“พาณิชย์”เล็งกำหนดมาตรการดูแลนำเข้าข้าว หลังจะเปิดเสรีภายใต้อาฟตาลดภาษีเหลือ 0% ตั้งแต่ 1 ม.ค.ปีหน้า เตรียมปิดทางนำเข้าข้าวคุณภาพต่ำเพื่อนบ้านผสมข้าวไทย ยันต้องกำหนดรูปแบบการนำเข้า คุมคุณสมบัติผู้นำเข้า นำเข้าเฉพาะด่าน และห้ามนำเข้าข้าวจีเอ็มโอ เล็งเปิดประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นทุกฝ่าย 6 ครั้งทั่วประเทศ ก่อนเสนอกขช. ไฟเขียวส่วนการประชุมคชก.วันนี้ จับตาสวนนโยบายรัฐบาลหรือไม่ เพราะเตรียมเสนอให้เปิดจำนำกุ้ง สนองส.ส.ภาคใต้ของพรรคปชป.
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยในระหว่างงานเปิดโครงการจัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นกรณีการเปิดตลาดข้าวภายใต้พันธกรณีเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะลดภาษีนำเข้าข้าวเหลือ 0% ซึ่งอาจทำให้มีข้าวด้อยคุณภาพจากประเทศเพื่อนบ้านทะลักเข้าไทยจำนวนมากจึงจำเป็นที่กระทรวงพาณิชย์จะต้องหามาตรการดูแลการนำเข้า เพื่อไม่ให้อุตสาหกรรมข้าวของไทยได้รับผลกระทบ และข้าวไทยเสียภาพพจน์
สำหรับมาตรการที่จะใช้ดูแลการนำเข้า ในเบื้องต้น กระทรวงพาณิชย์ ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน เห็นพ้องที่จะให้กำหนดคุณสมบัติผู้นำเข้าให้ชัดเจน และให้นำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบใช้ในอุตสาหกรรมเท่านั้น เช่น ทำแป้ง เส้นก๋วยเตี๋ยว แต่ไม่ให้นำเข้าเพื่อบริโภคโดยตรง นอกจากนี้ จะต้องมีการตรวจสอบทั้งด้านคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย การปลอดศัตรูพืช และปลอดจากการตัดแต่งทางพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) รวมถึงจะต้องกำหนดด่านนำเข้าให้ชัดเจน และติดตามการนำเข้าและการใช้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การนำเข้าด้วย
“แม้จะเปิดเสรีนำเข้าข้าวจากอาเซียนได้ แต่ไทยต้องกำหนดมาตรการดูแล เพื่อรักษาคุณภาพมาตรฐานข้าวไทย ป้องกันการนำเข้าข้าวมาสวมสิทธิ์เกษตรกรไทยเข้าโครงการรับจำนำ คุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคข้าวไทย ป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูข้าว และป้องกันการนำเข้าข้าวจีเอ็มโอ หากเราไม่มีมาตรการดูแล และมีปัญหาเกิดขึ้นกับข้าวไทย จะแก้ปัญหาได้ยากและตลาดข้าวไทยจะเสียหายได้ แต่ยืนยันได้ว่า มาตรการของเราไม่ใช่การกีดกันทางการค้า” นางสาวชุติมากล่าว
ทั้งนี้ กรมฯ จะนำมาตรการดูแลการนำเข้าเบื้องต้นทั้งหมดมานำเสนอในการจัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นการเปิดตลาดข้าวภายใต้อาฟตา ทั้ง 6 ครั้งทั่วประเทศ คาดจะได้ข้อสรุปเดือนส.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) พิจารณาอนุมัติ แล้วจะแจ้งให้องค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) รับทราบ ก่อนมีผลบังคับใช้แต่ดับบลิวทีโอไม่มีสิทธิ์แสดงความเห็น เพราะการเปิดตลาดข้าวไม่ได้เป็นข้อกังวลของสมาชิกดับบลิวทีโอ แต่เป็นเรื่องภายในของอาเซียน
โดยการจัดเวทีสาธารณะทั้ง 6 ครั้งนั้น ครั้งแรกวันที่ 10 มิ.ย.นี้ ที่มหาวิทยาลัยแม้โจ้ จ.เชียงใหม่ ครั้งที่ 2 วันที่ 12 มิ.ย. ที่วิทยาลัยเทคนิคชัยนาท จ.ชัยนาท จากนั้นวันที่ 22 มิ.ย.ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา วันที่ 25 มิ.ย.ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ จ.สุรินทร์ วันที่ 26 มิ.ย.ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดร จ.อุดรธานี และครั้งสุดท้ายวันที่ 1 ก.ค.ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ
