“มาร์ค” ยอมสยบวิชามารขนม็อบชาวนากดดันรัฐบาลต่อรองผลประโยชน์ประมูลข้าว-เพิ่มโควต้าจำนำ ทำทีปลอบขวัญภูมิใจไทยหลังคว่ำเมล์นรก เคาะขยายปริมาณเพิ่มตามคำขู่อีก 2 ล้านตันสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ล้วงเงิน ธกส. 2.3 หมื่นล้าน เข้าอุ้ม ด้าน “เจ๊พร” หัวเราะหึหึ อ้างนายกฯ รู้ดีเรื่องประมูลข้าว “พาณิชย์” ชงเรื่องเข้า คชก.วันนี้ของบพิเศษตรวจสอบคุณภาพข้าวในสต็อกรัฐฯรวมทั้งเสนอโละทิ้งเซอร์เวย์เยอร์ขาประจำอคส.สุดแสบเรียกเงินใต้โต๊ะแลกลายเซ็นรับรองคุณภาพข้าวผ่านเกณฑ์ จับตา “กอร์ปศักดิ์”ไฟเขียวจำนำกุ้งเอาใจฐานเสียงส.ส.ใต้ สวนนโยบายรัฐบาล
วานนี้ (4 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
ภายหลังประชุม นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาปรับเพิ่มการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังฤดูกาลนี้ในราคาเดิมคือ 1.18 หมื่นบาทต่อตัน และขยายปริมาณรับจำนำจาก 4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านตัน รวมเป็น 6 ล้านตัน ระยะเวลารับจำนำยังเท่าเดิม คือ เริ่มรับจำนำตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. จนถึงวันที่ 31 ก.ค. ส่วนข้าวเปลือกนาปรังในพื้นที่ภาคใต้ จะขยายเวลารับจำนำจนถึง 30 ก.ย. 52 มีวงเงินจากธกส.จำนวน 2.36 หมื่นล้านบาท ส่วนการกระจายจะเป็นไปตามโควต้า จังหวัดละ 70% โดยดูจากปริมาณผลผลิตที่เหลืออยู่ใน 40 กว่าจังหวัด และจะจัดสรรอย่างเป็นธรรม
“การเพิ่มปริมาณครั้งนี้ถือว่าสูงสุดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่เราเคยรับจำนำข้าวนาปรังเป็นต้นมา ในภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ความเดือดร้อนของชาวนาเป็นความเดือดร้อนของรัฐบาล”นายอลงกรณ์กล่าว
รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ในที่ประชุมได้กำชับในเรื่องของการตรวจสอบ อย่าให้มีข้าวต่างด้าวเข้ามาสวมสิทธิ์ หรือการขายใบประทวนให้กับโรงสี ซึ่งเป็นการทุจริต
ด้านนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการขยายโควต้ารับจำนำราคาข้าวเปลือกนาปรัง พ.ศ. 2552 เพิ่มเติมจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก โดยมีการขยายปริมาณรับจำนำจาก 4 ล้านตันเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านตัน รวมเป็น 6 ล้านตัน โดยขยายระยะเวลาเพิ่มอีก 2 เดือนคือเริ่มรับจำนำตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคมจนถึงวันที่ 31 ก.ค.52
นอกจากนี้ การรับจำนำรอบใหม่ เกษตรกรที่เข้าโครงการรับจำนำมาก่อนหน้านี้จะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้ตรวจสอบอย่างเข้มข้น เช่น ดูใบประทวนของผู้ที่เข้ามารับจำนำว่าเคยเข้าโครงการหรือไม่ โดยเป็นการตรวจสอบย้อนกลับ
