ย้อนกลับไปเมื่อ 166 ปีก่อน ตรงกับ พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ฝรั่งเศสได้ส่งเรือปืนเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา และบังคับให้สยามยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส ซึ่งสยามได้เสียลาวและกัมพูชาให้ฝรั่งเศสในปีนั้น ต่อมาไม่นานฝรั่งเศสก็ยึดจันทบุรีและตราดได้ จนเป็นเหตุให้สยามต้องทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ยกหลวงพระบางกับดินแดนทางใต้ของเทือกเขาพนมดงรักให้ฝรั่งเศสแลกกับจันทบุรี
สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ฝ่ายสยามยึด “หลักสันปันน้ำ” มาเป็นเส้นแบ่งเขตแดนสยาม-กัมพูชา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
3 ปีต่อมา ใน พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สยามทำสนธิสัญญายกเสียมเรียบ พระตะบอง ศรีโสภณให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองด่านซ้าย ตราด และเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ใต้แหลมสิงไปจนถึงเกาะกูดคืนมาเป็นของสยาม
สนธิสัญญานี้เองเป็นที่มาของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนกับสยาม ซึ่งได้ทำแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ที่ไม่มีการยึดหลักสันปันน้ำ และเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์ในทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นการปักปันเขตแดนที่ขีดเอาตามอำเภอใจแต่ฝ่ายเดียวเพื่อเอาเปรียบสยาม ฝ่ายสยามไม่เคยได้รับรู้แผนที่ดังกล่าวที่ฝ่ายฝรั่งเศสทำ แต่ฝ่ายสยามก็มิได้ทักท้วงแต่ประการใด
เมื่อเวลาผ่านไป 42 ปี กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากกัมพูชา ฝ่ายกัมพูชาได้เรียกร้องขอคืนปราสาทพระวิหารจากไทย และได้ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959)
กัมพูชาได้ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยกัมพูชาได้พยายามให้ศาลพิพากษารับรองแผนที่ที่ทำขึ้นโดยฝรั่งเศสตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ซึ่งเป็นแผนที่ 1 ต่อ 200,000 อยู่ในภาคผนวก 1 ท้ายคำฟ้องของกัมพูชาว่าเป็นแผนที่ที่ทำขึ้นถูกต้องตามสนธิสัญญาปักปันเขตแดน พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) และมีลักษณะเป็นสนธิสัญญา และยังขอให้ศาลพิพากษาเส้นเขตแดนระหว่างกัมพูชากับไทยตามแผนที่ดังกล่าวอีกด้วย
15 มิถุนายน 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตัดสินจากพฤติการณ์นิ่งของฝ่ายไทยที่มิได้ประท้วงความไม่ถูกต้องของแผนที่ตามหลักกฎหมายปิดปาก (Estoppel) พิพากษาเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารว่าอยู่บนอธิปไตยของกัมพูชา พร้อมๆ กับให้ประเทศไทยมีพันธะต้องถอนทหารหรือตำรวจออกจากพื้นที่ และคืนวัตถุโบราณให้กับกัมพูชา
แต่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่ได้พิพากษาทั้งแผนที่ท้ายคำฟ้องและเส้นเขตแดนตามที่กัมพูชาร้องขอแต่ประการใด!
