สมาคมตลาดสารหนี้ไทยชี้ดอกเบี้ยปีนี้ไม่น่าขยับขึ้น เหตุไร้ปัจจัยมาสนับสนุน เผยสภาพคล่องในระบบยังล้นหลาม พอใจการออกหุ้นกู้เอกส่อเค้าทะลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.5 แสนล้านบาทภายในเดือน พ.ย.นี้ จับมือ บลจ.ธนชาตสรรหาบุคลากรเข้ามาในตลาดตราสารหนี้
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันต่ำมาก โดยมองว่าอัตราดอกเบี้ยไม่น่าจะมีการปรับขึ้นไปในปีนี้ และไม่มีปัจจัยสนับสนุนให้อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นไปแรงคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (R/P) ขึ้นไปในปีนี้
ขณะที่สภาพคล่องของระบบในปัจจุบันมีมากพอสมควร โดยอยู่ที่ 1.4 – 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นของธนาคารพาณิชย์ประมาณ 6 แสนล้านบาท
ส่วนตลาดตราสารหนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมา 2 ปีแล้ว โดยปริมาณการออกหุ้นกู้เอกชนในปัจจุบันอยู่ที่ 3.2 แสนล้านบาท ซึ่งอายุอยู่ระหว่าง 3 – 5 ปี ขณะที่บริษัทหลายรายออกหุ้นกู้ในปีนี้ เพราะว่ามองว่าสภาพคล่องในระบบจะเหือดหายไป ทั้งที่ยังไม่มีโครงการใหม่จะลงทุนก็ตาม จึงหันมาออกหุ้นกู้ที่มีต้นทุนต่ำ ได้ขนาดของเงินทุน และระยะเวลาตามที่ต้องการ
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ค่อยยอมปล่อยสินเชื่อให้บริษัทที่ต้องการกู้สินเชื่อจำนวนมาก และมีระยะยาว ทั้งนี้ เชื่อว่าในปีนี้หุ้นกู้เอกชนน่าจะปรับขึ้นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.5 แสนล้านบาทได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยธุรกิจที่มีการออกหุ้นกู้มากที่สุดเป็นกลุ่มพลังงาน ก่อสร้าง และธนาคารพาณิชย์ แต่คาดว่าในปีหน้าปริมาณการออกหุ้นกู้เอกชนน่าจะปรับลดลงเพราะบริษัทส่วนใหญ่ได้ออกไปจนหมดแล้ว
กรรมการผู้จัดการ ThaiBMA กล่าวว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด จัดโครงการ ThaiBMA Bond Star Challenge 2009 เพราะว่าตลาดตราสารหนี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปีหน้าภาครัฐจะออกพันธบัตรมาอีกประมาณ 7 – 8 แสนล้านบาท จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรเข้ามาในอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย โทร.02 2523336 ต่อ 119, 216 หรือดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.Thaibma.or.th และ www.thanachartfund.comโดยเปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันนี้ – 5 ตุลาคม 2552 แข่งขันรอบชิงชนะเลิศวันที่ 29 ตุลาคม
ในปัจจุบัน ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และสามารถวิเคราะห์ตราสารหนี้ซึ่งเป็นนักค้าตราสารหนี้ที่จดทะเบียนมีเพียง 300 คนเท่านั้น โดยมองว่านักศึกษาเป็นอนาคตของตลาดตราสารหนี้ และต้องก้าวเข้ามาในไม่ช้า ซึ่งในช่วง 2
ปีที่ผ่านมานับว่าประสบความสำเร็จพอสมควร ขณะเดียวกัน กองทุนรวมตราสารหนี้มีการเติบโตขึ้นมาก และปริมาณ 70 – 80%ของกองทุนรวมเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ เป็นธุรกรรมที่ไม่แตกต่างกันมากนัก
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาอบรมประมาณ 1 วันตั้งแต่เช้าจนถึงเย็นในการวิเคราะห์การลงทุน กลยุทธ์ซื้อขาย โดยการแข่งขันการซื้อขายตราสารหนี้ผ่านระบบซื้อขายตราสารหนี้จำลอง (Trade Simulator) ที่พัฒนามาหลายปีแล้วโดยในปีนี้มีผู้สมัครแล้ว 40 – 50 ทีม ซึ่งสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยจะทำการอบรมทั้งหมด อย่างน้อยนักศึกษาที่เข้ามาสมัครในโครงการก็นำความรู้ที่ได้ไปศึกษาต่อได้
“โครงการจะจัดให้เหลือ 25 ทีม เพื่อนำมาแข่งขันในรอบสุดท้าย โดยในรอบสุดท้ายจะใช้วิธีจำลองสถานการณ์จากวิกฤติการณ์ที่เคยเกิดขึ้นนำมาเป็นอีเวนต์มาใช้ และช็อกว่าตลาดตราสารหนี้จะเป็นอย่างไร ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 30 นาที หรือแบ่งออกเป็น 2 ช่วงๆ ละ 20นาที ผู้แข่งขันจำเป็นต้องวิเคราะห์ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น”
สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้จะมีการปรับปรุงให้มีความยุติธรรมมากขึ้น โดยจะนำคะแนน 30% ในรอบคัดเลือก และอีก 70% ในรอบสุดท้ายมารวมกัน โดยก่อนหน้านี้คิดคะแนนจากรอบสุดท้ายเพียงรอบเดียว ซึ่งทีมที่สามารถเข้าถึงรอบสุดท้ายจะสามารถเข้ามาขายตราสารหนี้ได้แล้ว เพราะว่ามีความรู้ความสามารถ และเครื่องมือที่ใช้จริง
นายณัฐพล กล่าวว่า ทีมที่ชนะเลิศในการแข่งขันจะได้รับเงินลงทุนในกองทุนเปิดธนชาตตลาดเงิน (T-MONEY) 5 หมื่นบาท รางวัลที่สองได้รับรางวัล 3 หมื่นบาท และรางวัลที่ 3 ได้รับรางวัล 2 หมื่นบาท และได้รับโล่รางวัลเกียรติยศ และประกาศนียบัตรจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ นักศึกษาที่เข้าแข่งขันจะได้รับประสบการณ์ ข้อมูล และความรู้นอกเหนือจากของรางวัลดังกล่าว
โดยจะพยายามประชาสัมพันธ์ และชักชวนให้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าร่วมแข่งขันมากขึ้น
นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ธนชาต กล่าวว่า บุคลากรในตลาดตราสารหนี้มีค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะที่มีความเข้าใจจริงหายาก ยิ่งสภาวะตลาดเงินตลาดทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตราสารหนี้มีความหลากหลาย รวมทั้งมีความเข้าใจที่แตกต่างกันไปด้วย ซึ่งการแข่งขันจะช่วยให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทเข้าใจว่าในทางปฏิบัติต่างจากชั้นเรียน ภายใต้ปัจจัยต่างๆ อย่างอัตราดอกเบี้ยเข้ามากระทบแค่ไหน
ทั้งนี้ นักศึกษาจะได้ทราบว่าการลงทุนในตราสารหนนี้มีโอกาสกำไร และขาดทุนได้เช่นกัน โดยจะมีการนำผู้จัดการกองทุนมาให้ความรู้ มองว่าแม้ว่าตลาดตราสารหนี้จะมีความยาก แต่ก็มีความน่าสนใจเช่นกัน ซึ่งโครงการ ThaiBMA Bond Star Challenge 2009 เป็นการส่งเสริมตลาดทุนทางอ้อม และยังจำเป็นต้องจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างบุคลากรในอนาคตมารองรับด้วย
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันต่ำมาก โดยมองว่าอัตราดอกเบี้ยไม่น่าจะมีการปรับขึ้นไปในปีนี้ และไม่มีปัจจัยสนับสนุนให้อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นไปแรงคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (R/P) ขึ้นไปในปีนี้
ขณะที่สภาพคล่องของระบบในปัจจุบันมีมากพอสมควร โดยอยู่ที่ 1.4 – 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นของธนาคารพาณิชย์ประมาณ 6 แสนล้านบาท
ส่วนตลาดตราสารหนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมา 2 ปีแล้ว โดยปริมาณการออกหุ้นกู้เอกชนในปัจจุบันอยู่ที่ 3.2 แสนล้านบาท ซึ่งอายุอยู่ระหว่าง 3 – 5 ปี ขณะที่บริษัทหลายรายออกหุ้นกู้ในปีนี้ เพราะว่ามองว่าสภาพคล่องในระบบจะเหือดหายไป ทั้งที่ยังไม่มีโครงการใหม่จะลงทุนก็ตาม จึงหันมาออกหุ้นกู้ที่มีต้นทุนต่ำ ได้ขนาดของเงินทุน และระยะเวลาตามที่ต้องการ
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ค่อยยอมปล่อยสินเชื่อให้บริษัทที่ต้องการกู้สินเชื่อจำนวนมาก และมีระยะยาว ทั้งนี้ เชื่อว่าในปีนี้หุ้นกู้เอกชนน่าจะปรับขึ้นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.5 แสนล้านบาทได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยธุรกิจที่มีการออกหุ้นกู้มากที่สุดเป็นกลุ่มพลังงาน ก่อสร้าง และธนาคารพาณิชย์ แต่คาดว่าในปีหน้าปริมาณการออกหุ้นกู้เอกชนน่าจะปรับลดลงเพราะบริษัทส่วนใหญ่ได้ออกไปจนหมดแล้ว