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาในส่วนของผู้ที่ถือใบประทวนเก่าที่เอาผลผลิตเข้า โครงการรับจำนำแต่ไม่ถึง 3.5 แสนตัน จากโควต้า 4 แสนตัน ตรงนี้ในที่ประชุมมีการพูดอย่างกว้างขวางว่าในส่วนของใบประทวนที่ออกไปแล้ว ก็ควรจะหมดที่ตรงนั้น เนื่องจากหากยังคงมาเข้ารับจำนำอีกก็จะไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ของการช่วย เหลือชาวนาที่ยังเหลืออยู่อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานเพิ่มเติมว่าจำนวนข้าว เปลือกที่ทุกจังหวัดรายงานมา ณ วันนี้ พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 8.2 ล้านตัน จากเดิมที่มีการรายงานว่ามีเพียง 7.6 ล้านตัน โดยรัฐจะกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)เพิ่มอีกจำนวน 2.36 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่กู้จำนวน 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งวันนี้ได้มีการคำนวนตัวเลขว่าจะดำเนินการรับจำนำในจำนวน 8.2ล้านตันข้าวเปลือก และจะไม่มีการรับจำนำของปี 2552 อีกแล้ว
นางพรทิวา กล่าวว่า ที่ประชุมได้สอบถามถึงเรื่องกรณีที่กระทรวงเกษตรฯ รายงานว่าเหตุใดจึงพบว่ามีจำนวนข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นกว่า 2 ล้านตัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์รับจะไปตรวจสอบและเข้มงวดในการรับจำนำหลังจากที่พบว่า จำนวนข้าวเปลือกเพิ่มขึ้น เนื่องจากหลายคนเห็นว่าเหตุใดจำนวนการับจำนำที่รัฐบาลกำหนดไว้ถึงหมดไปอย่าง รวดเร็วแม้จะยังไม่หมดระยะเวลาในการรับจำนำ ซึ่งจากการหารือในวันนี้ กรมการค้าภายในที่ทำการตรวจสอบอยู่แล้ว ที่ประชุมมีมติให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ลงไปตรวจสอบและเพิ่มมาตรการ อย่างเข้มข้นขึ้น นางพรทิวา กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ ยังไม่มีข้อมูลที่พบว่ามีการเวียนเทียน และในที่ประชุมองค์การคลังสินค้า (อคส.) ชี้แจงว่า หากพบว่ามีการเวียนเทียน ก็ขอให้ส่งข้อมูลและให้ดำเนินการตามกฎหมาย ดังนั้นจึงรายงานในที่ประชุมว่ายังไม่ได้รับรายงานว่ามีการเวียนเทียนแต่ก็ถือว่าเป็นข้อที่ต้องระวัง”นางพรทิวากล่าว
อ้างนายกฯรู้ประมูลข้าวเป็นอย่างไร
นางพรทิวา กล่าวปฏิเสธว่า วันนี้ไม่มีการหารือในเรื่องโครงการระบายข้าวสารเพื่อการส่งออกที่ค้างอยู่ในสต๊อกของรัฐบาลจำนวน 2.6 ล้านตัน เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ กำลังดำเนินการอยู่ว่าจะทำอย่างไร โดยส่งให้อัยการสูงสุดตีความว่ารัฐจะยกเลิกสัญญาการประมูลได้หรือไม่
“นายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้สอบถาม เพราะท่านก็นั่นอยู่แล้ว “นางพรทิวากล่าวพร้อมหัวเราะหึหึ และ กล่าวว่า เรื่องนี้นายกฯก็คุยอยู่แล้วว่าจะต้องเป็นอย่างไร” รมว.พาณิชย์ กล่าว
แหล่งข่าวจากที่ประชุมแจ้งว่า นายกฯ บอกว่า มติการเพิ่มการรับจำนำวันนี้ ถือเป็นการสิ้นสุดไม่ต้องนำเข้าวาระเพื่อพิจารณาแต่เป็นวาระเพื่อทราบในครม.เท่านั้น และย้ำว่าการรับจำนำปีนี้จะทำเป็นครั้งสุดท้าย
ม็อบป่วนกดดันรัฐบาล
ส่วนความเคลื่อนไหวของม็อบชาวนาตลอดวานนี้ (4 มิ.ย.) กลุ่มชาวนาที่ปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ อ.แม่สาย อ.แม่จัน และ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ประมาณ 500 คน ได้นำรถยนต์ รถอีแต๋นประมาณ 20 คัน มาปิดถนนพหลโยธิน 4 ช่องจราจร ซึ่งเป็นถนนสายหลักเชื่อมระหว่าง อ.เมือง ไปยังอำเภอชายแดนต่างๆ รวมทั้งเป็นเส้นทางเชื่อมกับ อ.แม่อาย และ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เพื่อตอบโต้กรณีที่รัฐบาลเลื่อนการพิจารณาเพื่อขยายการรับจำนำข้าวนาปรังจากเกษตรกรออกไปจาก 3 มิ.ย.52 โดยให้รอผลการประชุม กขช.
