จีนเป็นประเทศเก่าแก่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน 4-5 พันปี มีวัฒนธรรมที่ยาวนาน มีอาณาเขตพื้นที่กว้างใหญ่ มีประชากร 1.3 พันล้านคนซึ่งมากที่สุดในโลก ประกอบด้วยจำนวนพันๆ เผ่าพันธุ์ แต่ถูกผสมผสานกลมกลืนให้เป็นชนชาติจีนด้วยภาษาเขียน ในขณะที่ภาษาพูดเหนือใต้พูดกันไม่รู้เรื่อง และด้วยลัทธิขงจื้อซึ่งมุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์ในสังคม มุ่งเน้นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่สำคัญที่สุดคือระบบครอบครัว โดยมีตระกูลเป็นสัญลักษณ์ มีเอกลักษณ์ของตระกูลที่เรียกว่าแซ่
และที่สำคัญระบบการบริหารราชการแผ่นดินมีการสอบความรู้เพื่อเข้ารับราชการทั้งฝ่ายที่เป็นวิทยาการการปกครองบริหารที่เรียกว่า ฝ่ายบุ๋น รวมทั้งฝ่ายที่ทำการรบพุ่งที่เรียกว่า ฝ่ายบู๊ ฐานะสูงสุดในการสอบคือการสอบผ่านเป็นบัณฑิตสูงสุดที่เรียกว่า จ้วงเหยียน หรือจอหงวนประเทศจีนจึงดำรงเป็นชาติที่มีความต่อเนื่องของวัฒนธรรม มีรูปแบบการปกครองภายใต้จักรพรรดิซึ่งอ้างอาณัติจากสวรรค์ ด้วยการแผ่อาณาเขตทั้งทางทหารและทางวัฒนธรรมจนกลายเป็นประเทศมหึมาในขณะนี้ แต่ระบบการปกครองดังกล่าวก็ล่มสลายในที่สุด
แต่ในเบื้องต้นจะต้องทราบว่าคำว่า จีนหรือคนจีนไม่ใช่การกล่าวถึงเผ่าพันธุ์ หากแต่กล่าวถึงคนซึ่งมีวัฒนธรรมร่วมกัน โดยมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใกล้เคียงกัน มีภาษาเขียนในการสื่อสารและเป็นภาษาราชการโดยมี 2 ระดับ คือ ระดับสำหรับบัณฑิตชั้นสูงเป็นภาษาโบราณที่ซับซ้อนและยุ่งยากคืออุ๋นเหยียน ส่วนภาษาที่ใช้พูดกันทั่วไปที่เรียกว่าภาษาสามัญคือฝู่ทงฮว่า ในปัจจุบันจีนพยายามใช้ภาษาหลังนี้ให้คนในแผ่นดินจีนสามารถใช้เป็นภาษาพูด ในขณะที่ภาษาถิ่นเช่น เซี่ยงไฮ้ กวางตุ้ง แต้จิ๋ว ไหหลำ เสฉวน ฯลฯ ก็ยังใช้พูดกันอยู่ การพยายามที่จะทำให้คนจีนพูดภาษาเดียวกันคือภาษาจีนกลาง (Mandarin) ส่งผลกระทบต่อภาษาถิ่นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอ่านซึ่งออกเสียงต่างจากการพูด คำว่าจีนมาจากการเรียกจีนสมัยจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ ซึ่งเป็น 1 ใน 7 แคว้นที่กำราบแคว้นอื่นๆ จนกลายเป็นประเทศเดียวกัน จีนคือคนในราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าจีนหมายถึงเผ่าพันธุ์เช่นคนจีน
แต่ในความเป็นจริงหมายถึงคนที่มีวัฒนธรรมร่วมกันดังได้กล่าวมาแล้ว แม้การพูดว่าเป็นคนเชื้อสายฮั่น หรือเชื้อสายถัง ที่เรียกว่าชาวฮั่น หรือชาวถัง ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่าตึ่งนั้ง ก็เป็นชื่อที่เรียกว่าราชวงศ์ทั้งสิ้น แต่เมื่อกล่าวว่าเป็นชาวฮั่นหรือชาวถังเป็นการมองเปรียบเทียบกับคนที่อยู่นอกแผ่นดินจีน จีนถือตัวเองว่าเป็นอาณาจักรกลางที่มีอารยธรรมสูง โดยเฉพาะเปรียบเทียบกับคนที่เร่ร่อนขี่ม้าเช่นพวกมองโกลซึ่งมารบกวนแผ่นดินจีนบ่อยครั้งจนต้องมีการสร้างกำแพงเมืองจีนโดยจักรพรรดิจิ๋นซีเชื่อมต่อกำแพงเก่ายาวเหยียดประมาณห้าพันกิโล ที่เรียกว่ากำแพงหมื่นลี้
