ASTVผู้จัดการรายวัน-ต่างชาติได้ทีทุบราคาข้าวไทย หลังระบบประกันไม่พร้อม ยอมชะลอการสั่งซื้อขายข้าวในช่วงนี้เพื่อรอช้อนซื้อราคาถูกในภายหลัง ทำให้ราคาล่วงทันทีตันละพันบาท
แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าว เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาข้าวในตลาดได้ปรับตัวลดลงอย่างมาก เพราะผู้ซื้อต่างประเทศได้ชะลอการสั่งซื้อข้าวจากไทย โดยผู้ซื้อมองว่าไทยยังไม่มีความพร้อมในการใช้ระบบประกันราคาข้าว ที่รัฐบาลจะเริ่มโครงการในวันที่ 1 ต.ค.2552 นี้ รองรับการแทรกแซงข้าวนาปีฤดูกาลผลิต 2552/53 และยังมีแนวโน้มว่าอาจจะต้องเลื่อนโครงการออกไปด้วยซ้ำ
หลังจากที่การขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่จะขอรับเงินชดเชยในระบบประกันราคายังไม่แล้วเสร็จ และหากไม่สามารถดำเนินการได้ตามกำหนด ก็จะส่งผลต่อราคาข้าวในท้องตลาดที่จะตกต่ำลงมาทันที และสามารถซื้อข้าวได้ถูกลงกว่าปัจจุบันนี้อย่างแน่นอน
“หลังจากที่ผู้ซื้อต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อข้าวจากผู้ส่งออก ทำให้ราคาข้าวขาวปรับตัวลดลงทันทีตันละ 1 พันบาท เมื่อผู้ส่งออกถูกต่อรองราคาซื้อขาย ก็จะแก้ปัญหาด้วยการไปกดราคาซื้อข้าวจากโรงสี และโรงสีก็จะไปกดราคาซื้อข้าวจากเกษตรกรอีกทางหนึ่ง และหากยิ่งโครงการประกันราคาไม่มีความชัดเจนอีกก็จะเป็นโอกาสให้เกษตรกรถูกกดราคาซื้อข้าวมากยิ่งขึ้น”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า การแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ที่กระทรวงพาณิชย์จะเรียกผู้ประกอบการโรงสีและผู้ส่งออกมาหารือในวันที่ 1-2 ต.ค.นี้ เพื่อให้ช่วยรับซื้อข้าวในราคาตลาด ตามมาตรการพยุงราคาข้าวในโครงการประกันราคาสินค้าเกษตรด้วยการเสนอความช่วยเหลือชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับโรงสี 3% ที่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐนั้น มองว่าคงเป็นไปได้ยากและคงไม่สามารถพยุงราคาตลาดได้ เพราะประเด็นไม่ได้อยู่ที่รัฐบาลให้เงินชดเชยกับโรงสีแลกกับความช่วยเหลือ แต่โรงสีต้องการความมั่นใจในระบบประกันราคาข้าวว่าราคาตลาดจะไม่ลดต่ำลงไปอีก ซึ่งทำให้โรงสีเสี่ยงต่อการขาดทุนได้
นอกจากนี้ มีแนวโน้มที่รัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณชดเชยการประกันราคาข้าวสูงกว่าวงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท คาดว่าอาจจะบานปลายมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งมาจาก 2 ปัจจัย คือ ราคาข้าวในตลาดตกต่ำ จนทำให้ราคาอ้างอิงลดต่ำลงกว่าที่คาดไว้ ซึ่งคาดว่ารัฐบาลจะต้องชดเชยเงินให้กับเกษตรมากกว่า 2,000 บาท/ตัน จากเดิมที่รัฐบาลคาดว่าจะชดเชยไม่เกิน 2,000 บาท/ตัน และยังมีการทุจริตในการขึ้นทะเบียนเกษตรกรทั้งเรื่องการแจ้งผลผลิตที่มากเกินกว่าความเป็นจริง และการแจ้งประเภทข้าวเพื่อขอรับเงินชดเชยผิดประเภท เช่น ปลูกข้าวขาว แต่แจ้งว่าปลูกข้าวหอมจังหวัด เพราะต้องการเงินชดเชยจากการประกันราคาข้าวที่สูงกว่า เพราะรัฐไม่มีการไปตรวจสอบย้อนหลังถึงพื้นที่เพาะปลูกหลังการขึ้นทะเบียนเนื่องจากเกษตรกรเป็นผู้ขายข้าวเองให้กับตลาด
นางสาวกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ เลขาธิการสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า สถานการณ์ซื้อขายข้าวขณะนี้ชะลอตัวมาระยะหนึ่ง โดยเฉพาะข้าวขาวที่การซื้อขายลดลงมานานแล้ว เนื่องจากผู้ซื้อชะลอดูความชัดเจนจากการระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาลที่มีมากถึง 6 ล้านตัน และความพร้อมในการประกันราคาข้าวของรัฐบาล รวมถึงภาวะโดยรวมที่รอผลผลิตใหม่ คือ ข้าวนาปีออกสู่ตลาด
นายประสิทธิ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย กล่าวว่า ราคาข้าวข้าวเปลือกขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 8,000-9,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ชาวนารับได้ เพราะเข้าใจสถานการณ์ดีว่าเป็นช่วงสุญญากาศที่รอความชัดเจนโครงการประกันราคาของรัฐบาล และปริมาณผลผลิตข้าวนาปีที่จะออกสู่ตลาดพ.ย.นี้ ว่ามีปริมาณเท่าไร แต่เชื่อว่าหากมีความชัดเจนทั้งสองประเด็นจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
สำหรับการประกันราคาข้าวที่รัฐบาลประกาศออกมา ข้าวขาว ราคาประกัน 1 หมื่นบาท/ตัน ข้าวหอมมะลิ 1.53 หมื่นบาท/ตัน ข้าวหอมจังหวัด 1.43 บาท/ตัน และข้าวเหนียว 9,500 บาท/ตัน หากราคาที่เกษตรกรขายได้ต่ำกว่าราคาประกัน รัฐบาลก็จะชดเชยส่วนต่างให้
แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าว เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาข้าวในตลาดได้ปรับตัวลดลงอย่างมาก เพราะผู้ซื้อต่างประเทศได้ชะลอการสั่งซื้อข้าวจากไทย โดยผู้ซื้อมองว่าไทยยังไม่มีความพร้อมในการใช้ระบบประกันราคาข้าว ที่รัฐบาลจะเริ่มโครงการในวันที่ 1 ต.ค.2552 นี้ รองรับการแทรกแซงข้าวนาปีฤดูกาลผลิต 2552/53 และยังมีแนวโน้มว่าอาจจะต้องเลื่อนโครงการออกไปด้วยซ้ำ
หลังจากที่การขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่จะขอรับเงินชดเชยในระบบประกันราคายังไม่แล้วเสร็จ และหากไม่สามารถดำเนินการได้ตามกำหนด ก็จะส่งผลต่อราคาข้าวในท้องตลาดที่จะตกต่ำลงมาทันที และสามารถซื้อข้าวได้ถูกลงกว่าปัจจุบันนี้อย่างแน่นอน
“หลังจากที่ผู้ซื้อต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อข้าวจากผู้ส่งออก ทำให้ราคาข้าวขาวปรับตัวลดลงทันทีตันละ 1 พันบาท เมื่อผู้ส่งออกถูกต่อรองราคาซื้อขาย ก็จะแก้ปัญหาด้วยการไปกดราคาซื้อข้าวจากโรงสี และโรงสีก็จะไปกดราคาซื้อข้าวจากเกษตรกรอีกทางหนึ่ง และหากยิ่งโครงการประกันราคาไม่มีความชัดเจนอีกก็จะเป็นโอกาสให้เกษตรกรถูกกดราคาซื้อข้าวมากยิ่งขึ้น”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า การแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ที่กระทรวงพาณิชย์จะเรียกผู้ประกอบการโรงสีและผู้ส่งออกมาหารือในวันที่ 1-2 ต.