“มาร์ค”ยื่นดาบ “หมอบรรลุ”ตรวจโกงไทยเข้มแข็ง สธ. กร้าวฟันไม่เลี้ยงไม่ว่าจะเป็นใคร สั่งรายงานผลสอบตรงไม่ต้องผ่าน สธ. ด้านแพทย์ชนบทออกแถลงการณ์ปรับท่าทีเปิดทาง“บรรลุ-ประทิน”ทำงานสะดวก ลั่นรื้อครุภัณฑ์ รพ.ชุมชนใหม่หมด ตัดรายการสอดไส้ “ยูวีแฟน-ออโต้ เมด”ทิ้ง“หมอสุชาติ”รับสภาพไม่ร้องขอความเป็นธรรม
วานนี้(16 ต.ค.)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการตรวจสอบการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ว่า ตนได้เสนอร่างองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่จะให้ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีต สว.กทม. และ นพ.บรรลุ ศิริพานิช อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข วานนี้(16 ต.ค.) ซึ่งเมื่อวันที่ 15 ต.ค.ได้คุยกับ นพ.บรรลุค่อนข้างชัดเจนแล้ว ซึ่ง นพ.บรรลุก็น่าจะทราบแนวคิดและแนวทางของตนอยู่แล้ว
เมื่อถามว่าคณะกรรมการฯชุดนี้จะทำหน้าที่ตรวจสอบและส่งรายงานให้นายกฯใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริง หลักง่ายๆ คือหากใครเกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการ และคณะกรรมการฯชุดนี้จะรายงานตรงกับตนเลย ไม่ต้องรายงานผ่าน สธ.เพราะเป็นสิ่งที่ นพ.บรรลุขอไว้และตนเห็นด้วย เพราะคณะกรรมการฯ ชุดนี้ถือว่าเป็นคณะกรรมการของรัฐบาล ไม่ใช่คณะกรรมการฯของ สธ.และขอย้ำว่าใครที่เกี่ยวข้องต้องถูกดำเนินการ
วันเดียวกัน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ชมรมฯได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง การกำหนดท่าทีต่อการตรวจสอบการทุจริตงบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.เอสพี 2 โดยเห็นว่า ขณะนี้นายกฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงเชิงลึก ซึ่งชมรมฯ เห็นว่าคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้น ประกอบด้วยบุคคลที่มีประวัติที่สังคมให้ความเชื่อถือ ดังนั้น จึงเห็นว่าควรเปิดโอกาสให้คณะกรรมการฯได้ทำงานอย่างอิสระ ซึ่งชมรมฯ จะขอปรับบทบาทในการเคลื่อนไหวโดยจะสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการฯ อย่างเต็มที่ ทั้งการให้ข้อมูล หรือการสนับสนุนอื่นๆที่จะมีต่อไป ขณะเดียวกันก็จะยังคงบทบาทในการตรวจสอบทุกด้านอย่างเข้มแข็ง เพื่อสร้างธรรมาภิบาลใน สธ. และหลังจากนี้ ชมรมฯจะวางแผนการใช้งบฯ เอสพี2ให้มีความเสมอภาค คุณภาพและประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งแพทย์ชนบทเชื่อมั่นคณะกรรมการฯ ที่ตั้งขึ้นว่าจะสืบสาวข้อมูลจนถึงที่สุดได้ ทำให้รู้ว่าใครมีส่วนในการร่วมบงการบ้างทั้งที่เป็นข้าราชการและนักการเมือง
“จากการรวบรวมงบฯ ภาพรวมที่แต่ละจังหวัดได้รับการจัดสรรจากโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.เบื้องต้น พบว่า จังหวัดที่มีส่วนเชื่อมโยงกับนักการเมืองได้รับการจัดสรรงบฯ มากกว่าพื้นที่อื่น เช่น จ.สุราษฎร์ธานี ได้รับการจัดสรรกว่า 3 พันล้านบาท เป็นต้น ทั้งนี้ ในวันที่ 26 ต.ค.จะเชิญ ผอ.โรงพยาบาลชุมชน(รพช.)ทั่วประเทศร่วมหารือเพื่อวางแผนจัดทำงบฯ โครงการไทยเข้มแข็ง โดยจะมีการจัดทำกรอบมาตรฐานด้านครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างในส่วนของโรงพยาบาลชุมชนขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ก่อนที่จะนำเสนอสธ.ในวันที่ 30 ต.ค.ต่อไป ส่วนเครื่องทำลายเชื้อโรคด้วยระบบแสงอัลตราไวโอเลตระบบปิด หรือยูวีแฟน และเครื่องตรวจสารชีวเคมีในเลือดหรือออโต้ เมด จะตัดออกจากรายการครุภัณฑ์ที่โรงพยาบาลชุมชนต้องใช้ทันที” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