นางชุติมากล่าวว่า หลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์การระบายสินค้าเกษตรของรัฐบาลแล้ว ในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ จะเรียกประชุมคณะกรรมการ เพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ให้เสร็จภายใน 15 วัน ก่อนเสนอรมว.พาณิชย์ ซึ่งอาจจะแยกเป็นแนวทางการระบายสินค้าเพื่อส่งออก เพื่อขายในประเทศ เพื่อขายแบบรัฐต่อรัฐ และเพื่อบริจาคโดยต้องเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม จะพยายามทำอย่างเต็มที่ เพราะเป็นเรื่องที่ถูกจับตามองมาก แต่จะพยายามทำให้สังคมเข้าใจ รวมถึงต้องการให้ทุกฝ่ายเห็นถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) วันนี้ (5 มิ.ย.) กระทรวงพาณิชย์จะเสนอให้พิจารณาแนวทางการช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งด้วยการรับจำนำกุ้งขาวแวนาไม ปริมาณ 40,000 ตัน จากผลผลิตรวม 400,000 ตัน โดยราคารับจำนำดังนี้ กุ้งขนาด 50 ตัว/กก. ราคารับจำนำ 140 บาท/กก. ขนาด 60 ตัว/กก. ราคา 130 บาท/กก. ขนาด 70 ตัว/กก. ราคา 115 บาท/กก.เริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย.-ก.ย. เพื่อช่วยพยุงราคาไม่ให้ตกต่ำ เพราะขณะนี้ราคากุ้งขาวลดลงมาก
นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้หารือกับผู้ผลิตอาหารกุ้งในเขตภาคใต้ ให้ช่วยลดราคาอาหารกุ้งลง 2.5% จากราคาปกติ เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงของเกษตรกร โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทางภาคใต้ได้ โดยต้นทุนการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรปัจจุบันเฉลี่ยกก.ละ 108 บาท
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา คชก.ได้พิจารณาแนวทางการช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งแล้ว และมีมติให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน 300 ล้านบาทแก่กลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งกู้ยืม และให้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (คอนแทรกต์ ฟาร์มิ่ง) โดยให้เอกชนไปรับซื้อจากเกษตรกรโดยตรง แทนการอนุมัติให้เปิดโครงการรับจำนำ เพราะที่ประชุมเห็นว่า
การเปิดรับจำนำขัดกับนโยบายของนายกรัฐมนตรี และนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการยกเลิกระบบจำนำ อีกทั้งการเปิดรับจำนำในปริมาณน้อย ไม่น่าจะช่วยดึงราคาผลผลิตทั้งหมดให้สูงขึ้นได้
แต่นายกอร์ปศักดิ์ ซึ่งเป็นประธานคชก..ต้องการให้มีการรับจำนำ จึงแจ้งให้ที่ประชุมนำเรื่องนี้กลับมาพิจารณาในการประชุมวันที่ 5 มิ.ย.นี้ เพื่อหาทางออกอีกครั้ง เพราะเรื่องนี้ถูกกดดันจากกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ จึงเชื่อว่า การประชุมครั้งนี้ คชก.จะอนุมัติให้เปิดโครงการรับจำนำได้
รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงพาณิชย์ จะเสนอให้คชก. อนุมัติค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบพิเศษโครงการรับจำนำข้าวในสต๊อกรัฐบาลให้กับองค์การคลังสินค้า (อคส.) รวมถึงเพิ่มงบแทรกแซงตลาดลิ้นจี่ที่จ.เชียงใหม่ และจ.พะเยา ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์จะหยิบยกเรื่องการจัดจ้างบริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าว (เซอร์เวย์) ว่าควรว่าจ้างใหม่หรือไม่ เพราะได้รับร้องเรียนมาว่า เซอร์เวย์ที่จ้างอยู่ผูกขาดการทำงานกับอคส. และยังเรียกรับเงินใต้โต๊ะจากโรงสีกระสอบละ 7 บาท เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพข้าวผ่านหลักเกณฑ์ที่กำหนด