ฝ่ายรัฐบาลไทยในขณะนั้นไม่ยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 อยู่แล้ว แม้แต่ตัวปราสาทพระวิหารก็ยังได้ประท้วงคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและสงวนสิทธิ์ในการต่อสู้ในอนาคตเอาไว้แล้วเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2505
นับจากวันนั้นเป็นต้นมาไทยและกัมพูชาก็ไม่ได้หยิบยกเรื่องแผนที่ 1 ต่อ 200,000ขึ้นมาพิพาทกันอีก 38 ปี
ไม่มีใครนึก และไม่มีใครรับรู้มาก่อนว่าแผนที่ 1 ต่อ 200,000 จะกลับมาผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาลไทยและรัฐสภาไทยช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
15 มิถุนายน 2505 เราเสียตัวปราสาทพระวิหาร เพราะกฎหมายปิดปากอันมีสาเหตุมาจากความนิ่งเฉยของสยาม
10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2543 – 2552 แผนที่ 1 ต่อ 200,000 คนไทยอาจจะเจ็บปวดยิ่งกว่ากฎหมายปิดปาก เพราะรัฐบาลและรัฐสภาไทยมีพฤติกรรมซ้ำซากในการรู้เห็นเป็นใจให้ความเห็นชอบตามแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ดังกล่าว
แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ไม่ได้กำลังพูดถึงเพียงแค่ตัวปราสาทพระวิหาร หรือ 4.6 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,000 ไร่ รอบปราสาทพระวิหารที่ทหารและพลเรือนกัมพูชากำลังรุกล้ำและยึดครองเท่านั้น...
แต่การยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 อาจสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทยอีกครั้งจำนวนมหาศาลนับแสนไร่ ซึ่งอาจจะกินพื้นที่เข้ามาในจังหวัดศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี และสุรินทร์
การประชุมลับและลงมติของสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 ในเรื่องกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชาทั้งสองกรอบ ซึ่งได้มีการอ้างอิงแผนที่ 1 ต่อ 200,000 นั้น สมาชิกวุฒิสภา ตลอดจนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างได้ลงมติ “เห็นชอบ” ด้วยเสียงข้างมาก ด้วยคะแนนเสียง 409 ต่อ 7 งดออกเสียง 1 และ 406 ต่อ 8 งดออกเสียง 2 ไม่เว้นแม้แต่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในเวลานั้นก็ลงมติ “เห็นชอบ” ในเรื่องดังกล่าวด้วย
มติเห็นชอบในกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชา ของสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 (สมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยมีนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) มีการอ้างอิงให้ไทยและกัมพูชาจัดทำหลักเขตแดนที่เกี่ยวข้องกับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 สามส่วนด้วยกัน
ส่วนแรก ได้มีการระบุในกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชาความว่า “ให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เจรจากับฝ่ายกัมพูชาเพื่อดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทย-กัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้”
ข้อ 3 แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับ ค.ศ. 1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ. 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
กรอบการเจรจาซึ่งสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ได้อนุมัตินั้น ระบุให้จัดทำเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา ที่อ้างอิง “แผนที่” ตามข้อความดังกล่าวนั้น แปลความเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากหมายถึงแผนที่ 1 ต่อ 200,000 (ซึ่งข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศได้ยอมรับเอาไว้แล้วในชั้นกรรมาธิการของวุฒิสภาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา)
ส่วนที่สอง ให้ปฏิบัติตามแผนแม่บทและข้อกำหนดหน้าที่ของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ใช้ภาษาอังกฤษว่า “Terms of Reference and Master Plan for the Joint Survey and Demarcation of Land Boundary between the Kingdom of Thailand and the Kingdom of Cambodia” ซึ่งได้จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 20/5/2546 หรือเรียกว่า “TOR ปี 2546” ซึ่งจัดทำขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณ มีข้อความภาษาอังกฤษที่ระบุแผนที่เหมือนภาษาไทยตามข้อ 3 ในกรอบการเจรจาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ที่กล่าวมาข้างต้น แต่มีความ “ชัดเจน” มากกว่า ถึงขนาดระบุในวงเล็บเพื่อความเข้าใจตรงกันของแผนที่ว่า “ต่อจากนี้ให้หมายถึงแผนที่ 1 ต่อ 200,000” โดยเนื้อความในส่วน Background หรือความเป็นมาได้ระบุเป็นข้อความภาษาอังกฤษในข้อ 1.1.3 ว่า
