ที่ห้องรับรอง 1-2 อาคารรัฐสภา 2 วานนี้ (15 ต.ค.) มีการจัดงานสัมมนาเรื่อง แก้ไขรัฐธรรมนูญ ใครได้ใครเสีย โดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมาธิการการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน และคณะกรรมาธิการสามัญศึกษาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 วุฒิสภา ร่วมกับมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย และมีสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และประชาชน ร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. สรรหา เห็นว่าที่มาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาจากเหตุความวุ่นวายช่วงเดือนเมษายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงตั้งคณะกรรมการ 2 คณะ ซึ่ง 1 ใน นั้นคือคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป การเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อหาทางสร้างความสมานฉันท์ แต่จากมติของพรรคเพื่อไทย ที่ไม่สนับสนุนการแก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ทำให้เห็นว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรี ไม่มีเหตุผลในการแก้ไข และหากดำเนินการต่อไปจะไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นานายกรัฐมนตรี ควรยุติการดำเนินการดังกล่าว อีกทั้งเห็นว่านักการเมืองใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ทาง การเมืองมากเกินไป
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา และอดีต ส.ส.ร. 50 กล่าวว่า ปัญหาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดจากนักการเมืองเพียงไม่กี่คน และใน 6 ประเด็นที่คณะกรรมการสมาฉันท์ฯ เสนอ มีเพียงประเด็นเดียวที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน คือมาตรา 190 อีก 5 ประเด็นที่เหลือเกี่ยวข้องกับการแก้กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับนัการเมือง จึงเห็นได้ว่า 6 ประเด็นดังกล่าว ไม่ได้ตอบโจทย์ในเรื่องการสมานฉันท์ และประชาชนไม่ได้อะไรเลย
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช อดีต ส.ส.ร.40 กล่าวว่าการเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้มั่วผิดปกติ นายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เจ้ากี้เจ้าการอยากให้มีการแก้ไข แต่กลับให้ส.ส.และส.ว.เป็นผู้ดำเนินการ เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดในการแบ่งอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ นอกจากนี้การเสนอให้มีการทำประชามติ ก็เป็นเพียงความปรารถนาดีส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี ทั้งที่มติของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ไม่ได้ระบุไว้ และตนคิดว่า การทำประชามติในเรื่องนี้ไม่น่าจะผูกมัดคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรัฐสภา ที่สำคัญการใข้งบถึง 2 พันล้านบาทในภาวะเศรษฐกิจข้าวยากหมากแพง จะคิดถึงความรู้สึกของประชาชน และประโยชน์ที่ได้จะคุ้มค่าหรือไม่
นายบุญเลิศ วิเคราะห์ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนยุทธศาสตร์ของนายกรัฐมนตรี เพื่อดึงความสนใจของประชาชนให้หันมาสนใจกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ลืมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีปัญหา ที่สำคัญหากมีการทำประชามติจะต้องใช้เวลานาน โดยเฉพาะเมื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ต้องการแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องใช้เวลาที่ยาวนานออกไปอีก
อย่างไรก็ตาม 6 ประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของกรรมการสมาฉันท์ฯ ไม่มีทางที่จะทำให้บ้านเมืองสมาฉันท์ได้ เพราะมูลเหตุเกิดจากวิกฤติจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกทำการปฎิวัติ ขณะนี้เมื่อวิปฝ่ายค้านถอนตัวออกมาจากวิป 3 ฝ่ายแล้วเหลือเพียงวิปรัฐบาลและวิปวุฒิสภา วุฒิสภาก็ควรที่จะหารือกันว่าจะปล่อยให้รัฐบาลนายอภิสิทธ์เดินหน้าเรื่องนี้ต่อไปได้ เรื่อยๆ หรือจะระงับ ตนคิดว่ารัฐบาลจะต้องยุติความคิดในการแก้รัฐธรรมนูญทั้ง 6 ประเด็น ล้มเลิกความคิดที่จะทำประชามติเพื่อประหยัดงบประมาณ และเลิกใช้รัญธรรมนูญ มาเป็นเกม ทางการเมืองเพื่อกลบเกลื่อนปัญหาให้ตัวเองอยู่ต่อไปเรื่อยๆ