การเคลื่อนไหวของม็อบชาวนากระจายในหลายพื้นที่หลังจากที่โรงสีข้าวที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำทั้ง 10 แห่งใน จ.เชียงราย ได้งดรับข้าวจากเกษตรกรตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา และเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.กลุ่มชาวนาใน 3 อำเภอดังกล่าวก็เคยปิดถนนในบริเวณเดียวกันเพื่อกดดันพร้อมยื่นข้อเสนอผ่านจังหวัดไปยังรัฐบาลแล้ว ซึ่งการปิดถนนดังกล่าวส่งผลให้การจราจรติดขัดอย่างหนักนานกว่า 1 ชั่วโมง กลุ่มชาวนาซึ่งนำโดยนายบุญแต่ง ธรรมสาร แกนนำชาวนาพื้นที่ อ.แม่สาย ได้ผลัดกันปราศรัยโดยมีเนื้อหาโจมตีรัฐบาลว่า ได้หลอกลวงชาวบ้าน และเลื่อนเวลามาตลอด
นอกจากนี้ กลุ่มชาวนาในพื้นที่ อ.พาน ร่วมกับ อ.ป่าแดด ประมาณ 100 คนได้นำรถอีแต๋นพากันไปชุมนุมปิดถนนพหลโยธินสายเชียงราย-พะเยา บริเวณหมู่บ้านสันทราย หมู่ 1 ต.เจริญเมือง อ.พาน เช่นกัน โดยกลุ่มนี้มีนายอำพล เวียงสิมา นายกสมาคมชาวนา อ.พาน เป็นแกนนำ รวมทั้งมีที่ปรึกษาหลายคน เช่น นายจิรายุ เผ่ากา สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย นายธีรพงษ์ เผ่ากา อดีต ส.ส.หลายสมัย โดยมีเนื้อหาข้อเรียกร้องในการชุมนุมเหมือนกัน
จากนั้นกลุ่มนี้ได้ร่วมกับชาวนาใน อ.แม่สรวย พากันไปปิดสี่แยกแม่กรณ์ ถนนพหลโยธิน อ.เมือง ซึ่งเป็นถนนสายหลักที่จะออกจากตัวเมืองในช่วงเที่ยงวันเดียวกันนี้ด้วย ส่งผลให้การจราจรปั่นป่วนทั้งเมือง
สำหรับการเคลื่อนไหวของม็อบชาวนามีรายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 ก.ค. มีกลุ่มก๊วนการเมืองตั้งโต๊ะถกกับกลุ่มโรงสีวางแผนกันที่ฮ่องกงก่อนสั่งให้โรงสีในเครือข่ายทั่วประเทศงดรับจำนำข้าวทันที พร้อมจัดม็อบชาวนาออกมาเรียกร้องให้เพิ่มโควต้ารับจำนำ อีกทั้งเป็นเกมต่อรองการประมูลข้าวในสต็อกรัฐบาลที่ยังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้
ชงเลิกจ้างเซอร์เวย์เยอร์แสบ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวันนี้ (5 มิ.ย.) กระทรวงพาณิชย์ จะเสนอ คชก. ขออนุมัติค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบพิเศษโครงการรับจำนำข้าวในสต๊อกรัฐบาลให้กับองค์การคลังสินค้า (อคส.) รวมถึงเพิ่มงบแทรกแซงตลาดลิ้นจี่ที่ จ.เชียงใหม่ และจ.พะเยา
ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ จะหยิบยกเรื่องการจัดจ้างบริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าว (เซอร์เวย์) ว่าควรว่าจ้างใหม่หรือไม่ เพราะได้รับร้องเรียนมาว่า เซอร์เวย์ที่จ้างอยู่ผูกขาดการทำงานกับอคส. และยังเรียกรับเงินใต้โต๊ะจากโรงสีกระสอบละ 7 บาท เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพข้าวผ่านหลักเกณฑ์ที่กำหนด
เกณฑ์ระบายสินค้าอีก 15 วันเสร็จ
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า หลังได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์การระบายสินค้าเกษตรของรัฐบาลแล้ว ในวันนี้ (5 มิ.ย.) จะเรียกประชุมคณะ
กรรมการ เพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ให้เสร็จภายใน 15 วัน ก่อนเสนอรมว.พาณิชย์ ซึ่งอาจจะแยกเป็นแนวทางการระบายสินค้าเพื่อส่งออก เพื่อขายในประเทศ เพื่อขายแบบรัฐต่อรัฐ และเพื่อบริจาคโดยต้องเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม จะพยายามทำอย่างเต็มที่ เพราะเป็นเรื่องที่ถูกจับตามองมาก แต่จะพยายามทำให้สังคมเข้าใจ รวมถึงต้องการให้ทุกฝ่ายเห็นถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
