28 กันยายน 2552 นายฮุนเซน ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่างประเทศว่า ได้มีคำสั่งให้ทหารกัมพูชายิงพลเรือนและทหารไทยได้ หากบุกรุกเข้ามายังบริเวณพื้นที่ของกัมพูชา
คำสัมภาษณ์ของนายฮุนเซน ได้ปรากฏเป็นข่าวความบางตอนว่า:
“หากพวกเขาเข้ามาอีก พวกเขาจะถูกยิง ทหาร ตำรวจและกองกำลังติดอาวุธทั้งหมดจะต้องยึดปฏิบัติตามคำสั่งนี้ สำหรับผู้บุกรุก จะไม่มีการใช้โล่ จะมีแต่ลูกปืน... นี่เป็นการอ้างสิทธิแต่เพียงฝ่ายเดียวจากความทะยานอยากที่จะยึดครองดินแดนกัมพูชา หากนายกรัฐมนตรีไทยกางแผนที่ (ที่ร่างขึ้นเอง) ต่อหน้า ผมจะฉีกทิ้ง”
นายฮุนเซน ยังกล่าวอีกว่า “กัมพูชาไม่ต้องการสงคราม แต่กัมพูชาควรมีสิทธิที่จะสังหารศัตรูบนดินแดนของตนได้”
ลองจินตนาการหลับตาดูว่าถ้าคำพูดที่ปรากฏที่ว่านั้นออกมาจากนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย แล้วเปลี่ยนข้อความจากคำว่าไทยเป็นกัมพูชา และเปลี่ยนคำว่ากัมพูชาเป็นไทย เหตุการณ์การรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยคงไม่มีปัญหามาถึงทุกวันนี้
แต่ที่ดินแดนไทยต้องมามีปัญหาจนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะรัฐบาลหลายชุดติดต่อกันมีความอ่อนแอในเรื่องชายแดน ในบางยุคข้าราชการและทหารไทยบางคนก็แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนจากการรุกล้ำดินแดนไทย ในบางยุคนักการเมืองก็ขายชาติเพื่อแลกกับผลประโยชน์ส่วนตัวในเรื่องพลังงานในอ่าวไทย ส่วนรัฐบาลไทยยุคปัจจุบันก็อ่อนแอเกินไปและไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของผู้นำกัมพูชา จนนายกรัฐมนตรีกัมพูชาถึงได้พูดดูถูกเหยียดหยามทหารและรัฐบาลไทยมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง
ผลประโยชน์ในชายแดนระหว่างไทย-กัมพูชา นั้นมีอยู่มหาศาล ตั้งแต่งานก่อสร้างถนน สร้างสิ่งปลูกสร้าง ค้าขายไม้เถื่อน ค้าขายของหนีภาษี บ่อนการพนัน ซึ่งตกอยู่ในมือข้าราชการและนักการเมืองไทยเพียงไม่กี่คน ในขณะที่นักการเมืองไทยระดับชาติก็หวังผลประโยชน์การได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ทั้งหมดนี้ก็เพราะคนไทยเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนจนยอมได้แม้กระทั่งการขายชาติขายแผ่นดิน
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น วันที่ 19 กันยายน 2552 ซึ่งคณะคนไทยผู้รักชาติที่นำโดยนายวีระ สมความคิด ได้เดินทางไป ณ หมู่บ้านภูมิซรอล อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ แล้วถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ซุ่มโจมตี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่มีการจัดตั้งชาวกัมพูชาจากข้าราชการและนักการเมืองไทยให้มาทำร้ายคนไทยที่รักชาติเสียเอง โดยรัฐบาลก็มิได้ห้ามปราม หยุดยั้ง หรือลงโทษกระบวนการเลวร้ายดังกล่าวแต่ประการใด
พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร จึงเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาเป็นอย่างดีที่พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 193 วัน ที่ต้องเสียสละแรงกาย แรงใจ ทรัพย์สิน อวัยวะและชีวิต เพื่อการรักษาดินแดนและอธิปไตยในปี 2551 ไม่สามารถจะพึ่งพานักการเมืองทุกฝ่ายได้อีกต่อไป
นักการเมืองทุกฝ่ายในปัจจุบันขาดความ “เสียสละ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ และทำงานเป็น” จึงทำให้ประเทศชาติอ่อนแอถึงเพียงนี้
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงต้องลงมือทำด้วยตัวเอง เพื่อเปลี่ยนแปลงการเมืองที่ล้มเหลวในปัจจุบันผ่านพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่กำเนิดมาจากฉันทานุมัติของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเอง
สัปดาห์หน้าจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพรรคการเมืองใหม่ดังนี้
กิจกรรมแรกจะเกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2552 โดยพรรคการเมืองใหม่จะมีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อขอมติที่สำคัญจากที่ประชุมใหญ่เป็นครั้งแรก และกิจกรรมที่สองที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม 2552 คือการจัดงานรำลึกวีรชน 7 ตุลาคม 2551 และเหล่าวีรชนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตลอดการชุมนุม 193 วัน
วันที่ 6 ตุลาคม 2552 พรรคการเมืองใหม่ ได้มีมติให้ใช้คำสั้นๆ ในงานประชุมครั้งนี้ว่า “กล้าเปลี่ยน” (Dare to Change) อันหมายถึงการเชื้อเชิญให้ประชาชนกล้าที่จะก้าวสู่การเมืองใหม่อันเป็นการเมืองสะอาด เพื่อให้พ้นจากความผิดหวังทั้งปวงต่อการเมืองเดิมในปัจจุบัน ภายใต้คุณสมบัติของพรรคการเมืองที่ว่า “เสียสละ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ ทำงานเป็น”
“เสียสละ” คือจิตสาธารณะที่สละผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม อันเป็นลักษณะเฉพาะของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพรรคการเมืองใหม่ ที่ได้พิสูจน์แล้วว่ายอมเสียสละทรัพย์สิน แรงกาย แรงใจ อวัยวะและชีวิต เพื่อปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติ อันหมายถึง ชาติ ราชบัลลังก์ และหลักนิติรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญ
เสียสละ จึงเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับนักการเมืองส่วนใหญ่ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิงที่ทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองกันเอง การทำลายหลักนิติรัฐเพื่อช่วยเหลือนักการเมืองหรือพวกของนักการเมืองกันเอง หรือแม้กระทั่งการทรยศต่อประชาชนยินยอมให้คนชั่วมาบริหารประเทศเพียงเพื่อรักษาเก้าอี้และตำแหน่งของรัฐบาล
“ซื่อสัตย์” คือจุดเริ่มต้นที่ภาคประชาชนอย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ตรวจสอบต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชันและผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นเวลาหลายปีอย่างต่อเนื่อง ซื่อสัตย์ จึงเป็นรากฐานสำคัญของการเมืองใหม่ที่จะนำพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤต
ซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการเมืองในระบบเก่า ที่ทั้ง “ฉ้อราษฎร์” และ “บังหลวง” ยอมทำตามนายทุนสามานย์ซึ่งครอบงำพรรคการเมืองอยู่ในทุกพรรคการเมือง และรู้เห็นเป็นใจยินยอมจัดสรรงบประมาณให้พรรคร่วมรัฐบาลหรือคนในรัฐบาลโกงกินเพื่อรักษาอำนาจของรัฐบาล
“กล้าหาญ” เป็นคำที่แสดงลักษณะโดดเด่นเฉพาะของพรรคการเมืองใหม่ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่กล้าตัดสินใจ พร้อมยืนหยัดที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ซึ่งลักษณะเฉพาะนี้ได้พิสูจน์มาแล้วด้วยการต่อสู้เพื่อสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ว่าอุปสรรคนั้นจะเป็นอำนาจรัฐ อำนาจเงิน หรือความรุนแรง ก็ไม่สามารถสั่นคลอนในความกล้าหาญในการต่อสู้เพื่อความถูกต้องนั้นได้
