ธุรกิจข้ามชาติส่วนใหญ่มักนิยมที่จะเข้ามาตั้งสำนักงานผู้แทน (Representative Office) หรือสำนักงานภูมิภาค (Regional Office) หรือแม้แต่สำนักงานสาขา (Branch Office) มากกว่าที่จะเข้ามาจัดตั้งกิจการใหม่ ทำให้เกิดคำถามยอดฮิตที่นักลงทุนข้ามชาติมักสอบถามเข้ามาที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร รวมถึงสำนักงานบีโอไอ สาขาในต่างประเทศเสมอ ไม่พ้นรูปแบบการจัดตั้งสำนักงานที่สามารถก่อตั้งได้ข้างต้น
นอกจากนั้นยังขอแนะนำอีก 2 รูปแบบธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน คือ สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (Regional Operating Headquarters – ROH) และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Support Offices – TISO) ซึ่งสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค สำนักงานสาขา สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุนเหมือนหรือแตกต่างกัน รวมถึงต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะสามารถจัดตั้งรูปแบบนั้นได้ และมีระเบียบหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง
ลักษณะของสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานสาขา
ก่อนอื่นคงต้องมาทำความรู้จักกับคำว่า “บริษัทข้ามชาติ” กันเสียก่อน ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ได้ให้นิยามไว้ว่าหมายถึง “นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศอื่น” โดยการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศนั้น อาจดำเนินการในรูปแบบของบริษัทลูกหรือบริษัทในเครือ สาขาหรือสำนักงาน กิจการร่วมค้า มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้ ตั้งตัวแทนทางการค้า ตั้งผู้จัดจำหน่าย ตั้งสำนักงานผู้แทน ตั้งสำนักงานภูมิภาค การขนส่งระหว่างประเทศ หรือสัญญาในรูปแบบอื่น แล้วแต่จุดประสงค์ ประเภทของกิจการที่ต้องการจะเข้ามาประกอบการ ซึ่งหลายบริษัทก็จะมีการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการประกอบกิจการในแต่ละรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รูปแบบของกิจการใดที่จะให้ผลประโยชน์สูงสุด
สำนักงานผู้แทน (Representative Office) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เรียกว่า “ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ” หรือ International Trading Business ซึ่งก็คือ สำนักงานผู้แทนนั่นเอง ครอบคลุมธุรกิจ 5 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับการหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยให้แก่สำนักงานใหญ่ ธุรกิจการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่ซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทย ธุรกิจการให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เกี่ยวกับตัวสินค้าของสำนักงานใหญ่ที่จำหน่ายแก่ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ใช้สินค้า ธุรกิจการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่ และธุรกิจการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบ
สำนักงานภูมิภาค (Regional Office) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับเดียวกันให้นิยามว่า เป็นสำนักงานที่ให้บริการในด้านต่างๆ โดยครอบคลุมธุรกิจ 7 ประเภท กล่าวคือ ธุรกิจการติดต่อประสานงานและการกำกับการดำเนินงานของสาขาหรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ ธุรกิจการให้บริการปรึกษาและบริการการจัดการ ธุรกิจการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล ธุรกิจการจัดการด้านการเงิน ธุรกิจการควบคุมการตลาดและวางแผนส่งเสริมการขาย ธุรกิจการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และธุรกิจการวิจัยและพัฒนา
สำนักงานสาขา (Branch Office) มักจะเรียกสำนักงานสาขาในที่นี้ เมื่อธุรกิจข้ามชาติเข้ามาประกอบธุรกิจใดๆ ในประเทศไทย ซึ่งไม่ได้จำกัดว่าจะต้องครอบคลุมธุรกิจ 5 ประเภทในสำนักงานผู้แทน หรือธุรกิจ 7 ประเภทในสำนักงานภูมิภาค
“ส่วนประกอบสำคัญที่เหมือนกันของสำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาค คือ