เสนอ คชก. ไฟเขียวรับจำนำกุ้ง
นายอลงกรณ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่มีเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ภาคใต้ปิดถนนประท้วงว่า มีการหารือนอกรอบในที่ประชุม กขช. ซึ่งตน และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ รวมทั้งนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ได้หารือถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ประสบปัญหาราคากุ้มตกต่ำลงมาก
ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ในฐานะของฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร(คชก.) ที่จะประชุมกันวันที่ 5 มิ.ย. นี้ จะเสนอมาตรการการรับจำนำ 1 หมื่นตัน เหมือนมาตรการเมื่อปี 2551 ส่วนราคาจะดูแลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยจะใช้วงเงินประมาณ 1.3 – 1.4 พ้นล้านบาท
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ส่งหนังสือไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อแจ้งต่อผู้ชุมนุมว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอมาตรการเพื่อให้คชก.พิจารณารับจำนำกุ้งในวันที่ 5 มิ.ย.นี้แล้ว
วันนี้ (5มิ.ย.) เวลา 10.00 น. นายกอร์ปศักดิ์ จะเป็นประธานการประชุมคชก. ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
ด้านนายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ จะเสนอให้พิจารณาแนวทางการช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งด้วยการรับจำนำกุ้งขาวแวนาไม ปริมาณ 40,000 ตัน จากผลผลิตรวม 400,000 ตัน โดยราคารับจำนำดังนี้ กุ้งขนาด 50 ตัว/กก. ราคารับจำนำ 140 บาท/กก. ขนาด 60 ตัว/กก. ราคา 130 บาท/กก. ขนาด 70 ตัว/กก. ราคา 115 บาท/กก.เริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย.-ก.ย. เพื่อช่วยพยุงราคาไม่ให้ตกต่ำ เพราะขณะนี้ราคากุ้งขาวลดลงมาก
นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้หารือกับผู้ผลิตอาหารกุ้งในเขตภาคใต้ ให้ช่วยลดราคาอาหารกุ้งลง 2.5% จากราคาปกติ เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงของเกษตรกร โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทางภาคใต้ได้ โดยต้นทุนการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรปัจจุบันเฉลี่ยกก.ละ 108 บาท
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา คชก.ได้พิจารณาแนวทางการช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งแล้ว และมีมติให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน 300 ล้านบาทแก่กลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งกู้ยืม และให้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (คอนแทรกต์ ฟาร์มิ่ง) โดยให้เอกชนไปรับซื้อจากเกษตรกรโดยตรง แทนการอนุมัติให้เปิดโครงการรับจำนำ เพราะที่ประชุมเห็นว่า
การเปิดรับจำนำขัดกับนโยบายของนายกรัฐมนตรี และนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการยกเลิกระบบจำนำ อีกทั้งการเปิดรับจำนำในปริมาณน้อย ไม่น่าจะช่วยดึงราคาผลผลิตทั้งหมดให้สูงขึ้นได้
แต่นายกอร์ปศักดิ์ ซึ่งเป็นประธานคชก..ต้องการให้มีการรับจำนำ จึงแจ้งให้ที่ประชุมนำเรื่องนี้กลับมาพิจารณาในการประชุมวันที่ 5 มิ.ย.นี้ เพื่อหาทางออกอีกครั้ง เพราะเรื่องนี้ถูกกดดันจากกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ จึงเชื่อว่า การประชุมครั้งนี้ คชก.จะอนุมัติให้เปิดโครงการรับจำนำได้.