คำถามคือ จีนซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้านทั้งโครงสร้างสังคม ปรัชญา วัฒนธรรม ระเบียบการปกครองบริหาร วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในระดับหนึ่งจนประเทศตะวันตกมีการกล่าวขวัญถึงจีนด้วยความชื่นชม และจีนก็ตระหนักในส่วนนี้จึงถือว่าเป็นอาณาจักรกลางที่ประเทศอื่นต้องมาส่งบรรณาการ เมื่อกษัตริย์อังกฤษขอเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนในสมัยเฉินหลง คำตอบของจีนก็คือ “ไม่มีอะไรอีกแล้วภายใต้สวรรค์ที่แผ่นดินของเราจะขาดแคลน เราจะได้อะไรจากท่านในการเชื่อมสัมพันธไมตรี” ซึ่งในยุคนั้นคำตอบที่เย่อหยิ่งดังกล่าวไม่ได้ห่างไกลจากความเป็นจริงนัก
อะไรเป็นเหตุให้จีนล้าหลังจนแพ้สงครามฝิ่นในปี ค.ศ.1839-42 จนต้องยกเกาะฮ่องกงให้กับอังกฤษตามสนธิสัญญานานกิง และต้องเปิดประตูประเทศอย่างกว้างขวาง ต่อมาแพ้สงครามกับญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1894-95 จนต้องสูญเสียเกาหลีใต้ให้ญี่ปุ่นปกครองไต้หวันถึง 50 ปีตามสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ นอกจากนั้นแผ่นดินจีนยังถูกครอบโดย 8 มหาอำนาจ โดย 7 ประเทศเป็นประเทศตะวันตก ประเทศที่ 8 คือประเทศญี่ปุ่น ปล่อยให้มีเขตเช่าไปทั่ว ในนครเซี่ยงไฮ้มีเขตเช่าของอังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ
ส่วนที่ชิงเต่าก็เป็นเขตของเยอรมนีอันเป็นที่เกิดของเบียร์ชิงเต่าในปัจจุบัน มีการกล่าวว่าในสวนสาธารณะของอังกฤษในเซี่ยงไฮ้นั้นมีป้ายบอกว่า “คนจีนและสุนัขห้ามเข้า” จีนยังถูกมองว่าเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย เป็นประเทศที่อ่อนแอ ล้าหลัง ผลสุดท้ายก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจนเปลี่ยนระบบจักรพรรดิมาเป็นสาธารณรัฐในปี ค.ศ.1911 นำโดย ดร.ซุนยัดเซ็น และมาเป็นสังคมนิยมคือคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ.1949 นำโดยเหมา เจ๋อตุง
จีนล้าหลังตะวันตกเพราะอะไร? ถ้าจะวิเคราะห์ถึงตัวแปรต่างๆ โดยละเอียดคงต้องใช้เวลาศึกษาค้นคว้ายาวนาน แต่ถ้าจะพูดเป็นหัวข้อกว้างๆ เพื่อเป็นแนวทางการคิดวิเคราะห์ก็จะเห็นได้ชัดว่า ในขณะที่อารยธรรมตะวันตกผ่านกระบวนการวิวัฒนาการและพัฒนาการ เป็นขั้นเป็นตอนจนมาถึงยุคที่เจริญรุ่งเรืองเป็นประเทศมหาอำนาจอุตสาหกรรมนั้น ไม่ปรากฏว่ามีสภาวการณ์อันเดียวกันเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในประเทศทางฝั่งเอเชียคือประเทศจีนและอินเดีย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในตะวันตกนั้นเริ่มจากการเกิดยุคมืด ตกอยู่ในอำนาจของพระคาทอลิกหลังจากจักรวรรดิโรมันล่มสลาย แรงกดดันกดขี่ทางศาสนาทำให้เกิดการต่อต้าน และไม่นานอำนาจการควบคุมของทางฝ่ายศาสนจักรก็เริ่มเสื่อมลง มีการต่อต้านอิทธิพลทางศาสนาที่ครอบงำโดยสันตะปาปา เกิดนิกายที่ต้องการตีความอย่างอิสระในคัมภีร์ไบเบิล ไม่จำเป็นต้องอาศัยองค์กรศาสนาเดียวที่เป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์ นั่นคือการเกิดศาสนาโปรเตสแตนต์