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยในระหว่างงานเปิดโครงการจัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นกรณีการเปิดตลาดข้าวภายใต้พันธกรณีเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะลดภาษีนำเข้าข้าวเหลือ 0% ซึ่งอาจทำให้มีข้าวด้อยคุณภาพจากประเทศเพื่อนบ้านทะลักเข้าไทยจำนวนมากจึงจำเป็นที่กระทรวงพาณิชย์จะต้องหามาตรการดูแลการนำเข้า เพื่อไม่ให้อุตสาหกรรมข้าวของไทยได้รับผลกระทบ และข้าวไทยเสียภาพพจน์
สำหรับมาตรการที่จะใช้ดูแลการนำเข้า ในเบื้องต้น กระทรวงพาณิชย์ ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน เห็นพ้องที่จะให้กำหนดคุณสมบัติผู้นำเข้าให้ชัดเจน และให้นำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบใช้ในอุตสาหกรรมเท่านั้น เช่น ทำแป้ง เส้นก๋วยเตี๋ยว แต่ไม่ให้นำเข้าเพื่อบริโภคโดยตรง นอกจากนี้ จะต้องมีการตรวจสอบทั้งด้านคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย การปลอดศัตรูพืช และปลอดจากการตัดแต่งทางพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) รวมถึงจะต้องกำหนดด่านนำเข้าให้ชัดเจน และติดตามการนำเข้าและการใช้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การนำเข้าด้วย
“แม้จะเปิดเสรีนำเข้าข้าวจากอาเซียนได้ แต่ไทยต้องกำหนดมาตรการดูแล เพื่อรักษาคุณภาพมาตรฐานข้าวไทย ป้องกันการนำเข้าข้าวมาสวมสิทธิ์เกษตรกรไทยเข้าโครงการรับจำนำ คุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคข้าวไทย ป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูข้าว และป้องกันการนำเข้าข้าวจีเอ็มโอ หากเราไม่มีมาตรการดูแล และมีปัญหาเกิดขึ้นกับข้าวไทย จะแก้ปัญหาได้ยากและตลาดข้าวไทยจะเสียหายได้ แต่ยืนยันได้ว่า มาตรการของเราไม่ใช่การกีดกันทางการค้า” นางสาวชุติมากล่าว
ทั้งนี้ กรมฯ จะนำมาตรการดูแลการนำเข้าเบื้องต้นทั้งหมดมานำเสนอในการจัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นการเปิดตลาดข้าวภายใต้อาฟตา ทั้ง 6 ครั้งทั่วประเทศ คาดจะได้ข้อสรุปเดือนส.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) พิจารณาอนุมัติ แล้วจะแจ้งให้องค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) รับทราบ ก่อนมีผลบังคับใช้แต่ดับบลิวทีโอไม่มีสิทธิ์แสดงความเห็น เพราะการเปิดตลาดข้าวไม่ได้เป็นข้อกังวลของสมาชิกดับบลิวทีโอ แต่เป็นเรื่องภายในของอาเซียน
โดยการจัดเวทีสาธารณะทั้ง 6 ครั้งนั้น ครั้งแรกวันที่ 10 มิ.ย.นี้ ที่มหาวิทยาลัยแม้โจ้ จ.เชียงใหม่ ครั้งที่ 2 วันที่ 12 มิ.ย. ที่วิทยาลัยเทคนิคชัยนาท จ.ชัยนาท จากนั้นวันที่ 22 มิ.ย.ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา วันที่ 25 มิ.ย.ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ จ.สุรินทร์ วันที่ 26 มิ.ย.ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดร จ.อุดรธานี และครั้งสุดท้ายวันที่ 1 ก.ค.ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ
นางชุติมากล่าวว่า หลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์การระบายสินค้าเกษตรของรัฐบาลแล้ว ในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ จะเรียกประชุมคณะกรรมการ เพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ให้เสร็จภายใน 15 วัน ก่อนเสนอรมว.พาณิชย์ ซึ่งอาจจะแยกเป็นแนวทางการระบายสินค้าเพื่อส่งออก เพื่อขายในประเทศ เพื่อขายแบบรัฐต่อรัฐ และเพื่อบริจาคโดยต้องเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม จะพยายามทำอย่างเต็มที่ เพราะเป็นเรื่องที่ถูกจับตามองมาก แต่จะพยายามทำให้สังคมเข้าใจ รวมถึงต้องการให้ทุกฝ่ายเห็นถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) วันนี้ (5 มิ.ย.) กระทรวงพาณิชย์จะเสนอให้พิจารณาแนวทางการช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งด้วยการรับจำนำกุ้งขาวแวนาไม ปริมาณ 40,000 ตัน จากผลผลิตรวม 400,000 ตัน โดยราคารับจำนำดังนี้ กุ้งขนาด 50 ตัว/กก. ราคารับจำนำ 140 บาท/กก. ขนาด 60 ตัว/กก. ราคา 130 บาท/กก. ขนาด 70 ตัว/กก. ราคา 115 บาท/กก.เริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย.-ก.ย. เพื่อช่วยพยุงราคาไม่ให้ตกต่ำ เพราะขณะนี้ราคากุ้งขาวลดลงมาก
นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้หารือกับผู้ผลิตอาหารกุ้งในเขตภาคใต้ ให้ช่วยลดราคาอาหารกุ้งลง 2.5% จากราคาปกติ เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงของเกษตรกร โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทางภาคใต้ได้ โดยต้นทุนการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรปัจจุบันเฉลี่ยกก.ละ 108 บาท
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา คชก.ได้พิจารณาแนวทางการช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งแล้ว และมีมติให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน 300 ล้านบาทแก่กลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งกู้ยืม และให้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (คอนแทรกต์ ฟาร์มิ่ง) โดยให้เอกชนไปรับซื้อจากเกษตรกรโดยตรง แทนการอนุมัติให้เปิดโครงการรับจำนำ เพราะที่ประชุมเห็นว่า
การเปิดรับจำนำขัดกับนโยบายของนายกรัฐมนตรี และนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการยกเลิกระบบจำนำ อีกทั้งการเปิดรับจำนำในปริมาณน้อย ไม่น่าจะช่วยดึงราคาผลผลิตทั้งหมดให้สูงขึ้นได้
แต่นายกอร์ปศักดิ์ ซึ่งเป็นประธานคชก..ต้องการให้มีการรับจำนำ จึงแจ้งให้ที่ประชุมนำเรื่องนี้กลับมาพิจารณาในการประชุมวันที่ 5 มิ.ย.นี้ เพื่อหาทางออกอีกครั้ง เพราะเรื่องนี้ถูกกดดันจากกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ จึงเชื่อว่า การประชุมครั้งนี้ คชก.จะอนุมัติให้เปิดโครงการรับจำนำได้
รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงพาณิชย์ จะเสนอให้คชก. อนุมัติค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบพิเศษโครงการรับจำนำข้าวในสต๊อกรัฐบาลให้กับองค์การคลังสินค้า (อคส.) รวมถึงเพิ่มงบแทรกแซงตลาดลิ้นจี่ที่จ.เชียงใหม่ และจ.พะเยา ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์จะหยิบยกเรื่องการจัดจ้างบริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าว (เซอร์เวย์) ว่าควรว่าจ้างใหม่หรือไม่ เพราะได้รับร้องเรียนมาว่า เซอร์เวย์ที่จ้างอยู่ผูกขาดการทำงานกับอคส. และยังเรียกรับเงินใต้โต๊ะจากโรงสีกระสอบละ 7 บาท เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพข้าวผ่านหลักเกณฑ์ที่กำหนด