กว่าผมจะทำความเข้าใจกรณีพฤติกรรมของรัฐบาลที่อาจทำให้ไทยเสียดินแดนให้กัมพูชามาได้จนถึงระดับที่เขียนไปเมื่อวานนี ก็ต้องใช้เวลาต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี เฉพาะที่คร่ำเคร่งจริง ๆ ก็ประมาณ 1 เดือน และไม่ใช่เฉพาะอ่านเอกสาร แต่เป็นการรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝ่ายข้าราชการระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ทั้งนี้ก็โดยอาศัยฐานภาพของความเป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นคณะกรรมาธิการและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
เมื่อรับรู้แล้วก็นำมาบอกกล่าวกับประชาชน ในฐานะที่ผมก็เป็น “ผู้แทนปวงชนชาวไทย” แม้จะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็ตาม
เราเสียปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาก็เพราะแผนที่ ANNEX 1 อัตราส่วน 1 : 200,000
แผนที่นี้ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นฝ่ายเดียว ขณะที่ไทยยังไม่มีความรู้เรื่องแผนที่มากนัก
และในชั้นเชิงการเมืองระหว่างประเทศ เราก็ยังไม่เชี่ยวชาญ จึงไม่ได้คัดค้านแผนที่นี้เมื่อมีโอกาส จนกระทั่งมาคัดค้านเมื่อคดีขึ้นพิจารณาในศาลโลกปี 2502 ก็สายเกินไปเสียแล้ว ศาลไม่รับฟัง โดยถือหลักกฎหมายปิดปาก
มติคณะรัฐมนตรีปี 2505 ไม่ยอมรับแผนที่ปัญหานี้ !
ศาลโลกตัดสินให้ไทยแพ้คดี ต้องเสียปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา เพราะเราไม่ใช้สิทธิคัดค้านแผนที่ ANNEX 1 ในทุกครั้งที่ศาลโลกท่านเห็นว่าไทยน่าจะคัดค้านให้เป็นที่ประจักษ์ได้ โชคดีที่ศาลโลกท่านไม่ได้ให้ใช้แผนที่เป็นหลักเขตแดน ไทยจึงส่งมอบเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารคืนให้กัมพูชา โดยล้อมรั้วลวดหนามในปริมณฑลที่ใกล้ชิดติดตัวปราสาทมากที่สุด
ไทยกับกัมพูชามาเริ่มคุยกันใหม่เรื่องเขตแดนจริง ๆ จัง ๆ ในปี 2542 ยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
จนเป็นที่มาให้เกิด MOU 2000 หรือ “บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก” เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543
MOU 2000 นี้ได้ให้กำเนิด JBC หรือ “คณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา” ขึ้นมา
MOU 2000 นี้เป็นที่มาของ TOR 2003 หรือ “Terms of Reference and Master Plan for the Joint Survey and Demarcation of Land Boundary between the Kingdom of Thailand and the Kingdom of Cambodia” ในปี 2546 สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย
เป็นที่มาของกรอบการเจรจา 2 กรอบที่เสนอต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551
และเป็นที่มาของบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) รวม 3 ฉบับ ที่จะเข้าสู่การประชุมร่วมกันของรัฐสภาภายในไม่ช้าไม่นานนี้
ทั้งหมดล้วนเป็นผลต่อเนื่องที่เกิดจาก MOU 2000 ในยุคพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล
รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยุคปัจจุบันจึงต้องตอบคำถามให้ได้ว่าไปลงนามใน MOU 2000 ที่ในข้อ 1 (ค) ไปยอมรับแผนที่ ANEX 1 อัตราส่วน 1 : 200,000 ที่ทำให้คนไทยทั้งชาติเจ็บปวดมาแล้วได้อย่างไร
จะชี้แจงอย่างไร โดยใครบ้าง กรุณาคิดให้ดีให้รอบคอบ
และอย่าได้ชี้แจงอย่างที่กระทรวงการต่างประเทศเคยชี้แจงกับผม
เพราะแม้ผมจะเห็นใจ เข้าใจ แต่ไม่อาจจะเห็นด้วยกับท่านแม้สักนิดในประเด็นนี้
กระทรวงการต่างประเทศบอกว่าตอนริเริ่มทำ MOU 2000 นั้นวัตถุประสงค์คืออยากจะทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชาให้เหมือนกับที่ไทยทำกับมาเลเซีย ลาว และพม่า และถึงจะไม่เขียนระบุว่าให้เป็นไปตามแผนที่ โดยกฎหมายระหว่างประเทศก็ต้องหมายรวมถึงแผนที่อยู่แล้ว เพราะถือว่าแผนที่เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา (ในกรณีนี้คือสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 และค.ศ. 1907) ในชั้นแรกก็ไม่คิดว่าเขียนไว้ แต่ทางฝ่ายกัมพูชาไม่ยอม
แน่นอนว่ากัมพูชาต้องการให้เขียนระบุถึงแผนที่ที่เขาได้ประโยชน์ไว้ด้วย
ปัญหาที่ผมเข้าใจไม่ได้ รับไม่ได้ คือเราไปยอมตามเขาได้อย่างไร !