กระบวนการนี้คือการนำไปสู่การตีความไบเบิลใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อและศรัทธาในระดับหนึ่ง (Reformation) ที่สำคัญปรากฏการณ์ที่ทำการเปลี่ยนแปลงประเทศตะวันตกมากที่สุด คือการเกิดกระแสฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) จนนำไปสู่การปฏิรูปและการคิดริเริ่มในศิลปะแขนงต่างๆ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ด้วย
ในขณะเดียวกันก็มีปรากฏการณ์ที่มีการต่อรองอำนาจการบริหารระหว่างเจ้าและ
ขุนนาง จนนำไปสู่จุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในอังกฤษ นั่นคือการทำข้อตกลงในกฎบัตรใหญ่ (Magna Carta) ในปี ค.ศ. 1215 ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ทำให้เกิดนักคิดในทุกๆ ด้าน ทั้งสังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกันการผลิตทางเศรษฐกิจซึ่งเริ่มจากอุตสาหกรรมพื้นบ้านในยุคฟิวดัล ก็เริ่มหยั่งรากลึกโดยใช้ทรัพยากรจากการเดินทางค้าขายกับประเทศต่างๆ มีนักลงทุนเกิดขึ้นจนนำไปสู่การสร้างเครื่องทุ่นแรงที่สำคัญด้วยการค้นพบทางวิทยาศาสตร์คือแรงกดดันจากไอน้ำ นำไปสู่การพัฒนาที่สำคัญที่เรียกว่าการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution) และผลสุดท้ายก็เกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญยิ่งของมนุษยชาติจากการพบล้อเกวียนมากลายเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ด้วยเครื่องจักรแทนแรงงานสัตว์และมนุษย์
เมื่อมีเรือกลไฟขนาดใหญ่เดินด้วยเครื่องจักรไอน้ำ ติดปืนใหญ่ซึ่งหล่อด้วยโลหะเนื้อแข็งอันบ่งชี้ถึงความรู้ทางโลหวิทยา จีนยังจมปรักอยู่กับของเดิม พอใจอยู่กับธรรมชาติตามลัทธิเต๋า เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตก็มุ่งเน้นทางปรัชญาและความรู้ทางกวี ไว้เล็บยาวโดยไม่แตะของโสโครกเช่นถ่านและกำมะถัน ปล่อยให้การคิดค้นอยู่ที่ช่างฝีมืออันเป็นชนชั้นสามต่อจากนักปราชญ์ราชบัณฑิต ชาวนา ส่วนพ่อค้าเป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคมที่ไม่ได้รับเกียรติอันใด การค้นพบทางวิทยาศาสตร์จึงไม่เจริญกว่าเท่าที่เป็นอยู่ โดยมีเท่าที่จำเป็นต่อการดำรงของระบบเดิม นี่คือตัวแปรสำคัญที่สุดที่ทำให้จีนกลายเป็นประเทศล้าหลังเมื่อเทียบกับมหาอำนาจตะวันตกที่ผ่านกระบวนการวิวัฒนาการและพัฒนาการต่างๆ ที่กล่าวมา
จีนและปัญหา
