ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ฝนตกทั่วฟ้า ปูพรมดึงคะแนนเสียงดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนด้อยโอกาสทุกกลุ่มทั้งด้านที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน แก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบ ดูแลรายได้เกษตรกรพร้อมจ่ายเงินหลังเกษียณแรงงานนอกระบบ เดินหน้าเบิกงบไทยเข้มแข็งหวังดันจีดีพีโตปีหน้า
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า การดำเนินนโยบายในระยะต่อไปรัฐบาลจะเน้นเดินตามหลักยุทธศาสตร์ฝนตกทั่วฟ้า โดยมีแนวคิดที่จะผลักดันมาตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนที่ด้อยโอกาสเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตระยะยาวซึ่งมีส่วนที่ริเริ่มดำเนินการแล้ว คือการดูแลด้านที่อยู่อาศัยผ่านโครงการบ้านมั่นคงที่อนุมัติวงเงินในแผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง การออกโฉนดชุมชนเพื่อให้เป็นที่ดินทำมาหากิน
ขณะเดียวกันก็ดูแลด้านรายได้ของประชาชนผ่านการออกพันธบัตรไทยเข้มแข็งซึ่งให้อัตราดอกเบี้ยสูง ส่วนเกษตรกรก็ดูแลผ่านโครงการประกันรายได้ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ แม้ว่าช่วงแรกจะมีปัญหาอยู่บ้างรัฐบาลก็เข้าไปแก้ไข เช่น การตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวในราคาประกันเนื่องจากเห็นว่ามีผู้ประกอบการบางรายกดดันซื้อข้าวราคาต่ำให้รัฐบาลมีปัญหาในโครงการดังกล่าว เพราะที่ผ่านมาพ่อค้าจะได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวมากกว่า ส่งผลให้ช่วงแรกรัฐบาลน่าจะจ่ายชดเชยส่วนต่างราคาแค่ 5-6 พันล้านบาท แต่ช่วยเกษตรกรได้ถึง 3 ล้านรายเทียบกับจำนำช่วยได้แค่ 8 หมื่นรายเท่านั้น
นอกจากนั้นรัฐบาลยังมีแนวคิดช่วยเหลือประชาชนที่มีปัญหาหนี้สิน โดยการรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบ ผ่านการดำเนินการของสถาบันการเงินของรัฐ รวมถึงการเร่งรัดการปล่อยสินเชื่อใหม่เพื่อการประกอบอาชีพผ่านธนาคารประชาชนและธ.ก.ส.
“ที่สำคัญยังมีนโยบายจะดูแลแรงงานนอกระบบกว่า 24 ล้านคน ด้วยการผ่านร่างพ.ร.บ.การออมแห่งชาติที่ผ่านการอนุมัติจากครม.แล้ว และน่าจะมีผลบังคับใช้กลางปีหน้าโดยหากแรงงานเข้ามาอยู่ในกองทุนทั้งหมดก็จะใช้เงินจ่ายสมทบปีละ 2.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งในช่วง 3 แรกจะใช้เงินจากงบไทยเข้มแข็งลังจากนั้นจะตั้งงบประมาณจ่ายสมทบให้แม้ว่าจะเป็นภาระระยายาวของรัฐบาลก็ถือว่าคุ้มค่า” นายกรณ์ กล่าวและว่าความตั้งใจของรัฐบาลคือการสร้างโอกาสให้ประชาชนผ่านมาตรการด้านต่างๆ ซึ่งไม่มีรัฐบาลไหนให้มากกว่านี้อีกแล้ว
นอกจากการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนแล้วโจทย์สำคัญคือการหารายได้มาใช้ดำเนินงาน ซึ่งจะมาจากการขยายฐานภาษีจากเดิมที่จัดเก็บเพียง 16% ของจีดีพี ซึ่งยังค่อนข้างน้อยและมีการกระจุกตัว โดยหน่วยงานทีเกี่ยวข้องจะพิจารณาความเหมาะสมต่อไป รวมถึงการลงทุนจะดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมมากขึ้นผ่านโครงการพีพีพี เนื่องจากงบประมาณลงทุนภาครัฐมีจำกัดจึงต้องใช้เงินกู้ผ่านไทยเข้มแข้.ในระยะ 3 ปีนี้
โดยปี 2553 จะสามารถชี้วัดได้ว่าการใช้เงินมีประสิทธิภาพมากเพียงไร ซึ่งสะท้อนจากตัวเลขจีดีพีต้องขยายตัวไม่ต่ำกว่า 3% กว่า และการเบิกจ่ายเม็ดเงิน จาก 3.5 แสนล้านบาทนั้นน่าจะเบิกได้ 3 แสนล้านบาท รวมกับงบประมาณปกติอีก 1.7 ล้านล้านบาท เป็น 2 ล้านล้านบาทน่าจะเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยสิ่งที่กังวลไม่ใช่ฐานะการคลังหรือหนี้ภาครัฐที่เพิ่มขึ้นไปถึง 60% แต่เป็นการเบิกจ่ายที่เกรงว่าจะล่าช้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายมากกว่า