กล้าหาญ จึงเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการเมืองในระบบเก่า ที่ไม่กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้อง เพราะติดในประโยชน์หรือตำแหน่งของตัวเอง หรือเพราะเกรงใจพวกพ้องมากกว่าประเทศชาติ ซึ่งจากผลสำรวจของกรุงเทพโพลได้ระบุว่าความกล้าหาญและการตัดสินใจถือเป็นจุดอ่อนที่สุดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนี้
“ทำงานเป็น” เป็นคำที่แสดงให้รู้ว่า “ทำเป็น และทำได้” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม และพร้อมที่จะเปลี่ยนให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมในเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ได้เคยพูดปราศรัยบนเวทีมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปรัฐตำรวจ การปฏิรูปสื่อให้ความจริงกับประชาชน การแก้ไขหนี้สินของประชาชน การทวงคืนดินแดนไทยรอบปราสาทพระวิหารและพื้นที่ทางทะเล การพัฒนารัฐวิสาหกิจ การปฏิรูประบบพลังงาน การลดส่วนต่างดอกเบี้ยและสัญญาที่ไม่เป็นธรรมของธนาคารพาณิชย์ การปล่อยสินเชื่อในระดับจุลภาค การปฏิรูประบบการเงินและค่าเงินของประเทศ การปฏิรูปการคลังและระบบภาษีที่ไม่เป็นธรรม การปฏิรูปการศึกษา การมิให้อัยการมาเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นว่ามีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงได้หากมีอำนาจรัฐอยู่ในมือ
ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์มีภาพลักษณ์เหนือกว่าระบอบทักษิณในเรื่อง “ความซื่อสัตย์” แต่ก็มีภาพลักษณ์ด้อยกว่าในเรื่อง “ความกล้าหาญและทำงานเป็น” แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นประชาชนกลับรู้สึกว่าความซื่อสัตย์อย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาของประชาชนได้ ประชาชนจึงได้สะท้อนผ่านมาทางการแสดงความคิดเห็นในผลสำรวจหลายครั้งว่าประชาชนเกินครึ่งหนึ่งเริ่มยอมรับได้กับการทุจริตคอร์รัปชันแต่ขอให้ทำงานเป็นแล้วเกิดประโยชน์ต่อประชาชน อันเป็นสัญญาณวิกฤตของชาติที่รุนแรงยิ่งนัก
“เสียสละ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ และทำงานเป็น” จึงเป็นคุณสมบัติของพรรคการเมืองใหม่ ที่สร้างมาด้วยศรัทธาและการเสียสละของประชาชนจำนวนมาก และนั่นเป็นที่มาของพรรคการเมืองพรรคนี้ที่มีรากฐานจากการลงมติของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 – 25 พฤษภาคม 2552 อันเป็นการแสดงความเคารพต่อประชาชน
และนักการเมืองที่มีจิตใจ “เสียสละ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ และทำงานเป็น” เท่านั้นจึงจะจัดการกับปัญหาการยึดครองโดยฝ่ายกัมพูชาที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ ฮุนเซน ได้
วันที่ 6 ตุลาคม 2552 ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี จะเป็นอีกวันหนึ่งที่จะต้องถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ ที่พรรคการเมืองใหม่ได้ประกาศเชิญสมาชิกทั้งหมดทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อขอมติในเรื่องสำคัญหลายเรื่อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงคะแนนลับของสมาชิกทุกคนทั้งประเทศที่เข้าร่วมประชุมด้วยการหย่อนบัตรถึง 4 วาระสำคัญ เพื่อเลือกตั้งหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคที่หัวหน้าพรรคเสนอ กรรมการบริหารพรรคในส่วนที่ประชุมเสนอ คณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครลงเลือกตั้ง คณะกรรมการนโยบายพรรค คณะกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตยในพรรค
เมื่อคนจำนวนมากมารวมตัวกันและต้องหย่อนบัตรลงคะแนนในหลายวาระ จึงอาจจะดูว่าต้องเวลาไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง แต่ก็ถือเป็นการเคารพและให้เกียรติสมาชิกพรรคการเมืองซึ่งต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าบำรุงรายปี ให้มีสิทธิในการเลือกผู้ขับเคลื่อนพรรคด้วยตัวเองซึ่งถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
วันที่ 7 ตุลาคม 2552 ที่ลานอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า จะมีงานรำลึกถึงวีรชนที่เสียชีวิต เสียอวัยวะ และบาดเจ็บตลอด 193 วัน ซึ่งวันที่ 7 ตุลาคม ของปีที่แล้วถือเป็นวันแรกที่มีการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมในพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงได้มีการจัดงานรำลึกวีรชน 7 ตุลา ต้องไม่สูญเปล่า ตั้งแต่ 06.00 น. ซึ่งจะเริ่มมีการทำบุญตักบาตร ทำพิธีทางศาสนา เชิดชูและรำลึกถึงวีรชน แล้วจึงเดินอย่างสงบจากลานอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าไปที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อไปประกาศเจตนารมณ์ของประชาชน
หลังจากนั้นช่วงบ่ายก็จะมีการจัดงานเสวนา และช่วงเย็นจนถึงกลางคืนก็มีการจัดงานคอนเสิร์ตโดยเหล่าศิลปินเพื่อรำลึกถึงวีรชนที่หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์
อาจกล่าวได้ว่างานทั้ง 2 วันดังกล่าวข้างต้นนั้นมีความเชื่อมโยงกันดังคำที่ว่า “สืบทอดเจตนารมณ์ 7 ตุลา สืบสานภารกิจการเมืองใหม่” เพื่อเป็นการยืนยันในเจตนารมณ์อันหนักแน่นว่าการต่อสู้ที่เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตของพี่น้องประชาชนต้องไม่สูญเปล่าอย่างแน่นอน!
คำสัมภาษณ์ของนายฮุนเซน ได้ปรากฏเป็นข่าวความบางตอนว่า:
“หากพวกเขาเข้ามาอีก พวกเขาจะถูกยิง ทหาร ตำรวจและกองกำลังติดอาวุธทั้งหมดจะต้องยึดปฏิบัติตามคำสั่งนี้ สำหรับผู้บุกรุก จะไม่มีการใช้โล่ จะมีแต่ลูกปืน... นี่เป็นการอ้างสิทธิแต่เพียงฝ่ายเดียวจากความทะยานอยากที่จะยึดครองดินแดนกัมพูชา หากนายกรัฐมนตรีไทยกางแผนที่ (ที่ร่างขึ้นเอง) ต่อหน้า ผมจะฉีกทิ้ง”
นายฮุนเซน ยังกล่าวอีกว่า “กัมพูชาไม่ต้องการสงคราม แต่กัมพูชาควรมีสิทธิที่จะสังหารศัตรูบนดินแดนของตนได้”
ลองจินตนาการหลับตาดูว่าถ้าคำพูดที่ปรากฏที่ว่านั้นออกมาจากนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย แล้วเปลี่ยนข้อความจากคำว่าไทยเป็นกัมพูชา และเปลี่ยนคำว่ากัมพูชาเป็นไทย เหตุการณ์การรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยคงไม่มีปัญหามาถึงทุกวันนี้
แต่ที่ดินแดนไทยต้องมามีปัญหาจนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะรัฐบาลหลายชุดติดต่อกันมีความอ่อนแอในเรื่องชายแดน ในบางยุคข้าราชการและทหารไทยบางคนก็แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนจากการรุกล้ำดินแดนไทย ในบางยุคนักการเมืองก็ขายชาติเพื่อแลกกับผลประโยชน์ส่วนตัวในเรื่องพลังงานในอ่าวไทย ส่วนรัฐบาลไทยยุคปัจจุบันก็อ่อนแอเกินไปและไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของผู้นำกัมพูชา จนนายกรัฐมนตรีกัมพูชาถึงได้พูดดูถูกเหยียดหยามทหารและรัฐบาลไทยมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง
ผลประโยชน์ในชายแดนระหว่างไทย-กัมพูชา นั้นมีอยู่มหาศาล ตั้งแต่งานก่อสร้างถนน สร้างสิ่งปลูกสร้าง ค้าขายไม้เถื่อน ค้าขายของหนีภาษี บ่อนการพนัน ซึ่งตกอยู่ในมือข้าราชการและนักการเมืองไทยเพียงไม่กี่คน ในขณะที่นักการเมืองไทยระดับชาติก็หวังผลประโยชน์การได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ทั้งหมดนี้ก็เพราะคนไทยเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนจนยอมได้แม้กระทั่งการขายชาติขายแผ่นดิน
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น วันที่ 19 กันยายน 2552 ซึ่งคณะคนไทยผู้รักชาติที่นำโดยนายวีระ สมความคิด ได้เดินทางไป ณ หมู่บ้านภูมิซรอล อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ แล้วถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ซุ่มโจมตี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่มีการจัดตั้งชาวกัมพูชาจากข้าราชการและนักการเมืองไทยให้มาทำร้ายคนไทยที่รักชาติเสียเอง โดยรัฐบาลก็มิได้ห้ามปราม หยุดยั้ง หรือลงโทษกระบวนการเลวร้ายดังกล่าวแต่ประการใด
พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร จึงเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาเป็นอย่างดีที่พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 193 วัน ที่ต้องเสียสละแรงกาย แรงใจ ทรัพย์สิน อวัยวะและชีวิต เพื่อการรักษาดินแดนและอธิปไตยในปี 2551 ไม่สามารถจะพึ่งพานักการเมืองทุกฝ่ายได้อีกต่อไป
นักการเมืองทุกฝ่ายในปัจจุบันขาดความ “เสียสละ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ และทำงานเป็น” จึงทำให้ประเทศชาติอ่อนแอถึงเพียงนี้
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงต้องลงมือทำด้วยตัวเอง เพื่อเปลี่ยนแปลงการเมืองที่ล้มเหลวในปัจจุบันผ่านพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่กำเนิดมาจากฉันทานุมัติของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเอง
สัปดาห์หน้าจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพรรคการเมืองใหม่ดังนี้
กิจกรรมแรกจะเกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2552 โดยพรรคการเมืองใหม่จะมีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อขอมติที่สำคัญจากที่ประชุมใหญ่เป็นครั้งแรก และกิจกรรมที่สองที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม 2552 คือการจัดงานรำลึกวีรชน 7 ตุลาคม 2551 และเหล่าวีรชนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตลอดการชุมนุม 193 วัน
วันที่ 6 ตุลาคม 2552 พรรคการเมืองใหม่ ได้มีมติให้ใช้คำสั้นๆ ในงานประชุมครั้งนี้ว่า “กล้าเปลี่ยน” (Dare to Change) อันหมายถึงการเชื้อเชิญให้ประชาชนกล้าที่จะก้าวสู่การเมืองใหม่อันเป็นการเมืองสะอาด เพื่อให้พ้นจากความผิดหวังทั้งปวงต่อการเมืองเดิมในปัจจุบัน ภายใต้คุณสมบัติของพรรคการเมืองที่ว่า “เสียสละ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ ทำงานเป็น”
“เสียสละ” คือจิตสาธารณะที่สละผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม อันเป็นลักษณะเฉพาะของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพรรคการเมืองใหม่ ที่ได้พิสูจน์แล้วว่ายอมเสียสละทรัพย์สิน แรงกาย แรงใจ อวัยวะและชีวิต เพื่อปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติ อันหมายถึง ชาติ ราชบัลลังก์ และหลักนิติรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญ
เสียสละ จึงเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับนักการเมืองส่วนใหญ่ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิงที่ทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองกันเอง การทำลายหลักนิติรัฐเพื่อช่วยเหลือนักการเมืองหรือพวกของนักการเมืองกันเอง หรือแม้กระทั่งการทรยศต่อประชาชนยินยอมให้คนชั่วมาบริหารประเทศเพียงเพื่อรักษาเก้าอี้และตำแหน่งของรัฐบาล
“ซื่อสัตย์” คือจุดเริ่มต้นที่ภาคประชาชนอย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ตรวจสอบต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชันและผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นเวลาหลายปีอย่างต่อเนื่อง ซื่อสัตย์ จึงเป็นรากฐานสำคัญของการเมืองใหม่ที่จะนำพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤต
ซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการเมืองในระบบเก่า ที่ทั้ง “ฉ้อราษฎร์” และ “บังหลวง” ยอมทำตามนายทุนสามานย์ซึ่งครอบงำพรรคการเมืองอยู่ในทุกพรรคการเมือง และรู้เห็นเป็นใจยินยอมจัดสรรงบประมาณให้พรรคร่วมรัฐบาลหรือคนในรัฐบาลโกงกินเพื่อรักษาอำนาจของรัฐบาล
“กล้าหาญ” เป็นคำที่แสดงลักษณะโดดเด่นเฉพาะของพรรคการเมืองใหม่ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่กล้าตัดสินใจ พร้อมยืนหยัดที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ซึ่งลักษณะเฉพาะนี้ได้พิสูจน์มาแล้วด้วยการต่อสู้เพื่อสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ว่าอุปสรรคนั้นจะเป็นอำนาจรัฐ อำนาจเงิน หรือความรุนแรง ก็ไม่สามารถสั่นคลอนในความกล้าหาญในการต่อสู้เพื่อความถูกต้องนั้นได้
กล้าหาญ จึงเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการเมืองในระบบเก่า ที่ไม่กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้อง เพราะติดในประโยชน์หรือตำแหน่งของตัวเอง หรือเพราะเกรงใจพวกพ้องมากกว่าประเทศชาติ ซึ่งจากผลสำรวจของกรุงเทพโพลได้ระบุว่าความกล้าหาญและการตัดสินใจถือเป็นจุดอ่อนที่สุดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนี้
“ทำงานเป็น” เป็นคำที่แสดงให้รู้ว่า “ทำเป็น และทำได้” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม และพร้อมที่จะเปลี่ยนให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมในเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ได้เคยพูดปราศรัยบนเวทีมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปรัฐตำรวจ การปฏิรูปสื่อให้ความจริงกับประชาชน การแก้ไขหนี้สินของประชาชน การทวงคืนดินแดนไทยรอบปราสาทพระวิหารและพื้นที่ทางทะเล การพัฒนารัฐวิสาหกิจ การปฏิรูประบบพลังงาน การลดส่วนต่างดอกเบี้ยและสัญญาที่ไม่เป็นธรรมของธนาคารพาณิชย์ การปล่อยสินเชื่อในระดับจุลภาค การปฏิรูประบบการเงินและค่าเงินของประเทศ การปฏิรูปการคลังและระบบภาษีที่ไม่เป็นธรรม การปฏิรูปการศึกษา การมิให้อัยการมาเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นว่ามีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงได้หากมีอำนาจรัฐอยู่ในมือ
ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์มีภาพลักษณ์เหนือกว่าระบอบทักษิณในเรื่อง “ความซื่อสัตย์” แต่ก็มีภาพลักษณ์ด้อยกว่าในเรื่อง “ความกล้าหาญและทำงานเป็น” แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นประชาชนกลับรู้สึกว่าความซื่อสัตย์อย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาของประชาชนได้ ประชาชนจึงได้สะท้อนผ่านมาทางการแสดงความคิดเห็นในผลสำรวจหลายครั้งว่าประชาชนเกินครึ่งหนึ่งเริ่มยอมรับได้กับการทุจริตคอร์รัปชันแต่ขอให้ทำงานเป็นแล้วเกิดประโยชน์ต่อประชาชน อันเป็นสัญญาณวิกฤตของชาติที่รุนแรงยิ่งนัก