ค.นี้ เพื่อให้ช่วยรับซื้อข้าวในราคาตลาด ตามมาตรการพยุงราคาข้าวในโครงการประกันราคาสินค้าเกษตรด้วยการเสนอความช่วยเหลือชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับโรงสี 3% ที่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐนั้น มองว่าคงเป็นไปได้ยากและคงไม่สามารถพยุงราคาตลาดได้ เพราะประเด็นไม่ได้อยู่ที่รัฐบาลให้เงินชดเชยกับโรงสีแลกกับความช่วยเหลือ แต่โรงสีต้องการความมั่นใจในระบบประกันราคาข้าวว่าราคาตลาดจะไม่ลดต่ำลงไปอีก ซึ่งทำให้โรงสีเสี่ยงต่อการขาดทุนได้
นอกจากนี้ มีแนวโน้มที่รัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณชดเชยการประกันราคาข้าวสูงกว่าวงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท คาดว่าอาจจะบานปลายมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งมาจาก 2 ปัจจัย คือ ราคาข้าวในตลาดตกต่ำ จนทำให้ราคาอ้างอิงลดต่ำลงกว่าที่คาดไว้ ซึ่งคาดว่ารัฐบาลจะต้องชดเชยเงินให้กับเกษตรมากกว่า 2,000 บาท/ตัน จากเดิมที่รัฐบาลคาดว่าจะชดเชยไม่เกิน 2,000 บาท/ตัน และยังมีการทุจริตในการขึ้นทะเบียนเกษตรกรทั้งเรื่องการแจ้งผลผลิตที่มากเกินกว่าความเป็นจริง และการแจ้งประเภทข้าวเพื่อขอรับเงินชดเชยผิดประเภท เช่น ปลูกข้าวขาว แต่แจ้งว่าปลูกข้าวหอมจังหวัด เพราะต้องการเงินชดเชยจากการประกันราคาข้าวที่สูงกว่า เพราะรัฐไม่มีการไปตรวจสอบย้อนหลังถึงพื้นที่เพาะปลูกหลังการขึ้นทะเบียนเนื่องจากเกษตรกรเป็นผู้ขายข้าวเองให้กับตลาด
นางสาวกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ เลขาธิการสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า สถานการณ์ซื้อขายข้าวขณะนี้ชะลอตัวมาระยะหนึ่ง โดยเฉพาะข้าวขาวที่การซื้อขายลดลงมานานแล้ว เนื่องจากผู้ซื้อชะลอดูความชัดเจนจากการระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาลที่มีมากถึง 6 ล้านตัน และความพร้อมในการประกันราคาข้าวของรัฐบาล รวมถึงภาวะโดยรวมที่รอผลผลิตใหม่ คือ ข้าวนาปีออกสู่ตลาด
นายประสิทธิ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย กล่าวว่า ราคาข้าวข้าวเปลือกขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 8,000-9,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ชาวนารับได้ เพราะเข้าใจสถานการณ์ดีว่าเป็นช่วงสุญญากาศที่รอความชัดเจนโครงการประกันราคาของรัฐบาล และปริมาณผลผลิตข้าวนาปีที่จะออกสู่ตลาดพ.ย.นี้ ว่ามีปริมาณเท่าไร แต่เชื่อว่าหากมีความชัดเจนทั้งสองประเด็นจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
สำหรับการประกันราคาข้าวที่รัฐบาลประกาศออกมา ข้าวขาว ราคาประกัน 1 หมื่นบาท/ตัน ข้าวหอมมะลิ 1.53 หมื่นบาท/ตัน ข้าวหอมจังหวัด 1.43 บาท/ตัน และข้าวเหนียว 9,500 บาท/ตัน หากราคาที่เกษตรกรขายได้ต่ำกว่าราคาประกัน รัฐบาลก็จะชดเชยส่วนต่างให้