ด้าน นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ข้อมูลรายการครุภัณฑ์ที่สถานพยาบาลต่างๆส่งความต้องการกลับมายังส่วนกลางพบสิ่งที่น่าสังเกตคือ มีการกำหนดชื่อครุภัณฑ์ที่มีลักษณะเดียวกัน ให้มีชื่อที่แตกต่างกันออกไป 10-20 ชื่อ ทำให้ราคาแตกต่างกันมาก แต่สุดท้ายการใช้งานก็เหมือนกัน ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีการทบทวนและอธิบายถึงเหตุผลที่ต้องดำเนินการดังกล่าว
นพ.สุชาติ เลาบริพัตร อดีต ผอ.สำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค(สบภ.) ซึ่งถูกคำสั่งโยกย้ายมาช่วยราชการที่สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัด สธ. กล่าวว่า คำสั่งโยกย้ายถือเป็นเรื่องปกติ และไม่คิดจะเรียกร้องความเป็นธรรมแต่อย่างใด ขอให้เป็นไปตามกระบวนการตรวจสอบ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. กล่าวว่า ขณะนี้คงยังไม่มีคำสั่งย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องรายใดเพิ่ม เนื่องจากต้องดูรายละเอียดข้อสรุปของคณะกรรมการสอบตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดนพ.เสรี พงษ์หยก รักษาการปลัดสธ. ว่ามีข้าราชการรายใดที่เกี่ยวข้องบ้าง ซึ่งหากข้าราชการรายนั้น ทำให้การตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดที่มี นพ.บรรลุ และ พล.ต.อ.ประทิน เป็นคณะกรรมการฯ มีความไม่คล่องตัวและเป็นอุปสรรคก็สามารถพิจารณาคำสั่งย้ายข้าราชการเพิ่มก็เป็นได้
ขณะที่ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า หากโครงการไทยเข้มแข็ง ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการเสร็จสิ้นแล้ว รายการใดที่ไม่มีปัญหา จะให้ทุกจังหวัดดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนั้น จึงขอความร่วมมือให้ชาวสาธารณสุขช่วยกันตรวจสอบ และให้แจ้งข้อมูลที่ประธานชมรมนั้นๆ
วานนี้(16 ต.ค.)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการตรวจสอบการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ว่า ตนได้เสนอร่างองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่จะให้ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีต สว.กทม. และ นพ.บรรลุ ศิริพานิช อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข วานนี้(16 ต.ค.) ซึ่งเมื่อวันที่ 15 ต.ค.ได้คุยกับ นพ.บรรลุค่อนข้างชัดเจนแล้ว ซึ่ง นพ.บรรลุก็น่าจะทราบแนวคิดและแนวทางของตนอยู่แล้ว
เมื่อถามว่าคณะกรรมการฯชุดนี้จะทำหน้าที่ตรวจสอบและส่งรายงานให้นายกฯใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริง หลักง่ายๆ คือหากใครเกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการ และคณะกรรมการฯชุดนี้จะรายงานตรงกับตนเลย ไม่ต้องรายงานผ่าน สธ.เพราะเป็นสิ่งที่ นพ.บรรลุขอไว้และตนเห็นด้วย เพราะคณะกรรมการฯ ชุดนี้ถือว่าเป็นคณะกรรมการของรัฐบาล ไม่ใช่คณะกรรมการฯของ สธ.และขอย้ำว่าใครที่เกี่ยวข้องต้องถูกดำเนินการ
