ASTVผู้จัดการรายวัน - กสิกรไทยเข็นแคมเปญใหญ่กระตุ้นสินเชื่อเอสเอ็มอีส่งท้ายปี “เอสเอ็มอีมีเฮ”ลดดอกเบี้ยจ่าย 10% นาน 10 เดือน หวังสิ้นปีมีผู้สมัครใช้บริการ 30,000 ราย ยอดปล่อยกู้ 25,000 ล้านบาท ดันสินเชื่อทั้งปีโตตามเป้า 7-9 % ชี้สัญญาณเอ็นพีแอลเริ่มลดลง หลังเน้นกลยุทธ์ตามติดพฤติกรรมลูกค้า มั่นใจคุมได้ไม่ให้เกิน 4%
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารได้จัดแคมเปญใหญ่ประจำปี 2552 ที่เป็นสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ด้วยการออกแคมเปญเอสเอ็มอีมีเฮ ลดดอกเบี้ยที่จ่าย 10% นาน 10 เดือน ยอดเงินคืนสูงสุด 1 หมื่นบาท โดยตั้งเป้ามีผู้สมัครเข้าใช้บริการสินเชื่อประมาณ 3 หมื่นราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวม 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งแคมเปญนี้เปิดระหว่างวันที่ 10 ก.ย.-30 พ.ย.นี้
โดยผู้สมัครขอใช้บริการจะต้องเป็นลูกค้านิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจมียอดขายไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี โดยต้องขอวงเงินสินเชื่อระยะยาว (Loan) วงเงินอนุมัติขั้นต่ำ 3 แสนบาทสูงสุดไม่เกิน 12 ล้านบาท มีการผ่อนชำระเงินกู้โดยการตัดบัญชีแบบอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน ที่ลูกค้าเปิดบัญชีไว้กับธนาคารกสิกรไทยเท่านั้น และจะต้องมีประวัติการชำระหนี้เงินกู้ที่ดีในเดือนที่ 1 ถึงเดือนที่ 10 นับตั้งแต่เดือนที่ลูกค้าได้เบิกรับเงินกู้ไปจากธนาคาร ซึ่งเมื่อลูกค้าปฏิบัติตามเงื่อนไขธนาคารจะคืนเงิน 10% ของดอกเบี้ยที่ชำระรายเดือน ยอดเงินคืนสูงสุด 15,000 บาท โดยเข้าบัญชีเงินฝากที่ลูกค้าเปิดไว้เพื่อหักชำระเงินกู้ 2 ครั้ง ภายใน 60 วัน หลังจากลูกค้าชำระเงินกู้งวดที่ 5 และงวดที่ 10
นายปกรณ์ ยังกล่าวอีกว่า หากธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อแคมเปญเอสเอ็มอีมีเฮได้เพียง 50% ของเป้าหมายที่วางไว้ก็ถือว่าอยู่เกณฑ์ที่ดี และจะช่วยผลักดันให้ยอดการปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารทั้งปีนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 7-9% หรือคิดเป็นวงเงินปล่อยกู้สุทธิ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้ฐานสินเชื่อเอสเอ็มอีคงค้างสิ้นปีนี้เพิ่มเป็น 3.8 แสนล้านบาท จากปัจจุบันฐานสินเชื่ออยู่ที่ 3.5 แสนล้านบาท รวมทั้งธนาคารก็ยังมีลูกค้ารีไฟแนนซ์กว่า 30% ที่เข้ามาใช้บริการสินเชื่อกับธนาคาร เนื่องจากธนาคารสามารถตอบสนองความรวดเร็วแก่ผู้ประกอบการได้
นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ธนาคารมองว่ายอดสินเชื่อเอสเอ็มอีจะกลับมาเป็นบวกได้ รับกับภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการรับเหมา และค้าวัสดุก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี จะได้รับผลประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ประกอบกับในช่วงปลายปีของทุกๆปี จะเป็นไปตามวัฎจักร ที่อุตสาหกรรมการเกษตร จะใช้สินเชื่อมากขึ้น เพื่อนำไปซื้อพืชผลทางการเกษตรเพื่อเก็บเข้าสต็อกสินค้า โดยธนาคารมีกลุ่มลุกค้าอุตสาหกรรมก่อสร้าง การเกษตร และท่องเที่ยวคิดเป็น 40-50% ของฐานสินเชื่อเอสเอ็มอี ดังนั้นธนาคารจึงมั่นใจว่า
ตั้งเป้ารายได้ดบ.-ค่าฟีโต20%
อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้ตั้งเป้าเติบโตรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและค่าธรรมเนียมจากลูกค้าเอสเอ็มอีปีนี้ 1.8 หมื่นล้านบาท หรือเป็นการเติบโต 20% จากปี 2551 ที่มีรายได้ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยธนาคารจะเน้นการเติบโตจากค่าธรรมเนียมเป็นหลัก ในขณะเดียวกันปีนี้ธนาคารได้เพิ่มสัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมเป็น 25% จากปีก่อนที่ 20% ขณะที่รายได้จากอัตราดอกเบี้ยปีนี้อยู่ที่ 75% จากปีก่อนที่ 80% ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าเอสเอ็มอีจะมีการจัดการในด้านการขอสินเชื่อเป็นหลัก จึงส่งผลให้รายได้จากอัตราดอกเบี้ยอยู่สูงกว่ารายได้จากค่าธรรมเนียม แต่ขณะนี้แนวโน้มรายได้จากค่าธรรมเนียมมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้อีกจากการออกแคมเปญต่างๆ ของธนาคาร
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ในปีนี้ตั้งเป้าควบคุมไม่ให้เกิน 4% จากปัจจุบันที่อยู่ประมาณ 2% เนื่องจากธนาคารมีหน่วยงานที่ติดตามพฤติกรรมการใช้วงเงินของลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มเสี่ยง อาทิ วงเงินเต็มหรือวงเงินไม่หมุน จากนั้นจะรีบเข้าไปดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็วหากพบปัญหา ซึ่งธนาคารอาจให้ขยายระยะเวลาชำระคืนหนี้