วานนี้ (4 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
ภายหลังประชุม นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาปรับเพิ่มการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังฤดูกาลนี้ในราคาเดิมคือ 1.18 หมื่นบาทต่อตัน และขยายปริมาณรับจำนำจาก 4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านตัน รวมเป็น 6 ล้านตัน ระยะเวลารับจำนำยังเท่าเดิม คือ เริ่มรับจำนำตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. จนถึงวันที่ 31 ก.ค. ส่วนข้าวเปลือกนาปรังในพื้นที่ภาคใต้ จะขยายเวลารับจำนำจนถึง 30 ก.ย. 52 มีวงเงินจากธกส.จำนวน 2.36 หมื่นล้านบาท ส่วนการกระจายจะเป็นไปตามโควต้า จังหวัดละ 70% โดยดูจากปริมาณผลผลิตที่เหลืออยู่ใน 40 กว่าจังหวัด และจะจัดสรรอย่างเป็นธรรม
“การเพิ่มปริมาณครั้งนี้ถือว่าสูงสุดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่เราเคยรับจำนำข้าวนาปรังเป็นต้นมา ในภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ความเดือดร้อนของชาวนาเป็นความเดือดร้อนของรัฐบาล”นายอลงกรณ์กล่าว
รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ในที่ประชุมได้กำชับในเรื่องของการตรวจสอบ อย่าให้มีข้าวต่างด้าวเข้ามาสวมสิทธิ์ หรือการขายใบประทวนให้กับโรงสี ซึ่งเป็นการทุจริต
ด้านนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการขยายโควต้ารับจำนำราคาข้าวเปลือกนาปรัง พ.ศ. 2552 เพิ่มเติมจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก โดยมีการขยายปริมาณรับจำนำจาก 4 ล้านตันเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านตัน รวมเป็น 6 ล้านตัน โดยขยายระยะเวลาเพิ่มอีก 2 เดือนคือเริ่มรับจำนำตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคมจนถึงวันที่ 31 ก.ค.52
นอกจากนี้ การรับจำนำรอบใหม่ เกษตรกรที่เข้าโครงการรับจำนำมาก่อนหน้านี้จะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้ตรวจสอบอย่างเข้มข้น เช่น ดูใบประทวนของผู้ที่เข้ามารับจำนำว่าเคยเข้าโครงการหรือไม่ โดยเป็นการตรวจสอบย้อนกลับ
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาในส่วนของผู้ที่ถือใบประทวนเก่าที่เอาผลผลิตเข้า โครงการรับจำนำแต่ไม่ถึง 3.5 แสนตัน จากโควต้า 4 แสนตัน ตรงนี้ในที่ประชุมมีการพูดอย่างกว้างขวางว่าในส่วนของใบประทวนที่ออกไปแล้ว ก็ควรจะหมดที่ตรงนั้น เนื่องจากหากยังคงมาเข้ารับจำนำอีกก็จะไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ของการช่วย เหลือชาวนาที่ยังเหลืออยู่อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานเพิ่มเติมว่าจำนวนข้าว เปลือกที่ทุกจังหวัดรายงานมา ณ วันนี้ พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 8.2 ล้านตัน จากเดิมที่มีการรายงานว่ามีเพียง 7.6 ล้านตัน โดยรัฐจะกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)เพิ่มอีกจำนวน 2.36 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่กู้จำนวน 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งวันนี้ได้มีการคำนวนตัวเลขว่าจะดำเนินการรับจำนำในจำนวน 8.2ล้านตันข้าวเปลือก และจะไม่มีการรับจำนำของปี 2552 อีกแล้ว