นโปเลียน โบนาปาร์ต เคยกล่าวทำนองว่า “จีนคือยักษ์ใหญ่ที่นอนหลับ แต่เมื่อยักษ์ตื่นขึ้นโลกจะรู้สึกถึงผลสะเทือน” แต่การกล่าวว่าจีนตื่นขึ้นอย่างลอยๆ ก็คือการใช้สามัญสำนึก ผู้เขียนเคยกล่าวไว้เมื่อประมาณ 30 กว่าปีที่แล้วว่า จีนและอินเดียจะเป็นมหาอำนาจอย่างแน่นอนในอนาคต คำกล่าวดังกล่าวนั้นเป็นที่หัวเราะเย้ยหยันของนักวิชาการทั้งจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ หลายคนเป็นศาสตราจารย์ในปัจจุบัน มีการปฏิเสธอย่างทันควันว่าเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้ผู้เขียนเองเป็นคนบอกว่าถ้าจะมองไปในอนาคตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ภาษาอังกฤษจนใช้งานได้ นอกเหนือจากการเรียนรู้วิธีการใช้สมองกล ภาษาญี่ปุ่นและ/หรือภาษาจีน สังคมไทยเพิ่งมาตื่นตัวเรื่องภาษาจีนในขณะนี้ทั้งๆ ที่มีการพูดถึงเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว และก็มีการเรียนภาษาอังกฤษซึ่งก็ยังไม่กระทำอย่างจริงจังนัก ส่วนสมองกลนั้นก็น่ายินดีเพราะกลายเป็นของเล่นใหม่ที่สอดคล้องกับนิสัยของคนที่ชอบเล่นของเล่น มองทุกอย่างเป็นของเล่น
การที่ผู้เขียนบอกว่าจีนและอินเดียจะเป็นมหาอำนาจนั้น เกิดจากตัวแปร 5 ตัวของการพัฒนาชาติอันจะนำไปสู่การพัฒนาอำนาจแห่งชาติ ตัวแปร 5 ตัวนี้เป็นตัวแปรที่ เอ.เอฟ.เค ออร์แกนสกี้ กล่าวในการบรรยายที่สหรัฐอเมริกาโดยผู้เขียนเป็นนักศึกษาของอาจารย์ผู้นี้ ตัวแปร 5 ตัวได้แก่ การพัฒนาการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมที่เปิดกว้างให้มีการเปลี่ยนสถานะของสมาชิก การมีจิตวิทยาศาสตร์ และจำนวนประชากรที่มากพอ
ในส่วนของการพัฒนาการเมืองนั้น ออร์แกนสกี้กล่าวว่าคือการพัฒนาระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพในการสืบทอดอำนาจ และที่สำคัญต้องสามารถเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมหรือการปลุกระดมมาสู่วิถีทางการเมือง
ส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นได้แก่การพัฒนาอุตสาหกรรม หรือเกษตรอุตสาหกรรม การพัฒนาอุตสาหกรรมจะต้องเป็นขั้นที่สองของการปฏิวัติอุตสาหกรรม นั่นคือการใช้สมองกลช่วยในด้านสื่อสารข้อมูลและในด้านการผลิต (อ่านต่อวันพฤหัสฯ หน้า)
และที่สำคัญระบบการบริหารราชการแผ่นดินมีการสอบความรู้เพื่อเข้ารับราชการทั้งฝ่ายที่เป็นวิทยาการการปกครองบริหารที่เรียกว่า ฝ่ายบุ๋น รวมทั้งฝ่ายที่ทำการรบพุ่งที่เรียกว่า ฝ่ายบู๊ ฐานะสูงสุดในการสอบคือการสอบผ่านเป็นบัณฑิตสูงสุดที่เรียกว่า จ้วงเหยียน หรือจอหงวนประเทศจีนจึงดำรงเป็นชาติที่มีความต่อเนื่องของวัฒนธรรม มีรูปแบบการปกครองภายใต้จักรพรรดิซึ่งอ้างอาณัติจากสวรรค์ ด้วยการแผ่อาณาเขตทั้งทางทหารและทางวัฒนธรรมจนกลายเป็นประเทศมหึมาในขณะนี้ แต่ระบบการปกครองดังกล่าวก็ล่มสลายในที่สุด
แต่ในเบื้องต้นจะต้องทราบว่าคำว่า จีนหรือคนจีนไม่ใช่การกล่าวถึงเผ่าพันธุ์ หากแต่กล่าวถึงคนซึ่งมีวัฒนธรรมร่วมกัน โดยมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใกล้เคียงกัน มีภาษาเขียนในการสื่อสารและเป็นภาษาราชการโดยมี 2 ระดับ คือ ระดับสำหรับบัณฑิตชั้นสูงเป็นภาษาโบราณที่ซับซ้อนและยุ่งยากคืออุ๋นเหยียน ส่วนภาษาที่ใช้พูดกันทั่วไปที่เรียกว่าภาษาสามัญคือฝู่ทงฮว่า ในปัจจุบันจีนพยายามใช้ภาษาหลังนี้ให้คนในแผ่นดินจีนสามารถใช้เป็นภาษาพูด ในขณะที่ภาษาถิ่นเช่น เซี่ยงไฮ้ กวางตุ้ง แต้จิ๋ว