ASTVผู้จัดการรายวัน - อย่ามั่วนิ่ม "เกริก วณิกกุล" เตือนแบงก์พาณิชย์ อ้างไม่ปล่อยกู้เพราะลูกค้าติดเครดิตบูโร แนะใช้หลักเกณฑ์มาตรฐานตามเนื้อผ้า ด้านบิ๊กแบงก์กสิกรฯแจงไม่เคยปิดโอกาสลูกค้าแบล็คลิสต์ เน้นดูเจตนา
กรณีที่ผู้ประกอบการได้ร้องเรียนผ่านศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาสินเชื่อ (ศปส.) ว่าไม่ได้รับการอนุมติสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากติดเครดิตบูโร วานนี้ (19 ต.ค.) นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความเห็นว่า เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งมีความเข้าใจถึงความหมายในการติดเครดิตบูโร ซึ่งเป็นเพียงข้อมูลของแต่ละบุคคลเท่านั้น โดยไม่ได้มีเงื่อนไขว่าหากติดเครดิตบูโรแล้วจะไม่สามารถอนุมัติสินเชื่อได้
รองผู้ว่าฯ ธปท.เห็นว่า ธนาคารพาณิชย์มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนอยู่แล้ว ควรพิจารณาอนุมัติให้หรือไม่ให้สินเชื่อแก่บุคคลใด ตามเงื่อนไขของธนาคารเป็นหลัก และการที่ลูกค้ามีชื่อติดอยูในเครดิตบูโรไม่ได้แปลว่าไม่ได้สินเชื่อ
"เครดิตบูโรเป็นเพียงข้อมูลหนึ่งที่แบงก์จะเอาไปทำยังไงกับการปล่อยสินเชื่อ แบงก์จะทำอะไรก็ควรใช้ข้ออ้างที่ตรงกับความเป็นความจริง แบงก์มีนักกฏหมายเป็นร้อยคน เข้าใจความหมายของเครดิตบูโรดี" นายเกริกกล่าว
ก่อนหน้านี้ นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. ระบุว่า ตาม พ.ร.บ.ธุรกิจข้อมูลเครดิต ระบุว่าธนาคารพาณิชย์ต้องชี้แจงเหตุผลกับลูกค้าให้รับทราบถึงเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร ในการปฎิเสธการปล่อยสินเชื่อ ไม่ใช่เพียงอ้างว่าเพราะติดเครดิตบูโรเท่านั้น ดังนั้นหากประชาชนได้รับแจ้งว่า ไม่ได้สินเชื่อเพราะข้อมูลจากเครดิต บูโร จะต้องได้รับคำตอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากธนาคาร รวมทั้งควรไปตรวจสอบข้อมูลด้วยตัวเองที่เครดิต บูโรด้วยว่า มีปัญหาในบัญชีใดหรือไม่
การดำเนินงานของ ศปส.ที่ผ่านมานั้น ได้ให้คำแนะนำประชาชนในเรื่องการปล่อยสินเชื่อ รวมถึงประสานงานไปยังธนาคารพาณิชย์เพื่อแก้ปัญหาการไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าได้ หรือยุติเรื่องได้ 89 % ของเรื่องร้องเรียน จากถึงปัจจุบันมีเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 1,859 เรื่อง
ศปส.เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ 18 พฤษภาคม 2552 พบว่า ปัญหาที่ได้รับร้องเรียนมากที่สุด คือ ธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อ โดยไม่บอกเหตุผล
**"ประสาร"ยันไม่ปิดทางแบล็คลิสต์กู้**
ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยกรณีที่กระทรวงการคลังได้ขอให้ธนาคารแห่ปงระเทศไทย (ธปท.) ส่งสัญญาณไปยังสถาบันการเงินทุกแห่งว่าให้พิจารณาปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้าที่ติดเครดิตบูโรเพื่อให้สินเชื่อไหลเข้าสู่ระบบได้ตามปกติ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าทางธนาคารกสิกรไทยเองขอยืนยันว่าไม่ได้ปิดกั้นการทำธุรกิจการเงิน ซึ่งโดยปกติแล้วธนาคารมีความต้องการปล่อยสินเชื่อ และไม่ได้ปิดกั้นลูกค้าที่จะมาขอสินเชื่อแต่อย่างใด แต่ในกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อกับธนาคารแล้วพบว่าในอดีตมีปัญหาในการชำระหนี้จนกระทั่งมีประวัติทางการเงินกับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (ติดแบล็คลิสกับเครดิตบูโร) นั้นก็ต้องมีอยู่บ้าง แต่ธนาคารก็จะดูที่เจตนาของลูกค้าเป็นรายๆไปว่าที่ผ่านมาไม่ได้มีการชำระหนี้นั้นมีสาเหตุมากจากอะไร และต้องการหลีกเลี่ยงที่จะชำระหนี้หรือไม่ เพราะหากธนาคารไม่มีการตรวจสอบลูกค้าที่มาขอสินเชื่อก็อาจจะส่งผลเสียต่อธนาคารในอนาคตได้
“ธนาคารไม่ได้ปิดประตูในการปล่อยสินเชื่อ แต่ในกรณีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียโดยเฉพาะในตลาดสินเชื่อ ซึ่งข้อดี คือเป็นการส่งเสริมให้ผู้ขอสินเชื่อมีวินัยทางการเงินมากขึ้น ส่วนขอเสียนั้นคือการที่กระทรวงการคลังมีแนวคิดที่จะให้เครดิตบูโรมีการลดระยะเวลาการเก็บประวัติทางการเงินของลูกค้าที่อยู่ในเครดิตบูโรจากเดิม 3 ปี เหลือ 1 ปี นั้น เป็นการสร้างวินัยทางการเงินที่ไม่ดีแก่ลูกค้า โดยทำให้ต้นทุนทางเครดิตสูงขึ้น และเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนให้กับลูกหนี้ดีอื่นๆ ไปด้วย” นายประสาร กล่าว