นางพรทิวา กล่าวว่า ที่ประชุมได้สอบถามถึงเรื่องกรณีที่กระทรวงเกษตรฯ รายงานว่าเหตุใดจึงพบว่ามีจำนวนข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นกว่า 2 ล้านตัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์รับจะไปตรวจสอบและเข้มงวดในการรับจำนำหลังจากที่พบว่า จำนวนข้าวเปลือกเพิ่มขึ้น เนื่องจากหลายคนเห็นว่าเหตุใดจำนวนการับจำนำที่รัฐบาลกำหนดไว้ถึงหมดไปอย่าง รวดเร็วแม้จะยังไม่หมดระยะเวลาในการรับจำนำ ซึ่งจากการหารือในวันนี้ กรมการค้าภายในที่ทำการตรวจสอบอยู่แล้ว ที่ประชุมมีมติให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ลงไปตรวจสอบและเพิ่มมาตรการ อย่างเข้มข้นขึ้น นางพรทิวา กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ ยังไม่มีข้อมูลที่พบว่ามีการเวียนเทียน และในที่ประชุมองค์การคลังสินค้า (อคส.) ชี้แจงว่า หากพบว่ามีการเวียนเทียน ก็ขอให้ส่งข้อมูลและให้ดำเนินการตามกฎหมาย ดังนั้นจึงรายงานในที่ประชุมว่ายังไม่ได้รับรายงานว่ามีการเวียนเทียนแต่ก็ถือว่าเป็นข้อที่ต้องระวัง”นางพรทิวากล่าว
อ้างนายกฯรู้ประมูลข้าวเป็นอย่างไร
นางพรทิวา กล่าวปฏิเสธว่า วันนี้ไม่มีการหารือในเรื่องโครงการระบายข้าวสารเพื่อการส่งออกที่ค้างอยู่ในสต๊อกของรัฐบาลจำนวน 2.6 ล้านตัน เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ กำลังดำเนินการอยู่ว่าจะทำอย่างไร โดยส่งให้อัยการสูงสุดตีความว่ารัฐจะยกเลิกสัญญาการประมูลได้หรือไม่
“นายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้สอบถาม เพราะท่านก็นั่นอยู่แล้ว “นางพรทิวากล่าวพร้อมหัวเราะหึหึ และ กล่าวว่า เรื่องนี้นายกฯก็คุยอยู่แล้วว่าจะต้องเป็นอย่างไร” รมว.พาณิชย์ กล่าว
แหล่งข่าวจากที่ประชุมแจ้งว่า นายกฯ บอกว่า มติการเพิ่มการรับจำนำวันนี้ ถือเป็นการสิ้นสุดไม่ต้องนำเข้าวาระเพื่อพิจารณาแต่เป็นวาระเพื่อทราบในครม.เท่านั้น และย้ำว่าการรับจำนำปีนี้จะทำเป็นครั้งสุดท้าย
ม็อบป่วนกดดันรัฐบาล
ส่วนความเคลื่อนไหวของม็อบชาวนาตลอดวานนี้ (4 มิ.ย.) กลุ่มชาวนาที่ปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ อ.แม่สาย อ.แม่จัน และ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ประมาณ 500 คน ได้นำรถยนต์ รถอีแต๋นประมาณ 20 คัน มาปิดถนนพหลโยธิน 4 ช่องจราจร ซึ่งเป็นถนนสายหลักเชื่อมระหว่าง อ.เมือง ไปยังอำเภอชายแดนต่างๆ รวมทั้งเป็นเส้นทางเชื่อมกับ อ.แม่อาย และ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เพื่อตอบโต้กรณีที่รัฐบาลเลื่อนการพิจารณาเพื่อขยายการรับจำนำข้าวนาปรังจากเกษตรกรออกไปจาก 3 มิ.ย.52 โดยให้รอผลการประชุม กขช.