เจอหลัก “กฎหมายปิดปาก” จนต้องเสียค่าโง่เป็นปราสาทพระวิหารไปเมื่อปี 2505 ยังเจ็บปวดไม่พอหรือ มายอมเขียนยอมรับแผนที่แผ่นเดิมเพื่อให้เกิด “กฎหมายปิดปาก” อีกครั้งในอนาคตและอาจจะต้องเสียค่าโง่เป็นแผ่นดินไทยอีกมหาศาลไปเพื่อหาพระแสงอันใด ???
แค่กัมพูชาขู่ในวันนั้นว่าหากเจรจาไม่สำเร็จใน 6 เดือน จะนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลกอีกครั้ง คนไทยเราก็ต้องเร่งร้อนจนลนลานหรือ ????
ถึงขนาดต้องนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติใหม่ให้ใช้แผนที่ ANNEX 1 อัตราส่วน 1 : 200,000 ได้
โดยถือเป็นการกลับหลักมติคณะรัฐมนตรีปี 2505
กระทรวงการต่างประเทศบอกว่าไม่ต้องห่วง เพราะแม้จะเขียนยอมรับแผนที่ แต่ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ถือเป็นเพียงส่วนเดียว ต้องพิจารณาร่วมกับสนธิสัญญาและหลักฐานอื่น
และตอนแรกไม่ได้คิดจะจัดทำหลักเขตแดนที่บริเวณพระวิหารก่อนที่อื่น แต่จะทำในส่วนที่เคยมีหลักเขตแดนแล้ว 73 หลักก่อน แต่สถานการณ์ในกาลต่อมาผันแปร
รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยุคนี้ต้องหาเหตุผลที่ดีกว่านี้มาชี้แจง
เพราะเท่าที่ผมพยายามเข้าใจและเห็นใจกระทรวงการต่างประเทศมาเป็นเดือน ๆ ในการชี้แจงกันหลายครั้งผมพบว่ากระทรวงการต่างประเทศตอบคำถามจนดูเหมือนบางกรณีกัดลิ้นตัวเอง
กระทรวงการต่างประเทศมองว่าคำพิพากษาศาลโลกปี 2505 ยอมรับแผนที่ ถ้ามีเหตุให้ขึ้นศาลโลกอีกครั้งไทยจะเสียเปรียบ ไทยจึงพยายามยึดหลักเจรจา ไม่ควรให้เป็นกรณีพิพาท แต่ครั้นเมื่อยึดหลักเจรจา เมื่อกัมพูชาขู่ว่าจะนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลก กระทรวงการต่างประเทศก็กลับไปยอมเขียนเรื่องแผนที่ที่ทำให้คนไทยช้ำใจทั้งประเทศมาแล้วเมื่อปี 2505 เข้าไว้ในบันทึกความเข้าใจปี 2543 พูดไปพูดมา กระทรวงการต่างประเทศก็บอกว่าเชื่อว่ากัมพูชาจะต้องนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลกอีกครั้งในเวลาเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้
แล้วกระทรวงการต่างประเทศก็บอกว่าการเร่งเสนอกรอบ 2 กรอบเมื่อ 28 ตุลาคม 2551 น่าจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายไทยในการไปสำรวจพื้นที่บริเวณพระวิหารไว้ก่อนหากเรื่องต้องขึ้นสู่ศาลโลก
ฯลฯ – ฯลฯ – ฯลฯ
ท่านนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบันก่อนจะชี้แจงอะไรออกมาควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้กับตรรกะของกระทรวงการต่างประเทศที่ผมเห็นว่ายิ่งรับฟังยิ่งไม่ชอบด้วยหลักเหตุผลยิ่งขึ้นทุกที
เมื่อรับรู้แล้วก็นำมาบอกกล่าวกับประชาชน ในฐานะที่ผมก็เป็น “ผู้แทนปวงชนชาวไทย” แม้จะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็ตาม
เราเสียปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาก็เพราะแผนที่ ANNEX 1 อัตราส่วน 1 : 200,000
แผนที่นี้ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นฝ่ายเดียว ขณะที่ไทยยังไม่มีความรู้เรื่องแผนที่มากนัก
