ASTVผู้จัดการรายวัน - บิ๊กแบงก์กรุงเทพยืนกรอบเป้าสินเชื่อปีนี้ 0-3% พยายามปล่อยกู้ครึ่งปีหลังหลังเห็นแววเศรษฐกิจขยับฟื้น พร้อมสัมมนาใหญ่การปรับตัวในยุคเศรษฐกิจโลกวิกฤต ชี้ทั้งรัฐและเอกชนต้องรับมือการเปลี่ยนแปลง
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) เปิดเผยว่า ธนาคารจะยังคงเป้าได้ปล่อยสินเชื่อทั้งปี 2552 ไว้ที่ระดับ 0-3% แม้ว่าครึ่งปีแรกสินเชื่อของธนาคารจะติดลบ 6% ภายใต้สมมติฐานที่การขยายตัวของเศรษฐกิจอยู่ในระดกับติดลบ 3-4% และเท่าที่ดูข้อมูลก็จะเห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณทางเสถียรภาพที่ดีขึ้นในทุกภาคส่วน ธนาคารจึงมั่นใจว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้ามี่ตั้งไว้
"สินเชื่อที่ชะลอตัวก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับธนาคารโดยส่วนใหญ่ แต่ก็ยังยืนยันจะทำให้ได้ตามเป้าทั้งปีที่ 0-3% หรือถ้าในสถานการณ์เลวร้ายที่สุดก็จะพยายามรักษาให้อยู่ในระดับทรงตัวที่ 0%ให้ได้ บนการคาดการณ์จีดีอยู่ที่ติดลบ 3-4%"
นายชาติศิริกล่าวอีกว่า ยอดสินเชื่อในครึ่งปีแรกที่ติดลบค่อนข้างมากนั้น ไม่ใช่เหตุผลจากธนาคารไม่อยากปล่อยสินเชื่อแต่เป็นไปตามการชะลอตัวของการใช้เงินตามสภาพของเศรษฐกิจ และในครึ่งปีหลังธนาคารจะให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ในการปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)
**รับหนี้เน่าครึ่งปีแรกเพิ่ม**
สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ในครึ่งปีแรกนั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากทุกประเภทธุรกิจ แต่เชื่อว่าในช่วงครึ่งปีหลังธนาคารจะสามารถควบคุมเอ็นพีแอลให้อยู่ในระดับที่ทรงตัวได้
"หนี้เอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในภาคธุรกิจใดเป็นพิเศษ เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างกระจายตัว กลุ่มเอสเอ็มอีก็มีบ้าง แต่ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมดูแลได้ ไม่มีอะไรที่คิดว่าหนักใจ ซึ่งธนาคารก็พยายามดำเนินการต่างๆ ในหลายด้านเพื่อให้มีเสถียรภาพอยู่ในระดับที่สูงและมีความสามารถในการทำกำไรที่อยู่ในเกณฑ์ดี"
**โฆสิตชี้ครึ่งปีหลังSMEยังลำบาก**
ด้านนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวในงานสัมมนาหัวข้อ "การปรับตัวในยุคเศรษฐกิจโลกวิกฤต" ว่า การปรับตัวของภาคธุรกิจเอสเอ็มอีในครึ่งปีหลังคงเป็นไปอย่างยากลำบาก ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้ปรับตัวบ้างแล้วจะสามารถดำเนินงานต่อไปได้ดี แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งปรับตัวคงต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งในส่วนนี้ทางธนาคารยินดีที่จะร่วมงานและช่วยเหลือกับกลุ่มลูกค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ธนาคารกำลังติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดใน 3 เรื่องด้วยกัน คือ1.ปัจจัยพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวยในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนที่ว่าด้วยเรื่องการค้าและการท่องเที่ยวของโลกปรับตัวลดลงหลังจากที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและไม่สามารถฟื้นกลับมาเติบโตได้เหมือนเดิม ประการที่ 2.สภาพโดยรวมของภาวะและโครงร้างเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องปรับทิศทางให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยน คือโลกจะเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนโดยเอกชนมาเป็นรัฐบาลแทน ซึ่งก็เป็นแบบนี้ทุกประเทศ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วเศรษฐกิจจะตกต่ำไปกว่านี้อีก
และ3.ทิศทางเศรษฐกิจของไทยใน 3-4 ปีข้างหน้า ซึ่งเรื่องใหญ่สุดคือ ต้องมองว่าทำอย่างไร จึงสามารถกลับคืนสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยเอกชนแทนรัฐบาล ทั้งนี้ การที่เอกชนจะกลับมามีบทบาทเหมือนเดิมได้นั้นคงจะต้องมีการปรับทิศทางที่สำคัญหลายอย่าง โดยจะต้องให้รัฐบาลมีการส่งต่อภารกิจแก่เอกชน เพื่อรับช่วงที่น่าจะเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนและเป็นการสร้างโอกาสในการมีงานทำที่มีคุณภาพในอนาคต
"การสร้างโอกาสในการมีงานทำที่มีคุณภาพและยั่งยืนต้องให้เอกชนเข้ามาช่วยโดยอาศัยกำลังส่งของรัฐบาลเข้าไปเตรียมการเพื่อส่งเสริมให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เฉพาะเรื่องการสนับสนุนให้มีความเข้มแข็งของซับพลายเชนทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือของรัฐบาลและเอกชน เพราจะเป็นการสร้างงานที่มีคุณภาพ"นายโฆสิตกล่าว.
