ASTVผู้จัดการรายวัน - บิ๊กแบงก์ประเมินไตรมาส 2 สินเชื่อยังทรงตัว เหตุผู้ประกอบการหันออกหุ้นกู้รับดอกเบี้ยขาลง ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังไม่ชัดเจนและต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด "ประสาร"ชี้หากกระเตื้องก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย ด้าน"ชาติศิริ"ประเมินครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยจะมีเสถียรภาพมากขึ้น พร้อมรอความชัดเจนเกี่ยวกับการขอลดส่งเงินสมทบก่อนคำนวณการขึ้น-ลดดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ส่วนการแข็งค่าเงินบาทเป็นไปตามภูมิภาคเชื่อธปท.คอยดูแลไม่ให้เสียเปรียบ
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสต่อจากนี้ไปคงมีการเติบโตไม่สูงนักจากในไตรมาส 1/2552 สินเชื่อของระบบมีการติดลบ 2.2% นอกจากนี้ทางผู้ประกอบการยังหันมาระดมสภาพคล่องด้วยการออกหุ้นกู้กันมากขึ้น เพราะภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำและยังเป็นแหล่งเงินระยะยาว
ด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจนั้นยังคงต้องมีการติดตามที่ใกล้ชิดแม้ว่าในขณะนี้สัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจนั้นเริ่มมีอัตราที่ช้าลงแล้วโดยปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวครั้งนี้มาจากปัจจัยด้านต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น ยุโรป เป็นต้น ซึ่งหากประเทศเหล่านี้ฟื้นตัวได้เร็วเท่าไหร่ก็จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย
"ภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ดังกล่าวเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นจนหลายฝ่ายมองว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจนั้นน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว แต่ก็เป็นแค่ข้อมูลระยะสั้น ซึ่งต่อไปนี้ก็ยังคงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกรอบนี้คงไม่เข้มแข็งเร็วนัก แต่ต้องใช้เวลาที่จะฟื้นตัวเพราะปัญหารอบนี้เกิดจากระบบสถาบันการเงินของโลก"
สำหรับประเทศไทยนั้นจะต้องพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาครัฐและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่างๆซึ่งหากทำได้ดีก็จะช่วยประคองเศรษฐกิจให้ไปต่อได้ รวมถึงปัจจัยด้านการเมืองก็ต้องมีเสถียรภาพ เพราะถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลกระทบมาก ทั้งนี้จากแผนของรัฐบาลที่จะมีการกู้เงินภายในประเทศนั้น ก็จะไม่มีผลกระทบต่อธนาคารเนื่องจากขณะนี้ยังมีสภาพคล่องเพียงพอในการปล่อยกู้และไม่จำเป็นที่จะต้องมีการะดมเงินฝากเพิ่มเป็นพิเศษเพื่อรองรับการกู้เงินดังกล่าวด้วย
ส่วนการขอลดเงินสมทบให้กับสถาบันประกันเงินฝากนั้นหากมีการปรับลดจริง ธนาคารก็ต้องทำการส่งผลการปรับลดดังกล่าวไปยังเงินกู้และเงินฝาก แต่ในขณะนี้ยังไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่าจะออกมาในรูปแบบใด ซึ่งแต่ละธนาคารอาจจะเข้าสูตรการคำนวณที่แตกต่างกันก็ได้
ชี้บาทผันผวนตามดอลล์
นายประสารกล่าวอีกว่า การแข็งค่าของเงินบาทที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เกิดจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรํฐฯ ส่งผลให้ค่าเงินของสกุลอื่นๆปรับแข็งค่าขึ้น โดยค่าเงินค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จะยังคงผันผวน 2-3 ปี เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐยังมีปัญหาส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง โดยการแข็งค่าของค่าเงินยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก เนื่องจากเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินของภูมิภาค และเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ดูแลอยู่ไม่ให้ค่าเงินแข็งค่ามากกว่าค่าเงินในภูมิภาค และการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค แต่หากปล่อยให้แข็งค่ามากกว่าภูมิภาคก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกได้ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้คาดเดาได้ยากว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับเท่าไรเนื่องการเคลื่อนไหวเป็นไปตามความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
"ตอนเศรษฐกิจมีปัญหาคนตกใจก็จะเข้าไปหาเงินดอลลาร์เพราะมีความมั่นคง แต่เมื่อเหตุการณ์เริ่มสงบ คนหายตกใจก็จะมาพิจารณาพื้นฐานเศรษฐกิจที่แท้จริงโดยเศรษฐกิจของสหรัฐฯมีปัญหารัฐบาลได้อัดฉีดเงินเป็นจำนวนมาก ในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อค่าเงินดอลลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงมาก คนที่เข้าไปลงทุนในดอลลาร์สหรัฐ ก็ต้องหาช่องทางลงทุนอื่น"
