ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”โดดอุ้มโครงการประกันราคาข้าว เตรียมกล่อมโรงสี ผู้ส่งออก ช่วยซื้อข้าวในราคาตลาด แลกกับการชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้ 3% หวั่นเมื่อเริ่มโครงการ หากมีปัญหาราคาข้าวตกต่ำจะกระทบเกษตรกร
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 1-2 ต.ค. กระทรวงฯ จะเรียกผู้ประกอบการโรงสี ผู้ส่งออก และพ่อค้าข้าว มาหารือเพื่อขอความร่วมมือให้เข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวตามมาตรการพยุงราคา หลังจากที่ระบบประกันราคาข้าวจะเริ่มภายในเดือนต.ค.นี้ โดยจะให้รับซื้อข้าวในราคาตลาด และรัฐบาลจะช่วยเหลือด้วยการชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับโรงสีและผู้ส่งออกที่เข้าร่วมโครงการกับรัฐบาล
“เบื้องต้นรัฐบาลอาจช่วยชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการประมาณ 3% ของอัตราดอกเบี้ยปกติ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการดึงดูดให้โรงสีและผู้ส่งออกยอมเข้ามาช่วยซื้อข้าวในตลาดในราคาปกติ เพื่อป้องกันปัญหาราคาข้าวตกต่ำ”แหล่งข่าวกล่าว
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้เห็นชอบในมาตรการพยุงราคาข้าวหลังในระบบประกันราคา 7 มาตรการ เช่น ให้ผู้ประกอบการโรงสีรับซื้อข้าวในราคาตลาด โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือเรื่องอัตราดอกเบี้ยบางส่วนที่โรงสีต้องกู้เงินกับสถาบันการเงิน ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) รับซื้อข้าวเพื่อการส่งออก โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้กับสองหน่วยงาน เร่งให้กรมการค้าต่างประเทศผลักดันการส่งออก เพื่อระบายผลผลิตออกสู่ตลาด และให้ผู้ส่งออกเพิ่มสำรองข้าวในสต๊อกมากขึ้น จากปัจจุบันที่กำหนดไว้ที่ 500 ตัน
แหล่งข่าวกล่าวว่า มาตรการพยุงราคาที่กำหนดออก จะใช้ก็ต่อเมื่อราคาอ้างอิงที่กำหนดในระบบประกันราคาข้าวตกต่ำมาก และราคาขายในตลาดปกติตกต่ำ จนทำให้รัฐบาลต้องชดเชยค่าส่วนต่างการประกันราคาเพิ่มขึ้น ก็จะนำมาตรการพยุงราคาออกมาใช้ทันที แต่หากการขอความร่วมมือในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวไม่สำเร็จ หรือหากพบว่ามีโรงสีหรือผู้ส่งออก มีการบิดเบือนราคาซื้อข้าว จนทำให้ระบบประกันราคาของรัฐบาลล้มเหลว กระทรวงฯอาจจะพิจารณาใช้มาตรการทางกฎหมายเข้ามาดูแล เช่น พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ และพ.ร.บ.ค้าข้าว เป็นต้น
“ในการประกันราคาข้าว ผู้ส่งออกข้าวจะเป็นผู้ได้ประโยชน์มากสุด เพราะจะไม่มีแรงกดดันในด้านราคาในประเทศ ทำให้กำหนดราคาส่งออกง่ายขึ้น ดังนั้นผู้ส่งออกควรช่วยเหลือรัฐบาลอย่าสร้างแรงกดดันด้วยการกดราคารับซื้อข้าว”แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับกรณีที่โรงสีขอให้มีการเปิดนำเข้าต้นข้าวและข้าวเปลือกภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่จะเริ่มลดภาษีเป็น 0% ในวันที่ 1 ม.ค. 2553 ยืนยันว่าไม่มีการนำมาเป็นประเด็นต่อรองแลกเปลี่ยนให้โรงสีเข้ามาช่วยรับซื้อข้าวตามมาตรการพยุงราคาครั้งนี้แน่นอน โดยการนำเข้าข้าวภายใต้ AFTA จะต้องปฏิบัติตามระเบียบที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนดออกมา เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับข้าวภายในประเทศ