สำนักงานทั้งสองไม่มีรายได้จากการให้บริการ
ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น
ขณะที่สำนักงานสาขา อาจได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากสำนักงานใหญ่
หรือ/และ อาจมีรายได้ของตนเองจากการประกอบธุรกิจก็ได้”
สำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานสาขา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
สำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานสาขา มีสิ่งที่เหมือนกัน คือ เป็นสำนักงานที่บริษัทข้ามชาติตั้งขึ้นในประเทศอื่น นอกจากประเทศที่จดทะเบียนเป็นสำนักงานใหญ่ โดยไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปจัดตั้ง เพื่อประกอบธุรกิจในด้านนั้นๆ สามารถเรียกสำนักงานผู้แทน หรือสำนักงานภูมิภาคว่าเป็นสำนักงานสาขาก็ได้ แต่ไม่ทุกสำนักงานสาขาที่จะเป็นสำนักงานผู้แทน หรือสำนักงานภูมิภาค
หากมีการประกอบธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายคำนิยามของสำนักงานผู้แทน หรือสำนักงานภูมิภาคนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราจะเรียกว่า สำนักงานภูมิภาค ได้ สำนักงานใหญ่จะต้องมีการจัดตั้งสำนักงานสาขาไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่ก็ตามนอกประเทศที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่อย่างน้อย 1 แห่ง จึงจะสามารถมาขออนุญาตประกอบธุรกิจในรูปของสำนักงานภูมิภาคได้
ส่วนประกอบสำคัญที่เหมือนกันของสำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาค คือ สำนักงานทั้งสองไม่มีรายได้จากการให้บริการ ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น ขณะที่สำนักงานสาขา อาจได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากสำนักงานใหญ่ หรือ/และอาจมีรายได้ของตนเองจากการประกอบธุรกิจก็ได้
หลักเกณฑ์ของธุรกิจประเภทสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานสาขา
การประกอบธุรกิจของสำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาค จัดเป็นธุรกิจการให้บริการตามบัญชีสาม (21) ที่บัญญัติว่า การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง ของบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 สำหรับสำนักงานสาขา หากไม่ได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม ก็จัดเป็นธุรกิจบริการ ซึ่งบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ครอบคลุมธุรกิจบริการทั้งหมดในขณะนี้ เนื่องจากกฎกระทรวงเกี่ยวกับธุรกิจบริการที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายนี้ยังไม่ใช้บังคับ โดยสำนักงานผู้แทนและสำนักงานภูมิภาค รวมถึงสำนักงานสาขา (ธุรกิจบริการ) ที่ประกอบธุรกิจตามบัญชีท้ายกฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าวข้างต้นต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แม้ว่าสำนักงานทั้งสามนั้นจะไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยก็ตาม
นอกจากนั้น ตามกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ยังมีหลักเกณฑ์เรื่องทุนประกอบการด้วย ทั้งนี้หากประกอบธุรกิจตามบัญชีท้ายกฎหมาย จะต้องมีทุนขั้นต่ำในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่หากประกอบธุรกิจนอกบัญชีท้ายกฎหมาย ก็ยังคงจะต้องมีทุนขั้นต่ำ ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท แล้วอะไรคือทุนขั้นต่ำ ทุนขั้นต่ำ หมายถึง ทุนที่มาจาก 2 แหล่ง คือ ทุนจดทะเบียน และทุนที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ทุนจดทะเบียนมาจากกรณีที่คนต่างด้าวเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเงินตราต่างประเทศ แม้ว่าหุ้นส่วนจะเป็นคนต่างด้าวก็ตาม ส่วนทุนที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร จะมาจากกรณีที่คนต่างด้าวเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย หรือเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย โดยต้องเป็นเงินตราต่างประเทศที่นำเข้ามาใช้เริ่มต้นประกอบธุรกิจ
เมื่อสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานสาขาจะขอรับการส่งเสริมการลงทุน