ไหหลำ เสฉวน ฯลฯ ก็ยังใช้พูดกันอยู่ การพยายามที่จะทำให้คนจีนพูดภาษาเดียวกันคือภาษาจีนกลาง (Mandarin) ส่งผลกระทบต่อภาษาถิ่นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอ่านซึ่งออกเสียงต่างจากการพูด คำว่าจีนมาจากการเรียกจีนสมัยจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ ซึ่งเป็น 1 ใน 7 แคว้นที่กำราบแคว้นอื่นๆ จนกลายเป็นประเทศเดียวกัน จีนคือคนในราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าจีนหมายถึงเผ่าพันธุ์เช่นคนจีน
แต่ในความเป็นจริงหมายถึงคนที่มีวัฒนธรรมร่วมกันดังได้กล่าวมาแล้ว แม้การพูดว่าเป็นคนเชื้อสายฮั่น หรือเชื้อสายถัง ที่เรียกว่าชาวฮั่น หรือชาวถัง ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่าตึ่งนั้ง ก็เป็นชื่อที่เรียกว่าราชวงศ์ทั้งสิ้น แต่เมื่อกล่าวว่าเป็นชาวฮั่นหรือชาวถังเป็นการมองเปรียบเทียบกับคนที่อยู่นอกแผ่นดินจีน จีนถือตัวเองว่าเป็นอาณาจักรกลางที่มีอารยธรรมสูง โดยเฉพาะเปรียบเทียบกับคนที่เร่ร่อนขี่ม้าเช่นพวกมองโกลซึ่งมารบกวนแผ่นดินจีนบ่อยครั้งจนต้องมีการสร้างกำแพงเมืองจีนโดยจักรพรรดิจิ๋นซีเชื่อมต่อกำแพงเก่ายาวเหยียดประมาณห้าพันกิโล ที่เรียกว่ากำแพงหมื่นลี้
คำถามคือ จีนซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้านทั้งโครงสร้างสังคม ปรัชญา วัฒนธรรม ระเบียบการปกครองบริหาร วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในระดับหนึ่งจนประเทศตะวันตกมีการกล่าวขวัญถึงจีนด้วยความชื่นชม และจีนก็ตระหนักในส่วนนี้จึงถือว่าเป็นอาณาจักรกลางที่ประเทศอื่นต้องมาส่งบรรณาการ เมื่อกษัตริย์อังกฤษขอเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนในสมัยเฉินหลง คำตอบของจีนก็คือ “ไม่มีอะไรอีกแล้วภายใต้สวรรค์ที่แผ่นดินของเราจะขาดแคลน เราจะได้อะไรจากท่านในการเชื่อมสัมพันธไมตรี” ซึ่งในยุคนั้นคำตอบที่เย่อหยิ่งดังกล่าวไม่ได้ห่างไกลจากความเป็นจริงนัก
อะไรเป็นเหตุให้จีนล้าหลังจนแพ้สงครามฝิ่นในปี ค.ศ.1839-42 จนต้องยกเกาะฮ่องกงให้กับอังกฤษตามสนธิสัญญานานกิง และต้องเปิดประตูประเทศอย่างกว้างขวาง ต่อมาแพ้สงครามกับญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1894-95 จนต้องสูญเสียเกาหลีใต้ให้ญี่ปุ่นปกครองไต้หวันถึง 50 ปีตามสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ นอกจากนั้นแผ่นดินจีนยังถูกครอบโดย 8 มหาอำนาจ โดย 7 ประเทศเป็นประเทศตะวันตก ประเทศที่ 8 คือประเทศญี่ปุ่น ปล่อยให้มีเขตเช่าไปทั่ว ในนครเซี่ยงไฮ้มีเขตเช่าของอังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ
ส่วนที่ชิงเต่าก็เป็นเขตของเยอรมนีอันเป็นที่เกิดของเบียร์ชิงเต่าในปัจจุบัน มีการกล่าวว่าในสวนสาธารณะของอังกฤษในเซี่ยงไฮ้นั้นมีป้ายบอกว่า “คนจีนและสุนัขห้ามเข้า” จีนยังถูกมองว่าเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย เป็นประเทศที่อ่อนแอ ล้าหลัง ผลสุดท้ายก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจนเปลี่ยนระบบจักรพรรดิมาเป็นสาธารณรัฐในปี ค.ศ.1911 นำโดย ดร.ซุนยัดเซ็น และมาเป็นสังคมนิยมคือคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ.1949 นำโดยเหมา เจ๋อตุง
