ASTVผู้จัดการรายวัน-กขช.สั่งพาณิชย์เร่งระบายข้าวในสต๊อก 6 ล้านตัน “พรทิวา”ถกด่วนวางกรอบการระบาย เน้นขายข้าวสารก่อน เพราะทำได้เร็ว ส่วนข้าวเปลือกขั้นตอนยุ่งยาก ผู้ส่งออกแนะควรระบายทีละ 4-5 แสนตัน หวั่นล๊อตใหญ่ทำตลาดป่วน
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมการค้าต่างประเทศ องค์การคลังสินค้า (อคส.) มาหารือเพื่อกำหนดแนวทางการระบายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลที่เหลืออยู่ 6 ล้านตัน หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติให้กระทรวงพาณิชย์เร่งพิจารณาแนวทางการระบายเมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา
โดยจะมีการกำหนดรูปแบบการระบายว่า จะเริ่มเปิดระบายเมื่อไร และปริมาณเท่าไร แต่มีความเป็นไปได้ว่าการระบายครั้งนี้น่าจะการระบายข้าวสารมากกว่าข้าวเปลือก แม้เอกชนต้องการนำข้าวเปลือกไปผลิตข้าวนึ่งก็ตาม เพราะการระบายข้าวเปลือกทำได้ยาก มีขั้นตอนการระบายที่ซับซ้อนกว่าการระบายข้าวสาร
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า รัฐบาลควรจะระบายข้าวสารออกมาไม่เกิน 4-5 แสนตัน เพราะเป็นปริมาณที่ตลาดรับได้ หากมากกว่านี้อาจกระทบต่อราคาตลาด โดยสถานการณ์ข้าวในตลาดขณะนี้ อยู่ในภาวะตึงตัว โดยเฉพาะข้าวเปลือกที่หาซื้อได้ยากในตลาด เนื่องจากผู้ประกอบการมีการแข่งขันแย่งซื้อข้าวเปลือกในตลาดมาทำเป็นข้าวนึ่งส่งออก
ทำให้ข้าวขาวขาดตลาด อย่างไรก็ตาม คาดว่ารัฐบาลคงยังระบายไม่ทันในสัปดาห์หน้า เพราะการระบายในสต๊อกข้าวสารรัฐบาลต้องผ่านความเห็นชอบจากกขช. ก่อน
“ข้าวในตลาดตึงตัวพอควร เพราะอยู่ระหว่างข้าวนาปรังกับข้าวนาปี ซึ่งผลผลิตของข้าวนาปีจะออกช่วงเดือนพ.ย.ประกอบกับผู้ส่งออกเร่งซื้อข้าวเปลือกไปทำข้าวนึ่ง ทำให้ข้าวในตลาดลดน้อยลง ดังนั้น หากระบายออกมาก็จะช่วยในเรื่องสภาพคล่องได้พอควร โดยเฉพาะผู้ประกอบการข้าวถุงในประเทศ ที่หาซื้อข้าวได้ยาก ทำให้ข้าวถุงมีราคาสูงขึ้น”
สำหรับราคาข้าวขาว 5% ขณะนี้อยู่ที่กระสอบละ 1,600 บาท ถือเป็นราคาที่เหมาะสม โดยก่อนหน้านี้ได้เคยลดลงต่ำสุดเหลือกระสอบละ 1,500 บาท และเคยขึ้นไปสูงสุดที่กระสอบละ 1,700 บาท
รายงานข่าวแจ้งว่า วงการค้าข้าวมีการประเมินว่า ข้าวในมือรัฐบาลน่าจะอยู่ที่ประมาณ 6-7 ล้านตันข้าวสาร จากการคำนวนปริมาณข้าวในสต๊อกเดิมที่ไม่ได้มีการระบายออกมาเลยหลังจากระงับผลการประมูลข้าว 2.6 ล้านตันไปก่อนหน้านี้ ทำให้ปริมาณสต๊อกคงเหลือที่ 4 ล้านตัน รวมกับปริมาณข้าวที่ได้จากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2552 ประมาณ 6ล้านตันข้าวเปลือกหรือประมาณ 3
ล้านตันข้าวสาร
ทั้งนี้ กขช. ได้เห็นชอบยุทธศาสตร์การระบายข้าวของรัฐ 4 แนวทาง ประกอบด้วย 1. ไม่กระทบราคาภายในประเทศ หรือกระทบให้น้อยที่สุด 2. รักษาส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในเวทีโลก 3. ลดภาระการดูแลรักษาข้าวที่รัฐต้องรับผิดชอบลง และ 4.การระบายข้าวต้องขาดทุนน้อยที่สุด แผนการระบายข้าวของรัฐเบื้องต้น และกำหนดแนวทางปฎิบัติ 2 แนวทางได้แก่การระบายผ่านตลาดการค้าปกติ