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 1-2 ต.ค. กระทรวงฯ จะเรียกผู้ประกอบการโรงสี ผู้ส่งออก และพ่อค้าข้าว มาหารือเพื่อขอความร่วมมือให้เข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวตามมาตรการพยุงราคา หลังจากที่ระบบประกันราคาข้าวจะเริ่มภายในเดือนต.ค.นี้ โดยจะให้รับซื้อข้าวในราคาตลาด และรัฐบาลจะช่วยเหลือด้วยการชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับโรงสีและผู้ส่งออกที่เข้าร่วมโครงการกับรัฐบาล
“เบื้องต้นรัฐบาลอาจช่วยชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการประมาณ 3% ของอัตราดอกเบี้ยปกติ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการดึงดูดให้โรงสีและผู้ส่งออกยอมเข้ามาช่วยซื้อข้าวในตลาดในราคาปกติ เพื่อป้องกันปัญหาราคาข้าวตกต่ำ”แหล่งข่าวกล่าว
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้เห็นชอบในมาตรการพยุงราคาข้าวหลังในระบบประกันราคา 7 มาตรการ เช่น ให้ผู้ประกอบการโรงสีรับซื้อข้าวในราคาตลาด โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือเรื่องอัตราดอกเบี้ยบางส่วนที่โรงสีต้องกู้เงินกับสถาบันการเงิน ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) รับซื้อข้าวเพื่อการส่งออก โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้กับสองหน่วยงาน เร่งให้กรมการค้าต่างประเทศผลักดันการส่งออก เพื่อระบายผลผลิตออกสู่ตลาด และให้ผู้ส่งออกเพิ่มสำรองข้าวในสต๊อกมากขึ้น จากปัจจุบันที่กำหนดไว้ที่ 500 ตัน
แหล่งข่าวกล่าวว่า มาตรการพยุงราคาที่กำหนดออก จะใช้ก็ต่อเมื่อราคาอ้างอิงที่กำหนดในระบบประกันราคาข้าวตกต่ำมาก และราคาขายในตลาดปกติตกต่ำ จนทำให้รัฐบาลต้องชดเชยค่าส่วนต่างการประกันราคาเพิ่มขึ้น ก็จะนำมาตรการพยุงราคาออกมาใช้ทันที แต่หากการขอความร่วมมือในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวไม่สำเร็จ หรือหากพบว่ามีโรงสีหรือผู้ส่งออก มีการบิดเบือนราคาซื้อข้าว จนทำให้ระบบประกันราคาของรัฐบาลล้มเหลว กระทรวงฯอาจจะพิจารณาใช้มาตรการทางกฎหมายเข้ามาดูแล เช่น พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ และพ.ร.บ.ค้าข้าว เป็นต้น
“ในการประกันราคาข้าว ผู้ส่งออกข้าวจะเป็นผู้ได้ประโยชน์มากสุด เพราะจะไม่มีแรงกดดันในด้านราคาในประเทศ ทำให้กำหนดราคาส่งออกง่ายขึ้น ดังนั้นผู้ส่งออกควรช่วยเหลือรัฐบาลอย่าสร้างแรงกดดันด้วยการกดราคารับซื้อข้าว”แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับกรณีที่โรงสีขอให้มีการเปิดนำเข้าต้นข้าวและข้าวเปลือกภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่จะเริ่มลดภาษีเป็น 0% ในวันที่ 1 ม.ค. 2553 ยืนยันว่าไม่มีการนำมาเป็นประเด็นต่อรองแลกเปลี่ยนให้โรงสีเข้ามาช่วยรับซื้อข้าวตามมาตรการพยุงราคาครั้งนี้แน่นอน โดยการนำเข้าข้าวภายใต้ AFTA จะต้องปฏิบัติตามระเบียบที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนดออกมา เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับข้าวภายในประเทศ