เอเอฟพี - รัฐบาลญี่ปุ่นแถลงคาดการณ์เมื่อวานนี้(27)ว่า เศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยในปีงบประมาณนี้ (เมย.2009 - มี.ค.2010) ยังจะหดตัวถึง 3.3% อันเป็นอัตราที่ย่ำแย่ที่สุดในช่วงมากกว่า 50 ปี ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็กำลังพยายามผลักดันออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
หากปีงบประมาณ 2009 เศรษฐกิจมีการทรุดตัวในระดับที่ทำนายไว้เช่นนี้ ก็จะกลายเป็นปีที่มีอัตราการเติบโตย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่ที่ญี่ปุ่นเริ่มมีการคำนวณจัดทำตัวเลขอัตราเติบโตกันมาเมื่อปี 1955 ทั้งนี้หลังจากที่อัตราการเติบโตของปีงบประมาณ 2008 ก็จะติดลบ 3.1% มาแล้ว
รัฐมนตรีคลัง คาโอรุ โยซาโนะ กล่าวว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นดิ่งลงรวดเร็วมากนับตั้งปลายปีที่แล้วเป็นต้นมา
"ท่ามกลางภูมิหลังของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก อัตราการส่งออกและการผลิตก็ทรุดตัวอย่างสาหัส ขณะที่การจ้างงานลดน้อยลงไปอย่างรวดเร็ว" โยซาโนกล่าวในรัฐสภา
"บรรยากาศทางการเงิน อย่างเช่น การระดมเงินทุนของภาคบรรษัท ยังคงย่ำแย่เช่นกัน แน่นอนทีเดียวว่า ประเทศของเรานั้นกำลังอยู่ในภาวะที่เรียกได้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างเต็มปากเต็มคำ"
เศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าที่จะเริ่มหดตัวมาตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2007 และในไตรมาสสุดท้ายของปี 2008 นั้น อัตราการเติบโตเมื่อคิดเป็นรายปีจะติดลบถึง 12.1% เพราะการส่งออกที่เป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศได้ทรุดฮวบลง จากความต้องการสินค้าในต่างประเทศที่ลดลง
ตามการคำนวณของสำนักงานคณะรัฐมนตรี ช่วงไตรมาสเดือนมกราคมถึงมีนาคมปีนี้ (อันเป็นไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2008) เศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าจะหดตัวในระดับเมื่อคำนวณเป็นรายปีจะเท่ากับ 14% พร้อมกันนั้นทางสำนักงานยังได้ยกเลิกการประมาณการก่อนหน้าที่ว่า ปีงบประมาณ 2009 การเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะอยู่ในอัตรา 0%
การหดตัวของเศรษฐกิจปีงบประมาณ 2009 ตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ล่าสุดนี้ เท่ากับจะย่ำแย่ยิ่งกว่าสถานการณ์เมื่อปี 1998 ที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบไป 1.5% และจุดที่ย่ำแย่ที่สุดในทศวรรษ 1990 ที่ได้รับสมญาว่าเป็น "ทศวรรษแห่งสูญเปล่า" เพราะมีแต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและภาวะเงินฝืด
รัฐบาลยังคงวาดภาพคาดการณ์อันมัวมนสำหรับปีงบประมาณ 2009 ถึงแม้รัฐบาลมีการจัดทำแผนการอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นมูลค่าถึง15.4 ล้านล้านเยน (150,000 ล้านดอลลาณ์) ซึ่งเท่ากับ 2% ของจีดีพีประเทศแล้วก็ตาม
โยซาโนะบอกว่าญี่ปุ่นจำเป็นต้องลดการพึ่งพาความต้องการสินค้าญี่ปุ่นของต่างประเทศลง "ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนี้ เราได้เลือกนโยบายอย่างรอบคอบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมทั้งประกันว่าญี่ปุ่นจะมีพลังในการขับเคลื่อนการเติบโตต่อไปในอนาคตด้วย" ทั้งนี้โยซาโนบอกด้วยว่ามาตรการเหล่านี้ มีอาทิ การสร้างงาน และการลงทุนในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลจะใช้วิธีออกพันธบัตรมูลค่า 10.8 ล้านล้านเยน เพื่อระดมเงินมาใช้จ่ายในโครงการพิเศษเหล่านี้ และทำให้การออกพันธบัตรของญี่ปุ่นในรอบปีเพิ่มขึ้นเป็น 44.1 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อีกทั้งสร้างแรงกดดันต่อกระทรวงการคลังที่กู้ยืมเงินสาธารณะมาแล้วเป็นจำนวนมหาศาล
โยซาโนะให้คำมั่นจะสร้างวินัยทางด้านการเงินในระยะกลาง ขณะเดียวกันก็กล่าวว่าการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อต่อสู้กับวิกฤตในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นจะต้องทำ และยังเป็นภาระผูกพันของญี่ปุ่นต่อประเทศต่าง ๆทั่วโลกด้วย
แม้ว่ารัฐบาลยังคงคาดการณ์เศรษฐกิจไม่ค่อยสดใสนัก แต่ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาไม่นานนี้แสดงให้เห็นความหวังที่ว่า ภาวะวิกฤตของญี่ปุ่นอาจจะเริ่มบรรเทาลงไปบ้าง ภาคการส่งออกมีความหวังว่าจะดีดขึ้นได้ในไม่ช้า ในขณะที่ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรก็เพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดหมาย
หากปีงบประมาณ 2009 เศรษฐกิจมีการทรุดตัวในระดับที่ทำนายไว้เช่นนี้ ก็จะกลายเป็นปีที่มีอัตราการเติบโตย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่ที่ญี่ปุ่นเริ่มมีการคำนวณจัดทำตัวเลขอัตราเติบโตกันมาเมื่อปี 1955 ทั้งนี้หลังจากที่อัตราการเติบโตของปีงบประมาณ 2008 ก็จะติดลบ 3.1% มาแล้ว
รัฐมนตรีคลัง คาโอรุ โยซาโนะ กล่าวว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นดิ่งลงรวดเร็วมากนับตั้งปลายปีที่แล้วเป็นต้นมา
"ท่ามกลางภูมิหลังของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก อัตราการส่งออกและการผลิตก็ทรุดตัวอย่างสาหัส ขณะที่การจ้างงานลดน้อยลงไปอย่างรวดเร็ว" โยซาโนกล่าวในรัฐสภา
"บรรยากาศทางการเงิน อย่างเช่น การระดมเงินทุนของภาคบรรษัท ยังคงย่ำแย่เช่นกัน แน่นอนทีเดียวว่า ประเทศของเรานั้นกำลังอยู่ในภาวะที่เรียกได้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างเต็มปากเต็มคำ"
เศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าที่จะเริ่มหดตัวมาตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2007 และในไตรมาสสุดท้ายของปี 2008 นั้น อัตราการเติบโตเมื่อคิดเป็นรายปีจะติดลบถึง 12.1% เพราะการส่งออกที่เป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศได้ทรุดฮวบลง จากความต้องการสินค้าในต่างประเทศที่ลดลง
ตามการคำนวณของสำนักงานคณะรัฐมนตรี ช่วงไตรมาสเดือนมกราคมถึงมีนาคมปีนี้ (อันเป็นไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2008) เศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าจะหดตัวในระดับเมื่อคำนวณเป็นรายปีจะเท่ากับ 14% พร้อมกันนั้นทางสำนักงานยังได้ยกเลิกการประมาณการก่อนหน้าที่ว่า ปีงบประมาณ 2009 การเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะอยู่ในอัตรา 0%
การหดตัวของเศรษฐกิจปีงบประมาณ 2009 ตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ล่าสุดนี้ เท่ากับจะย่ำแย่ยิ่งกว่าสถานการณ์เมื่อปี 1998 ที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบไป 1.5% และจุดที่ย่ำแย่ที่สุดในทศวรรษ 1990 ที่ได้รับสมญาว่าเป็น "ทศวรรษแห่งสูญเปล่า" เพราะมีแต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและภาวะเงินฝืด
รัฐบาลยังคงวาดภาพคาดการณ์อันมัวมนสำหรับปีงบประมาณ 2009 ถึงแม้รัฐบาลมีการจัดทำแผนการอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นมูลค่าถึง15.4 ล้านล้านเยน (150,000 ล้านดอลลาณ์) ซึ่งเท่ากับ 2% ของจีดีพีประเทศแล้วก็ตาม
โยซาโนะบอกว่าญี่ปุ่นจำเป็นต้องลดการพึ่งพาความต้องการสินค้าญี่ปุ่นของต่างประเทศลง "ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนี้ เราได้เลือกนโยบายอย่างรอบคอบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมทั้งประกันว่าญี่ปุ่นจะมีพลังในการขับเคลื่อนการเติบโตต่อไปในอนาคตด้วย" ทั้งนี้โยซาโนบอกด้วยว่ามาตรการเหล่านี้ มีอาทิ การสร้างงาน และการลงทุนในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลจะใช้วิธีออกพันธบัตรมูลค่า 10.8 ล้านล้านเยน เพื่อระดมเงินมาใช้จ่ายในโครงการพิเศษเหล่านี้ และทำให้การออกพันธบัตรของญี่ปุ่นในรอบปีเพิ่มขึ้นเป็น 44.1 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อีกทั้งสร้างแรงกดดันต่อกระทรวงการคลังที่กู้ยืมเงินสาธารณะมาแล้วเป็นจำนวนมหาศาล
โยซาโนะให้คำมั่นจะสร้างวินัยทางด้านการเงินในระยะกลาง ขณะเดียวกันก็กล่าวว่าการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อต่อสู้กับวิกฤตในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นจะต้องทำ และยังเป็นภาระผูกพันของญี่ปุ่นต่อประเทศต่าง ๆทั่วโลกด้วย
แม้ว่ารัฐบาลยังคงคาดการณ์เศรษฐกิจไม่ค่อยสดใสนัก แต่ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาไม่นานนี้แสดงให้เห็นความหวังที่ว่า ภาวะวิกฤตของญี่ปุ่นอาจจะเริ่มบรรเทาลงไปบ้าง ภาคการส่งออกมีความหวังว่าจะดีดขึ้นได้ในไม่ช้า ในขณะที่ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรก็เพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดหมาย