ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต
โดยทั่วไป ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ส่วนรวม เวลาจะทำอะไรเพื่อประโยชน์ของตัวเอง มักจะมีความรู้สึกเขินอาย แต่นั่นเป็นข้อยกเว้นสำหรับนักการเมืองไทยจำนวนมาก
ขณะนี้ ดูเหมือนนักการเมืองในสภาจะผนึกกำลังกันเฉพาะกิจ ดำเนินการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมืองและพรรคการเมือง โดยไม่ปรากฏซึ่งความรู้สึกเขินอายแต่อย่างใดเลย
1) รัฐธรรมนูญ 2550 ได้ผ่านประชามติ ด้วยความเห็นชอบของประชาชน จำนวน 14.7 ล้านคน เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ผ่านมาเพียง 2 ปี ยังไม่ปรากฏว่า ประชาชนหรือประเทศชาติส่วนรวมจะได้รับผลกระทบหรือความเสียหายใดๆ จากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้
คงมีแต่นักการเมืองทุจริต และพรรคการเมืองทุจริต จำนวนหนึ่ง ที่ต้องถูกลงโทษไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ตรงกันข้าม ประชาชนยังไม่ได้ผลประโยชน์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ ก็เพราะความที่นักการเมืองนั้นเอง ยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญให้ครบถ้วน
แทนที่จะเอาใจใส่เร่งออกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และจัดตั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามเงื่อนเวลาที่ปรากฎของรัฐธรรมนูญ เช่น จัดตั้งองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย การสร้างประมวลจริยธรรมของนักการเมือง เป็นต้น แต่บรรดา ส.ส. ส.ว. กลับสนใจแต่จะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตน และประโยชน์แก่พรรคการเมืองของตน
รัฐธรรมนูญ 2550 ได้ผ่านการทำประชามติเพียง 2 ปี ซึ่งบรรดา ส.ส.และส.ว. ขณะนี้ล้วนเข้าสู่ตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพียง 1 ปีเศษก็มุ่งจะแก้รัฐธรรมนูญโดยไม่เคารพมติของประชาชน เสมือนนักกีฬาที่ไม่ยอมรับผลการแข่งขัน แต่ขอทำประชามติใหม่ อาจถูกมองได้ว่าบรรดานักการเมืองเหล่านี้ ไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่มุ่งแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของตนเอง
นักการเมืองเหล่านี้มีพฤติกรรมไม่ต่างจากผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่เข้ารับงานตามแบบก่อสร้างและเงื่อนไขของการทำงาน แต่เมื่อชนะการประกวดเข้าทำงานโดยที่งานยังไม่เสร็จสิ้น ก็ขอแก้แบบก่อสร้างและเงื่อนไขเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
โดยประเด็นแก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ได้แก่
(1) มาตรา 237 การยุบพรรคและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคที่ทุจริตเลือกตั้ง
(2) มาตรา 93-98 ที่มาของส.ส.
(3) มาตรา 111-121 ที่มาของส.ว.
(4) มาตรา 190 การทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
(5) มาตรา 265 การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ ส.ส.
