กสิกรไทยปรับโครงสร้าง บ.ในเครือ ดึงธุรกิจแฟคเตอริ่งมาดูเอง พร้อมลุยขยายสินเชื่อในต่างประเทศผ่านสาขาแบงก์ ตั้งเป้าเพิ่มมาเก็ตแชร์เป็น 30% ในปี 54 จากปัจจุบันที่ 21% ขณะที่ยอดปล่อยสินเชื่อรวมของธนาคาร 8 เดือนเริ่มมีสัญญาณบวก แต่ยังจับตาการชุมนุม ชี้เป็นตัวถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารมีแผนที่จะโอนการดำเนินธุรกิจจาก บริษัท แฟคเตอริ่ง กสิกรไทย จำกัด มาให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้ดำเนินการแทนในช่วงต้นปี 2553 เนื่องจากเครือธนาคารกสิกรไทยเล็งเห็นว่าธุรกิจแฟคเตอริ่งเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการธุรกิจยังมีความต้องการกระแสเงินสด เพื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจระหว่างประเทศที่มีการให้ระยะเวลาเครดิตกับลูกค้าในต่างประเทศในการชำระเงิน แต่บริษัทที่ให้บริการแฟคตอริ่งยังมีข้อจำกัดในเรื่องการให้บริการที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ เพราะไม่มีใบอนุญาตการทำธุรกรรมสกุลเงินตราต่างประเทศแต่ในส่วนของธนาคารจะมีใบอนุญาตดังกล่าว จึงมีความสะดวกในการดำเนินธุรกรรมมากกว่า
โดยลูกค้าจะสามารถได้รับบริการผ่านศูนย์บริการธุรกิจต่างประเทศของธนาคารที่มีกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดแฟคเตอริ่งสำหรับธุรกิจต่างประเทศของโลกที่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการเติบโตสูงถึง 27% ต่อปี ขณะที่ในประเทศไทยก็มีการเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 12% ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าตลาดประมาณ 1 แสนล้านบาท สูงกว่าการเติบโตธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
“บริษัท แฟคเตอริ่ง กสิกรไทย จะมุ่งเน้นและขยายธุรกิจการให้บริการลีสซิ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นหลัก โดยเป็นการให้บริการแบบครบวงจรทั้ง 3 บริการ ได้แก่ บริการสินเชื่อเช่าซื้อ บริการสัญญาเช่าทางการเงิน และบริการสัญญาเช่าดำเนินการ เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของกลุ่มลูกค้า ทั้งนี้ หากพิจารณายอดขายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศที่อาศัยแหล่งเงินทุนต่างๆ ในปีที่ผ่านมา พบว่า มีมูลค่ากว่า 6 แสนล้านบาท ในขณะที่จำนวนผู้ให้บริการลีสซิ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์ มีจำนวนน้อยราย” นายประสาร กล่าว
ทั้งนี้ เครือธนาคารกสิกรไทยตั้งเป้าหมายเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด(มาร์เก็ตแชร์) ในธุรกิจแฟคเตอริ่งจากปัจจุบันอยู่ที่ 21% เป็น 30% ภายในปี 2554 ซึ่งจะทำให้ธุรกิจแฟคเตอริ่งของเครือธนาคารกสิกรไทยครองความเป็นผู้นำอันดับ 1 ในธุรกิจแฟคเตอริ่งในประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปีหน้าตั้งเป้าเพิ่มปริมาณธุรกิจอีกกว่าเท่าตัว เพื่อให้สอดคล้องแผนงานดังกล่าวใน 3 ปี จากปัจจุบันยอดคงค้างสินเชื่อแฟคเตอริ่ง มีมูลค่า 2.2 พันล้านบาท และมูลค่าสินเชื่อหมุนเวียนแฟคเตอริ่งมีมูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท ส่วนคุณภาพลูกหนี้ยังอยู่ในระดับทรงตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ดี ภายหลังการโอนลูกค้าไปยังธนาคารกสิกรไทย คาดว่า ฐานลูกค้าจะเติบโตไม่น้อยกว่า 20% จากปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 500 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เป็นหลัก และคาดว่า จะมีลูกค้าเอสเอ็มอีและบรรษัทเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งปริมาณธุรกรรมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน
**ชี้เหตุชุมนุมตัวถ่วง ศก.ฟื้น**
นายประสาร กล่าวถึงการปล่อยสินเชื่อรวมของธนาคารว่า เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยยอดปล่อยสินเชื่อ 8 เดือนที่ผ่านมาเข้าใกล้ศูนย์แล้ว จากที่เมื่อกลางปีสินเชื่อติดลบอยู่ที่ 2% ซึ่งจากการที่ติดลบน้อยลงนั้นเชื่อว่าจะส่งผลให้ยอดสินเชื่อทั้งปีโตได้ที่ 4% ทั้งนี้ ข้อจำกัดของการให้สินเชื่ออยู่ที่ความต้องการใช้สินเชื่อของผู้ประกอบการเป็นหลัก หากเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจและยอดขายของผู้ประกอบการดีขึ้นก็จะมีผลให้ความต้องการสินเชื่อที่มากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ ในส่วนของการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 19 กันยายน 2552 พร้อมทั้งการประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ควบคุมพื้นที่เขตดุสิตในวันที่ 18-22 กันยายนนี้ว่า เรื่องต่างๆ มีส่วนกระทบในแง่ของภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นต่างๆ แต่ทุกคนก็ต้องยอมรับและพยายามไม่ให้กระทบการงานอื่นๆ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ถือเป็นตัวถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
“การชุมนุมในเวลานี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว จากเดิมที่คิดว่าจะเป็นแค่ช่วงสั้นๆ แต่ตอนนี้ไม่ใช่ซึ่งเราก็ต้องปรับตัวเรียนรู้ และการเข้าไปชุมนุมเพื่อเข้าไปเสนอประเด็นกันบ่อยๆ ต้องพยายามอย่าให้กระทบงานด้านอื่นๆที่เรารับผิดชอบ ตัวนี้เป็นตัวถ่วงชัดเจน สมมติว่าเศรษฐกิจควรฟื้นได้ในระดับหนึ่ง พอมีเรื่องการชุมนุมการฟื้นตัวก็ได้ต่ำกว่า” นายประสาร กล่าว
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารมีแผนที่จะโอนการดำเนินธุรกิจจาก บริษัท แฟคเตอริ่ง กสิกรไทย จำกัด มาให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้ดำเนินการแทนในช่วงต้นปี 2553 เนื่องจากเครือธนาคารกสิกรไทยเล็งเห็นว่าธุรกิจแฟคเตอริ่งเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการธุรกิจยังมีความต้องการกระแสเงินสด เพื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจระหว่างประเทศที่มีการให้ระยะเวลาเครดิตกับลูกค้าในต่างประเทศในการชำระเงิน แต่บริษัทที่ให้บริการแฟคตอริ่งยังมีข้อจำกัดในเรื่องการให้บริการที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ เพราะไม่มีใบอนุญาตการทำธุรกรรมสกุลเงินตราต่างประเทศแต่ในส่วนของธนาคารจะมีใบอนุญาตดังกล่าว จึงมีความสะดวกในการดำเนินธุรกรรมมากกว่า
โดยลูกค้าจะสามารถได้รับบริการผ่านศูนย์บริการธุรกิจต่างประเทศของธนาคารที่มีกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดแฟคเตอริ่งสำหรับธุรกิจต่างประเทศของโลกที่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการเติบโตสูงถึง 27% ต่อปี ขณะที่ในประเทศไทยก็มีการเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 12% ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าตลาดประมาณ 1 แสนล้านบาท สูงกว่าการเติบโตธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