และในชั้นเชิงการเมืองระหว่างประเทศ เราก็ยังไม่เชี่ยวชาญ จึงไม่ได้คัดค้านแผนที่นี้เมื่อมีโอกาส จนกระทั่งมาคัดค้านเมื่อคดีขึ้นพิจารณาในศาลโลกปี 2502 ก็สายเกินไปเสียแล้ว ศาลไม่รับฟัง โดยถือหลักกฎหมายปิดปาก
มติคณะรัฐมนตรีปี 2505 ไม่ยอมรับแผนที่ปัญหานี้ !
ศาลโลกตัดสินให้ไทยแพ้คดี ต้องเสียปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา เพราะเราไม่ใช้สิทธิคัดค้านแผนที่ ANNEX 1 ในทุกครั้งที่ศาลโลกท่านเห็นว่าไทยน่าจะคัดค้านให้เป็นที่ประจักษ์ได้ โชคดีที่ศาลโลกท่านไม่ได้ให้ใช้แผนที่เป็นหลักเขตแดน ไทยจึงส่งมอบเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารคืนให้กัมพูชา โดยล้อมรั้วลวดหนามในปริมณฑลที่ใกล้ชิดติดตัวปราสาทมากที่สุด
ไทยกับกัมพูชามาเริ่มคุยกันใหม่เรื่องเขตแดนจริง ๆ จัง ๆ ในปี 2542 ยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
จนเป็นที่มาให้เกิด MOU 2000 หรือ “บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก” เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543
MOU 2000 นี้ได้ให้กำเนิด JBC หรือ “คณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา” ขึ้นมา
MOU 2000 นี้เป็นที่มาของ TOR 2003 หรือ “Terms of Reference and Master Plan for the Joint Survey and Demarcation of Land Boundary between the Kingdom of Thailand and the Kingdom of Cambodia” ในปี 2546 สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย
เป็นที่มาของกรอบการเจรจา 2 กรอบที่เสนอต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551
และเป็นที่มาของบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) รวม 3 ฉบับ ที่จะเข้าสู่การประชุมร่วมกันของรัฐสภาภายในไม่ช้าไม่นานนี้
ทั้งหมดล้วนเป็นผลต่อเนื่องที่เกิดจาก MOU 2000 ในยุคพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล
รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยุคปัจจุบันจึงต้องตอบคำถามให้ได้ว่าไปลงนามใน MOU 2000 ที่ในข้อ 1 (ค) ไปยอมรับแผนที่ ANEX 1 อัตราส่วน 1 : 200,000 ที่ทำให้คนไทยทั้งชาติเจ็บปวดมาแล้วได้อย่างไร
จะชี้แจงอย่างไร โดยใครบ้าง กรุณาคิดให้ดีให้รอบคอบ
และอย่าได้ชี้แจงอย่างที่กระทรวงการต่างประเทศเคยชี้แจงกับผม
เพราะแม้ผมจะเห็นใจ เข้าใจ แต่ไม่อาจจะเห็นด้วยกับท่านแม้สักนิดในประเด็นนี้
กระทรวงการต่างประเทศบอกว่าตอนริเริ่มทำ MOU 2000 นั้นวัตถุประสงค์คืออยากจะทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชาให้เหมือนกับที่ไทยทำกับมาเลเซีย ลาว และพม่า และถึงจะไม่เขียนระบุว่าให้เป็นไปตามแผนที่ โดยกฎหมายระหว่างประเทศก็ต้องหมายรวมถึงแผนที่อยู่แล้ว เพราะถือว่าแผนที่เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา (ในกรณีนี้คือสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 และค.ศ. 1907) ในชั้นแรกก็ไม่คิดว่าเขียนไว้ แต่ทางฝ่ายกัมพูชาไม่ยอม
แน่นอนว่ากัมพูชาต้องการให้เขียนระบุถึงแผนที่ที่เขาได้ประโยชน์ไว้ด้วย
ปัญหาที่ผมเข้าใจไม่ได้ รับไม่ได้ คือเราไปยอมตามเขาได้อย่างไร !
