เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) เหมา เจ๋อตุง ได้ยืนอยู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน และประกาศว่าจีนได้ตื่นแล้ว นอกจากนั้นยังประกาศว่าจีนจะไม่ถูกเหยียดหยามศักดิ์ศรีอีกต่อไป เหตุที่ต้องประกาศเช่นนั้นก็เพราะประมาณ 100 ปีก่อน ค.ศ. 1949 ถือเป็นศตวรรษแห่งการเสื่อมเสียศักดิ์ศรีของจีน โดยจีนถูกต่างประเทศเข้ายึดครองในลักษณะเป็นเขตเช่า ในเซี่ยงไฮ้มีเขตเช่าอังกฤษ เขตเช่าฝรั่งเศส เป็นต้น และมีการกล่าวว่าสวนสาธารณะในเมืองเซี่ยงไฮ้มีป้ายเขียนไว้ว่า “สุนัขและคนจีนห้ามเข้า” นอกเหนือจากนั้นจีนยังถูกขนานนามว่า “เป็นคนป่วยแห่งเอเชีย”
การสูญเสียศักดิ์ศรีของจีนเริ่มจากการแพ้สงครามกับอังกฤษที่เรียกว่าสงครามฝิ่นใน ค.ศ. 1839-42 โดยจบลงที่สนธิสัญญานานกิง ในสนธิสัญญาดังกล่าวนั้นจีนต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ และยังตามมาด้วยการเปิดเมืองหลายเมือง จากนั้นมหาอำนาจอื่นๆ ก็เข้ามามีอิทธิพลในจีนซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์แมนจู เขตเช่าที่อยู่ในเมืองต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซี่ยงไฮ้และซิงเต่าซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของเยอรมนีทำให้จีนตกอยู่ในฐานะกึ่งเมืองขึ้น
หลังจากแพ้สงครามฝิ่นแล้วต่อมาจีนก็แพ้สงครามญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1894-95 จบลงด้วยสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดครองเกาหลีและเกาะไต้หวัน และเข้ามามีอิทธิพลในประเทศจีนเทียมเท่ากับประเทศยุโรป หลังจากนั้นก็เกิดปัญหาญี่ปุ่นกรีธาทัพบุกแมนจูเรียและทำสงครามกับจีนโดยไม่มีการประกาศ นอกจากนั้นยังได้มีการตั้งแคว้นแมนจูเรียเป็นประเทศแมนจูกัว
เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์แมนจูใน ค.ศ. 1911 ระหว่างนั้นได้มีการต่อสู้เป็นสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐจีนและฝ่ายคอมมิวนิสต์ โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงเป็นแนวร่วมเพื่อขับเคี่ยวกับญี่ปุ่น และเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม การสู้รบระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐจีนและฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้ดำเนินต่อไป จนวันที่ 1 ตุลาคม 1949 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้ชัยชนะเบ็ดเสร็จ ส่วนสาธารณรัฐจีนนำโดยนายพลเจียงไคเช็ค ก็ได้ไปตั้งถิ่นฐานที่เกาะไต้หวัน ในฝ่ายของจีนที่มีเหมา เจ๋อตุง เป็นหัวหน้าก็ได้สถาปนาจีนใหม่คือสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมานั้น เป็นความพยายามของการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้พ้นจากความด้อยพัฒนา และการกำจัดศัตรูภายในของระบบนำไปสู่การรณรงค์ต่างๆ หลายครั้ง ครั้งที่ใหญ่ที่สุดคือการปฏิวัติวัฒนธรรมซึ่งดำเนินอยู่ถึง 10 ปี มีการกล่าวว่าเป็นการรณรงค์ทางการเมืองที่ผิดพลาดอย่างยิ่งนำไปสู่การสูญเสียทางจิตใจและการหยุดชะงักงันของการพัฒนา ระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมนั้นอำนาจการปกครองบริหารอยู่ในมือของคอมมิวนิสต์ซ้ายสุดขอบ นำโดยนางเจียงชิง ซึ่งเป็นภรรยาของเหมา เจ๋อตุง และผู้ร่วมมืออีก 3คน ที่เรียกว่าแก๊งทั้งสี่
หลังจากเหมา เจ๋อตุง ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1976 ซึ่งตามมาด้วยการสิ้นสุดอำนาจลงของแก๊งทั้งสี่ ประเทศจีนอยู่ภายใต้การนำทางความคิดและแนวทางของนักบริหารชั้นเยี่ยมคือ เติ้ง เสี่ยวผิง โดยเปิดประตูประเทศจีนให้พัฒนาสี่ทันสมัยอันได้แก่ อุตสาหกรรม การเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการป้องกันประเทศหรือความมั่นคง โดยมีผู้นำรุ่นใหม่เปิดประตูกว้างสู่โลกภายนอก ภายในระยะเวลาประมาณสามทศวรรษจีนก็ผันตัวเองจากประเทศยากจนและด้อยพัฒนา จมปลักอยู่ในลัทธิสุดโต่งของมาร์กซิสต์และความคิดเหมา เจ๋อตุง จนกลายเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองหลังเหตุการณ์เทียนอันเหมิน
และมาในปัจจุบันก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ มีสถานะทางการเงินมั่นคง และเป็นแบบอย่างของการปกครองที่ใช้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นแกนนำ แต่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีเสรีภาพส่วนตัว ขณะเดียวกันก็ใช้ระบบเศรษฐกิจเหมือนนกที่อยู่ในกรง นกสามารถจะบินได้แต่อยู่ในกรอบของการกำหนดขอบเขตโดยรัฐด้วยการควบคุม เช่น การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งการลงทุนที่ไม่ให้เกิดความเลยเถิดเหมือนกับที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ หรือประเทศอื่นๆ
ถ้าจะพูดถึงอายุของปัจเจกบุคคล 60 ปี ถือเป็นการครบ 5 รอบ ซึ่งในธรรมเนียมจีนก็จะมีการฉลองแซยิด ในแง่ของประเทศ 60 ปีถือว่าเป็นระยะเวลาที่ไม่ยาวนัก แต่เมื่อดูจากผลความสำเร็จของการเปลี่ยนนโยบายจากหน้ามือเป็นหลังมือ และแปลงโฉมประเทศภายใน 30 ปีที่ผ่านมา ต้องกล่าวอย่างปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศจีนประสบความสำเร็จในการแปลงโฉมประเทศและสังคมให้ขึ้นมาสู่ระดับประเทศแนวหน้า ซึ่งถูกรวมอยู่ใน 4 ประเทศที่จะมีอนาคตและความเจริญรุ่งเรือง นั่นคือ BRIC (Brazil Russia India China)
ในการฉลองครบรอบ 60 ปี ของสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงเป็นสิ่งที่ประเทศจีนและคนจีน 1,300 ล้านคนมีความภาคภูมิใจ และสามารถจะยืดอกอย่างสง่าผ่าเผยในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกันจีนก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าถึงแม้จะประสบความสำเร็จอย่างน่าประทับใจ ซึ่งเห็นได้จากความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ และการเพิ่มศักดิ์ศรีระหว่างประเทศในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซึ่งจัดขึ้นโดยจีน แต่ประเทศจีนก็ยังมีสภาพสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำระหว่างนาครและชนบท มีจำนวนคนร่ำรวยเกิดขึ้นแต่ได้นำไปสู่การรวยกระจุกแต่จนกระจายทำนองเดียวกับประเทศอื่น
นอกเหนือจากนั้นการฉ้อราษฎร์บังหลวงในระบบการบริหารซึ่งไม่มีในสมัยเหมา เจ๋อตุง ก็กลับมาสู่ประเทศจีนในลักษณะเดียวกับการปกครองบริหารในสมัยก๊กมินตั๋ง นอกเหนือจากนั้นยังมีการเสียดุลระหว่างภูมิภาค ภูมิภาคที่เป็นชายฝั่งทะเลมีความเจริญรุ่งเรือง ส่วนทางภาคตะวันตกก็ยังล้าหลัง และที่สำคัญก็คือ ปัญหามลพิษและสภาพแวดล้อมที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ จุดที่เป็นจุดด่างมากที่สุดคือกรณีของชนชาติส่วนน้อยในมณฑลซินเจียงและทิเบตซึ่งก็ยังไม่สงบเรียบร้อย