และ (6) มาตรา 266 การแทรกแซงข้าราชการประจำ
ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับวิธีการเข้าสู่อำนาจ กรอบแห่งอำนาจ และการตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองทั้งสิ้น
2) การแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็นดังกล่าว มิได้ช่วยแก้ไขความขัดแย้งของสังคม และไม่สามารถสร้างความสมานฉันท์ได้ แต่เป็นข้ออ้างเพื่อให้ได้ประโยชน์ในการเลือกตั้งใหม่
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นเพียงการเปลี่ยนกติกาเลือกตั้งของนักการเมืองกันเอง จากเขตใหญ่เป็นเขตเล็ก ตอบสนองความต้องการของนายทุนพรรคการเมือง ทำให้ประชาชนเลือกผู้แทนในเขตของตนได้จำนวนน้อยลง แต่ยิ่งจะทำให้ปัญหาการซื้อเสียงรุนแรงขึ้น แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ก็หนีไม่พ้นการเจรจาตกลงกันเพื่อประโยชน์ในการเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง ย่อมเป็นการแก้ไขเพื่อนักเลือกตั้งอย่างชัดเจน
การยกเลิกมาตรา 237 วรรคสอง จะยิ่งทำให้การซื้อเสียงรุนแรงขึ้น โดยที่พรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคไม่มีความยำเกรง หรือจะต้องสอดส่องดูแลแก้ไข เพราะไม่มีบทลงโทษเด็ดขาด อีกทั้ง จะทำให้จำกัดบุคคลผู้ได้รับโทษและอาจส่งผลให้นักการเมืองผู้ได้กระทำความผิดและได้รับโทษอยู่พ้นโทษไป
การเปลี่ยนแปลงวิธีการได้มาซึ่ง ส.ว. หากกลับไปใช้วิธีเลือกตั้งตามเดิม โดยไม่มีข้อห้ามในเรื่องการเป็นบุพการี คู่สมรส บุตรของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือ ส.ส. และห้ามเป็นสมาชิกพรรคหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรค หรือเป็นหรือเคยเป็น ส.ส.แล้วพ้นจากตำแหน่งมา 5 ปี จะทำให้วุฒิสภากลับไปมีสภาพเป็นสภาทาส สภาหมอนข้าง หรือสภาผัวเมียเหมือนเดิม
การยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 265-266 จะเปิดโอกาสให้มีการทุจริตเชิงนโยบาย ผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะคู่สมรสและบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถเป็นหุ้นส่วนหรือถือครองหุ้นบริษัทธุรกิจต่อไปได้ อาจนำไปสู่การกำหนดนโยบายที่เอื้อต่อผลประโยชน์ส่วนตัว เปิดช่องให้นักการเมืองเข้าไปดำรงตำแหน่งหรือแทรกแซงสั่งการหน่วยงานของรัฐเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว
นอกจากนี้ การแก้ไขมาตรา 190 ที่บัญญัติให้การทำสนธิสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างรุนแรงจะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างกว้างขวาง และต้องให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ ยังมีข้อถกเถียงว่ามีเหตุผลจำเป็นเพียงพอที่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะบทบัญญัติดังกล่าว มิได้บังคับว่าทุกเรื่องจะต้องขออนุมัติจากรัฐสภา แต่ให้มีการออกกฎหมายลูก เพื่อกำหนด จำแนก แยกแยะ ให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ ซึ่งรัฐบาลและรัฐสภาสามารถจะร่วมกันดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ
3) ส.ส. และ ส.ว. ที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่างมีผลประโยชน์ส่วนตนขัดแย้งกับผลประโยชน์ของส่วนรวม เป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ที่บัญญัติ “ให้การกระทำของ ส.ส. ส.ว. ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์”
ยังปรากฏด้วยว่า ในความพยายามแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีบุคคลที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเจ้าของพรรคตัวจริง หรือผู้มีอิทธิพลอำนาจเหนือพรรคตัวจริง ไม่สามารถอาสาทำงานการเมืองได้เป็นเวลา 5 ปี เช่น นายบรรหาร ศิลปอาชา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายพินิจ จารุสมบัติ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน นายเนวิน ชิดชอบ และนายไพโรจน์ สุวรรณฉวี เป็นต้น คนเหล่านี้ได้เข้าประชุมตกลงเนื้อหาและวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2552 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในที่ประชุม