เจอหลัก “กฎหมายปิดปาก” จนต้องเสียค่าโง่เป็นปราสาทพระวิหารไปเมื่อปี 2505 ยังเจ็บปวดไม่พอหรือ มายอมเขียนยอมรับแผนที่แผ่นเดิมเพื่อให้เกิด “กฎหมายปิดปาก” อีกครั้งในอนาคตและอาจจะต้องเสียค่าโง่เป็นแผ่นดินไทยอีกมหาศาลไปเพื่อหาพระแสงอันใด ???
แค่กัมพูชาขู่ในวันนั้นว่าหากเจรจาไม่สำเร็จใน 6 เดือน จะนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลกอีกครั้ง คนไทยเราก็ต้องเร่งร้อนจนลนลานหรือ ????
ถึงขนาดต้องนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติใหม่ให้ใช้แผนที่ ANNEX 1 อัตราส่วน 1 : 200,000 ได้
โดยถือเป็นการกลับหลักมติคณะรัฐมนตรีปี 2505
กระทรวงการต่างประเทศบอกว่าไม่ต้องห่วง เพราะแม้จะเขียนยอมรับแผนที่ แต่ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ถือเป็นเพียงส่วนเดียว ต้องพิจารณาร่วมกับสนธิสัญญาและหลักฐานอื่น
และตอนแรกไม่ได้คิดจะจัดทำหลักเขตแดนที่บริเวณพระวิหารก่อนที่อื่น แต่จะทำในส่วนที่เคยมีหลักเขตแดนแล้ว 73 หลักก่อน แต่สถานการณ์ในกาลต่อมาผันแปร
รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยุคนี้ต้องหาเหตุผลที่ดีกว่านี้มาชี้แจง
เพราะเท่าที่ผมพยายามเข้าใจและเห็นใจกระทรวงการต่างประเทศมาเป็นเดือน ๆ ในการชี้แจงกันหลายครั้งผมพบว่ากระทรวงการต่างประเทศตอบคำถามจนดูเหมือนบางกรณีกัดลิ้นตัวเอง
กระทรวงการต่างประเทศมองว่าคำพิพากษาศาลโลกปี 2505 ยอมรับแผนที่ ถ้ามีเหตุให้ขึ้นศาลโลกอีกครั้งไทยจะเสียเปรียบ ไทยจึงพยายามยึดหลักเจรจา ไม่ควรให้เป็นกรณีพิพาท แต่ครั้นเมื่อยึดหลักเจรจา เมื่อกัมพูชาขู่ว่าจะนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลก กระทรวงการต่างประเทศก็กลับไปยอมเขียนเรื่องแผนที่ที่ทำให้คนไทยช้ำใจทั้งประเทศมาแล้วเมื่อปี 2505 เข้าไว้ในบันทึกความเข้าใจปี 2543 พูดไปพูดมา กระทรวงการต่างประเทศก็บอกว่าเชื่อว่ากัมพูชาจะต้องนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลกอีกครั้งในเวลาเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้
แล้วกระทรวงการต่างประเทศก็บอกว่าการเร่งเสนอกรอบ 2 กรอบเมื่อ 28 ตุลาคม 2551 น่าจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายไทยในการไปสำรวจพื้นที่บริเวณพระวิหารไว้ก่อนหากเรื่องต้องขึ้นสู่ศาลโลก
ฯลฯ – ฯลฯ – ฯลฯ
ท่านนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบันก่อนจะชี้แจงอะไรออกมาควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้กับตรรกะของกระทรวงการต่างประเทศที่ผมเห็นว่ายิ่งรับฟังยิ่งไม่ชอบด้วยหลักเหตุผลยิ่งขึ้นทุกที