วันเดียวกัน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ชมรมฯได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง การกำหนดท่าทีต่อการตรวจสอบการทุจริตงบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.เอสพี 2 โดยเห็นว่า ขณะนี้นายกฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงเชิงลึก ซึ่งชมรมฯ เห็นว่าคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้น ประกอบด้วยบุคคลที่มีประวัติที่สังคมให้ความเชื่อถือ ดังนั้น จึงเห็นว่าควรเปิดโอกาสให้คณะกรรมการฯได้ทำงานอย่างอิสระ ซึ่งชมรมฯ จะขอปรับบทบาทในการเคลื่อนไหวโดยจะสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการฯ อย่างเต็มที่ ทั้งการให้ข้อมูล หรือการสนับสนุนอื่นๆที่จะมีต่อไป ขณะเดียวกันก็จะยังคงบทบาทในการตรวจสอบทุกด้านอย่างเข้มแข็ง เพื่อสร้างธรรมาภิบาลใน สธ. และหลังจากนี้ ชมรมฯจะวางแผนการใช้งบฯ เอสพี2ให้มีความเสมอภาค คุณภาพและประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งแพทย์ชนบทเชื่อมั่นคณะกรรมการฯ ที่ตั้งขึ้นว่าจะสืบสาวข้อมูลจนถึงที่สุดได้ ทำให้รู้ว่าใครมีส่วนในการร่วมบงการบ้างทั้งที่เป็นข้าราชการและนักการเมือง
“จากการรวบรวมงบฯ ภาพรวมที่แต่ละจังหวัดได้รับการจัดสรรจากโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.เบื้องต้น พบว่า จังหวัดที่มีส่วนเชื่อมโยงกับนักการเมืองได้รับการจัดสรรงบฯ มากกว่าพื้นที่อื่น เช่น จ.สุราษฎร์ธานี ได้รับการจัดสรรกว่า 3 พันล้านบาท เป็นต้น ทั้งนี้ ในวันที่ 26 ต.ค.จะเชิญ ผอ.โรงพยาบาลชุมชน(รพช.)ทั่วประเทศร่วมหารือเพื่อวางแผนจัดทำงบฯ โครงการไทยเข้มแข็ง โดยจะมีการจัดทำกรอบมาตรฐานด้านครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างในส่วนของโรงพยาบาลชุมชนขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ก่อนที่จะนำเสนอสธ.ในวันที่ 30 ต.ค.ต่อไป ส่วนเครื่องทำลายเชื้อโรคด้วยระบบแสงอัลตราไวโอเลตระบบปิด หรือยูวีแฟน และเครื่องตรวจสารชีวเคมีในเลือดหรือออโต้ เมด จะตัดออกจากรายการครุภัณฑ์ที่โรงพยาบาลชุมชนต้องใช้ทันที” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
ด้าน นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ข้อมูลรายการครุภัณฑ์ที่สถานพยาบาลต่างๆส่งความต้องการกลับมายังส่วนกลางพบสิ่งที่น่าสังเกตคือ มีการกำหนดชื่อครุภัณฑ์ที่มีลักษณะเดียวกัน ให้มีชื่อที่แตกต่างกันออกไป 10-20 ชื่อ ทำให้ราคาแตกต่างกันมาก แต่สุดท้ายการใช้งานก็เหมือนกัน ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีการทบทวนและอธิบายถึงเหตุผลที่ต้องดำเนินการดังกล่าว
นพ.สุชาติ เลาบริพัตร อดีต ผอ.สำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค(สบภ.) ซึ่งถูกคำสั่งโยกย้ายมาช่วยราชการที่สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัด สธ. กล่าวว่า คำสั่งโยกย้ายถือเป็นเรื่องปกติ และไม่คิดจะเรียกร้องความเป็นธรรมแต่อย่างใด ขอให้เป็นไปตามกระบวนการตรวจสอบ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. กล่าวว่า ขณะนี้คงยังไม่มีคำสั่งย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องรายใดเพิ่ม เนื่องจากต้องดูรายละเอียดข้อสรุปของคณะกรรมการสอบตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดนพ.เสรี พงษ์หยก รักษาการปลัดสธ. ว่ามีข้าราชการรายใดที่เกี่ยวข้องบ้าง ซึ่งหากข้าราชการรายนั้น ทำให้การตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดที่มี นพ.บรรลุ และ พล.ต.อ.ประทิน เป็นคณะกรรมการฯ มีความไม่คล่องตัวและเป็นอุปสรรคก็สามารถพิจารณาคำสั่งย้ายข้าราชการเพิ่มก็เป็นได้
ขณะที่ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า หากโครงการไทยเข้มแข็ง ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการเสร็จสิ้นแล้ว รายการใดที่ไม่มีปัญหา จะให้ทุกจังหวัดดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนั้น จึงขอความร่วมมือให้ชาวสาธารณสุขช่วยกันตรวจสอบ และให้แจ้งข้อมูลที่ประธานชมรมนั้นๆ