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัส ดิ์ อดีตรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานข่าวกรองแห่งชาติ และกลุ่มสยามสามัคคี กล่าวว่ารัฐธรรมนูญปี 40 เป็นรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจกับรัฐบาลค่อนข้างมาก ทั้งนี้มีบุคคลบางกลุ่มที่เอารัฐธรรมนูญ ที่ได้มาไปใช้ในทางป้องกันการตรวจสอบ ซึ่งการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 40 ทำให้ ส.ส.ไม่เห็นความสำคัญของการประชุมรัฐสภา แต่รัฐธรรมนูญปี 50 จะทำให้ส.ส. เห็นความสำคัญของการประชุม ตนมองว่ารัฐธรรมนูญปี 50 จะทำให้ความใกล้ชิด ของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมากว่าปี 40 และกลายเป็นรัฐธรรมนูญ ที่ออกมาอุดรอยรั่วของรัฐธรรมนูญ 40 ซึ่งรัฐธรรมนูญ 50 ถือว่าเหมาะสมที่สุดที่จะมาปรับใช้ในปัจจุบัน
ส่วนประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเพราะว่าถูกกดดัน แต่ท้ายที่สุดเชื่อว่าจะไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแน่นอน สิ่งสำคัญคือการใช้รัฐธรรมนูญป 40 มาเป็นเครื่องมือของฝ่ายค้านในการหาเสียง เพื่อให้เกิดความแตกแยก เช่นเดียวกับการถวายฎีกาของพ.ต.ท.ทักษิณ ก็ทำขึ้นเพื่อสร้างความแตกแยก
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม อดีตหัวหน้าสำนักงานอดีตหัวหน้าสำนักงานเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวว่าที่มาของส.ส.และส.ว.ในปัจจุบัน มาจากรัฐธรรมนูญ 50 แต่ในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญนั้น คมช. ก็ไม่เคยไปยุ่งเกี่ยวใดๆ เพียงแต่เข้าไปปรับบางส่วนเท่านั้น มีหลายข้อที่ไม่ได้ปรับและแก้ไข ซึ่งเราก็พยายามจะเปลี่ยนเผด็จการให้เป็นประชาธิปไตย สิ่งที่อยากให้แก้คือที่มาของนายกฯ เพราะไม่อยากกำหนดให้นายกฯ มาจากการเลือกตั้ง เพราะว่านักเลือกตั้งจะเตะคนดีออกนอกอเวจี เพราะคนดีเหล่านี้จะไม่ซื้อเสียง ซึ่งจะเห็นว่านักการเมืองดีๆ ในสภา มีไม่มากนัก ถ้าอยากให้เป็นประชาธิปไตยจริงๆ นายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจากการเป็น ส.ส. เพราะฉะนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญตนเห็นด้วยถ้าหากแก้เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ แต่หากแก้เพื่อให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือพรรคใดพรรคหนึ่งให้ได้ประโยชน์ก็ไม่ควรแก้
พล.อ.สมเจตน์ กล่าวว่า คณะกรรมการสมาฉันท์ฯ เสนอให้แก้ใน 6 ประเด็นนั้นตนยังไม่เห็นว่ามีข้อใดทำให้ประเทศชาติได้ประโยชน์ อย่างเช่นการแก้ไขมาตรา 237 ที่ไม่ให้ยุบพรรค ตนไม่เห็นด้วยที่มองว่าใครทำผิดก็ลงโทษเฉพาะตัวบุคคล อย่าไปเหมารวมยุบทั้งพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค เพราะคิดว่าพรรคการเมืองถือเป็นส่วนสำคัญหากไม่สนับสนุนเรื่องเงิน นักการเมือง ก็ไม่สามารถซื้อเสียงได้ ดังนั้นมาตรานี้จึงเป็นการแก้ไขให้นักการเมืองที่เข้ามาเป็น ส.ส.โดยไม่สุจริต เพราะฉะนั้นหากจะแก้ควรแก้เกี่ยวกับนักการเมืองที่ซื้อเสียง โดยให้ประหารชีวิตทางการเมือง โดยห้ามลงเลือกตั้งตลอดชีวิต
รัฐธรรมนูญเดิมที่ระบุให้นักการเมืองที่ทำผิดต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปีน้อยไป บุคคลเหล่านี้ไม่ควรอยู่ได้นาน เพราะ 5 ปีไม่สามารถแก้สันดานนักการเมืองเลวๆ ได้ ที่สำคัญกรรมการบริหารพรรคเป็นตัวสำคัญยิ่งที่จะต้องลงโทษ
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ตนเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญวิปทั้ง 2 ฝ่าย ควรหารือกันให้รู้เรื่องก่อน ไม่ใช่มาเล่นเกมการเมืองช่วงชิงประโยชน์กันเอง เพราะจุดประสงค์จริงๆ ของฝ่ายค้าน ก็เพียงเพื่อต้องการให้มีการยุบสภา เลือกตั้งใหม่ ขณะที่รัฐบาลก็ต้องการเป็นรัฐบาลนานๆ ดังนั้นจึงยังไม่สามารถหาทางออกได้
