ASTVผู้จัดการรายวัน - กสิกรไทยรับสินเชื่อรายใหญ่ 8 เดือนแรกวูบตามเศรษฐกิจ 8 เดือนติดลบ 13% เหตุลูกค้าหันออกหุ้นกู้ระดมเงินทุนแทน เผยแผนช่วงที่เหลือรุกปล่อยกู้ให้กลุ่มที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการรัฐ หวังช่วยดันยอดสินเชื่อกระเตื้องโตทรงตัว 0% และคาดทั้งปีจะมีรายได้จากกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ 1.1 หมื่นล้านบาท ด้านเอ็นพีแอลยังคุมได้ในระดับไม่น่าเป็นห่วง
นายสุรศักดิ์ ดุษฎีเมธา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ในปี 2552 นี้ธนาคารตั้งเป้าหมายเติบโตสินเชื่อกลุ่มธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่ที่มียอดขายตั้งแต่ 400-5,000 ล้านบาท และสินเชื่อของกลุ่มธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่พิเศษที่มียอดขายตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไปในระดับทรงตัวที่ 0% โดยต้นปีที่ผ่านมาจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมสินเชื่อดังกล่าวได้ลดลงถึง 13% ทำให้ฐานสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 267,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2551 ที่ฐานสินเชื่ออยู่ที่ 300,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ สินเชื่อของกลุ่มธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของไทยและของโลกชะลอตัวลงอย่างมาก อีกทั้งมีลูกค้าบางส่วนได้ชะลอการใช้วงเงินกู้ โดยเฉพาะสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนที่มียอดขอน้อยลง ในขณะที่บางรายได้หันไประดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ จากการที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดอยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม ความต้องการออกหุ้นกู้ในขณะนี้ยังมีอยู่บ้าง แต่ลดลงมากแล้วเมื่อเทียบกับในช่วงครึ่งแรกของปีนี้
“การที่สินเชื่อกลุ่มธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษหดตัวไป เป็นการลดลงตามการเติบโตของประเทศที่ลดลง ซึ่งเราก็ไม่ได้มีความกังวลมากนัก ลูกค้ายังมีการเบิกใช้สินเชื่อระยะยาว และการทำธุรกรรมเกี่ยวกับธุรกิจระหว่างประเทศ (เทรด ไฟแนนซ์) เพิ่มขึ้นแทน โดยคาดว่าฐานสินเชื่อคงค้างสิ้นปีนี้น่าจะอยู่ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยมีมาร์เก็ตแชร์ในปีนี้ก็อยู่ที่ 13% เท่ากับปี 2551” นายสุรศักดิ์ กล่าว
นายสุรศักดิ์กล่าวอีกว่า ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างช้าๆ และคาดว่าจะเริ่มกลับมาขยายตัวได้ในไตรมาสที่ 4 โดยการฟื้นตัวจะมีปัจจัยสำคัญจากการลงทุนของรัฐบาลและการส่งออกเป็นหลัก โดยสัดส่วนสินเชื่อในอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง ค้าวัสดุก่อสร้าง การส่งออก และการท่องเที่ยว คิดเป็น 40-50% ของสินเชื่อธุรกิจลูกค้ารายใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษทั้งหมด จึงคาดว่ารายได้จากดอกเบี้ยรับในปีนี้จะอยู่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของรายได้ดอกเบี้ยรวม ส่วนที่เหลือจะเป็นรายได้จากค่าธรรมเนียม และการบริหารจัดการเงินสด (แคช เมเนจเม้นท์)
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่กว่า 1% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำและสามารถควบคุมได้ดี จากเป้าหมายทั้งปีที่ธนาคารตั้งไว้ว่าจะควบคุมเอ็มพีแอลให้อยู่ที่ 3% โดยสาเหตุที่ธนาคารควบคุมเอ็นพีแอลได้ดี เนื่องจากธนาคารดูแลลูกค้าเป็นเซ็กเม้นท์ ประกอบกับเป็นกลุ่มลูกค้ามีคุณภาพดีด้วย ขณะที่ลูกค้าที่มีการขอปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจนั้น ก็ยอมรับว่ามีจำนวนพอสมควรแต่ก็ไม่ได้เป็นตัวเลขที่มากจนน่าเป็นห่วง ซึ่งธนาคารมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา หากลูกค้ามีปัญหาธนาคารก็จะมีการยืดระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ออกไปให้ประมาณ 1 เดือน ส่วนเรื่องการที่ลูกค้าประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจจนถึงขั้นปิดกิจการ ธนาคารยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มี เนื่องจากธนาคารมีการดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด
ด้านนายวศิน วณิชย์วรนันต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในการขยายสินเชื่อไปสู่กลุ่มธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่ของธนาคาร ได้แก่ ธุรกิจที่ได้รับผลดีต่อเนื่องจากโครงการภาครัฐ เช่น โครงการรถไฟฟ้า โครงการถนนปลอดฝุ่น และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่จะส่งผลต่อความต้องการสินเชื่อในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและค้าวัสดุก่อสร้างตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้จนถึงปี 2553 อีกทั้งการเปลี่ยนนโยบายรับจำนำสินค้าเกษตรมาเป็นการประกันราคาสินค้าของภาครัฐที่จะส่งผลให้ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวและยางพารา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายสินเชื่อของธนาคาร เพิ่มขึ้นได้ประมาณ 3,000-5,000 ล้านบาท
สำหรับในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารมีรายได้จากกลุ่มธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษ ประมาณ 6,600 ล้านบาท และคาดว่าเมื่อถึงสิ้นปีนี้น่าจะมีรายได้ประมาณ 11,000 ล้านบาท ทั้งนี้ธนาคารมีลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ประมาณ 7,000 ราย และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่พิเศษประมาณ 3,000 ราย
นายสุรศักดิ์ ดุษฎีเมธา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ในปี 2552 นี้ธนาคารตั้งเป้าหมายเติบโตสินเชื่อกลุ่มธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่ที่มียอดขายตั้งแต่ 400-5,000 ล้านบาท และสินเชื่อของกลุ่มธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่พิเศษที่มียอดขายตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไปในระดับทรงตัวที่ 0% โดยต้นปีที่ผ่านมาจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมสินเชื่อดังกล่าวได้ลดลงถึง 13% ทำให้ฐานสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 267,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2551 ที่ฐานสินเชื่ออยู่ที่ 300,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ สินเชื่อของกลุ่มธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของไทยและของโลกชะลอตัวลงอย่างมาก อีกทั้งมีลูกค้าบางส่วนได้ชะลอการใช้วงเงินกู้ โดยเฉพาะสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนที่มียอดขอน้อยลง ในขณะที่บางรายได้หันไประดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ จากการที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดอยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม ความต้องการออกหุ้นกู้ในขณะนี้ยังมีอยู่บ้าง แต่ลดลงมากแล้วเมื่อเทียบกับในช่วงครึ่งแรกของปีนี้
“การที่สินเชื่อกลุ่มธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษหดตัวไป เป็นการลดลงตามการเติบโตของประเทศที่ลดลง ซึ่งเราก็ไม่ได้มีความกังวลมากนัก ลูกค้ายังมีการเบิกใช้สินเชื่อระยะยาว และการทำธุรกรรมเกี่ยวกับธุรกิจระหว่างประเทศ (เทรด ไฟแนนซ์) เพิ่มขึ้นแทน โดยคาดว่าฐานสินเชื่อคงค้างสิ้นปีนี้น่าจะอยู่ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยมีมาร์เก็ตแชร์ในปีนี้ก็อยู่ที่ 13% เท่ากับปี 2551” นายสุรศักดิ์ กล่าว
นายสุรศักดิ์กล่าวอีกว่า ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างช้าๆ และคาดว่าจะเริ่มกลับมาขยายตัวได้ในไตรมาสที่ 4 โดยการฟื้นตัวจะมีปัจจัยสำคัญจากการลงทุนของรัฐบาลและการส่งออกเป็นหลัก โดยสัดส่วนสินเชื่อในอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง ค้าวัสดุก่อสร้าง การส่งออก และการท่องเที่ยว คิดเป็น 40-50% ของสินเชื่อธุรกิจลูกค้ารายใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษทั้งหมด จึงคาดว่ารายได้จากดอกเบี้ยรับในปีนี้จะอยู่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของรายได้ดอกเบี้ยรวม ส่วนที่เหลือจะเป็นรายได้จากค่าธรรมเนียม และการบริหารจัดการเงินสด (แคช เมเนจเม้นท์)
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่กว่า 1% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำและสามารถควบคุมได้ดี จากเป้าหมายทั้งปีที่ธนาคารตั้งไว้ว่าจะควบคุมเอ็มพีแอลให้อยู่ที่ 3% โดยสาเหตุที่ธนาคารควบคุมเอ็นพีแอลได้ดี เนื่องจากธนาคารดูแลลูกค้าเป็นเซ็กเม้นท์ ประกอบกับเป็นกลุ่มลูกค้ามีคุณภาพดีด้วย ขณะที่ลูกค้าที่มีการขอปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจนั้น ก็ยอมรับว่ามีจำนวนพอสมควรแต่ก็ไม่ได้เป็นตัวเลขที่มากจนน่าเป็นห่วง ซึ่งธนาคารมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา หากลูกค้ามีปัญหาธนาคารก็จะมีการยืดระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ออกไปให้ประมาณ 1 เดือน ส่วนเรื่องการที่ลูกค้าประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจจนถึงขั้นปิดกิจการ ธนาคารยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มี เนื่องจากธนาคารมีการดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด
ด้านนายวศิน วณิชย์วรนันต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในการขยายสินเชื่อไปสู่กลุ่มธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่ของธนาคาร ได้แก่ ธุรกิจที่ได้รับผลดีต่อเนื่องจากโครงการภาครัฐ เช่น โครงการรถไฟฟ้า โครงการถนนปลอดฝุ่น และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่จะส่งผลต่อความต้องการสินเชื่อในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและค้าวัสดุก่อสร้างตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้จนถึงปี 2553 อีกทั้งการเปลี่ยนนโยบายรับจำนำสินค้าเกษตรมาเป็นการประกันราคาสินค้าของภาครัฐที่จะส่งผลให้ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวและยางพารา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายสินเชื่อของธนาคาร เพิ่มขึ้นได้ประมาณ 3,000-5,000 ล้านบาท
สำหรับในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารมีรายได้จากกลุ่มธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษ ประมาณ 6,600 ล้านบาท และคาดว่าเมื่อถึงสิ้นปีนี้น่าจะมีรายได้ประมาณ 11,000 ล้านบาท ทั้งนี้ธนาคารมีลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ประมาณ 7,000 ราย และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่พิเศษประมาณ 3,000 ราย