กรรมการผู้จัดการ ThaiBMA กล่าวว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด จัดโครงการ ThaiBMA Bond Star Challenge 2009 เพราะว่าตลาดตราสารหนี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปีหน้าภาครัฐจะออกพันธบัตรมาอีกประมาณ 7 – 8 แสนล้านบาท จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรเข้ามาในอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย โทร.02 2523336 ต่อ 119, 216 หรือดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.Thaibma.or.th และ www.thanachartfund.comโดยเปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันนี้ – 5 ตุลาคม 2552 แข่งขันรอบชิงชนะเลิศวันที่ 29 ตุลาคม
ในปัจจุบัน ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และสามารถวิเคราะห์ตราสารหนี้ซึ่งเป็นนักค้าตราสารหนี้ที่จดทะเบียนมีเพียง 300 คนเท่านั้น โดยมองว่านักศึกษาเป็นอนาคตของตลาดตราสารหนี้ และต้องก้าวเข้ามาในไม่ช้า ซึ่งในช่วง 2
ปีที่ผ่านมานับว่าประสบความสำเร็จพอสมควร ขณะเดียวกัน กองทุนรวมตราสารหนี้มีการเติบโตขึ้นมาก และปริมาณ 70 – 80%ของกองทุนรวมเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ เป็นธุรกรรมที่ไม่แตกต่างกันมากนัก
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาอบรมประมาณ 1 วันตั้งแต่เช้าจนถึงเย็นในการวิเคราะห์การลงทุน กลยุทธ์ซื้อขาย โดยการแข่งขันการซื้อขายตราสารหนี้ผ่านระบบซื้อขายตราสารหนี้จำลอง (Trade Simulator) ที่พัฒนามาหลายปีแล้วโดยในปีนี้มีผู้สมัครแล้ว 40 – 50 ทีม ซึ่งสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยจะทำการอบรมทั้งหมด อย่างน้อยนักศึกษาที่เข้ามาสมัครในโครงการก็นำความรู้ที่ได้ไปศึกษาต่อได้
“โครงการจะจัดให้เหลือ 25 ทีม เพื่อนำมาแข่งขันในรอบสุดท้าย โดยในรอบสุดท้ายจะใช้วิธีจำลองสถานการณ์จากวิกฤติการณ์ที่เคยเกิดขึ้นนำมาเป็นอีเวนต์มาใช้ และช็อกว่าตลาดตราสารหนี้จะเป็นอย่างไร ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 30 นาที หรือแบ่งออกเป็น 2 ช่วงๆ ละ 20นาที ผู้แข่งขันจำเป็นต้องวิเคราะห์ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น”
สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้จะมีการปรับปรุงให้มีความยุติธรรมมากขึ้น โดยจะนำคะแนน 30% ในรอบคัดเลือก และอีก 70% ในรอบสุดท้ายมารวมกัน โดยก่อนหน้านี้คิดคะแนนจากรอบสุดท้ายเพียงรอบเดียว ซึ่งทีมที่สามารถเข้าถึงรอบสุดท้ายจะสามารถเข้ามาขายตราสารหนี้ได้แล้ว เพราะว่ามีความรู้ความสามารถ และเครื่องมือที่ใช้จริง
นายณัฐพล กล่าวว่า ทีมที่ชนะเลิศในการแข่งขันจะได้รับเงินลงทุนในกองทุนเปิดธนชาตตลาดเงิน (T-MONEY) 5 หมื่นบาท รางวัลที่สองได้รับรางวัล 3 หมื่นบาท และรางวัลที่ 3 ได้รับรางวัล 2 หมื่นบาท และได้รับโล่รางวัลเกียรติยศ และประกาศนียบัตรจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ นักศึกษาที่เข้าแข่งขันจะได้รับประสบการณ์ ข้อมูล และความรู้นอกเหนือจากของรางวัลดังกล่าว
โดยจะพยายามประชาสัมพันธ์ และชักชวนให้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าร่วมแข่งขันมากขึ้น
นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ธนชาต กล่าวว่า บุคลากรในตลาดตราสารหนี้มีค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะที่มีความเข้าใจจริงหายาก ยิ่งสภาวะตลาดเงินตลาดทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตราสารหนี้มีความหลากหลาย รวมทั้งมีความเข้าใจที่แตกต่างกันไปด้วย ซึ่งการแข่งขันจะช่วยให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทเข้าใจว่าในทางปฏิบัติต่างจากชั้นเรียน ภายใต้ปัจจัยต่างๆ อย่างอัตราดอกเบี้ยเข้ามากระทบแค่ไหน
ทั้งนี้ นักศึกษาจะได้ทราบว่าการลงทุนในตราสารหนนี้มีโอกาสกำไร และขาดทุนได้เช่นกัน โดยจะมีการนำผู้จัดการกองทุนมาให้ความรู้ มองว่าแม้ว่าตลาดตราสารหนี้จะมีความยาก แต่ก็มีความน่าสนใจเช่นกัน ซึ่งโครงการ ThaiBMA Bond Star Challenge 2009 เป็นการส่งเสริมตลาดทุนทางอ้อม และยังจำเป็นต้องจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างบุคลากรในอนาคตมารองรับด้วย