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ส.ร.50 กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 50 ถูกสร้างขึ้นมา บนพื้นฐานของการแก้ปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ในฐานะที่ร่วมร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ เห็นว่ารัฐธรรมนูญ 40 มีข้อดีมาก แต่ปัญหาจากคนใช้ จนทำให้บ้านเมือง ต้องวุ่นวาย รัฐสภากลายเป็นระบอบเผด็จการ อย่างไรก็ตามตนอยากให้รัฐบาล และรัฐสภาหันมาให้ความสำคัญกับการออกกฎหมายสำคัญๆ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาสังคม แทนที่จะใช้เวลาเพื่อหาทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของนักการเมืองเพียงอย่างเดียว เพราะตนเชื่อว่าไม่ว่าจะมีรัฐธรรมนูญกี่ฉบับ หากนักการเมืองไม่เปลี่ยนคงไม่สามารถสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นได้
ขณะที่นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนเห็นด้วย ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้เกิดปัญหามาก โดยต้นตอเป็นเพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากการรัฐประหาร ดังนั้นเมื่อต้องการให้บ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็น 2 ระยะ โดยให้มีการแก้ไขใน 6 ประเด็นก่อน ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า มีแต่ผลประโยชน์ของนักการเมือง แต่ทั้งนี้อยากอธิบายว่าเมื่อนักการเมืองได้ก่อน ประชาชนก็จะได้ประโยชน์ต่อมา
นอกจากนี้เมื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จ จะต้องเปิดโอกาสให้มีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ ก็จะทำให้ตัดปัญหาเรื่องที่มาของรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่พรรคเพื่อไทยเปลี่ยนใจเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นท่า ทีความไม่ชัดเจนของรัฐบาล ดังนั้นจึงเรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญ 40 กลับมาใช้แทน อีกทั้งขอยืนยันว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ประชาชนได้ประโยชน์อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นคงไม่คิดแก้ไข
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. สรรหา เห็นว่าที่มาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาจากเหตุความวุ่นวายช่วงเดือนเมษายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงตั้งคณะกรรมการ 2 คณะ ซึ่ง 1 ใน นั้นคือคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป การเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อหาทางสร้างความสมานฉันท์ แต่จากมติของพรรคเพื่อไทย ที่ไม่สนับสนุนการแก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ทำให้เห็นว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรี ไม่มีเหตุผลในการแก้ไข และหากดำเนินการต่อไปจะไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นานายกรัฐมนตรี ควรยุติการดำเนินการดังกล่าว อีกทั้งเห็นว่านักการเมืองใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ทาง การเมืองมากเกินไป
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา และอดีต ส.ส.ร. 50 กล่าวว่า ปัญหาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดจากนักการเมืองเพียงไม่กี่คน และใน 6 ประเด็นที่คณะกรรมการสมาฉันท์ฯ เสนอ มีเพียงประเด็นเดียวที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน คือมาตรา 190 อีก 5 ประเด็นที่เหลือเกี่ยวข้องกับการแก้กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับนัการเมือง จึงเห็นได้ว่า 6 ประเด็นดังกล่าว ไม่ได้ตอบโจทย์ในเรื่องการสมานฉันท์ และประชาชนไม่ได้อะไรเลย