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) เปิดเผยว่า ธนาคารจะยังคงเป้าได้ปล่อยสินเชื่อทั้งปี 2552 ไว้ที่ระดับ 0-3% แม้ว่าครึ่งปีแรกสินเชื่อของธนาคารจะติดลบ 6% ภายใต้สมมติฐานที่การขยายตัวของเศรษฐกิจอยู่ในระดกับติดลบ 3-4% และเท่าที่ดูข้อมูลก็จะเห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณทางเสถียรภาพที่ดีขึ้นในทุกภาคส่วน ธนาคารจึงมั่นใจว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้ามี่ตั้งไว้
"สินเชื่อที่ชะลอตัวก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับธนาคารโดยส่วนใหญ่ แต่ก็ยังยืนยันจะทำให้ได้ตามเป้าทั้งปีที่ 0-3% หรือถ้าในสถานการณ์เลวร้ายที่สุดก็จะพยายามรักษาให้อยู่ในระดับทรงตัวที่ 0%ให้ได้ บนการคาดการณ์จีดีอยู่ที่ติดลบ 3-4%"
นายชาติศิริกล่าวอีกว่า ยอดสินเชื่อในครึ่งปีแรกที่ติดลบค่อนข้างมากนั้น ไม่ใช่เหตุผลจากธนาคารไม่อยากปล่อยสินเชื่อแต่เป็นไปตามการชะลอตัวของการใช้เงินตามสภาพของเศรษฐกิจ และในครึ่งปีหลังธนาคารจะให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ในการปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)
**รับหนี้เน่าครึ่งปีแรกเพิ่ม**
สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ในครึ่งปีแรกนั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากทุกประเภทธุรกิจ แต่เชื่อว่าในช่วงครึ่งปีหลังธนาคารจะสามารถควบคุมเอ็นพีแอลให้อยู่ในระดับที่ทรงตัวได้
"หนี้เอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในภาคธุรกิจใดเป็นพิเศษ เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างกระจายตัว กลุ่มเอสเอ็มอีก็มีบ้าง แต่ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมดูแลได้ ไม่มีอะไรที่คิดว่าหนักใจ ซึ่งธนาคารก็พยายามดำเนินการต่างๆ ในหลายด้านเพื่อให้มีเสถียรภาพอยู่ในระดับที่สูงและมีความสามารถในการทำกำไรที่อยู่ในเกณฑ์ดี"
**โฆสิตชี้ครึ่งปีหลังSMEยังลำบาก**
ด้านนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวในงานสัมมนาหัวข้อ "การปรับตัวในยุคเศรษฐกิจโลกวิกฤต" ว่า การปรับตัวของภาคธุรกิจเอสเอ็มอีในครึ่งปีหลังคงเป็นไปอย่างยากลำบาก ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้ปรับตัวบ้างแล้วจะสามารถดำเนินงานต่อไปได้ดี แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งปรับตัวคงต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งในส่วนนี้ทางธนาคารยินดีที่จะร่วมงานและช่วยเหลือกับกลุ่มลูกค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ธนาคารกำลังติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดใน 3 เรื่องด้วยกัน คือ1.ปัจจัยพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวยในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนที่ว่าด้วยเรื่องการค้าและการท่องเที่ยวของโลกปรับตัวลดลงหลังจากที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและไม่สามารถฟื้นกลับมาเติบโตได้เหมือนเดิม ประการที่ 2.สภาพโดยรวมของภาวะและโครงร้างเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องปรับทิศทางให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยน คือโลกจะเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนโดยเอกชนมาเป็นรัฐบาลแทน ซึ่งก็เป็นแบบนี้ทุกประเทศ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วเศรษฐกิจจะตกต่ำไปกว่านี้อีก
และ3.ทิศทางเศรษฐกิจของไทยใน 3-4 ปีข้างหน้า ซึ่งเรื่องใหญ่สุดคือ ต้องมองว่าทำอย่างไร จึงสามารถกลับคืนสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยเอกชนแทนรัฐบาล ทั้งนี้ การที่เอกชนจะกลับมามีบทบาทเหมือนเดิมได้นั้นคงจะต้องมีการปรับทิศทางที่สำคัญหลายอย่าง โดยจะต้องให้รัฐบาลมีการส่งต่อภารกิจแก่เอกชน เพื่อรับช่วงที่น่าจะเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนและเป็นการสร้างโอกาสในการมีงานทำที่มีคุณภาพในอนาคต
"การสร้างโอกาสในการมีงานทำที่มีคุณภาพและยั่งยืนต้องให้เอกชนเข้ามาช่วยโดยอาศัยกำลังส่งของรัฐบาลเข้าไปเตรียมการเพื่อส่งเสริมให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เฉพาะเรื่องการสนับสนุนให้มีความเข้มแข็งของซับพลายเชนทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือของรัฐบาลและเอกชน เพราจะเป็นการสร้างงานที่มีคุณภาพ"นายโฆสิตกล่าว.