1.1.3 Maps which are the results of demarcation works of Commission of Delimitation of the Boundary between Indo-China and Siam set up under the Convention of 1904 and the Treaty of 1907 between Siam and France (hereinafter referred to as “the Maps of 1:200,000”) and other documents relating to the application of Convention of 1904 and the Treaty of 1907 between Siam and France
นอกจาก TOR ปี 2546 จะระบุคำนิยามให้หมายถึงแผนที่ 1 ต่อ 200,000 โดยในหัวข้อที่ 4 เรื่องขั้นตอนและการสำรวจและจัดวางหลักเขตแดน ได้ระบุเอาไว้ในขั้นตอนที่ 3 ในการวางแนวเพื่อสำรวจนั้น แล้ว ยังมีการระบุให้หัวหน้าชุดปฏิบัติการทำหลักเขตแดนและสำรวจให้เป็นไปตามพื้นฐานของแผนที่ 1 ต่อ 200,000 อีกด้วย เช่น ประโยคที่ว่า “The Chief of Operational Group will unilaterally plot the approximate location of boundary pillars and line to be surveyed on the Orthophoto Maps, using as the basis the maps of 1:200,000
ส่วนที่สาม คือการอ้างอิงบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก” เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ต่อไปนี้เรียกว่า “ MOU 2543” ลงนามโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย กับนายวาร์ คิม ที่ปรึกษารัฐบาลผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ชุดที่ 2 โดยระบุเอาไว้ในข้อ 1 (ค) ว่า
ข้อ 1 จะร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้
(ค) แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับ ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ. 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
สำทับด้วยร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยปัญหาชายแดนในพื้นที่ (ไทย-ปราสาทพระวิหาร) (กัมพูชา-ปราสาทเปรียะวิเฮียร์) ร่าง ณ วันที่ 6 เมษายน 2552 ที่กรุงพนมเปญ ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยเนื้อความตอนหนึ่งของร่างข้อตกลงดังกล่าวยังให้ยืนยันเอกสารที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น MOU 2543 หรือ TOR 2546 จึงยิ่งเป็นการตอกย้ำยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ของฝ่ายกัมพูชาเพิ่มเข้าไปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสามารถสรุปปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาดังนี้
2543 สมัยรัฐบาลนายชวน 2 มีการลงนาม MOU 2543 ระหว่างไทย-กัมพูชายอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 224
2544 รัฐบาลทักษิณ 1 ไปลงนามแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา กรณีการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ทางทะเล พร้อมแนบแผนที่ทับซ้อนทางทะเล โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา (ซึ่งอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 224) พร้อมๆ กับการแปรรูป ปตท.หลังจากนั้น 2 เดือนครึ่ง
2546 รัฐบาลทักษิณ 1 ลงนามใน TOR 2546 ระหว่างไทย-กัมพูชา ชัดเจนว่าให้จัดทำการสำรวจและปักปันเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 200,000 โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งก็อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 224 อีกเช่นกัน
2551 รัฐบาลสมัคร ต้องการเอาใจฮุนเซนให้ชนะเลือกตั้งที่กัมพูชา ให้ นายนพดล ปัทมะ ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ยกปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว พร้อมแนบท้ายแผนที่ของฝ่ายกัมพูชา โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา อันเป็นการขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 190
2551 รัฐบาลนายสมชาย สมาชิกรัฐสภา ซึ่งรวมถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ผ่านความเห็นชอบกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชา และเห็นชอบตามบัญชีเอกสาร TOR 2546 และ MOU 2543 อันเป็นการยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาครั้งแรก
2552 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เตรียมร่างข้อตกลงชั่วคราวให้ผ่านที่ประชุมรัฐสภาซึ่งระบุการยืนยันอีกครั้งถึงสิทธิและพันธะตาม MOU 2543 และ TOR 2546 ซึ่งหมายถึงให้ยืนยันแผนที่ 1 ต่อ 200,000 อีกครั้งหนึ่งด้วย พร้อมเดินหน้าในการให้ทหารทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่โดยยังคงให้ชนชาวกัมพูชายึดครองที่ดินต่อไปในระหว่างการเจรจา
ทิ้งไว้ให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอาเองว่างานนี้ ใครพลาด ใครตั้งใจ และใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบและแก้ไขจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือไม่ อย่างไร?
สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ฝ่ายสยามยึด “หลักสันปันน้ำ” มาเป็นเส้นแบ่งเขตแดนสยาม-กัมพูชา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
3 ปีต่อมา ใน พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สยามทำสนธิสัญญายกเสียมเรียบ พระตะบอง ศรีโสภณให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองด่านซ้าย ตราด และเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ใต้แหลมสิงไปจนถึงเกาะกูดคืนมาเป็นของสยาม
สนธิสัญญานี้เองเป็นที่มาของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนกับสยาม ซึ่งได้ทำแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ที่ไม่มีการยึดหลักสันปันน้ำ และเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์ในทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นการปักปันเขตแดนที่ขีดเอาตามอำเภอใจแต่ฝ่ายเดียวเพื่อเอาเปรียบสยาม ฝ่ายสยามไม่เคยได้รับรู้แผนที่ดังกล่าวที่ฝ่ายฝรั่งเศสทำ แต่ฝ่ายสยามก็มิได้ทักท้วงแต่ประการใด
เมื่อเวลาผ่านไป 42 ปี กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากกัมพูชา ฝ่ายกัมพูชาได้เรียกร้องขอคืนปราสาทพระวิหารจากไทย และได้ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959)
กัมพูชาได้ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยกัมพูชาได้พยายามให้ศาลพิพากษารับรองแผนที่ที่ทำขึ้นโดยฝรั่งเศสตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ซึ่งเป็นแผนที่ 1 ต่อ 200,000 อยู่ในภาคผนวก 1 ท้ายคำฟ้องของกัมพูชาว่าเป็นแผนที่ที่ทำขึ้นถูกต้องตามสนธิสัญญาปักปันเขตแดน พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) และมีลักษณะเป็นสนธิสัญญา และยังขอให้ศาลพิพากษาเส้นเขตแดนระหว่างกัมพูชากับไทยตามแผนที่ดังกล่าวอีกด้วย
15 มิถุนายน 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตัดสินจากพฤติการณ์นิ่งของฝ่ายไทยที่มิได้ประท้วงความไม่ถูกต้องของแผนที่ตามหลักกฎหมายปิดปาก (Estoppel) พิพากษาเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารว่าอยู่บนอธิปไตยของกัมพูชา พร้อมๆ กับให้ประเทศไทยมีพันธะต้องถอนทหารหรือตำรวจออกจากพื้นที่ และคืนวัตถุโบราณให้กับกัมพูชา
แต่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่ได้พิพากษาทั้งแผนที่ท้ายคำฟ้องและเส้นเขตแดนตามที่กัมพูชาร้องขอแต่ประการใด!
ฝ่ายรัฐบาลไทยในขณะนั้นไม่ยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 อยู่แล้ว แม้แต่ตัวปราสาทพระวิหารก็ยังได้ประท้วงคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและสงวนสิทธิ์ในการต่อสู้ในอนาคตเอาไว้แล้วเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2505
นับจากวันนั้นเป็นต้นมาไทยและกัมพูชาก็ไม่ได้หยิบยกเรื่องแผนที่ 1 ต่อ 200,000ขึ้นมาพิพาทกันอีก 38 ปี
ไม่มีใครนึก และไม่มีใครรับรู้มาก่อนว่าแผนที่ 1 ต่อ 200,000 จะกลับมาผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาลไทยและรัฐสภาไทยช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
15 มิถุนายน 2505 เราเสียตัวปราสาทพระวิหาร เพราะกฎหมายปิดปากอันมีสาเหตุมาจากความนิ่งเฉยของสยาม
10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2543 – 2552 แผนที่ 1 ต่อ 200,000 คนไทยอาจจะเจ็บปวดยิ่งกว่ากฎหมายปิดปาก เพราะรัฐบาลและรัฐสภาไทยมีพฤติกรรมซ้ำซากในการรู้เห็นเป็นใจให้ความเห็นชอบตามแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ดังกล่าว
แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ไม่ได้กำลังพูดถึงเพียงแค่ตัวปราสาทพระวิหาร หรือ 4.6 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,000 ไร่ รอบปราสาทพระวิหารที่ทหารและพลเรือนกัมพูชากำลังรุกล้ำและยึดครองเท่านั้น...