ในแง่ของ การส่งเสริมการลงทุน ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต้องเป็นบริษัท มูลนิธิ หรือสหกรณ์ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เฉพาะสำนักงานสาขาที่มีรายได้จากการประกอบการที่ประสงค์จะขอรับการส่งเสริมการลงทุน เมื่อได้รับอนุมัติให้ได้รับการส่งเสริมฯ แล้ว จึงต้องไปจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตามกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด ตามลำดับ โดยจะมีประเภทกิจการที่ธุรกิจทั่วไปสามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้เกือบ 200 ประเภทกิจการ
ด้วยลักษณะเฉพาะของสำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาคที่ไม่สามารถสร้างรายได้ของตนเอง ประกอบกิจการตามคำสั่งของวิสาหกิจแม่ในต่างประเทศเท่านั้น และยังเป็นวิสาหกิจลูกของวิสาหกิจแม่ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ โดยวิสาหกิจลูกจะไม่มีการจดทะเบียนจัดตั้งเพื่อประกอบธุรกิจในประเทศไทย จึงไม่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้
การจัดตั้งเป็นสำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาคเป็นรูปแบบธุรกิจซึ่งเป็นที่นิยมของนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ เมื่อเริ่มต้นธุรกิจข้ามชาติ เพื่อสำรวจตลาด แนะนำลูกค้าให้รู้จักผลิตภัณฑ์ และติดตามผล เมื่อเกิดความเชื่อมั่นแล้วจึงตัดสินใจมาประกอบธุรกิจในประเทศเป้าหมายเต็มรูปแบบต่อไป ขณะที่สำนักงานสาขามีทั้งที่เป็นรูปแบบสำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาค รวมถึงที่เป็นธุรกิจเต็มรูปอีกด้วย
สำหรับตอนที่ 2 จะได้กล่าวถึงอีก 2 รูปแบบธุรกิจ คือ สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน และตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนจบจะได้กล่าวถึงสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคภายใต้กระทรวงการคลัง รวมทั้งเปรียบเทียบสำนักงานภูมิภาคกับสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค ซึ่งมีชื่อที่คล้ายคลึงกัน รวมถึงเป็นรูปแบบเดียวกันหรือไม่ และการก่อตั้งธุรกิจข้ามชาติรูปแบบใดจะดีกว่ากัน โปรดติดตามต่อไป
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
นอกจากนั้นยังขอแนะนำอีก 2 รูปแบบธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน คือ สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (Regional Operating Headquarters – ROH) และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Support Offices – TISO) ซึ่งสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค สำนักงานสาขา สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุนเหมือนหรือแตกต่างกัน รวมถึงต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะสามารถจัดตั้งรูปแบบนั้นได้ และมีระเบียบหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง
ลักษณะของสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานสาขา
ก่อนอื่นคงต้องมาทำความรู้จักกับคำว่า “บริษัทข้ามชาติ” กันเสียก่อน ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ได้ให้นิยามไว้ว่าหมายถึง “นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศอื่น” โดยการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศนั้น อาจดำเนินการในรูปแบบของบริษัทลูกหรือบริษัทในเครือ สาขาหรือสำนักงาน กิจการร่วมค้า มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้ ตั้งตัวแทนทางการค้า ตั้งผู้จัดจำหน่าย ตั้งสำนักงานผู้แทน ตั้งสำนักงานภูมิภาค การขนส่งระหว่างประเทศ หรือสัญญาในรูปแบบอื่น แล้วแต่จุดประสงค์ ประเภทของกิจการที่ต้องการจะเข้ามาประกอบการ ซึ่งหลายบริษัทก็จะมีการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการประกอบกิจการในแต่ละรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รูปแบบของกิจการใดที่จะให้ผลประโยชน์สูงสุด