ดังนั้น บรรดา ส.ส. และ ส.ว. ที่ดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าว ย่อมส่อแสดงว่า เป็นผู้ที่ตกอยู่ภายใต้อาณัติ มอบหมาย หรือครอบงำ อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ที่บัญญัติว่า “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ”
การกระทำความผิดดังกล่าว มีโทษร้ายแรงว่าจงใจกระทำการขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ละเว้น หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มีโทษขั้นถอดถอน และมีความผิดทางอาญา
4) การแก้รัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นการกระทำที่ขาดความตระหนักถึงหัวจิตหัวใจและความเสียสละของประชาชนจำนวนมาก ที่ได้ทุ่มเททั้งชีวิต ร่างกาย และอวัยวะเพื่อรักษารัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ผ่านเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 ได้เกิดต้นทุนความสูญเสียกับประชาชนคนไทยอย่างมหาศาล
ที่ผ่านมา รัฐบาลมิได้ตั้งใจที่จะเยียวยาบาดแผลของประชาชนที่รักและห่วงแหนกติกาของบ้านเมือง มาบัดนี้ กลับจะร่วมมือกับนักการเมืองส่วนที่เคยมีเจตนาร่วมทำร้าย จึงเป็นการยากที่จะเข้าใจว่า เหตุใดรัฐบาลปัจจุบัน จึงได้เข้าร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้
การกระทำเยี่ยงนี้ เสมือนหนึ่งจงใจกรีดบาดแผลซ้ำลงไปในหัวใจของประชาชนผู้รู้สึกสูญเสียในระหว่างการต่อสู้เพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญและการพิจารณาคดีของอำนาจตุลาการ ใช่หรือไม่
ล่าสุด ประชาชนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อแประชาธิปไตยได้แสดงฉันทามติร่วมกันแล้วว่า หากนักการเมืองดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตนเองดังกล่าวเมื่อใด จะมีการชุมนุมใหญ่เพื่อต่อต้านการกระทำดังกล่าวอย่างถึงที่สุด
5) การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 สามารถกระทำได้อย่างแน่นอน แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน มิใช่ผลประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมืองและพรรคการเมืองเยี่ยงนี้
อีกทั้ง การจะแก้ไขหรือไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญประการใดๆ ก็ควรจะเป็นไปอย่างถูกต้องตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ ซึ่งได้กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจหน้าที่ได้ตามบทบัญญัติ มาตรา 244 (3) ให้ติดตาม ประเมินผล และจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึงข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น
ปรากฏว่า ชมรม สสร.50 ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้ติดตามตรวจสอบการใช้รัฐธรรมนูญ พิจารณาว่า นับตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 เป็นต้นมา ยังไม่ปรากฏว่าผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีการประเมินการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่นักการเมืองผู้มีส่วนได้เสีย กลับพยายามจะชิงแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียเอง
ล่าสุด ชมรม สสร.50 ได้ทำหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากละเว้น หรือจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ ก็จะดำเนินการเพื่อให้มีการถอดถอนและดำเนินคดีตามกฎหมาย ต่อไป
หยุดสุมไฟให้แผ่นดิน
ปัญหาของประเทศชาติในวันนี้ ไม่ได้เกิดจากรัฐธรรมนูญ 2550 แต่เป็นปัญหาเพราะนักการเมืองเห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์ของตัว ของพรรค และของพวกพ้อง มากกว่าจะมุ่งปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
ดังจะเห็นได้ชัดว่า นักการเมืองบางส่วน โดยเฉพาะพรรคฝ่ายค้าน ได้พยายามกระทำทุกวิถีทางตามอาณัติหรือสั่งการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหลบหนีอาญาแผ่นดิน ที่ต้องการล้มเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 แต่เอารัฐธรรมนูญ 2540 ขึ้นมาใช้แทนทันที เพราะหวังประโยชน์ในประเด็นทางกฎหมาย ที่จะเป็นคุณต่อคดีทุจริตโกงกินจำนวนมากของตนและพวก ทั้งที่ศาลพิพากษาไปแล้ว และที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล
ขณะนี้ ปัญหาของแผ่นดินมีมากหลาย ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อม น้ำท่วม มลพิษ ปัญหาการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล การไม่ติดตามบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้มีความศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ
การมุ่งจะแก้รัฐธรรมนูญ แม้จะใช้การทำประชามติเป็นเงื่อนไข หรือเป็นเหยื่อล่อ แทนที่จะปลดสลักความวุ่นวายในบ้านเมือง กลับจะเป็นการสุมไฟให้กับความขัดแย้ง และความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นมาอีกครั้ง
เพราะนอกสภา ไม่มีใครเอาด้วย แถมคนทำในสภา ก็ยังเสี่ยงจะผิดกฎหมายและรัฐธรรมนูญอีกด้วย
หยุดแก้รัฐธรรมนูญ ที่กระทำโดยนักการเมือง เพื่อนักการเมือง
หยุดสุมไฟให้แผ่นดิน
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต
โดยทั่วไป ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ส่วนรวม เวลาจะทำอะไรเพื่อประโยชน์ของตัวเอง มักจะมีความรู้สึกเขินอาย แต่นั่นเป็นข้อยกเว้นสำหรับนักการเมืองไทยจำนวนมาก
ขณะนี้ ดูเหมือนนักการเมืองในสภาจะผนึกกำลังกันเฉพาะกิจ ดำเนินการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมืองและพรรคการเมือง โดยไม่ปรากฏซึ่งความรู้สึกเขินอายแต่อย่างใดเลย
1) รัฐธรรมนูญ 2550 ได้ผ่านประชามติ ด้วยความเห็นชอบของประชาชน จำนวน 14.7 ล้านคน เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ผ่านมาเพียง 2 ปี ยังไม่ปรากฏว่า ประชาชนหรือประเทศชาติส่วนรวมจะได้รับผลกระทบหรือความเสียหายใดๆ จากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้
คงมีแต่นักการเมืองทุจริต และพรรคการเมืองทุจริต จำนวนหนึ่ง ที่ต้องถูกลงโทษไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ตรงกันข้าม ประชาชนยังไม่ได้ผลประโยชน์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ ก็เพราะความที่นักการเมืองนั้นเอง ยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญให้ครบถ้วน
แทนที่จะเอาใจใส่เร่งออกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และจัดตั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามเงื่อนเวลาที่ปรากฎของรัฐธรรมนูญ เช่น จัดตั้งองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย การสร้างประมวลจริยธรรมของนักการเมือง เป็นต้น แต่บรรดา ส.ส. ส.ว. กลับสนใจแต่จะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตน และประโยชน์แก่พรรคการเมืองของตน
รัฐธรรมนูญ 2550 ได้ผ่านการทำประชามติเพียง 2 ปี ซึ่งบรรดา ส.ส.และส.ว. ขณะนี้ล้วนเข้าสู่ตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพียง 1 ปีเศษก็มุ่งจะแก้รัฐธรรมนูญโดยไม่เคารพมติของประชาชน เสมือนนักกีฬาที่ไม่ยอมรับผลการแข่งขัน แต่ขอทำประชามติใหม่ อาจถูกมองได้ว่าบรรดานักการเมืองเหล่านี้ ไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่มุ่งแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของตนเอง
นักการเมืองเหล่านี้มีพฤติกรรมไม่ต่างจากผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่เข้ารับงานตามแบบก่อสร้างและเงื่อนไขของการทำงาน แต่เมื่อชนะการประกวดเข้าทำงานโดยที่งานยังไม่เสร็จสิ้น ก็ขอแก้แบบก่อสร้างและเงื่อนไขเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
โดยประเด็นแก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ได้แก่
(1) มาตรา 237 การยุบพรรคและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคที่ทุจริตเลือกตั้ง
(2) มาตรา 93-98 ที่มาของส.ส.
(3) มาตรา 111-121 ที่มาของส.ว.
(4) มาตรา 190 การทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
(5) มาตรา 265 การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ ส.ส.