แต่การยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 อาจสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทยอีกครั้งจำนวนมหาศาลนับแสนไร่ ซึ่งอาจจะกินพื้นที่เข้ามาในจังหวัดศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี และสุรินทร์
การประชุมลับและลงมติของสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 ในเรื่องกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชาทั้งสองกรอบ ซึ่งได้มีการอ้างอิงแผนที่ 1 ต่อ 200,000 นั้น สมาชิกวุฒิสภา ตลอดจนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างได้ลงมติ “เห็นชอบ” ด้วยเสียงข้างมาก ด้วยคะแนนเสียง 409 ต่อ 7 งดออกเสียง 1 และ 406 ต่อ 8 งดออกเสียง 2 ไม่เว้นแม้แต่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในเวลานั้นก็ลงมติ “เห็นชอบ” ในเรื่องดังกล่าวด้วย
มติเห็นชอบในกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชา ของสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 (สมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยมีนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) มีการอ้างอิงให้ไทยและกัมพูชาจัดทำหลักเขตแดนที่เกี่ยวข้องกับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 สามส่วนด้วยกัน
ส่วนแรก ได้มีการระบุในกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชาความว่า “ให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เจรจากับฝ่ายกัมพูชาเพื่อดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทย-กัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้”
ข้อ 3 แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับ ค.ศ. 1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ. 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
กรอบการเจรจาซึ่งสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ได้อนุมัตินั้น ระบุให้จัดทำเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา ที่อ้างอิง “แผนที่” ตามข้อความดังกล่าวนั้น แปลความเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากหมายถึงแผนที่ 1 ต่อ 200,000 (ซึ่งข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศได้ยอมรับเอาไว้แล้วในชั้นกรรมาธิการของวุฒิสภาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา)
ส่วนที่สอง ให้ปฏิบัติตามแผนแม่บทและข้อกำหนดหน้าที่ของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ใช้ภาษาอังกฤษว่า “Terms of Reference and Master Plan for the Joint Survey and Demarcation of Land Boundary between the Kingdom of Thailand and the Kingdom of Cambodia” ซึ่งได้จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 20/5/2546 หรือเรียกว่า “TOR ปี 2546” ซึ่งจัดทำขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณ มีข้อความภาษาอังกฤษที่ระบุแผนที่เหมือนภาษาไทยตามข้อ 3 ในกรอบการเจรจาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ที่กล่าวมาข้างต้น แต่มีความ “ชัดเจน” มากกว่า ถึงขนาดระบุในวงเล็บเพื่อความเข้าใจตรงกันของแผนที่ว่า “ต่อจากนี้ให้หมายถึงแผนที่ 1 ต่อ 200,000” โดยเนื้อความในส่วน Background หรือความเป็นมาได้ระบุเป็นข้อความภาษาอังกฤษในข้อ 1.1.3 ว่า
1.1.3 Maps which are the results of demarcation works of Commission of Delimitation of the Boundary between Indo-China and Siam set up under the Convention of 1904 and the Treaty of 1907 between Siam and France (hereinafter referred to as “the Maps of 1:200,000”) and other documents relating to the application of Convention of 1904 and the Treaty of 1907 between Siam and France
