หลายท่านคงได้รับทราบแล้วว่าประเทศไทยจะเปิดตลาดข้าวภายใต้ AFTA ในวันที่ 1 มกราคม 2553 ซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีจะต้องลดภาษีและยกเลิกมาตรการโควตาภาษี (Tariff Rate Quota: TRQ) สินค้าข้าวและสินค้าเกษตรอื่นภายใต้ AFTA โดยในปี 2546 กำหนดให้ต้องลดภาษีนำเข้าข้าวเหลือร้อยละ 5 และให้ยกเลิกโควตานำเข้า รวมทั้งลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553
แน่นอนที่สุดว่าการเปิดตลาดดังกล่าวย่อมสร้างความกังวลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โรงสี โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ และผู้ส่งออก รวมทั้งกระทรวงพาณิชย์ที่ดูแลเรื่องนี้ต้องมีมาตรการรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดตลาดดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
เมื่อโจทย์ออกมาว่า ไทยจะต้องเปิดตลาดข้าวภายใต้ AFTA อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบดูแลการเปิดตลาด จึงได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตร (กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรแห่งชาติ และกรมการข้าว) กระทรวงสาธารณสุข (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) สมาคมชาวนาไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สมาคมโรงสีข้าวไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง 5 ครั้ง ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2552 เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการในการรองรับการเปิดตลาด
โดยมีข้อสรุปในการกำหนดแนวทางกำกับและติดตามการนำเข้าข้าวภายใต้ AFTA ประกอบด้วย 1. การกำหนดคุณสมบัติผู้นำเข้าข้าว 2.พิจารณาข้าวที่จะนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ 3.กำหนดระยะเวลาการนำเข้า 4.กำหนดมาตรฐานคุณภาพข้าว/ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า และรับรองการปลอดศัตรูพืช 5.กำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวด 6.กำหนดเงื่อนไขปลอด GMO 7.กำหนดด่านที่ให้นำเข้าข้าว
พร้อมกันนี้ ยังได้จัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นการเปิดตลาดข้าวภายใต้ AFTA ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วในช่วงเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา จำนวน 6 ครั้ง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ชัยนาท สงขลา สุรินทร์ อุดรธานี และกรุงเทพฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและการค้าขายข้าว ทั้งเกษตรกร โรงสี ผู้ค้าข้าว ผู้ส่งออก โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ รวมถึงผู้บริโภค ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางและมาตรการรองรับการเปิดตลาด
กรมการค้าต่างประเทศ ได้นำเสนอแนวทางในการบริหารจัดการการนำเข้าข้าวภายใต้ AFTA ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยกันดูว่าเหมาะสมหรือไม่ และควรจะมีการปรับปรุงอะไร ซึ่งผลสรุปที่ได้จากผู้เข้าร่วมเวที สาธารณะทั้ง 6 ครั้ง จำนวนรวม 1,979 คน ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเปิดตลาดข้าวภายใต้ AFTA และเห็นด้วยกับข้อเสนอแนวทางและมาตรการรองรับตามที่กรมฯ ได้นำเสนอ
อย่างไรก็ตาม ในการจัดเวทีสาธารณะ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น ขอให้มีมาตรการป้องกันการลักลอบนำเข้าข้าวที่เข้มแข็ง การตรวจสอบชนิด คุณภาพมาตรฐานข้าวที่นำเข้าตามที่กำหนดต้องดำเนินการอย่างเข้มงวด ให้มีการประชาสัมพันธ์ระเบียบและหลักเกณฑ์การเปิดตลาดข้าวให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่กำหนด ให้มีการจัดตั้งกองทุนสำหรับการพัฒนาเกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และควรใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาดเพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงข้าวราคาถูกได้ ซึ่งได้มีการนำผลจากการจัดเวทีสาธารณะที่ได้มาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง และกรมการค้าต่างประเทศจะนำเสนอแนวทางการเปิดตลาดข้าวต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อกำหนดเป็นนโยบายการบริหารจัดการข้าวนำเข้าข้าวต่อไปก่อนที่จะมีการเปิดตลาดในวันที่ 1 ม.ค.2553
การเปิดตลาดข้าวภายใต้ AFTA ถูกมองว่าเป็นได้ทั้งวิกฤตและโอกาสดังนั้นการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละปีจึงเป็นกลไกสำคัญที่จะลดวิกฤตและสร้างโอกาสให้ข้าวไทยซึ่งกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ เพื่อให้การกำหนดมาตรการกำกับดูแลการเปิดตลาดดังกล่าวเกิดผลในเชิงสร้างสรรค์ ทั้งนี้ ผู้สนใจหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรือเว็บไซต์ www.dft.go.th
แน่นอนที่สุดว่าการเปิดตลาดดังกล่าวย่อมสร้างความกังวลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โรงสี โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ และผู้ส่งออก รวมทั้งกระทรวงพาณิชย์ที่ดูแลเรื่องนี้ต้องมีมาตรการรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดตลาดดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
เมื่อโจทย์ออกมาว่า ไทยจะต้องเปิดตลาดข้าวภายใต้ AFTA อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบดูแลการเปิดตลาด จึงได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตร (กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรแห่งชาติ และกรมการข้าว) กระทรวงสาธารณสุข (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) สมาคมชาวนาไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สมาคมโรงสีข้าวไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง 5 ครั้ง ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2552 เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการในการรองรับการเปิดตลาด
โดยมีข้อสรุปในการกำหนดแนวทางกำกับและติดตามการนำเข้าข้าวภายใต้ AFTA ประกอบด้วย 1. การกำหนดคุณสมบัติผู้นำเข้าข้าว 2.พิจารณาข้าวที่จะนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ 3.กำหนดระยะเวลาการนำเข้า 4.กำหนดมาตรฐานคุณภาพข้าว/ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า และรับรองการปลอดศัตรูพืช 5.กำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวด 6.กำหนดเงื่อนไขปลอด GMO 7.กำหนดด่านที่ให้นำเข้าข้าว
พร้อมกันนี้ ยังได้จัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นการเปิดตลาดข้าวภายใต้ AFTA ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วในช่วงเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา จำนวน 6 ครั้ง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ชัยนาท สงขลา สุรินทร์ อุดรธานี และกรุงเทพฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและการค้าขายข้าว ทั้งเกษตรกร โรงสี ผู้ค้าข้าว ผู้ส่งออก โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ รวมถึงผู้บริโภค ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางและมาตรการรองรับการเปิดตลาด
กรมการค้าต่างประเทศ ได้นำเสนอแนวทางในการบริหารจัดการการนำเข้าข้าวภายใต้ AFTA ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยกันดูว่าเหมาะสมหรือไม่ และควรจะมีการปรับปรุงอะไร ซึ่งผลสรุปที่ได้จากผู้เข้าร่วมเวที สาธารณะทั้ง 6 ครั้ง จำนวนรวม 1,979 คน ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเปิดตลาดข้าวภายใต้ AFTA และเห็นด้วยกับข้อเสนอแนวทางและมาตรการรองรับตามที่กรมฯ ได้นำเสนอ
อย่างไรก็ตาม ในการจัดเวทีสาธารณะ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น ขอให้มีมาตรการป้องกันการลักลอบนำเข้าข้าวที่เข้มแข็ง การตรวจสอบชนิด คุณภาพมาตรฐานข้าวที่นำเข้าตามที่กำหนดต้องดำเนินการอย่างเข้มงวด ให้มีการประชาสัมพันธ์ระเบียบและหลักเกณฑ์การเปิดตลาดข้าวให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่กำหนด ให้มีการจัดตั้งกองทุนสำหรับการพัฒนาเกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และควรใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาดเพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงข้าวราคาถูกได้ ซึ่งได้มีการนำผลจากการจัดเวทีสาธารณะที่ได้มาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง และกรมการค้าต่างประเทศจะนำเสนอแนวทางการเปิดตลาดข้าวต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อกำหนดเป็นนโยบายการบริหารจัดการข้าวนำเข้าข้าวต่อไปก่อนที่จะมีการเปิดตลาดในวันที่ 1 ม.ค.2553
การเปิดตลาดข้าวภายใต้ AFTA ถูกมองว่าเป็นได้ทั้งวิกฤตและโอกาสดังนั้นการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละปีจึงเป็นกลไกสำคัญที่จะลดวิกฤตและสร้างโอกาสให้ข้าวไทยซึ่งกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ เพื่อให้การกำหนดมาตรการกำกับดูแลการเปิดตลาดดังกล่าวเกิดผลในเชิงสร้างสรรค์ ทั้งนี้ ผู้สนใจหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรือเว็บไซต์ www.dft.go.th