คาดครึ่งปีหลังศก.มีเสถียรภาพมากขึ้น
ขณะที่นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า ในขณะนี้ลูกค้าที่ทำธุรกิจการส่งออกของธนาคารยังไม่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของค่าเงินบาทโดยการแข็งค่าที่เกิดขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับการแข็งค่าของค่าเงินในภูมิภาค
ทั้งนี้ ธนาคารประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ว่าจะติดลบ 2-3% ส่วนแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นก็จะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่ส่วนที่ยังต้องติดตามก็คือภาวะเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ ๆ เพราะหากประเทศเหล่านั้นแย่ประเทศไทยก็ต้องแย่ตาม
ส่วนกรณีที่รัฐบาลไทยมีนโยบายออกพันธบัตรมูลค่า 8 แสนล้านบาทนั้น ธนาคารก็มีความพร้อมในการปล่อยกู้เพราะสภาพคล่องในปัจจุบันมีเพียงพอ หากมีโอกาสก็จะเข้าไปร่วมมือทันที
ส่วนแนวโน้มการดำเนินงานไตรมาส 2 ก็มีลูกค้าบางรายเตรียมที่จะออกหุ้นกู้เพิ่ม ซึ่งสัดส่วนของลูกค้าที่จะออกหุ้นกู้น่าจะมีสัดส่วนเท่ากันกับลูกค้าที่มาขอสินเชื่อ และคาดว่าในไตรมาส 2 การปล่อยสินเชื่อจะทรงตัวจากไตรมาส 1 ซึ่งโดยรวมลูกค้าก็ยังมีความต้องการสินเชื่ออยู่ แต่ผู้ประกอบการก็มีความระมัดระวังในการขอสินเชื่อมากขึ้น
"เศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัวทุกธุรกิจก็ต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจบางอุตสาหกรรมก็มีการปรับตัวมากขึ้น เพราะกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ต้องใช้เวลานานพอสมควร ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยน่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้นและจะส่งผลให้อุตสาหกรรมส่งออกที่ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ในตอนนี้ฟื้นตัวได้"
สำหรับกรณีที่สมาคมธนาคารไทยดำเนินการขอลดการส่งเงินสมทบให้กับสถาบันประกันเงินฝากจาก 0.4% เป็น 0.2% นั้น ก็ยังไม่มีความคืบหน้า ยังอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการ
ส่วนแผนการรุกธุรกิจลีสซิ่งของธนาคารนั้นปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการใดๆ
รอคลังตัดสินขายหุ้นACL
ส่วนความคืบหน้าการขายหุ้นธนาคารสินเอเซีย จำกัด(มหาชน)หรือ ACLที่ธนาคารถืออยู่ 19% นั้น ธนาคารกำลังรอดูเพราะต้องรอให้กระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีความชัดเจนในการขายหุ้นให้ ICBC ก่อน จากนั้นธนาคารจึงจะมีการพิจารณาแต่ธนาคารก็ต้องการให้เรียบร้อยโดยเร็ว
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสต่อจากนี้ไปคงมีการเติบโตไม่สูงนักจากในไตรมาส 1/2552 สินเชื่อของระบบมีการติดลบ 2.2% นอกจากนี้ทางผู้ประกอบการยังหันมาระดมสภาพคล่องด้วยการออกหุ้นกู้กันมากขึ้น เพราะภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำและยังเป็นแหล่งเงินระยะยาว
ด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจนั้นยังคงต้องมีการติดตามที่ใกล้ชิดแม้ว่าในขณะนี้สัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจนั้นเริ่มมีอัตราที่ช้าลงแล้วโดยปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวครั้งนี้มาจากปัจจัยด้านต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น ยุโรป เป็นต้น ซึ่งหากประเทศเหล่านี้ฟื้นตัวได้เร็วเท่าไหร่ก็จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย
"ภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ดังกล่าวเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นจนหลายฝ่ายมองว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจนั้นน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว แต่ก็เป็นแค่ข้อมูลระยะสั้น ซึ่งต่อไปนี้ก็ยังคงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกรอบนี้คงไม่เข้มแข็งเร็วนัก แต่ต้องใช้เวลาที่จะฟื้นตัวเพราะปัญหารอบนี้เกิดจากระบบสถาบันการเงินของโลก"
สำหรับประเทศไทยนั้นจะต้องพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาครัฐและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่างๆซึ่งหากทำได้ดีก็จะช่วยประคองเศรษฐกิจให้ไปต่อได้ รวมถึงปัจจัยด้านการเมืองก็ต้องมีเสถียรภาพ เพราะถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลกระทบมาก ทั้งนี้จากแผนของรัฐบาลที่จะมีการกู้เงินภายในประเทศนั้น ก็จะไม่มีผลกระทบต่อธนาคารเนื่องจากขณะนี้ยังมีสภาพคล่องเพียงพอในการปล่อยกู้และไม่จำเป็นที่จะต้องมีการะดมเงินฝากเพิ่มเป็นพิเศษเพื่อรองรับการกู้เงินดังกล่าวด้วย
