xs
xsm
sm
md
lg

ชาวนาอีสานหวั่นเปิดเสรีค้ากระทบหนัก แนะศึกษาผลกระทบรอบด้าน-วางมาตรการรับมือ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายปาน  แย้มชัยภูมิ  ประธานศูนย์ประชาชน  จ.ชัยภูมิ
อุดรธานี - เวทีรับฟังความเห็นเปิดตลาดข้าวภายใต้ข้อตกลง AFTA อีสานตอนบนที่อุดรฯ มีเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสีเข้าร่วมหนาตา ตัวแทนเกษตรกรวิตกหลังเปิดเสรีชาวนาไทยอยู่ลำบาก ข้าวนอกจะทะลักตีตลาดข้าวไทยมหาศาล ขณะที่ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบของชาวนาไทย

วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่ หอประชุม มหาวิทยลัยราชภัฏอุดรธานี นางดวงพร รอดพยาธิ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายนิสิต ศิวกุล ผู้อำนวยการส่วนควบคุมพืช ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายนภดล แสนกุง ศุลกากร ชำนาญการพิเศษด่านหนองคาย ได้ร่วมกันบรยาย เรื่อง การเปิดตลาดข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และแนวทางการเปิดตลาด โดยมีเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสี โรงงานอุตสาหกรรม ผู้ส่งออก ผู้ค้าข้าวและผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับข้าวเข้าร่วมรับฟังแนวทาง และแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ วิทยากรได้ชี้แจงว่าจากกรณีที่กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ตกลงให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA (ASEAN Fee Trade Area) ขึ้น ประเทศไทยในฐานะเป็นสมาชิก ATFA มีพันธกรณีที่ต้องลดภาษี และยกเลิกมาตรการโควตาภาษี สินค้าข้าวและสินค้าเกษตรอื่นๆ ซึ่งได้ดำเนินการลดภาษีมาตั้งแต่ พ.ศ.2536 และมีกำหนดจะต้องยกเลิกโควตานำเข้าและลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ในตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 นี้

การปฏิบัติตามพันธกรณีที่ผูกพันไว้ถือเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่เจรจาของไทยรวมถึงเป็นการสร้างความเชื่อถือของไทยในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้ประเทศไทยในฐานะเป็นผู้ส่งออกข้าวมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ได้ประโยชน์จากการเปิดตลาดการค้าข้าวตามพันธกรณีและ เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

กรมการค้าต่างประเทศได้รับมอบหมายจากกระทรวงพาณิชย์ ให้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการพิจารณาหามาตรการไว้รองรับ เพื่อบริหารจัดการข้าว การนำเข้าข้าวและแนวทางปฏิบัติ

ทั้งนี้ มีเป้าหมายในการรักษามาตรฐานคุณภาพข้าวไทย คุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคข้าวไทย เพื่อหาแนวทางป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูข้าว ป้องการกันการนำเข้าข้าวแบบสวมสิทธิ์ในโครงการแทรกแซงของรัฐบาล และป้องกันการนำเข้าข้าวที่มีการตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMOs) เพื่อให้การบริหารงานข้าวมีความโปร่งใส และให้การตอบสนองต่อภาคประชาสังคม ได้อย่างทั่วถึง จึงมีการจัดเวทีเสวนาสาธารณะให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันแสดงความเห็นและเสนอแนะข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ต่อการเปิดตลาดการค้าข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA)

ข้อมูลที่ได้จากเวทีประชาคมในครั้งนี้จะนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อกำหนดแนวทางมาตรการเปิดตลาดการค้าข้าวตามพันธกรณี ATFA รวมทั้งเพื่อออกเป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับ ให้มีผลบังคับใช้ได้ทันในวันที่ 1 ม.ค. 2553 นี้

รายงานข่าวแจ้งว่า บรรยากาศการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น การเปิดตลาดข้าวภายใต้ ATF ที่จังหวัดอุดรธานี นั้น เกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสี โรงงานอุตสาหกรรม ผู้ส่งออก ผู้ค้าข้าวและผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวในภาคอีสาน ต่างแสดงความเห็นที่หลากหลาย

นายปาน แย้มชัยภูมิ ประธานศูนย์ประชาชน จ.ชัยภูมิ ได้กล่าวแสดงความเห็นว่า 7 มาตรการ การนำเข้าข้าวของทางราชการภายใต้ AFTA นี้ ตนคิดว่าเป็นมาตรการที่ดี และเราควรจะต้องนำเข้าข้าวเฉพาะอย่างเท่านั้น ซึ่งการเปิดตลาดข้าวภายใต้ AFTA นี้ จะเกิดผลกระทบต่อ เสถียรภาพการทำนาของเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากราคาข้าวในปีที่ผ่านมามีราคาตกต่ำอย่างมาก และเมือเปิดตลาดข้าว ATFA นี้ ตนคิดว่าจะทำให้ข้าวทะลักเข้ามาอย่างมหาศาล ซึ่งจะทำให้ข้าวในประเทศราคาตกต่ำลง

นายวีระพงษ์ แสงจันทร์ หนึ่งในตัวแทนเกษตรกร ได้กล่าวว่า อยากจะให้กำหนดเวลาการนำเข้าข้าว ให้สั้นกว่านี้เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตข้าวอยู่แล้ว ควรจะทำการทดสอบก่อนว่า มีผลกระทบอะไรหรือไม่ก่อนที่จะนำเข้าอย่างจริงจัง

ขณะที่นายประดิษฐ์ คนยัง ตัวแทนเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ในวันที่ 1 มกราคม 2553 แล้วที่ เราจะทำการเปิดการค้าเสรี แต่เรายังไม่พูดถึงเลยว่าการเปิดการค้าเสรีนั้นทางเราจะทำอย่างไร เราเชื่อว่าการเปิดเสรีนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ มาตรการ 7 ประการที่กำหนดมานั้นมีความเห็นว่า เรื่องแรก คือ การกำหนดคุณสมบัติของผู้นำเข้านั้น เรื่องนี้พูดยากเพราะว่ายังไมมีลายละเอียด แต่ขอฝากว่าอยากให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของผู้ที่จะนำเข้าด้วย

การพิจารณาข้าวที่นำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ เช่น แกลบ ลำข้าว นี้ก็เป็นวัตถุดิบ ตรงนี้จะต้องมีมาตรการที่ชัดเจนกว่านี้ ในเรื่อง กำหนดระยะเวลาการนำเข้า เนื่องจากการปลูกข้าวในประเทศไทย มีการปลูกข้าวกันตลอดทั้งปี ตนคิดว่าจะต้องมีการแบ่งเป็นโซน ว่าจะมีการนำเข้าข้าวช่วงไหนบ้าง

สำหรับการกำหนดมาตรฐานคุณภาพข้าวนั้น ตนก็ยังไม่มั่นใจว่ามาตรฐานที่เราทำการส่งออกไปนั้น AFTA จะใช้มาตรฐานเดี่ยวกับเราหรือไม่ เพราะว่ายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ส่วนเรื่องการกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัย การกำหนดเงื่อนไขปลอด GMOs การกำหนดด่านที่ให้นำเข้านั้น ไม่ขอแสดงความคิดเห็น
นายวีระพงษ์  แสงจันทร์  หนึ่งในตัวแทนเกษตรกรภาคอีสาน


กำลังโหลดความคิดเห็น