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารได้จัดแคมเปญใหญ่ประจำปี 2552 ที่เป็นสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ด้วยการออกแคมเปญเอสเอ็มอีมีเฮ ลดดอกเบี้ยที่จ่าย 10% นาน 10 เดือน ยอดเงินคืนสูงสุด 1 หมื่นบาท โดยตั้งเป้ามีผู้สมัครเข้าใช้บริการสินเชื่อประมาณ 3 หมื่นราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวม 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งแคมเปญนี้เปิดระหว่างวันที่ 10 ก.ย.-30 พ.ย.นี้
โดยผู้สมัครขอใช้บริการจะต้องเป็นลูกค้านิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจมียอดขายไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี โดยต้องขอวงเงินสินเชื่อระยะยาว (Loan) วงเงินอนุมัติขั้นต่ำ 3 แสนบาทสูงสุดไม่เกิน 12 ล้านบาท มีการผ่อนชำระเงินกู้โดยการตัดบัญชีแบบอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน ที่ลูกค้าเปิดบัญชีไว้กับธนาคารกสิกรไทยเท่านั้น และจะต้องมีประวัติการชำระหนี้เงินกู้ที่ดีในเดือนที่ 1 ถึงเดือนที่ 10 นับตั้งแต่เดือนที่ลูกค้าได้เบิกรับเงินกู้ไปจากธนาคาร ซึ่งเมื่อลูกค้าปฏิบัติตามเงื่อนไขธนาคารจะคืนเงิน 10% ของดอกเบี้ยที่ชำระรายเดือน ยอดเงินคืนสูงสุด 15,000 บาท โดยเข้าบัญชีเงินฝากที่ลูกค้าเปิดไว้เพื่อหักชำระเงินกู้ 2 ครั้ง ภายใน 60 วัน หลังจากลูกค้าชำระเงินกู้งวดที่ 5 และงวดที่ 10
นายปกรณ์ ยังกล่าวอีกว่า หากธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อแคมเปญเอสเอ็มอีมีเฮได้เพียง 50% ของเป้าหมายที่วางไว้ก็ถือว่าอยู่เกณฑ์ที่ดี และจะช่วยผลักดันให้ยอดการปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารทั้งปีนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 7-9% หรือคิดเป็นวงเงินปล่อยกู้สุทธิ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้ฐานสินเชื่อเอสเอ็มอีคงค้างสิ้นปีนี้เพิ่มเป็น 3.8 แสนล้านบาท จากปัจจุบันฐานสินเชื่ออยู่ที่ 3.5 แสนล้านบาท รวมทั้งธนาคารก็ยังมีลูกค้ารีไฟแนนซ์กว่า 30% ที่เข้ามาใช้บริการสินเชื่อกับธนาคาร เนื่องจากธนาคารสามารถตอบสนองความรวดเร็วแก่ผู้ประกอบการได้
นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ธนาคารมองว่ายอดสินเชื่อเอสเอ็มอีจะกลับมาเป็นบวกได้ รับกับภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการรับเหมา และค้าวัสดุก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี จะได้รับผลประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ประกอบกับในช่วงปลายปีของทุกๆปี จะเป็นไปตามวัฎจักร ที่อุตสาหกรรมการเกษตร จะใช้สินเชื่อมากขึ้น เพื่อนำไปซื้อพืชผลทางการเกษตรเพื่อเก็บเข้าสต็อกสินค้า โดยธนาคารมีกลุ่มลุกค้าอุตสาหกรรมก่อสร้าง การเกษตร และท่องเที่ยวคิดเป็น 40-50% ของฐานสินเชื่อเอสเอ็มอี ดังนั้นธนาคารจึงมั่นใจว่า
ตั้งเป้ารายได้ดบ.-ค่าฟีโต20%
อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้ตั้งเป้าเติบโตรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและค่าธรรมเนียมจากลูกค้าเอสเอ็มอีปีนี้ 1.8 หมื่นล้านบาท หรือเป็นการเติบโต 20% จากปี 2551 ที่มีรายได้ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยธนาคารจะเน้นการเติบโตจากค่าธรรมเนียมเป็นหลัก ในขณะเดียวกันปีนี้ธนาคารได้เพิ่มสัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมเป็น 25% จากปีก่อนที่ 20% ขณะที่รายได้จากอัตราดอกเบี้ยปีนี้อยู่ที่ 75% จากปีก่อนที่ 80% ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าเอสเอ็มอีจะมีการจัดการในด้านการขอสินเชื่อเป็นหลัก จึงส่งผลให้รายได้จากอัตราดอกเบี้ยอยู่สูงกว่ารายได้จากค่าธรรมเนียม แต่ขณะนี้แนวโน้มรายได้จากค่าธรรมเนียมมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้อีกจากการออกแคมเปญต่างๆ ของธนาคาร
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ในปีนี้ตั้งเป้าควบคุมไม่ให้เกิน 4% จากปัจจุบันที่อยู่ประมาณ 2% เนื่องจากธนาคารมีหน่วยงานที่ติดตามพฤติกรรมการใช้วงเงินของลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มเสี่ยง อาทิ วงเงินเต็มหรือวงเงินไม่หมุน จากนั้นจะรีบเข้าไปดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็วหากพบปัญหา ซึ่งธนาคารอาจให้ขยายระยะเวลาชำระคืนหนี้