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช อดีต ส.ส.ร.40 กล่าวว่าการเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้มั่วผิดปกติ นายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เจ้ากี้เจ้าการอยากให้มีการแก้ไข แต่กลับให้ส.ส.และส.ว.เป็นผู้ดำเนินการ เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดในการแบ่งอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ นอกจากนี้การเสนอให้มีการทำประชามติ ก็เป็นเพียงความปรารถนาดีส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี ทั้งที่มติของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ไม่ได้ระบุไว้ และตนคิดว่า การทำประชามติในเรื่องนี้ไม่น่าจะผูกมัดคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรัฐสภา ที่สำคัญการใข้งบถึง 2 พันล้านบาทในภาวะเศรษฐกิจข้าวยากหมากแพง จะคิดถึงความรู้สึกของประชาชน และประโยชน์ที่ได้จะคุ้มค่าหรือไม่
นายบุญเลิศ วิเคราะห์ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนยุทธศาสตร์ของนายกรัฐมนตรี เพื่อดึงความสนใจของประชาชนให้หันมาสนใจกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ลืมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีปัญหา ที่สำคัญหากมีการทำประชามติจะต้องใช้เวลานาน โดยเฉพาะเมื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ต้องการแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องใช้เวลาที่ยาวนานออกไปอีก
อย่างไรก็ตาม 6 ประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของกรรมการสมาฉันท์ฯ ไม่มีทางที่จะทำให้บ้านเมืองสมาฉันท์ได้ เพราะมูลเหตุเกิดจากวิกฤติจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกทำการปฎิวัติ ขณะนี้เมื่อวิปฝ่ายค้านถอนตัวออกมาจากวิป 3 ฝ่ายแล้วเหลือเพียงวิปรัฐบาลและวิปวุฒิสภา วุฒิสภาก็ควรที่จะหารือกันว่าจะปล่อยให้รัฐบาลนายอภิสิทธ์เดินหน้าเรื่องนี้ต่อไปได้ เรื่อยๆ หรือจะระงับ ตนคิดว่ารัฐบาลจะต้องยุติความคิดในการแก้รัฐธรรมนูญทั้ง 6 ประเด็น ล้มเลิกความคิดที่จะทำประชามติเพื่อประหยัดงบประมาณ และเลิกใช้รัญธรรมนูญ มาเป็นเกม ทางการเมืองเพื่อกลบเกลื่อนปัญหาให้ตัวเองอยู่ต่อไปเรื่อยๆ
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัส ดิ์ อดีตรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานข่าวกรองแห่งชาติ และกลุ่มสยามสามัคคี กล่าวว่ารัฐธรรมนูญปี 40 เป็นรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจกับรัฐบาลค่อนข้างมาก ทั้งนี้มีบุคคลบางกลุ่มที่เอารัฐธรรมนูญ ที่ได้มาไปใช้ในทางป้องกันการตรวจสอบ ซึ่งการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 40 ทำให้ ส.ส.ไม่เห็นความสำคัญของการประชุมรัฐสภา แต่รัฐธรรมนูญปี 50 จะทำให้ส.ส. เห็นความสำคัญของการประชุม ตนมองว่ารัฐธรรมนูญปี 50 จะทำให้ความใกล้ชิด ของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมากว่าปี 40 และกลายเป็นรัฐธรรมนูญ ที่ออกมาอุดรอยรั่วของรัฐธรรมนูญ 40 ซึ่งรัฐธรรมนูญ 50 ถือว่าเหมาะสมที่สุดที่จะมาปรับใช้ในปัจจุบัน
ส่วนประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเพราะว่าถูกกดดัน แต่ท้ายที่สุดเชื่อว่าจะไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแน่นอน สิ่งสำคัญคือการใช้รัฐธรรมนูญป 40 มาเป็นเครื่องมือของฝ่ายค้านในการหาเสียง เพื่อให้เกิดความแตกแยก เช่นเดียวกับการถวายฎีกาของพ.ต.ท.ทักษิณ ก็ทำขึ้นเพื่อสร้างความแตกแยก
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม อดีตหัวหน้าสำนักงานอดีตหัวหน้าสำนักงานเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวว่าที่มาของส.ส.และส.ว.ในปัจจุบัน มาจากรัฐธรรมนูญ 50 แต่ในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญนั้น คมช. ก็ไม่เคยไปยุ่งเกี่ยวใดๆ เพียงแต่เข้าไปปรับบางส่วนเท่านั้น มีหลายข้อที่ไม่ได้ปรับและแก้ไข ซึ่งเราก็พยายามจะเปลี่ยนเผด็จการให้เป็นประชาธิปไตย สิ่งที่อยากให้แก้คือที่มาของนายกฯ เพราะไม่อยากกำหนดให้นายกฯ มาจากการเลือกตั้ง เพราะว่านักเลือกตั้งจะเตะคนดีออกนอกอเวจี เพราะคนดีเหล่านี้จะไม่ซื้อเสียง ซึ่งจะเห็นว่านักการเมืองดีๆ ในสภา มีไม่มากนัก ถ้าอยากให้เป็นประชาธิปไตยจริงๆ นายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจากการเป็น ส.ส. เพราะฉะนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญตนเห็นด้วยถ้าหากแก้เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ แต่หากแก้เพื่อให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือพรรคใดพรรคหนึ่งให้ได้ประโยชน์ก็ไม่ควรแก้