นอกจาก TOR ปี 2546 จะระบุคำนิยามให้หมายถึงแผนที่ 1 ต่อ 200,000 โดยในหัวข้อที่ 4 เรื่องขั้นตอนและการสำรวจและจัดวางหลักเขตแดน ได้ระบุเอาไว้ในขั้นตอนที่ 3 ในการวางแนวเพื่อสำรวจนั้น แล้ว ยังมีการระบุให้หัวหน้าชุดปฏิบัติการทำหลักเขตแดนและสำรวจให้เป็นไปตามพื้นฐานของแผนที่ 1 ต่อ 200,000 อีกด้วย เช่น ประโยคที่ว่า “The Chief of Operational Group will unilaterally plot the approximate location of boundary pillars and line to be surveyed on the Orthophoto Maps, using as the basis the maps of 1:200,000
ส่วนที่สาม คือการอ้างอิงบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก” เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ต่อไปนี้เรียกว่า “ MOU 2543” ลงนามโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย กับนายวาร์ คิม ที่ปรึกษารัฐบาลผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ชุดที่ 2 โดยระบุเอาไว้ในข้อ 1 (ค) ว่า
ข้อ 1 จะร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้
(ค) แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับ ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ. 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
สำทับด้วยร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยปัญหาชายแดนในพื้นที่ (ไทย-ปราสาทพระวิหาร) (กัมพูชา-ปราสาทเปรียะวิเฮียร์) ร่าง ณ วันที่ 6 เมษายน 2552 ที่กรุงพนมเปญ ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยเนื้อความตอนหนึ่งของร่างข้อตกลงดังกล่าวยังให้ยืนยันเอกสารที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น MOU 2543 หรือ TOR 2546 จึงยิ่งเป็นการตอกย้ำยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ของฝ่ายกัมพูชาเพิ่มเข้าไปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสามารถสรุปปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาดังนี้
2543 สมัยรัฐบาลนายชวน 2 มีการลงนาม MOU 2543 ระหว่างไทย-กัมพูชายอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 224
2544 รัฐบาลทักษิณ 1 ไปลงนามแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา กรณีการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ทางทะเล พร้อมแนบแผนที่ทับซ้อนทางทะเล โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา (ซึ่งอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 224) พร้อมๆ กับการแปรรูป ปตท.หลังจากนั้น 2 เดือนครึ่ง
2546 รัฐบาลทักษิณ 1 ลงนามใน TOR 2546 ระหว่างไทย-กัมพูชา ชัดเจนว่าให้จัดทำการสำรวจและปักปันเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 200,000 โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งก็อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 224 อีกเช่นกัน
2551 รัฐบาลสมัคร ต้องการเอาใจฮุนเซนให้ชนะเลือกตั้งที่กัมพูชา ให้ นายนพดล ปัทมะ ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ยกปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว พร้อมแนบท้ายแผนที่ของฝ่ายกัมพูชา โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา อันเป็นการขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 190
2551 รัฐบาลนายสมชาย สมาชิกรัฐสภา ซึ่งรวมถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ผ่านความเห็นชอบกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชา และเห็นชอบตามบัญชีเอกสาร TOR 2546 และ MOU 2543 อันเป็นการยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาครั้งแรก
2552 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เตรียมร่างข้อตกลงชั่วคราวให้ผ่านที่ประชุมรัฐสภาซึ่งระบุการยืนยันอีกครั้งถึงสิทธิและพันธะตาม MOU 2543 และ TOR 2546 ซึ่งหมายถึงให้ยืนยันแผนที่ 1 ต่อ 200,000 อีกครั้งหนึ่งด้วย พร้อมเดินหน้าในการให้ทหารทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่โดยยังคงให้ชนชาวกัมพูชายึดครองที่ดินต่อไปในระหว่างการเจรจา
ทิ้งไว้ให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอาเองว่างานนี้ ใครพลาด ใครตั้งใจ และใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบและแก้ไขจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือไม่ อย่างไร?