การเคลื่อนไหวของม็อบชาวนากระจายในหลายพื้นที่หลังจากที่โรงสีข้าวที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำทั้ง 10 แห่งใน จ.เชียงราย ได้งดรับข้าวจากเกษตรกรตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา และเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.กลุ่มชาวนาใน 3 อำเภอดังกล่าวก็เคยปิดถนนในบริเวณเดียวกันเพื่อกดดันพร้อมยื่นข้อเสนอผ่านจังหวัดไปยังรัฐบาลแล้ว ซึ่งการปิดถนนดังกล่าวส่งผลให้การจราจรติดขัดอย่างหนักนานกว่า 1 ชั่วโมง กลุ่มชาวนาซึ่งนำโดยนายบุญแต่ง ธรรมสาร แกนนำชาวนาพื้นที่ อ.แม่สาย ได้ผลัดกันปราศรัยโดยมีเนื้อหาโจมตีรัฐบาลว่า ได้หลอกลวงชาวบ้าน และเลื่อนเวลามาตลอด
นอกจากนี้ กลุ่มชาวนาในพื้นที่ อ.พาน ร่วมกับ อ.ป่าแดด ประมาณ 100 คนได้นำรถอีแต๋นพากันไปชุมนุมปิดถนนพหลโยธินสายเชียงราย-พะเยา บริเวณหมู่บ้านสันทราย หมู่ 1 ต.เจริญเมือง อ.พาน เช่นกัน โดยกลุ่มนี้มีนายอำพล เวียงสิมา นายกสมาคมชาวนา อ.พาน เป็นแกนนำ รวมทั้งมีที่ปรึกษาหลายคน เช่น นายจิรายุ เผ่ากา สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย นายธีรพงษ์ เผ่ากา อดีต ส.ส.หลายสมัย โดยมีเนื้อหาข้อเรียกร้องในการชุมนุมเหมือนกัน
จากนั้นกลุ่มนี้ได้ร่วมกับชาวนาใน อ.แม่สรวย พากันไปปิดสี่แยกแม่กรณ์ ถนนพหลโยธิน อ.เมือง ซึ่งเป็นถนนสายหลักที่จะออกจากตัวเมืองในช่วงเที่ยงวันเดียวกันนี้ด้วย ส่งผลให้การจราจรปั่นป่วนทั้งเมือง
สำหรับการเคลื่อนไหวของม็อบชาวนามีรายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 ก.ค. มีกลุ่มก๊วนการเมืองตั้งโต๊ะถกกับกลุ่มโรงสีวางแผนกันที่ฮ่องกงก่อนสั่งให้โรงสีในเครือข่ายทั่วประเทศงดรับจำนำข้าวทันที พร้อมจัดม็อบชาวนาออกมาเรียกร้องให้เพิ่มโควต้ารับจำนำ อีกทั้งเป็นเกมต่อรองการประมูลข้าวในสต็อกรัฐบาลที่ยังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้
ชงเลิกจ้างเซอร์เวย์เยอร์แสบ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวันนี้ (5 มิ.ย.) กระทรวงพาณิชย์ จะเสนอ คชก. ขออนุมัติค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบพิเศษโครงการรับจำนำข้าวในสต๊อกรัฐบาลให้กับองค์การคลังสินค้า (อคส.) รวมถึงเพิ่มงบแทรกแซงตลาดลิ้นจี่ที่ จ.เชียงใหม่ และจ.พะเยา
ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ จะหยิบยกเรื่องการจัดจ้างบริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าว (เซอร์เวย์) ว่าควรว่าจ้างใหม่หรือไม่ เพราะได้รับร้องเรียนมาว่า เซอร์เวย์ที่จ้างอยู่ผูกขาดการทำงานกับอคส. และยังเรียกรับเงินใต้โต๊ะจากโรงสีกระสอบละ 7 บาท เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพข้าวผ่านหลักเกณฑ์ที่กำหนด
เกณฑ์ระบายสินค้าอีก 15 วันเสร็จ
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า หลังได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์การระบายสินค้าเกษตรของรัฐบาลแล้ว ในวันนี้ (5 มิ.ย.) จะเรียกประชุมคณะ
กรรมการ เพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ให้เสร็จภายใน 15 วัน ก่อนเสนอรมว.พาณิชย์ ซึ่งอาจจะแยกเป็นแนวทางการระบายสินค้าเพื่อส่งออก เพื่อขายในประเทศ เพื่อขายแบบรัฐต่อรัฐ และเพื่อบริจาคโดยต้องเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม จะพยายามทำอย่างเต็มที่ เพราะเป็นเรื่องที่ถูกจับตามองมาก แต่จะพยายามทำให้สังคมเข้าใจ รวมถึงต้องการให้ทุกฝ่ายเห็นถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
