คลังยอมสูญ 300 ล้านบาท ยกเว้นภาษี 15% สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทต่อปี หรือมีเงินฝากบัญชีละไม่เกิน 4 ล้านบาท ครอบคลุม 62 ล้านบัญชี วงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท หวังเพิ่มเงินในกระเป๋ารายย่อย บรรเทาปัญหาของคนที่อาศัยรายได้จากดอกเบี้ย แบงก์กสิกรฯ กังวลลูกค้ารายใหญ่ซอยบัญชี
ทำให้ลูกค้าทั้งรายใหญ่ รายย่อยได้ประโยชน์เท่าเทียมกัน
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกรมสรรพากรยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินฝากออมทรัพย์ รายบัญชีที่มีรายได้ดอกเบี้ยไม่เกินปีละ 20,000 บาท ทุกธนาคารทั่วประเทศ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม ซึ่งจะครอบคลุมเงินฝากออมทรัพย์ 62 ล้านบัญชี เป็นเม็ดเงินรวม 1.5 ล้านล้านบาท ส่วนผู้ฝากเงินที่มีเงินฝากออมทรัพย์หลายบัญชี หากมีรายได้ดอกเบี้ยรวมกันแล้วเกิน 20,000 บาท มีหน้าที่แจ้งธนาคารแต่ละแห่งให้หักภาษี ณ ที่จ่ายได้ หรือจะรวมยอดทั้งปี เพื่อยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี
“เกณฑ์ดังกล่าวเป็นสิทธิประโยชน์เดิมที่รัฐบาลให้กับผู้ฝากเงินออมทรัพย์มาตั้งแต่ปี 2538 แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เกิดขึ้นจริง เนื่องจากธนาคารมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อมีการจ่ายดอกเบี้ยอยู่แล้ว เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่า มีใครบ้างที่ขอคืนภาษี ซึ่งในแต่ละปี จะมีรายได้จากส่วนนี้ประมาณ 300 ล้านบาทที่ธนาคารพาณิชย์หักภาษี ณ ที่จ่ายและส่งเงินให้สรรพากร ซึ่งสรรพกากรเองไม่ได้ติดใจตรงส่วนนี้ เพราะถือว่าธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอยู่แล้ว”
นายกรณ์กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ยกเว้นภาษี จากรายได้ดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่ไม่เกิน 1 แสนบาท ว่า ขณะนี้ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากการแก้ไขประกาศสรรพากรที่ยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย บัญชีออมทรัพย์ ที่มีรายได้ดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาทนั้นมีผลกว้างกว่า ครอบคลุมบัญชีออมทรัพย์ถึง 62 ล้านบัญชี จากจำนวนบัญชีออมทรัพย์ทั้งหมด 63 ล้านบัญชี ซึ่งหากประเมินจากดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์ปัจจุบันที่ 1% กรณีที่ไม่เข้าข่ายยกเว้น จะต้องมีเงินฝากออมทรัพย์แต่ละบัญชีถึง 4 ล้านบาท และที่สำคัญไม่ต้องแก้ไขประมวลกฎหมายรัษฎากร เพราะเป็นเกณฑ์เดิมที่มีอยู่แล้ว เพียงแต่ออกประกาศให้เกิดความชัดเจนและปฏิบัติได้จริง
สำหรับผลกระทบต่อฐานะการคลัง นายกรณ์กล่าวว่า เงินภาษีที่เก็บได้ดังกล่าวไม่มาก เพียงปีละ 300-400 ล้านบาท แต่หากเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ น่าจะบรรเทาปัญหาของคนที่อาศัยรายได้จากดอกเบี้ยได้มากกว่า
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า ธนาคารจะปฏิบัติตามในประเด็นดังกล่าว แต่ทั้งนี้ต้องการให้มีการศึกษาเพิ่มเติมสำหรับลูกค้าที่จะได้เปรียบเสียเปรียบในกรณีที่ผู้ฝากมีบัญชีหลายบัญชีในแต่ละธนาคารให้มากขึ้น นอกจากนี้ มองว่าโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลจะทำให้มีเม็ดเงินไปลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค ซึ่งจะเป็นการกระจายไปยังลูกค้ารายย่อยมากขึ้น อันจะทำให้ความต้องการสินเชื่อของลูกค้ารายย่อยเพิ่มมากขึ้นด้วย