ส่วนการขอลดเงินสมทบให้กับสถาบันประกันเงินฝากนั้นหากมีการปรับลดจริง ธนาคารก็ต้องทำการส่งผลการปรับลดดังกล่าวไปยังเงินกู้และเงินฝาก แต่ในขณะนี้ยังไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่าจะออกมาในรูปแบบใด ซึ่งแต่ละธนาคารอาจจะเข้าสูตรการคำนวณที่แตกต่างกันก็ได้
ชี้บาทผันผวนตามดอลล์
นายประสารกล่าวอีกว่า การแข็งค่าของเงินบาทที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เกิดจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรํฐฯ ส่งผลให้ค่าเงินของสกุลอื่นๆปรับแข็งค่าขึ้น โดยค่าเงินค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จะยังคงผันผวน 2-3 ปี เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐยังมีปัญหาส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง โดยการแข็งค่าของค่าเงินยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก เนื่องจากเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินของภูมิภาค และเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ดูแลอยู่ไม่ให้ค่าเงินแข็งค่ามากกว่าค่าเงินในภูมิภาค และการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค แต่หากปล่อยให้แข็งค่ามากกว่าภูมิภาคก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกได้ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้คาดเดาได้ยากว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับเท่าไรเนื่องการเคลื่อนไหวเป็นไปตามความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
"ตอนเศรษฐกิจมีปัญหาคนตกใจก็จะเข้าไปหาเงินดอลลาร์เพราะมีความมั่นคง แต่เมื่อเหตุการณ์เริ่มสงบ คนหายตกใจก็จะมาพิจารณาพื้นฐานเศรษฐกิจที่แท้จริงโดยเศรษฐกิจของสหรัฐฯมีปัญหารัฐบาลได้อัดฉีดเงินเป็นจำนวนมาก ในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อค่าเงินดอลลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงมาก คนที่เข้าไปลงทุนในดอลลาร์สหรัฐ ก็ต้องหาช่องทางลงทุนอื่น"
คาดครึ่งปีหลังศก.มีเสถียรภาพมากขึ้น
ขณะที่นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า ในขณะนี้ลูกค้าที่ทำธุรกิจการส่งออกของธนาคารยังไม่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของค่าเงินบาทโดยการแข็งค่าที่เกิดขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับการแข็งค่าของค่าเงินในภูมิภาค
ทั้งนี้ ธนาคารประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ว่าจะติดลบ 2-3% ส่วนแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นก็จะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่ส่วนที่ยังต้องติดตามก็คือภาวะเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ ๆ เพราะหากประเทศเหล่านั้นแย่ประเทศไทยก็ต้องแย่ตาม
ส่วนกรณีที่รัฐบาลไทยมีนโยบายออกพันธบัตรมูลค่า 8 แสนล้านบาทนั้น ธนาคารก็มีความพร้อมในการปล่อยกู้เพราะสภาพคล่องในปัจจุบันมีเพียงพอ หากมีโอกาสก็จะเข้าไปร่วมมือทันที
ส่วนแนวโน้มการดำเนินงานไตรมาส 2 ก็มีลูกค้าบางรายเตรียมที่จะออกหุ้นกู้เพิ่ม ซึ่งสัดส่วนของลูกค้าที่จะออกหุ้นกู้น่าจะมีสัดส่วนเท่ากันกับลูกค้าที่มาขอสินเชื่อ และคาดว่าในไตรมาส 2 การปล่อยสินเชื่อจะทรงตัวจากไตรมาส 1 ซึ่งโดยรวมลูกค้าก็ยังมีความต้องการสินเชื่ออยู่ แต่ผู้ประกอบการก็มีความระมัดระวังในการขอสินเชื่อมากขึ้น
"เศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัวทุกธุรกิจก็ต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจบางอุตสาหกรรมก็มีการปรับตัวมากขึ้น เพราะกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ต้องใช้เวลานานพอสมควร ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยน่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้นและจะส่งผลให้อุตสาหกรรมส่งออกที่ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ในตอนนี้ฟื้นตัวได้"
สำหรับกรณีที่สมาคมธนาคารไทยดำเนินการขอลดการส่งเงินสมทบให้กับสถาบันประกันเงินฝากจาก 0.4% เป็น 0.2% นั้น ก็ยังไม่มีความคืบหน้า ยังอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการ
ส่วนแผนการรุกธุรกิจลีสซิ่งของธนาคารนั้นปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการใดๆ
รอคลังตัดสินขายหุ้นACL
ส่วนความคืบหน้าการขายหุ้นธนาคารสินเอเซีย จำกัด(มหาชน)หรือ ACLที่ธนาคารถืออยู่ 19% นั้น ธนาคารกำลังรอดูเพราะต้องรอให้กระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีความชัดเจนในการขายหุ้นให้ ICBC ก่อน จากนั้นธนาคารจึงจะมีการพิจารณาแต่ธนาคารก็ต้องการให้เรียบร้อยโดยเร็ว