“บริษัท แฟคเตอริ่ง กสิกรไทย จะมุ่งเน้นและขยายธุรกิจการให้บริการลีสซิ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นหลัก โดยเป็นการให้บริการแบบครบวงจรทั้ง 3 บริการ ได้แก่ บริการสินเชื่อเช่าซื้อ บริการสัญญาเช่าทางการเงิน และบริการสัญญาเช่าดำเนินการ เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของกลุ่มลูกค้า ทั้งนี้ หากพิจารณายอดขายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศที่อาศัยแหล่งเงินทุนต่างๆ ในปีที่ผ่านมา พบว่า มีมูลค่ากว่า 6 แสนล้านบาท ในขณะที่จำนวนผู้ให้บริการลีสซิ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์ มีจำนวนน้อยราย” นายประสาร กล่าว
ทั้งนี้ เครือธนาคารกสิกรไทยตั้งเป้าหมายเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด(มาร์เก็ตแชร์) ในธุรกิจแฟคเตอริ่งจากปัจจุบันอยู่ที่ 21% เป็น 30% ภายในปี 2554 ซึ่งจะทำให้ธุรกิจแฟคเตอริ่งของเครือธนาคารกสิกรไทยครองความเป็นผู้นำอันดับ 1 ในธุรกิจแฟคเตอริ่งในประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปีหน้าตั้งเป้าเพิ่มปริมาณธุรกิจอีกกว่าเท่าตัว เพื่อให้สอดคล้องแผนงานดังกล่าวใน 3 ปี จากปัจจุบันยอดคงค้างสินเชื่อแฟคเตอริ่ง มีมูลค่า 2.2 พันล้านบาท และมูลค่าสินเชื่อหมุนเวียนแฟคเตอริ่งมีมูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท ส่วนคุณภาพลูกหนี้ยังอยู่ในระดับทรงตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ดี ภายหลังการโอนลูกค้าไปยังธนาคารกสิกรไทย คาดว่า ฐานลูกค้าจะเติบโตไม่น้อยกว่า 20% จากปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 500 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เป็นหลัก และคาดว่า จะมีลูกค้าเอสเอ็มอีและบรรษัทเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งปริมาณธุรกรรมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน
**ชี้เหตุชุมนุมตัวถ่วง ศก.ฟื้น**
นายประสาร กล่าวถึงการปล่อยสินเชื่อรวมของธนาคารว่า เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยยอดปล่อยสินเชื่อ 8 เดือนที่ผ่านมาเข้าใกล้ศูนย์แล้ว จากที่เมื่อกลางปีสินเชื่อติดลบอยู่ที่ 2% ซึ่งจากการที่ติดลบน้อยลงนั้นเชื่อว่าจะส่งผลให้ยอดสินเชื่อทั้งปีโตได้ที่ 4% ทั้งนี้ ข้อจำกัดของการให้สินเชื่ออยู่ที่ความต้องการใช้สินเชื่อของผู้ประกอบการเป็นหลัก หากเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจและยอดขายของผู้ประกอบการดีขึ้นก็จะมีผลให้ความต้องการสินเชื่อที่มากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ ในส่วนของการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 19 กันยายน 2552 พร้อมทั้งการประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ควบคุมพื้นที่เขตดุสิตในวันที่ 18-22 กันยายนนี้ว่า เรื่องต่างๆ มีส่วนกระทบในแง่ของภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นต่างๆ แต่ทุกคนก็ต้องยอมรับและพยายามไม่ให้กระทบการงานอื่นๆ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ถือเป็นตัวถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
“การชุมนุมในเวลานี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว จากเดิมที่คิดว่าจะเป็นแค่ช่วงสั้นๆ แต่ตอนนี้ไม่ใช่ซึ่งเราก็ต้องปรับตัวเรียนรู้ และการเข้าไปชุมนุมเพื่อเข้าไปเสนอประเด็นกันบ่อยๆ ต้องพยายามอย่าให้กระทบงานด้านอื่นๆที่เรารับผิดชอบ ตัวนี้เป็นตัวถ่วงชัดเจน สมมติว่าเศรษฐกิจควรฟื้นได้ในระดับหนึ่ง พอมีเรื่องการชุมนุมการฟื้นตัวก็ได้ต่ำกว่า” นายประสาร กล่าว