จีนล้าหลังตะวันตกเพราะอะไร? ถ้าจะวิเคราะห์ถึงตัวแปรต่างๆ โดยละเอียดคงต้องใช้เวลาศึกษาค้นคว้ายาวนาน แต่ถ้าจะพูดเป็นหัวข้อกว้างๆ เพื่อเป็นแนวทางการคิดวิเคราะห์ก็จะเห็นได้ชัดว่า ในขณะที่อารยธรรมตะวันตกผ่านกระบวนการวิวัฒนาการและพัฒนาการ เป็นขั้นเป็นตอนจนมาถึงยุคที่เจริญรุ่งเรืองเป็นประเทศมหาอำนาจอุตสาหกรรมนั้น ไม่ปรากฏว่ามีสภาวการณ์อันเดียวกันเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในประเทศทางฝั่งเอเชียคือประเทศจีนและอินเดีย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในตะวันตกนั้นเริ่มจากการเกิดยุคมืด ตกอยู่ในอำนาจของพระคาทอลิกหลังจากจักรวรรดิโรมันล่มสลาย แรงกดดันกดขี่ทางศาสนาทำให้เกิดการต่อต้าน และไม่นานอำนาจการควบคุมของทางฝ่ายศาสนจักรก็เริ่มเสื่อมลง มีการต่อต้านอิทธิพลทางศาสนาที่ครอบงำโดยสันตะปาปา เกิดนิกายที่ต้องการตีความอย่างอิสระในคัมภีร์ไบเบิล ไม่จำเป็นต้องอาศัยองค์กรศาสนาเดียวที่เป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์ นั่นคือการเกิดศาสนาโปรเตสแตนต์
กระบวนการนี้คือการนำไปสู่การตีความไบเบิลใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อและศรัทธาในระดับหนึ่ง (Reformation) ที่สำคัญปรากฏการณ์ที่ทำการเปลี่ยนแปลงประเทศตะวันตกมากที่สุด คือการเกิดกระแสฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) จนนำไปสู่การปฏิรูปและการคิดริเริ่มในศิลปะแขนงต่างๆ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ด้วย
ในขณะเดียวกันก็มีปรากฏการณ์ที่มีการต่อรองอำนาจการบริหารระหว่างเจ้าและ
ขุนนาง จนนำไปสู่จุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในอังกฤษ นั่นคือการทำข้อตกลงในกฎบัตรใหญ่ (Magna Carta) ในปี ค.ศ. 1215 ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ทำให้เกิดนักคิดในทุกๆ ด้าน ทั้งสังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกันการผลิตทางเศรษฐกิจซึ่งเริ่มจากอุตสาหกรรมพื้นบ้านในยุคฟิวดัล ก็เริ่มหยั่งรากลึกโดยใช้ทรัพยากรจากการเดินทางค้าขายกับประเทศต่างๆ มีนักลงทุนเกิดขึ้นจนนำไปสู่การสร้างเครื่องทุ่นแรงที่สำคัญด้วยการค้นพบทางวิทยาศาสตร์คือแรงกดดันจากไอน้ำ นำไปสู่การพัฒนาที่สำคัญที่เรียกว่าการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution) และผลสุดท้ายก็เกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญยิ่งของมนุษยชาติจากการพบล้อเกวียนมากลายเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ด้วยเครื่องจักรแทนแรงงานสัตว์และมนุษย์
เมื่อมีเรือกลไฟขนาดใหญ่เดินด้วยเครื่องจักรไอน้ำ ติดปืนใหญ่ซึ่งหล่อด้วยโลหะเนื้อแข็งอันบ่งชี้ถึงความรู้ทางโลหวิทยา จีนยังจมปรักอยู่กับของเดิม พอใจอยู่กับธรรมชาติตามลัทธิเต๋า เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตก็มุ่งเน้นทางปรัชญาและความรู้ทางกวี ไว้เล็บยาวโดยไม่แตะของโสโครกเช่นถ่านและกำมะถัน ปล่อยให้การคิดค้นอยู่ที่ช่างฝีมืออันเป็นชนชั้นสามต่อจากนักปราชญ์ราชบัณฑิต ชาวนา ส่วนพ่อค้าเป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคมที่ไม่ได้รับเกียรติอันใด การค้นพบทางวิทยาศาสตร์จึงไม่เจริญกว่าเท่าที่เป็นอยู่ โดยมีเท่าที่จำเป็นต่อการดำรงของระบบเดิม นี่คือตัวแปรสำคัญที่สุดที่ทำให้จีนกลายเป็นประเทศล้าหลังเมื่อเทียบกับมหาอำนาจตะวันตกที่ผ่านกระบวนการวิวัฒนาการและพัฒนาการต่างๆ ที่กล่าวมา
จีนและปัญหา
นโปเลียน โบนาปาร์ต เคยกล่าวทำนองว่า “จีนคือยักษ์ใหญ่ที่นอนหลับ แต่เมื่อยักษ์ตื่นขึ้นโลกจะรู้สึกถึงผลสะเทือน” แต่การกล่าวว่าจีนตื่นขึ้นอย่างลอยๆ ก็คือการใช้สามัญสำนึก ผู้เขียนเคยกล่าวไว้เมื่อประมาณ 30 กว่าปีที่แล้วว่า จีนและอินเดียจะเป็นมหาอำนาจอย่างแน่นอนในอนาคต คำกล่าวดังกล่าวนั้นเป็นที่หัวเราะเย้ยหยันของนักวิชาการทั้งจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ หลายคนเป็นศาสตราจารย์ในปัจจุบัน มีการปฏิเสธอย่างทันควันว่าเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้ผู้เขียนเองเป็นคนบอกว่าถ้าจะมองไปในอนาคตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ภาษาอังกฤษจนใช้งานได้ นอกเหนือจากการเรียนรู้วิธีการใช้สมองกล ภาษาญี่ปุ่นและ/หรือภาษาจีน สังคมไทยเพิ่งมาตื่นตัวเรื่องภาษาจีนในขณะนี้ทั้งๆ ที่มีการพูดถึงเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว และก็มีการเรียนภาษาอังกฤษซึ่งก็ยังไม่กระทำอย่างจริงจังนัก ส่วนสมองกลนั้นก็น่ายินดีเพราะกลายเป็นของเล่นใหม่ที่สอดคล้องกับนิสัยของคนที่ชอบเล่นของเล่น มองทุกอย่างเป็นของเล่น
การที่ผู้เขียนบอกว่าจีนและอินเดียจะเป็นมหาอำนาจนั้น เกิดจากตัวแปร 5 ตัวของการพัฒนาชาติอันจะนำไปสู่การพัฒนาอำนาจแห่งชาติ ตัวแปร 5 ตัวนี้เป็นตัวแปรที่ เอ.เอฟ.เค ออร์แกนสกี้ กล่าวในการบรรยายที่สหรัฐอเมริกาโดยผู้เขียนเป็นนักศึกษาของอาจารย์ผู้นี้ ตัวแปร 5 ตัวได้แก่ การพัฒนาการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมที่เปิดกว้างให้มีการเปลี่ยนสถานะของสมาชิก การมีจิตวิทยาศาสตร์ และจำนวนประชากรที่มากพอ
ในส่วนของการพัฒนาการเมืองนั้น ออร์แกนสกี้กล่าวว่าคือการพัฒนาระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพในการสืบทอดอำนาจ และที่สำคัญต้องสามารถเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมหรือการปลุกระดมมาสู่วิถีทางการเมือง
ส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นได้แก่การพัฒนาอุตสาหกรรม หรือเกษตรอุตสาหกรรม การพัฒนาอุตสาหกรรมจะต้องเป็นขั้นที่สองของการปฏิวัติอุตสาหกรรม นั่นคือการใช้สมองกลช่วยในด้านสื่อสารข้อมูลและในด้านการผลิต (อ่านต่อวันพฤหัสฯ หน้า)