ประเด็นสำคัญที่จีนยังถูกมองจากโลกภายนอกก็คือเรื่องระบอบการปกครองซึ่งประชาชนยังไม่มีสิทธิทางการเมืองอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการเลือกตั้งผู้สมัครที่มาจากต่างพรรค แม้จีนจะอ้างว่าประเทศจีนมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ใช่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันเป็นที่เข้าใจทั่วไป ถ้าจะอ่านใจผู้นำของจีนจะอ่านได้ว่าจุดเน้นของจีนอยู่ที่เสถียรภาพทางการเมืองและการเติบโตอย่างต่อเนื่องทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ในระยะ 2-3 ทศวรรษนี้จีนจะหลีกเลี่ยงทางทหาร และจะมุ่งหน้าพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างแท้จริง แต่จะพยายามคงเสถียรภาพทางการเมืองไว้ด้วยระบบการปกครองแบบปัจจุบัน
ความสำเร็จของจีนนั้นยังต้องตามมาด้วยความรับผิดชอบ จีนอาจจะถูกคาดหวังโดยนานาประเทศให้แสดงความรับผิดชอบต่อการรักษาเสถียรภาพของการเมืองภูมิภาคและการเมืองโลกด้วยการมีบทบาทที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ในการนี้จีนต้องพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรมโดยไม่แสดงความรู้สึกชาตินิยมและความเป็นมหาอำนาจที่คำนึงแต่ผลประโยชน์ของจีน และหลายประเทศคาดหวังว่าจีนจะไม่ดำเนินนโยบายที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งกับประเทศที่เล็กกว่า แต่ในแง่ความเป็นจริงก็ต้องยอมรับว่า ประเทศเล็กๆ หลายประเทศยังแคลงใจอยู่ในประเด็นนี้ ตัวอย่างที่เห็นชัดก็คือ จีนไม่คำนึงถึงความรู้สึกและผลกระทบในทางลบต่อประเทศที่อยู่แม่น้ำโขงตอนล่างด้วยการสร้างเขื่อนถึง 4 เขื่อน และยังมีแนวโน้มที่จะสร้างอีกต่อไป
ความเป็นมหาอำนาจย่อมตามมาด้วยความรับผิดชอบ การฉลองครบรอบ 60 ปีของจีนเป็นการฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่โลกควรจะแสดงความยินดีกับจีน และชื่นชมในความสำเร็จของผู้นำจีน แต่ขณะเดียวกันก็มีความคาดหวังว่าจีนจะเป็นมหาอำนาจที่จะธำรงสถานะและศักดิ์ศรีเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ด้วยการมีบทบาทที่รับผิดชอบต่อสันติภาพของภูมิภาคและของโลก ดำเนินการค้าที่ยุติธรรม ให้ความร่วมมือและมีมาตรการในด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติและการสร้างความไพบูลย์ร่วมกันในครอบครัวนานาชาติ
การสูญเสียศักดิ์ศรีของจีนเริ่มจากการแพ้สงครามกับอังกฤษที่เรียกว่าสงครามฝิ่นใน ค.ศ. 1839-42 โดยจบลงที่สนธิสัญญานานกิง ในสนธิสัญญาดังกล่าวนั้นจีนต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ และยังตามมาด้วยการเปิดเมืองหลายเมือง จากนั้นมหาอำนาจอื่นๆ ก็เข้ามามีอิทธิพลในจีนซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์แมนจู เขตเช่าที่อยู่ในเมืองต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซี่ยงไฮ้และซิงเต่าซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของเยอรมนีทำให้จีนตกอยู่ในฐานะกึ่งเมืองขึ้น
หลังจากแพ้สงครามฝิ่นแล้วต่อมาจีนก็แพ้สงครามญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1894-95 จบลงด้วยสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดครองเกาหลีและเกาะไต้หวัน และเข้ามามีอิทธิพลในประเทศจีนเทียมเท่ากับประเทศยุโรป หลังจากนั้นก็เกิดปัญหาญี่ปุ่นกรีธาทัพบุกแมนจูเรียและทำสงครามกับจีนโดยไม่มีการประกาศ นอกจากนั้นยังได้มีการตั้งแคว้นแมนจูเรียเป็นประเทศแมนจูกัว
เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์แมนจูใน ค.ศ. 1911 ระหว่างนั้นได้มีการต่อสู้เป็นสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐจีนและฝ่ายคอมมิวนิสต์ โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงเป็นแนวร่วมเพื่อขับเคี่ยวกับญี่ปุ่น และเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม การสู้รบระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐจีนและฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้ดำเนินต่อไป จนวันที่ 1 ตุลาคม 1949 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้ชัยชนะเบ็ดเสร็จ ส่วนสาธารณรัฐจีนนำโดยนายพลเจียงไคเช็ค ก็ได้ไปตั้งถิ่นฐานที่เกาะไต้หวัน ในฝ่ายของจีนที่มีเหมา เจ๋อตุง เป็นหัวหน้าก็ได้สถาปนาจีนใหม่คือสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมานั้น เป็นความพยายามของการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้พ้นจากความด้อยพัฒนา และการกำจัดศัตรูภายในของระบบนำไปสู่การรณรงค์ต่างๆ หลายครั้ง ครั้งที่ใหญ่ที่สุดคือการปฏิวัติวัฒนธรรมซึ่งดำเนินอยู่ถึง 10 ปี มีการกล่าวว่าเป็นการรณรงค์ทางการเมืองที่ผิดพลาดอย่างยิ่งนำไปสู่การสูญเสียทางจิตใจและการหยุดชะงักงันของการพัฒนา ระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมนั้นอำนาจการปกครองบริหารอยู่ในมือของคอมมิวนิสต์ซ้ายสุดขอบ นำโดยนางเจียงชิง ซึ่งเป็นภรรยาของเหมา เจ๋อตุง และผู้ร่วมมืออีก 3คน ที่เรียกว่าแก๊งทั้งสี่
หลังจากเหมา เจ๋อตุง ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1976 ซึ่งตามมาด้วยการสิ้นสุดอำนาจลงของแก๊งทั้งสี่ ประเทศจีนอยู่ภายใต้การนำทางความคิดและแนวทางของนักบริหารชั้นเยี่ยมคือ เติ้ง เสี่ยวผิง โดยเปิดประตูประเทศจีนให้พัฒนาสี่ทันสมัยอันได้แก่ อุตสาหกรรม การเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการป้องกันประเทศหรือความมั่นคง โดยมีผู้นำรุ่นใหม่เปิดประตูกว้างสู่โลกภายนอก ภายในระยะเวลาประมาณสามทศวรรษจีนก็ผันตัวเองจากประเทศยากจนและด้อยพัฒนา จมปลักอยู่ในลัทธิสุดโต่งของมาร์กซิสต์และความคิดเหมา เจ๋อตุง จนกลายเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองหลังเหตุการณ์เทียนอันเหมิน
และมาในปัจจุบันก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ มีสถานะทางการเงินมั่นคง และเป็นแบบอย่างของการปกครองที่ใช้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นแกนนำ แต่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีเสรีภาพส่วนตัว ขณะเดียวกันก็ใช้ระบบเศรษฐกิจเหมือนนกที่อยู่ในกรง นกสามารถจะบินได้แต่อยู่ในกรอบของการกำหนดขอบเขตโดยรัฐด้วยการควบคุม เช่น การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งการลงทุนที่ไม่ให้เกิดความเลยเถิดเหมือนกับที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ หรือประเทศอื่นๆ
ถ้าจะพูดถึงอายุของปัจเจกบุคคล 60 ปี ถือเป็นการครบ 5 รอบ ซึ่งในธรรมเนียมจีนก็จะมีการฉลองแซยิด ในแง่ของประเทศ 60 ปีถือว่าเป็นระยะเวลาที่ไม่ยาวนัก แต่เมื่อดูจากผลความสำเร็จของการเปลี่ยนนโยบายจากหน้ามือเป็นหลังมือ และแปลงโฉมประเทศภายใน 30 ปีที่ผ่านมา ต้องกล่าวอย่างปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศจีนประสบความสำเร็จในการแปลงโฉมประเทศและสังคมให้ขึ้นมาสู่ระดับประเทศแนวหน้า ซึ่งถูกรวมอยู่ใน 4 ประเทศที่จะมีอนาคตและความเจริญรุ่งเรือง นั่นคือ BRIC (Brazil Russia India China)