สำนักงานผู้แทน (Representative Office) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เรียกว่า “ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ” หรือ International Trading Business ซึ่งก็คือ สำนักงานผู้แทนนั่นเอง ครอบคลุมธุรกิจ 5 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับการหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยให้แก่สำนักงานใหญ่ ธุรกิจการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่ซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทย ธุรกิจการให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เกี่ยวกับตัวสินค้าของสำนักงานใหญ่ที่จำหน่ายแก่ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ใช้สินค้า ธุรกิจการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่ และธุรกิจการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบ
สำนักงานภูมิภาค (Regional Office) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับเดียวกันให้นิยามว่า เป็นสำนักงานที่ให้บริการในด้านต่างๆ โดยครอบคลุมธุรกิจ 7 ประเภท กล่าวคือ ธุรกิจการติดต่อประสานงานและการกำกับการดำเนินงานของสาขาหรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ ธุรกิจการให้บริการปรึกษาและบริการการจัดการ ธุรกิจการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล ธุรกิจการจัดการด้านการเงิน ธุรกิจการควบคุมการตลาดและวางแผนส่งเสริมการขาย ธุรกิจการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และธุรกิจการวิจัยและพัฒนา
สำนักงานสาขา (Branch Office) มักจะเรียกสำนักงานสาขาในที่นี้ เมื่อธุรกิจข้ามชาติเข้ามาประกอบธุรกิจใดๆ ในประเทศไทย ซึ่งไม่ได้จำกัดว่าจะต้องครอบคลุมธุรกิจ 5 ประเภทในสำนักงานผู้แทน หรือธุรกิจ 7 ประเภทในสำนักงานภูมิภาค
“ส่วนประกอบสำคัญที่เหมือนกันของสำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาค คือ
สำนักงานทั้งสองไม่มีรายได้จากการให้บริการ
ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น
ขณะที่สำนักงานสาขา อาจได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากสำนักงานใหญ่
หรือ/และ อาจมีรายได้ของตนเองจากการประกอบธุรกิจก็ได้”
สำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานสาขา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
สำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานสาขา มีสิ่งที่เหมือนกัน คือ เป็นสำนักงานที่บริษัทข้ามชาติตั้งขึ้นในประเทศอื่น นอกจากประเทศที่จดทะเบียนเป็นสำนักงานใหญ่ โดยไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปจัดตั้ง เพื่อประกอบธุรกิจในด้านนั้นๆ สามารถเรียกสำนักงานผู้แทน หรือสำนักงานภูมิภาคว่าเป็นสำนักงานสาขาก็ได้ แต่ไม่ทุกสำนักงานสาขาที่จะเป็นสำนักงานผู้แทน หรือสำนักงานภูมิภาค
หากมีการประกอบธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายคำนิยามของสำนักงานผู้แทน หรือสำนักงานภูมิภาคนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราจะเรียกว่า สำนักงานภูมิภาค ได้ สำนักงานใหญ่จะต้องมีการจัดตั้งสำนักงานสาขาไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่ก็ตามนอกประเทศที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่อย่างน้อย 1 แห่ง จึงจะสามารถมาขออนุญาตประกอบธุรกิจในรูปของสำนักงานภูมิภาคได้
ส่วนประกอบสำคัญที่เหมือนกันของสำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาค คือ สำนักงานทั้งสองไม่มีรายได้จากการให้บริการ ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น ขณะที่สำนักงานสาขา อาจได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากสำนักงานใหญ่ หรือ/และอาจมีรายได้ของตนเองจากการประกอบธุรกิจก็ได้
หลักเกณฑ์ของธุรกิจประเภทสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานสาขา
การประกอบธุรกิจของสำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาค จัดเป็นธุรกิจการให้บริการตามบัญชีสาม (21) ที่บัญญัติว่า การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง ของบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 สำหรับสำนักงานสาขา หากไม่ได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม ก็จัดเป็นธุรกิจบริการ ซึ่งบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ครอบคลุมธุรกิจบริการทั้งหมดในขณะนี้ เนื่องจากกฎกระทรวงเกี่ยวกับธุรกิจบริการที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายนี้ยังไม่ใช้บังคับ โดยสำนักงานผู้แทนและสำนักงานภูมิภาค รวมถึงสำนักงานสาขา (ธุรกิจบริการ) ที่ประกอบธุรกิจตามบัญชีท้ายกฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าวข้างต้นต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แม้ว่าสำนักงานทั้งสามนั้นจะไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยก็ตาม
นอกจากนั้น ตามกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ยังมีหลักเกณฑ์เรื่องทุนประกอบการด้วย ทั้งนี้หากประกอบธุรกิจตามบัญชีท้ายกฎหมาย จะต้องมีทุนขั้นต่ำในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่หากประกอบธุรกิจนอกบัญชีท้ายกฎหมาย ก็ยังคงจะต้องมีทุนขั้นต่ำ ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท แล้วอะไรคือทุนขั้นต่ำ ทุนขั้นต่ำ หมายถึง ทุนที่มาจาก 2 แหล่ง คือ ทุนจดทะเบียน และทุนที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ทุนจดทะเบียนมาจากกรณีที่คนต่างด้าวเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเงินตราต่างประเทศ แม้ว่าหุ้นส่วนจะเป็นคนต่างด้าวก็ตาม ส่วนทุนที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร จะมาจากกรณีที่คนต่างด้าวเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย หรือเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย โดยต้องเป็นเงินตราต่างประเทศที่นำเข้ามาใช้เริ่มต้นประกอบธุรกิจ
เมื่อสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานสาขาจะขอรับการส่งเสริมการลงทุน
ในแง่ของ การส่งเสริมการลงทุน ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต้องเป็นบริษัท มูลนิธิ หรือสหกรณ์ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เฉพาะสำนักงานสาขาที่มีรายได้จากการประกอบการที่ประสงค์จะขอรับการส่งเสริมการลงทุน เมื่อได้รับอนุมัติให้ได้รับการส่งเสริมฯ แล้ว จึงต้องไปจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตามกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด ตามลำดับ โดยจะมีประเภทกิจการที่ธุรกิจทั่วไปสามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้เกือบ 200 ประเภทกิจการ
ด้วยลักษณะเฉพาะของสำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาคที่ไม่สามารถสร้างรายได้ของตนเอง ประกอบกิจการตามคำสั่งของวิสาหกิจแม่ในต่างประเทศเท่านั้น และยังเป็นวิสาหกิจลูกของวิสาหกิจแม่ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ โดยวิสาหกิจลูกจะไม่มีการจดทะเบียนจัดตั้งเพื่อประกอบธุรกิจในประเทศไทย จึงไม่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้
การจัดตั้งเป็นสำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาคเป็นรูปแบบธุรกิจซึ่งเป็นที่นิยมของนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ เมื่อเริ่มต้นธุรกิจข้ามชาติ เพื่อสำรวจตลาด แนะนำลูกค้าให้รู้จักผลิตภัณฑ์ และติดตามผล เมื่อเกิดความเชื่อมั่นแล้วจึงตัดสินใจมาประกอบธุรกิจในประเทศเป้าหมายเต็มรูปแบบต่อไป ขณะที่สำนักงานสาขามีทั้งที่เป็นรูปแบบสำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาค รวมถึงที่เป็นธุรกิจเต็มรูปอีกด้วย
สำหรับตอนที่ 2 จะได้กล่าวถึงอีก 2 รูปแบบธุรกิจ คือ สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน และตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนจบจะได้กล่าวถึงสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคภายใต้กระทรวงการคลัง รวมทั้งเปรียบเทียบสำนักงานภูมิภาคกับสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค ซึ่งมีชื่อที่คล้ายคลึงกัน รวมถึงเป็นรูปแบบเดียวกันหรือไม่ และการก่อตั้งธุรกิจข้ามชาติรูปแบบใดจะดีกว่ากัน โปรดติดตามต่อไป
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th