และ (6) มาตรา 266 การแทรกแซงข้าราชการประจำ
ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับวิธีการเข้าสู่อำนาจ กรอบแห่งอำนาจ และการตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองทั้งสิ้น
2) การแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็นดังกล่าว มิได้ช่วยแก้ไขความขัดแย้งของสังคม และไม่สามารถสร้างความสมานฉันท์ได้ แต่เป็นข้ออ้างเพื่อให้ได้ประโยชน์ในการเลือกตั้งใหม่
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นเพียงการเปลี่ยนกติกาเลือกตั้งของนักการเมืองกันเอง จากเขตใหญ่เป็นเขตเล็ก ตอบสนองความต้องการของนายทุนพรรคการเมือง ทำให้ประชาชนเลือกผู้แทนในเขตของตนได้จำนวนน้อยลง แต่ยิ่งจะทำให้ปัญหาการซื้อเสียงรุนแรงขึ้น แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ก็หนีไม่พ้นการเจรจาตกลงกันเพื่อประโยชน์ในการเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง ย่อมเป็นการแก้ไขเพื่อนักเลือกตั้งอย่างชัดเจน
การยกเลิกมาตรา 237 วรรคสอง จะยิ่งทำให้การซื้อเสียงรุนแรงขึ้น โดยที่พรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคไม่มีความยำเกรง หรือจะต้องสอดส่องดูแลแก้ไข เพราะไม่มีบทลงโทษเด็ดขาด อีกทั้ง จะทำให้จำกัดบุคคลผู้ได้รับโทษและอาจส่งผลให้นักการเมืองผู้ได้กระทำความผิดและได้รับโทษอยู่พ้นโทษไป
การเปลี่ยนแปลงวิธีการได้มาซึ่ง ส.ว. หากกลับไปใช้วิธีเลือกตั้งตามเดิม โดยไม่มีข้อห้ามในเรื่องการเป็นบุพการี คู่สมรส บุตรของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือ ส.ส. และห้ามเป็นสมาชิกพรรคหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรค หรือเป็นหรือเคยเป็น ส.ส.แล้วพ้นจากตำแหน่งมา 5 ปี จะทำให้วุฒิสภากลับไปมีสภาพเป็นสภาทาส สภาหมอนข้าง หรือสภาผัวเมียเหมือนเดิม
การยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 265-266 จะเปิดโอกาสให้มีการทุจริตเชิงนโยบาย ผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะคู่สมรสและบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถเป็นหุ้นส่วนหรือถือครองหุ้นบริษัทธุรกิจต่อไปได้ อาจนำไปสู่การกำหนดนโยบายที่เอื้อต่อผลประโยชน์ส่วนตัว เปิดช่องให้นักการเมืองเข้าไปดำรงตำแหน่งหรือแทรกแซงสั่งการหน่วยงานของรัฐเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว
นอกจากนี้ การแก้ไขมาตรา 190 ที่บัญญัติให้การทำสนธิสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างรุนแรงจะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างกว้างขวาง และต้องให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ ยังมีข้อถกเถียงว่ามีเหตุผลจำเป็นเพียงพอที่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะบทบัญญัติดังกล่าว มิได้บังคับว่าทุกเรื่องจะต้องขออนุมัติจากรัฐสภา แต่ให้มีการออกกฎหมายลูก เพื่อกำหนด จำแนก แยกแยะ ให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ ซึ่งรัฐบาลและรัฐสภาสามารถจะร่วมกันดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ
3) ส.ส. และ ส.ว. ที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่างมีผลประโยชน์ส่วนตนขัดแย้งกับผลประโยชน์ของส่วนรวม เป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ที่บัญญัติ “ให้การกระทำของ ส.ส. ส.ว. ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์”
ยังปรากฏด้วยว่า ในความพยายามแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีบุคคลที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเจ้าของพรรคตัวจริง หรือผู้มีอิทธิพลอำนาจเหนือพรรคตัวจริง ไม่สามารถอาสาทำงานการเมืองได้เป็นเวลา 5 ปี เช่น นายบรรหาร ศิลปอาชา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายพินิจ จารุสมบัติ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน นายเนวิน ชิดชอบ และนายไพโรจน์ สุวรรณฉวี เป็นต้น คนเหล่านี้ได้เข้าประชุมตกลงเนื้อหาและวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2552 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในที่ประชุม
ดังนั้น บรรดา ส.ส. และ ส.ว. ที่ดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าว ย่อมส่อแสดงว่า เป็นผู้ที่ตกอยู่ภายใต้อาณัติ มอบหมาย หรือครอบงำ อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ที่บัญญัติว่า “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ”
การกระทำความผิดดังกล่าว มีโทษร้ายแรงว่าจงใจกระทำการขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ละเว้น หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มีโทษขั้นถอดถอน และมีความผิดทางอาญา