เสนอ คชก. ไฟเขียวรับจำนำกุ้ง
นายอลงกรณ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่มีเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ภาคใต้ปิดถนนประท้วงว่า มีการหารือนอกรอบในที่ประชุม กขช. ซึ่งตน และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ รวมทั้งนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ได้หารือถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ประสบปัญหาราคากุ้มตกต่ำลงมาก
ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ในฐานะของฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร(คชก.) ที่จะประชุมกันวันที่ 5 มิ.ย. นี้ จะเสนอมาตรการการรับจำนำ 1 หมื่นตัน เหมือนมาตรการเมื่อปี 2551 ส่วนราคาจะดูแลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยจะใช้วงเงินประมาณ 1.3 – 1.4 พ้นล้านบาท
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ส่งหนังสือไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อแจ้งต่อผู้ชุมนุมว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอมาตรการเพื่อให้คชก.พิจารณารับจำนำกุ้งในวันที่ 5 มิ.ย.นี้แล้ว
วันนี้ (5มิ.ย.) เวลา 10.00 น. นายกอร์ปศักดิ์ จะเป็นประธานการประชุมคชก. ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
ด้านนายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ จะเสนอให้พิจารณาแนวทางการช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งด้วยการรับจำนำกุ้งขาวแวนาไม ปริมาณ 40,000 ตัน จากผลผลิตรวม 400,000 ตัน โดยราคารับจำนำดังนี้ กุ้งขนาด 50 ตัว/กก. ราคารับจำนำ 140 บาท/กก. ขนาด 60 ตัว/กก. ราคา 130 บาท/กก. ขนาด 70 ตัว/กก. ราคา 115 บาท/กก.เริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย.-ก.ย. เพื่อช่วยพยุงราคาไม่ให้ตกต่ำ เพราะขณะนี้ราคากุ้งขาวลดลงมาก
นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้หารือกับผู้ผลิตอาหารกุ้งในเขตภาคใต้ ให้ช่วยลดราคาอาหารกุ้งลง 2.5% จากราคาปกติ เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงของเกษตรกร โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทางภาคใต้ได้ โดยต้นทุนการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรปัจจุบันเฉลี่ยกก.ละ 108 บาท
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา คชก.ได้พิจารณาแนวทางการช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งแล้ว และมีมติให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน 300 ล้านบาทแก่กลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งกู้ยืม และให้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (คอนแทรกต์ ฟาร์มิ่ง) โดยให้เอกชนไปรับซื้อจากเกษตรกรโดยตรง แทนการอนุมัติให้เปิดโครงการรับจำนำ เพราะที่ประชุมเห็นว่า
การเปิดรับจำนำขัดกับนโยบายของนายกรัฐมนตรี และนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการยกเลิกระบบจำนำ อีกทั้งการเปิดรับจำนำในปริมาณน้อย ไม่น่าจะช่วยดึงราคาผลผลิตทั้งหมดให้สูงขึ้นได้
แต่นายกอร์ปศักดิ์ ซึ่งเป็นประธานคชก..ต้องการให้มีการรับจำนำ จึงแจ้งให้ที่ประชุมนำเรื่องนี้กลับมาพิจารณาในการประชุมวันที่ 5 มิ.ย.นี้ เพื่อหาทางออกอีกครั้ง เพราะเรื่องนี้ถูกกดดันจากกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ จึงเชื่อว่า การประชุมครั้งนี้ คชก.จะอนุมัติให้เปิดโครงการรับจำนำได้.