แบงก์ผวาลูกค้าแตกบัญชี
นายอนุรักษ์ ตันติพิพัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์เงินฝากและการลงทุนลูกค้าบุคคล ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK มองว่า เป็นการช่วยเหลือลูกค้ารายใหญ่มากกว่า เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์จะเป็นลูกค้ารายย่อยที่ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะทำให้ทั้งลูกค้ารายใหญ่และรายย่อยได้ผลประโยชน์เท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการยกเว้นภาษีแล้ว ธนาคารเชื่อว่าจะทำให้ลูกค้ารายใหญ่มีการแตกบัญชีออมทรัพย์ออกเป็นหลายบัญชีเพื่อการคิดอัตราดอกเบี้ยแต่ละปีจะได้ไม่เกินที่กรมสรรพากรกำหนดและไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งขณะนี้ธนาคารยังไม่เห็นสัญญาณการแตกบัญชีแต่อย่างใด เพราะต้องรอการประกาศอย่างเป็นทางการจากทางราชการก่อน ทั้งนี้ หากลูกค้ามีการแตกบัญชีออกไปหลายบัญชี ธนาคารคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานที่จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งธนาคารก็คงจะมีแผนงานรองรับกับปัญหาดังกล่าวอยู่แล้ว
“หลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังออกมานั้นธนาคารเชื่อว่าเพื่อต้องการให้แต่ละธนาคารง่ายต่อการปฏิบัติในการหักภาษีเป็นรายบัญชีไป ซึ่งจากเดิมธนาคารจะหักภาษีเป็นรายบุคคลที่รวมจำนวนบัญชีไว้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบันจะคิดอัตราดอกเบี้ยแยกเป็นบัญชีๆ ไปถึงแม้ว่าลูกค้าแต่ละรายจะมีหลายบัญชีก็ตาม ทำให้ลูกค้าได้รับอัตราดอกเบี้ยไปอย่างเต็มจำนวน ทั้งนี้ ธนาคารจะดูผลกระทบจากการแยกบัญชีก่อนว่ามีความรุนแรงต่อธนาคารมากเพียงใด” นายอนุรักษ์กล่าว.
ทำให้ลูกค้าทั้งรายใหญ่ รายย่อยได้ประโยชน์เท่าเทียมกัน
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกรมสรรพากรยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินฝากออมทรัพย์ รายบัญชีที่มีรายได้ดอกเบี้ยไม่เกินปีละ 20,000 บาท ทุกธนาคารทั่วประเทศ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม ซึ่งจะครอบคลุมเงินฝากออมทรัพย์ 62 ล้านบัญชี เป็นเม็ดเงินรวม 1.5 ล้านล้านบาท ส่วนผู้ฝากเงินที่มีเงินฝากออมทรัพย์หลายบัญชี หากมีรายได้ดอกเบี้ยรวมกันแล้วเกิน 20,000 บาท มีหน้าที่แจ้งธนาคารแต่ละแห่งให้หักภาษี ณ ที่จ่ายได้ หรือจะรวมยอดทั้งปี เพื่อยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี
“เกณฑ์ดังกล่าวเป็นสิทธิประโยชน์เดิมที่รัฐบาลให้กับผู้ฝากเงินออมทรัพย์มาตั้งแต่ปี 2538 แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เกิดขึ้นจริง เนื่องจากธนาคารมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อมีการจ่ายดอกเบี้ยอยู่แล้ว เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่า มีใครบ้างที่ขอคืนภาษี ซึ่งในแต่ละปี จะมีรายได้จากส่วนนี้ประมาณ 300 ล้านบาทที่ธนาคารพาณิชย์หักภาษี ณ ที่จ่ายและส่งเงินให้สรรพากร ซึ่งสรรพกากรเองไม่ได้ติดใจตรงส่วนนี้ เพราะถือว่าธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอยู่แล้ว”