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า การดำเนินนโยบายในระยะต่อไปรัฐบาลจะเน้นเดินตามหลักยุทธศาสตร์ฝนตกทั่วฟ้า โดยมีแนวคิดที่จะผลักดันมาตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนที่ด้อยโอกาสเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตระยะยาวซึ่งมีส่วนที่ริเริ่มดำเนินการแล้ว คือการดูแลด้านที่อยู่อาศัยผ่านโครงการบ้านมั่นคงที่อนุมัติวงเงินในแผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง การออกโฉนดชุมชนเพื่อให้เป็นที่ดินทำมาหากิน
ขณะเดียวกันก็ดูแลด้านรายได้ของประชาชนผ่านการออกพันธบัตรไทยเข้มแข็งซึ่งให้อัตราดอกเบี้ยสูง ส่วนเกษตรกรก็ดูแลผ่านโครงการประกันรายได้ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ แม้ว่าช่วงแรกจะมีปัญหาอยู่บ้างรัฐบาลก็เข้าไปแก้ไข เช่น การตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวในราคาประกันเนื่องจากเห็นว่ามีผู้ประกอบการบางรายกดดันซื้อข้าวราคาต่ำให้รัฐบาลมีปัญหาในโครงการดังกล่าว เพราะที่ผ่านมาพ่อค้าจะได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวมากกว่า ส่งผลให้ช่วงแรกรัฐบาลน่าจะจ่ายชดเชยส่วนต่างราคาแค่ 5-6 พันล้านบาท แต่ช่วยเกษตรกรได้ถึง 3 ล้านรายเทียบกับจำนำช่วยได้แค่ 8 หมื่นรายเท่านั้น
นอกจากนั้นรัฐบาลยังมีแนวคิดช่วยเหลือประชาชนที่มีปัญหาหนี้สิน โดยการรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบ ผ่านการดำเนินการของสถาบันการเงินของรัฐ รวมถึงการเร่งรัดการปล่อยสินเชื่อใหม่เพื่อการประกอบอาชีพผ่านธนาคารประชาชนและธ.ก.ส.
“ที่สำคัญยังมีนโยบายจะดูแลแรงงานนอกระบบกว่า 24 ล้านคน ด้วยการผ่านร่างพ.ร.บ.การออมแห่งชาติที่ผ่านการอนุมัติจากครม.แล้ว และน่าจะมีผลบังคับใช้กลางปีหน้าโดยหากแรงงานเข้ามาอยู่ในกองทุนทั้งหมดก็จะใช้เงินจ่ายสมทบปีละ 2.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งในช่วง 3 แรกจะใช้เงินจากงบไทยเข้มแข็งลังจากนั้นจะตั้งงบประมาณจ่ายสมทบให้แม้ว่าจะเป็นภาระระยายาวของรัฐบาลก็ถือว่าคุ้มค่า” นายกรณ์ กล่าวและว่าความตั้งใจของรัฐบาลคือการสร้างโอกาสให้ประชาชนผ่านมาตรการด้านต่างๆ ซึ่งไม่มีรัฐบาลไหนให้มากกว่านี้อีกแล้ว
นอกจากการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนแล้วโจทย์สำคัญคือการหารายได้มาใช้ดำเนินงาน ซึ่งจะมาจากการขยายฐานภาษีจากเดิมที่จัดเก็บเพียง 16% ของจีดีพี ซึ่งยังค่อนข้างน้อยและมีการกระจุกตัว โดยหน่วยงานทีเกี่ยวข้องจะพิจารณาความเหมาะสมต่อไป รวมถึงการลงทุนจะดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมมากขึ้นผ่านโครงการพีพีพี เนื่องจากงบประมาณลงทุนภาครัฐมีจำกัดจึงต้องใช้เงินกู้ผ่านไทยเข้มแข้.ในระยะ 3 ปีนี้
โดยปี 2553 จะสามารถชี้วัดได้ว่าการใช้เงินมีประสิทธิภาพมากเพียงไร ซึ่งสะท้อนจากตัวเลขจีดีพีต้องขยายตัวไม่ต่ำกว่า 3% กว่า และการเบิกจ่ายเม็ดเงิน จาก 3.5 แสนล้านบาทนั้นน่าจะเบิกได้ 3 แสนล้านบาท รวมกับงบประมาณปกติอีก 1.7 ล้านล้านบาท เป็น 2 ล้านล้านบาทน่าจะเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยสิ่งที่กังวลไม่ใช่ฐานะการคลังหรือหนี้ภาครัฐที่เพิ่มขึ้นไปถึง 60% แต่เป็นการเบิกจ่ายที่เกรงว่าจะล่าช้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายมากกว่า