กรณีที่ผู้ประกอบการได้ร้องเรียนผ่านศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาสินเชื่อ (ศปส.) ว่าไม่ได้รับการอนุมติสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากติดเครดิตบูโร วานนี้ (19 ต.ค.) นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความเห็นว่า เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งมีความเข้าใจถึงความหมายในการติดเครดิตบูโร ซึ่งเป็นเพียงข้อมูลของแต่ละบุคคลเท่านั้น โดยไม่ได้มีเงื่อนไขว่าหากติดเครดิตบูโรแล้วจะไม่สามารถอนุมัติสินเชื่อได้
รองผู้ว่าฯ ธปท.เห็นว่า ธนาคารพาณิชย์มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนอยู่แล้ว ควรพิจารณาอนุมัติให้หรือไม่ให้สินเชื่อแก่บุคคลใด ตามเงื่อนไขของธนาคารเป็นหลัก และการที่ลูกค้ามีชื่อติดอยูในเครดิตบูโรไม่ได้แปลว่าไม่ได้สินเชื่อ
"เครดิตบูโรเป็นเพียงข้อมูลหนึ่งที่แบงก์จะเอาไปทำยังไงกับการปล่อยสินเชื่อ แบงก์จะทำอะไรก็ควรใช้ข้ออ้างที่ตรงกับความเป็นความจริง แบงก์มีนักกฏหมายเป็นร้อยคน เข้าใจความหมายของเครดิตบูโรดี" นายเกริกกล่าว
ก่อนหน้านี้ นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. ระบุว่า ตาม พ.ร.บ.ธุรกิจข้อมูลเครดิต ระบุว่าธนาคารพาณิชย์ต้องชี้แจงเหตุผลกับลูกค้าให้รับทราบถึงเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร ในการปฎิเสธการปล่อยสินเชื่อ ไม่ใช่เพียงอ้างว่าเพราะติดเครดิตบูโรเท่านั้น ดังนั้นหากประชาชนได้รับแจ้งว่า ไม่ได้สินเชื่อเพราะข้อมูลจากเครดิต บูโร จะต้องได้รับคำตอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากธนาคาร รวมทั้งควรไปตรวจสอบข้อมูลด้วยตัวเองที่เครดิต บูโรด้วยว่า มีปัญหาในบัญชีใดหรือไม่
การดำเนินงานของ ศปส.ที่ผ่านมานั้น ได้ให้คำแนะนำประชาชนในเรื่องการปล่อยสินเชื่อ รวมถึงประสานงานไปยังธนาคารพาณิชย์เพื่อแก้ปัญหาการไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าได้ หรือยุติเรื่องได้ 89 % ของเรื่องร้องเรียน จากถึงปัจจุบันมีเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 1,859 เรื่อง
ศปส.เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ 18 พฤษภาคม 2552 พบว่า ปัญหาที่ได้รับร้องเรียนมากที่สุด คือ ธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อ โดยไม่บอกเหตุผล
**"ประสาร"ยันไม่ปิดทางแบล็คลิสต์กู้**
ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยกรณีที่กระทรวงการคลังได้ขอให้ธนาคารแห่ปงระเทศไทย (ธปท.) ส่งสัญญาณไปยังสถาบันการเงินทุกแห่งว่าให้พิจารณาปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้าที่ติดเครดิตบูโรเพื่อให้สินเชื่อไหลเข้าสู่ระบบได้ตามปกติ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าทางธนาคารกสิกรไทยเองขอยืนยันว่าไม่ได้ปิดกั้นการทำธุรกิจการเงิน ซึ่งโดยปกติแล้วธนาคารมีความต้องการปล่อยสินเชื่อ และไม่ได้ปิดกั้นลูกค้าที่จะมาขอสินเชื่อแต่อย่างใด แต่ในกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อกับธนาคารแล้วพบว่าในอดีตมีปัญหาในการชำระหนี้จนกระทั่งมีประวัติทางการเงินกับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (ติดแบล็คลิสกับเครดิตบูโร) นั้นก็ต้องมีอยู่บ้าง แต่ธนาคารก็จะดูที่เจตนาของลูกค้าเป็นรายๆไปว่าที่ผ่านมาไม่ได้มีการชำระหนี้นั้นมีสาเหตุมากจากอะไร และต้องการหลีกเลี่ยงที่จะชำระหนี้หรือไม่ เพราะหากธนาคารไม่มีการตรวจสอบลูกค้าที่มาขอสินเชื่อก็อาจจะส่งผลเสียต่อธนาคารในอนาคตได้
“ธนาคารไม่ได้ปิดประตูในการปล่อยสินเชื่อ แต่ในกรณีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียโดยเฉพาะในตลาดสินเชื่อ ซึ่งข้อดี คือเป็นการส่งเสริมให้ผู้ขอสินเชื่อมีวินัยทางการเงินมากขึ้น ส่วนขอเสียนั้นคือการที่กระทรวงการคลังมีแนวคิดที่จะให้เครดิตบูโรมีการลดระยะเวลาการเก็บประวัติทางการเงินของลูกค้าที่อยู่ในเครดิตบูโรจากเดิม 3 ปี เหลือ 1 ปี นั้น เป็นการสร้างวินัยทางการเงินที่ไม่ดีแก่ลูกค้า โดยทำให้ต้นทุนทางเครดิตสูงขึ้น และเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนให้กับลูกหนี้ดีอื่นๆ ไปด้วย” นายประสาร กล่าว