ในการฉลองครบรอบ 60 ปี ของสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงเป็นสิ่งที่ประเทศจีนและคนจีน 1,300 ล้านคนมีความภาคภูมิใจ และสามารถจะยืดอกอย่างสง่าผ่าเผยในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกันจีนก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าถึงแม้จะประสบความสำเร็จอย่างน่าประทับใจ ซึ่งเห็นได้จากความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ และการเพิ่มศักดิ์ศรีระหว่างประเทศในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซึ่งจัดขึ้นโดยจีน แต่ประเทศจีนก็ยังมีสภาพสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำระหว่างนาครและชนบท มีจำนวนคนร่ำรวยเกิดขึ้นแต่ได้นำไปสู่การรวยกระจุกแต่จนกระจายทำนองเดียวกับประเทศอื่น
นอกเหนือจากนั้นการฉ้อราษฎร์บังหลวงในระบบการบริหารซึ่งไม่มีในสมัยเหมา เจ๋อตุง ก็กลับมาสู่ประเทศจีนในลักษณะเดียวกับการปกครองบริหารในสมัยก๊กมินตั๋ง นอกเหนือจากนั้นยังมีการเสียดุลระหว่างภูมิภาค ภูมิภาคที่เป็นชายฝั่งทะเลมีความเจริญรุ่งเรือง ส่วนทางภาคตะวันตกก็ยังล้าหลัง และที่สำคัญก็คือ ปัญหามลพิษและสภาพแวดล้อมที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ จุดที่เป็นจุดด่างมากที่สุดคือกรณีของชนชาติส่วนน้อยในมณฑลซินเจียงและทิเบตซึ่งก็ยังไม่สงบเรียบร้อย
ประเด็นสำคัญที่จีนยังถูกมองจากโลกภายนอกก็คือเรื่องระบอบการปกครองซึ่งประชาชนยังไม่มีสิทธิทางการเมืองอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการเลือกตั้งผู้สมัครที่มาจากต่างพรรค แม้จีนจะอ้างว่าประเทศจีนมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ใช่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันเป็นที่เข้าใจทั่วไป ถ้าจะอ่านใจผู้นำของจีนจะอ่านได้ว่าจุดเน้นของจีนอยู่ที่เสถียรภาพทางการเมืองและการเติบโตอย่างต่อเนื่องทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ในระยะ 2-3 ทศวรรษนี้จีนจะหลีกเลี่ยงทางทหาร และจะมุ่งหน้าพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างแท้จริง แต่จะพยายามคงเสถียรภาพทางการเมืองไว้ด้วยระบบการปกครองแบบปัจจุบัน
ความสำเร็จของจีนนั้นยังต้องตามมาด้วยความรับผิดชอบ จีนอาจจะถูกคาดหวังโดยนานาประเทศให้แสดงความรับผิดชอบต่อการรักษาเสถียรภาพของการเมืองภูมิภาคและการเมืองโลกด้วยการมีบทบาทที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ในการนี้จีนต้องพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรมโดยไม่แสดงความรู้สึกชาตินิยมและความเป็นมหาอำนาจที่คำนึงแต่ผลประโยชน์ของจีน และหลายประเทศคาดหวังว่าจีนจะไม่ดำเนินนโยบายที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งกับประเทศที่เล็กกว่า แต่ในแง่ความเป็นจริงก็ต้องยอมรับว่า ประเทศเล็กๆ หลายประเทศยังแคลงใจอยู่ในประเด็นนี้ ตัวอย่างที่เห็นชัดก็คือ จีนไม่คำนึงถึงความรู้สึกและผลกระทบในทางลบต่อประเทศที่อยู่แม่น้ำโขงตอนล่างด้วยการสร้างเขื่อนถึง 4 เขื่อน และยังมีแนวโน้มที่จะสร้างอีกต่อไป
ความเป็นมหาอำนาจย่อมตามมาด้วยความรับผิดชอบ การฉลองครบรอบ 60 ปีของจีนเป็นการฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่โลกควรจะแสดงความยินดีกับจีน และชื่นชมในความสำเร็จของผู้นำจีน แต่ขณะเดียวกันก็มีความคาดหวังว่าจีนจะเป็นมหาอำนาจที่จะธำรงสถานะและศักดิ์ศรีเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ด้วยการมีบทบาทที่รับผิดชอบต่อสันติภาพของภูมิภาคและของโลก ดำเนินการค้าที่ยุติธรรม ให้ความร่วมมือและมีมาตรการในด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติและการสร้างความไพบูลย์ร่วมกันในครอบครัวนานาชาติ