อนไหวในลักษณะกระทบกับสถาบันหลัก โดยจะใช้ทั้งมาตรการทั้งทางกฎหมายและทางบริหารแต่ต้องทำด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของคนที่พยายามจะใช้การกระทำของรัฐบาล ไปเป็นเครื่องมือในการสร้างกระแสที่เกี่ยวข้องกับสถาบันไปในทางลบด้วย เพราะมีความพยายามที่จะดึงสถาบันเข้ามาสู่ความขัดแย้งทางการเมือง ถือเป็นเป้าหมาย ของคนบางกลุ่มที่มองว่า การมีกลไกต่างๆ ที่เป็นลักษณะของสถาบันสามารถที่จะยับยั้งความไม่ถูกต้อง โดยไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางการเมืองได้ หรือเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของประชาชนอยู่เป็นอุปสรรคของเขา แต่ก็ไม่คิดว่าคนเหล่านี้จะทำสำเร็จ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของสังคมไทยด้วย