4) การแก้รัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นการกระทำที่ขาดความตระหนักถึงหัวจิตหัวใจและความเสียสละของประชาชนจำนวนมาก ที่ได้ทุ่มเททั้งชีวิต ร่างกาย และอวัยวะเพื่อรักษารัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ผ่านเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 ได้เกิดต้นทุนความสูญเสียกับประชาชนคนไทยอย่างมหาศาล
ที่ผ่านมา รัฐบาลมิได้ตั้งใจที่จะเยียวยาบาดแผลของประชาชนที่รักและห่วงแหนกติกาของบ้านเมือง มาบัดนี้ กลับจะร่วมมือกับนักการเมืองส่วนที่เคยมีเจตนาร่วมทำร้าย จึงเป็นการยากที่จะเข้าใจว่า เหตุใดรัฐบาลปัจจุบัน จึงได้เข้าร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้
การกระทำเยี่ยงนี้ เสมือนหนึ่งจงใจกรีดบาดแผลซ้ำลงไปในหัวใจของประชาชนผู้รู้สึกสูญเสียในระหว่างการต่อสู้เพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญและการพิจารณาคดีของอำนาจตุลาการ ใช่หรือไม่
ล่าสุด ประชาชนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อแประชาธิปไตยได้แสดงฉันทามติร่วมกันแล้วว่า หากนักการเมืองดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตนเองดังกล่าวเมื่อใด จะมีการชุมนุมใหญ่เพื่อต่อต้านการกระทำดังกล่าวอย่างถึงที่สุด
5) การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 สามารถกระทำได้อย่างแน่นอน แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน มิใช่ผลประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมืองและพรรคการเมืองเยี่ยงนี้
อีกทั้ง การจะแก้ไขหรือไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญประการใดๆ ก็ควรจะเป็นไปอย่างถูกต้องตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ ซึ่งได้กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจหน้าที่ได้ตามบทบัญญัติ มาตรา 244 (3) ให้ติดตาม ประเมินผล และจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึงข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น
ปรากฏว่า ชมรม สสร.50 ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้ติดตามตรวจสอบการใช้รัฐธรรมนูญ พิจารณาว่า นับตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 เป็นต้นมา ยังไม่ปรากฏว่าผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีการประเมินการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่นักการเมืองผู้มีส่วนได้เสีย กลับพยายามจะชิงแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียเอง
ล่าสุด ชมรม สสร.50 ได้ทำหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากละเว้น หรือจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ ก็จะดำเนินการเพื่อให้มีการถอดถอนและดำเนินคดีตามกฎหมาย ต่อไป
หยุดสุมไฟให้แผ่นดิน
ปัญหาของประเทศชาติในวันนี้ ไม่ได้เกิดจากรัฐธรรมนูญ 2550 แต่เป็นปัญหาเพราะนักการเมืองเห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์ของตัว ของพรรค และของพวกพ้อง มากกว่าจะมุ่งปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
ดังจะเห็นได้ชัดว่า นักการเมืองบางส่วน โดยเฉพาะพรรคฝ่ายค้าน ได้พยายามกระทำทุกวิถีทางตามอาณัติหรือสั่งการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหลบหนีอาญาแผ่นดิน ที่ต้องการล้มเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 แต่เอารัฐธรรมนูญ 2540 ขึ้นมาใช้แทนทันที เพราะหวังประโยชน์ในประเด็นทางกฎหมาย ที่จะเป็นคุณต่อคดีทุจริตโกงกินจำนวนมากของตนและพวก ทั้งที่ศาลพิพากษาไปแล้ว และที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล
ขณะนี้ ปัญหาของแผ่นดินมีมากหลาย ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อม น้ำท่วม มลพิษ ปัญหาการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล การไม่ติดตามบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้มีความศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ
การมุ่งจะแก้รัฐธรรมนูญ แม้จะใช้การทำประชามติเป็นเงื่อนไข หรือเป็นเหยื่อล่อ แทนที่จะปลดสลักความวุ่นวายในบ้านเมือง กลับจะเป็นการสุมไฟให้กับความขัดแย้ง และความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นมาอีกครั้ง
เพราะนอกสภา ไม่มีใครเอาด้วย แถมคนทำในสภา ก็ยังเสี่ยงจะผิดกฎหมายและรัฐธรรมนูญอีกด้วย
หยุดแก้รัฐธรรมนูญ ที่กระทำโดยนักการเมือง เพื่อนักการเมือง
หยุดสุมไฟให้แผ่นดิน