พล.อ.สมเจตน์ กล่าวว่า คณะกรรมการสมาฉันท์ฯ เสนอให้แก้ใน 6 ประเด็นนั้นตนยังไม่เห็นว่ามีข้อใดทำให้ประเทศชาติได้ประโยชน์ อย่างเช่นการแก้ไขมาตรา 237 ที่ไม่ให้ยุบพรรค ตนไม่เห็นด้วยที่มองว่าใครทำผิดก็ลงโทษเฉพาะตัวบุคคล อย่าไปเหมารวมยุบทั้งพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค เพราะคิดว่าพรรคการเมืองถือเป็นส่วนสำคัญหากไม่สนับสนุนเรื่องเงิน นักการเมือง ก็ไม่สามารถซื้อเสียงได้ ดังนั้นมาตรานี้จึงเป็นการแก้ไขให้นักการเมืองที่เข้ามาเป็น ส.ส.โดยไม่สุจริต เพราะฉะนั้นหากจะแก้ควรแก้เกี่ยวกับนักการเมืองที่ซื้อเสียง โดยให้ประหารชีวิตทางการเมือง โดยห้ามลงเลือกตั้งตลอดชีวิต
รัฐธรรมนูญเดิมที่ระบุให้นักการเมืองที่ทำผิดต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปีน้อยไป บุคคลเหล่านี้ไม่ควรอยู่ได้นาน เพราะ 5 ปีไม่สามารถแก้สันดานนักการเมืองเลวๆ ได้ ที่สำคัญกรรมการบริหารพรรคเป็นตัวสำคัญยิ่งที่จะต้องลงโทษ
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ตนเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญวิปทั้ง 2 ฝ่าย ควรหารือกันให้รู้เรื่องก่อน ไม่ใช่มาเล่นเกมการเมืองช่วงชิงประโยชน์กันเอง เพราะจุดประสงค์จริงๆ ของฝ่ายค้าน ก็เพียงเพื่อต้องการให้มีการยุบสภา เลือกตั้งใหม่ ขณะที่รัฐบาลก็ต้องการเป็นรัฐบาลนานๆ ดังนั้นจึงยังไม่สามารถหาทางออกได้
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ส.ร.50 กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 50 ถูกสร้างขึ้นมา บนพื้นฐานของการแก้ปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ในฐานะที่ร่วมร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ เห็นว่ารัฐธรรมนูญ 40 มีข้อดีมาก แต่ปัญหาจากคนใช้ จนทำให้บ้านเมือง ต้องวุ่นวาย รัฐสภากลายเป็นระบอบเผด็จการ อย่างไรก็ตามตนอยากให้รัฐบาล และรัฐสภาหันมาให้ความสำคัญกับการออกกฎหมายสำคัญๆ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาสังคม แทนที่จะใช้เวลาเพื่อหาทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของนักการเมืองเพียงอย่างเดียว เพราะตนเชื่อว่าไม่ว่าจะมีรัฐธรรมนูญกี่ฉบับ หากนักการเมืองไม่เปลี่ยนคงไม่สามารถสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นได้
ขณะที่นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนเห็นด้วย ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้เกิดปัญหามาก โดยต้นตอเป็นเพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากการรัฐประหาร ดังนั้นเมื่อต้องการให้บ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็น 2 ระยะ โดยให้มีการแก้ไขใน 6 ประเด็นก่อน ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า มีแต่ผลประโยชน์ของนักการเมือง แต่ทั้งนี้อยากอธิบายว่าเมื่อนักการเมืองได้ก่อน ประชาชนก็จะได้ประโยชน์ต่อมา
นอกจากนี้เมื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จ จะต้องเปิดโอกาสให้มีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ ก็จะทำให้ตัดปัญหาเรื่องที่มาของรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่พรรคเพื่อไทยเปลี่ยนใจเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นท่า ทีความไม่ชัดเจนของรัฐบาล ดังนั้นจึงเรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญ 40 กลับมาใช้แทน อีกทั้งขอยืนยันว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ประชาชนได้ประโยชน์อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นคงไม่คิดแก้ไข