นายกรณ์กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ยกเว้นภาษี จากรายได้ดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่ไม่เกิน 1 แสนบาท ว่า ขณะนี้ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากการแก้ไขประกาศสรรพากรที่ยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย บัญชีออมทรัพย์ ที่มีรายได้ดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาทนั้นมีผลกว้างกว่า ครอบคลุมบัญชีออมทรัพย์ถึง 62 ล้านบัญชี จากจำนวนบัญชีออมทรัพย์ทั้งหมด 63 ล้านบัญชี ซึ่งหากประเมินจากดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์ปัจจุบันที่ 1% กรณีที่ไม่เข้าข่ายยกเว้น จะต้องมีเงินฝากออมทรัพย์แต่ละบัญชีถึง 4 ล้านบาท และที่สำคัญไม่ต้องแก้ไขประมวลกฎหมายรัษฎากร เพราะเป็นเกณฑ์เดิมที่มีอยู่แล้ว เพียงแต่ออกประกาศให้เกิดความชัดเจนและปฏิบัติได้จริง
สำหรับผลกระทบต่อฐานะการคลัง นายกรณ์กล่าวว่า เงินภาษีที่เก็บได้ดังกล่าวไม่มาก เพียงปีละ 300-400 ล้านบาท แต่หากเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ น่าจะบรรเทาปัญหาของคนที่อาศัยรายได้จากดอกเบี้ยได้มากกว่า
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า ธนาคารจะปฏิบัติตามในประเด็นดังกล่าว แต่ทั้งนี้ต้องการให้มีการศึกษาเพิ่มเติมสำหรับลูกค้าที่จะได้เปรียบเสียเปรียบในกรณีที่ผู้ฝากมีบัญชีหลายบัญชีในแต่ละธนาคารให้มากขึ้น นอกจากนี้ มองว่าโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลจะทำให้มีเม็ดเงินไปลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค ซึ่งจะเป็นการกระจายไปยังลูกค้ารายย่อยมากขึ้น อันจะทำให้ความต้องการสินเชื่อของลูกค้ารายย่อยเพิ่มมากขึ้นด้วย
แบงก์ผวาลูกค้าแตกบัญชี
นายอนุรักษ์ ตันติพิพัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์เงินฝากและการลงทุนลูกค้าบุคคล ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK มองว่า เป็นการช่วยเหลือลูกค้ารายใหญ่มากกว่า เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์จะเป็นลูกค้ารายย่อยที่ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะทำให้ทั้งลูกค้ารายใหญ่และรายย่อยได้ผลประโยชน์เท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการยกเว้นภาษีแล้ว ธนาคารเชื่อว่าจะทำให้ลูกค้ารายใหญ่มีการแตกบัญชีออมทรัพย์ออกเป็นหลายบัญชีเพื่อการคิดอัตราดอกเบี้ยแต่ละปีจะได้ไม่เกินที่กรมสรรพากรกำหนดและไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งขณะนี้ธนาคารยังไม่เห็นสัญญาณการแตกบัญชีแต่อย่างใด เพราะต้องรอการประกาศอย่างเป็นทางการจากทางราชการก่อน ทั้งนี้ หากลูกค้ามีการแตกบัญชีออกไปหลายบัญชี ธนาคารคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานที่จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งธนาคารก็คงจะมีแผนงานรองรับกับปัญหาดังกล่าวอยู่แล้ว
“หลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังออกมานั้นธนาคารเชื่อว่าเพื่อต้องการให้แต่ละธนาคารง่ายต่อการปฏิบัติในการหักภาษีเป็นรายบัญชีไป ซึ่งจากเดิมธนาคารจะหักภาษีเป็นรายบุคคลที่รวมจำนวนบัญชีไว้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบันจะคิดอัตราดอกเบี้ยแยกเป็นบัญชีๆ ไปถึงแม้ว่าลูกค้าแต่ละรายจะมีหลายบัญชีก็ตาม ทำให้ลูกค้าได้รับอัตราดอกเบี้ยไปอย่างเต็มจำนวน ทั้งนี้ ธนาคารจะดูผลกระทบจากการแยกบัญชีก่อนว่ามีความรุนแรงต่อธนาคารมากเพียงใด” นายอนุรักษ์กล่าว.