“เสียสละ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ และทำงานเป็น” จึงเป็นคุณสมบัติของพรรคการเมืองใหม่ ที่สร้างมาด้วยศรัทธาและการเสียสละของประชาชนจำนวนมาก และนั่นเป็นที่มาของพรรคการเมืองพรรคนี้ที่มีรากฐานจากการลงมติของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 – 25 พฤษภาคม 2552 อันเป็นการแสดงความเคารพต่อประชาชน
และนักการเมืองที่มีจิตใจ “เสียสละ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ และทำงานเป็น” เท่านั้นจึงจะจัดการกับปัญหาการยึดครองโดยฝ่ายกัมพูชาที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ ฮุนเซน ได้
วันที่ 6 ตุลาคม 2552 ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี จะเป็นอีกวันหนึ่งที่จะต้องถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ ที่พรรคการเมืองใหม่ได้ประกาศเชิญสมาชิกทั้งหมดทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อขอมติในเรื่องสำคัญหลายเรื่อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงคะแนนลับของสมาชิกทุกคนทั้งประเทศที่เข้าร่วมประชุมด้วยการหย่อนบัตรถึง 4 วาระสำคัญ เพื่อเลือกตั้งหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคที่หัวหน้าพรรคเสนอ กรรมการบริหารพรรคในส่วนที่ประชุมเสนอ คณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครลงเลือกตั้ง คณะกรรมการนโยบายพรรค คณะกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตยในพรรค
เมื่อคนจำนวนมากมารวมตัวกันและต้องหย่อนบัตรลงคะแนนในหลายวาระ จึงอาจจะดูว่าต้องเวลาไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง แต่ก็ถือเป็นการเคารพและให้เกียรติสมาชิกพรรคการเมืองซึ่งต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าบำรุงรายปี ให้มีสิทธิในการเลือกผู้ขับเคลื่อนพรรคด้วยตัวเองซึ่งถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
วันที่ 7 ตุลาคม 2552 ที่ลานอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า จะมีงานรำลึกถึงวีรชนที่เสียชีวิต เสียอวัยวะ และบาดเจ็บตลอด 193 วัน ซึ่งวันที่ 7 ตุลาคม ของปีที่แล้วถือเป็นวันแรกที่มีการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมในพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงได้มีการจัดงานรำลึกวีรชน 7 ตุลา ต้องไม่สูญเปล่า ตั้งแต่ 06.00 น. ซึ่งจะเริ่มมีการทำบุญตักบาตร ทำพิธีทางศาสนา เชิดชูและรำลึกถึงวีรชน แล้วจึงเดินอย่างสงบจากลานอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าไปที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อไปประกาศเจตนารมณ์ของประชาชน
หลังจากนั้นช่วงบ่ายก็จะมีการจัดงานเสวนา และช่วงเย็นจนถึงกลางคืนก็มีการจัดงานคอนเสิร์ตโดยเหล่าศิลปินเพื่อรำลึกถึงวีรชนที่หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์
อาจกล่าวได้ว่างานทั้ง 2 วันดังกล่าวข้างต้นนั้นมีความเชื่อมโยงกันดังคำที่ว่า “สืบทอดเจตนารมณ์ 7 ตุลา สืบสานภารกิจการเมืองใหม่” เพื่อเป็นการยืนยันในเจตนารมณ์อันหนักแน่นว่าการต่อสู้ที่เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตของพี่น้องประชาชนต้องไม่สูญเปล่าอย่างแน่นอน!