และการใช้ตลาดของรัฐบาล หรือจีทูจี
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมการค้าต่างประเทศ องค์การคลังสินค้า (อคส.) มาหารือเพื่อกำหนดแนวทางการระบายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลที่เหลืออยู่ 6 ล้านตัน หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติให้กระทรวงพาณิชย์เร่งพิจารณาแนวทางการระบายเมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา
โดยจะมีการกำหนดรูปแบบการระบายว่า จะเริ่มเปิดระบายเมื่อไร และปริมาณเท่าไร แต่มีความเป็นไปได้ว่าการระบายครั้งนี้น่าจะการระบายข้าวสารมากกว่าข้าวเปลือก แม้เอกชนต้องการนำข้าวเปลือกไปผลิตข้าวนึ่งก็ตาม เพราะการระบายข้าวเปลือกทำได้ยาก มีขั้นตอนการระบายที่ซับซ้อนกว่าการระบายข้าวสาร
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า รัฐบาลควรจะระบายข้าวสารออกมาไม่เกิน 4-5 แสนตัน เพราะเป็นปริมาณที่ตลาดรับได้ หากมากกว่านี้อาจกระทบต่อราคาตลาด โดยสถานการณ์ข้าวในตลาดขณะนี้ อยู่ในภาวะตึงตัว โดยเฉพาะข้าวเปลือกที่หาซื้อได้ยากในตลาด เนื่องจากผู้ประกอบการมีการแข่งขันแย่งซื้อข้าวเปลือกในตลาดมาทำเป็นข้าวนึ่งส่งออก
ทำให้ข้าวขาวขาดตลาด อย่างไรก็ตาม คาดว่ารัฐบาลคงยังระบายไม่ทันในสัปดาห์หน้า เพราะการระบายในสต๊อกข้าวสารรัฐบาลต้องผ่านความเห็นชอบจากกขช. ก่อน
“ข้าวในตลาดตึงตัวพอควร เพราะอยู่ระหว่างข้าวนาปรังกับข้าวนาปี ซึ่งผลผลิตของข้าวนาปีจะออกช่วงเดือนพ.ย.ประกอบกับผู้ส่งออกเร่งซื้อข้าวเปลือกไปทำข้าวนึ่ง ทำให้ข้าวในตลาดลดน้อยลง ดังนั้น หากระบายออกมาก็จะช่วยในเรื่องสภาพคล่องได้พอควร โดยเฉพาะผู้ประกอบการข้าวถุงในประเทศ ที่หาซื้อข้าวได้ยาก ทำให้ข้าวถุงมีราคาสูงขึ้น”
สำหรับราคาข้าวขาว 5% ขณะนี้อยู่ที่กระสอบละ 1,600 บาท ถือเป็นราคาที่เหมาะสม โดยก่อนหน้านี้ได้เคยลดลงต่ำสุดเหลือกระสอบละ 1,500 บาท และเคยขึ้นไปสูงสุดที่กระสอบละ 1,700 บาท
รายงานข่าวแจ้งว่า วงการค้าข้าวมีการประเมินว่า ข้าวในมือรัฐบาลน่าจะอยู่ที่ประมาณ 6-7 ล้านตันข้าวสาร จากการคำนวนปริมาณข้าวในสต๊อกเดิมที่ไม่ได้มีการระบายออกมาเลยหลังจากระงับผลการประมูลข้าว 2.6 ล้านตันไปก่อนหน้านี้ ทำให้ปริมาณสต๊อกคงเหลือที่ 4 ล้านตัน รวมกับปริมาณข้าวที่ได้จากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2552 ประมาณ 6ล้านตันข้าวเปลือกหรือประมาณ 3
ล้านตันข้าวสาร
ทั้งนี้ กขช. ได้เห็นชอบยุทธศาสตร์การระบายข้าวของรัฐ 4 แนวทาง ประกอบด้วย 1. ไม่กระทบราคาภายในประเทศ หรือกระทบให้น้อยที่สุด 2. รักษาส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในเวทีโลก 3. ลดภาระการดูแลรักษาข้าวที่รัฐต้องรับผิดชอบลง และ 4.การระบายข้าวต้องขาดทุนน้อยที่สุด แผนการระบายข้าวของรัฐเบื้องต้น และกำหนดแนวทางปฎิบัติ 2 แนวทางได้แก่การระบายผ่านตลาดการค้าปกติ
และการใช้ตลาดของรัฐบาล หรือจีทูจี