ASTVผู้จัดการรายวัน- “ส.อ.ท.”แนะรัฐบาลควรดึงทุกฝ่ายเข้าร่วมทำกรอบพัฒนาการลงทุนอุตสาหกรรมของประเทศใหม่ชี้เป็นเรื่องใหญ่ของชาติหากเป็นไปได้ควรผ่านสภาฯเพื่อไม่ให้เปลี่ยนแปลงตามการเมืองหวั่นนักลงทุนสับสน ชี้ลงทุนเก่ายังต้องดูแล เตือนส่งออกรับมือบาทแข็งต่อเนื่อง
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า กรณีที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ศึกษาแผนพัฒนาภาคอุตสาหกรรมใหม่ให้เสร็จภายในสิ้นปีโดยเน้นมูลค่าเพิ่ม ยึดความเหมาะสมของที่ตั้งสิ่งแวดล้อมและผลกระทบชุมชนภาคเอกชนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ควรจะดำเนินการแต่ภาคการผลิตของไทยปัจจุบันมีความหลากหลายจำเป็นที่จะต้องหารือทุกฝ่ายและหากเป็นไปได้แผนพัฒนาควรเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเป็นนโยบายระยะยาว 5-10 ปี
“เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่แต่เห็นด้วยที่ควรจะทำไทยจะต้องเลือกหาความแข็งแกร่งของภาคการผลิตเราว่าจะไปทางไหนเพราะอีกหน่อยอาเซียนจะต้องรวมเป็นหนึ่งไม่ควรจะแข่งขันกันเองแต่แผนนี้ต้องเป็นแผนที่ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนก็จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงตามการเมือง ซึ่งการพูดลอยๆ กันจะยิ่งสร้างความสับสนให้กับนักลงทุนมากขึ้นน่าจะหารือกันในภาพรวมมากกว่า”นายสันติกล่าว
ทั้งนี้นโยบายรัฐบาลควรจะต้องชัดเจนถึงทิศทางภาคอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีเม็ดเงินลงทุนนับแสนล้านบาทว่าไทยจะเดินไปทางไหนแน่จะหยุดแค่นี้หรือไม่ รวมถึงอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ อุตสาหกรรมพลังงาน เพราะอุตสาหกรรมเหล่านี้ถือเป็นอุตสาหกรรมหลักที่เป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมภาพรวมหากไม่ชัดเจนก็จะส่งผลต่อการลงทุนของไทยได้
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า การปรับโครงสร้างภาคการผลิตของไทยนั้นไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงกันได้ภายใน 1-2 วันนี้เพราะมีการลงทุนที่หลากหลายไปแล้วจำนวนมากหากไทยจะเดินหน้าไปยังอุตสาหกรรมการบริการ หรือแม้กระทั่งโครงการของรัฐบาลคือ เมืองไทย เมืองนักคิด (ครีเอทีฟ ไทยแลนด์) ล้วนอาศัยเวลาและไม่ง่ายนักเพราะไทยยังไม่พร้อมทั้งแรงงานและธุรกิจสนับสนุนโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ไทยไม่แข็งแรงพอ
“ ระยะยาวแล้วก็เห็นด้วยที่ไทยจะต้องวางกรอบการพัฒนาให้มีความเข้มแข็งในความได้เปรียบของคนไทยแต่เราจะต้องไม่ทิ้งสิ่งที่มีอยู่จะต้องทำควบคู่กันไปเพราะการลงทุนที่มีอยู่ปัจจุบันคือกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในวันนี้สิ่งที่เห็นว่าควรจะเริ่มต้นเลยคือการที่รัฐและทุกหน่วยงานต้องเน้นด้านการวิจัยและพัฒนา”นายธนิตกล่าว
รับมือบาทแข็งค่าสิ้นปีเกิน10%
สำหรับเศรษฐกิจไทยปัจจุบันการส่งออกยังถือเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจซึ่งภาวะค่าเงินบาทที่เริ่มแข็งค่ามาอยู่ระดับ33.6 บาทต่อเหรียญสหรัฐนั้นซึ่งหากพิจารณานับตั้งแต่ต้นปีมาค่าเงินบาทเคลื่อนไหวที่ระดับ 35.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐถือว่ามีการแข็งค่าขึ้นแล้วถึง 7% หากพิจารณาแนวโน้มแล้วมีโอกาสที่จะแข็งค่าได้อีกเนื่องจากเดือนส.ค.พบว่าไทยมีการนำเข้าติดลบ 34% ประกอบกับการลงทุนใหม่ๆ ยังไม่มีเข้ามามากเพราะยังขาดความเชื่อมั่นภาพรวมสิ้นปีจึงมีแนวโน้มค่าเงินบาทไทยน่าจะแข็งค่าโดยรวมมากกว่า 10%
“เราไม่ได้ต้องการให้บาทอยู่ที่เท่าใดแต่สำคัญคือควรจะสอดคล้องกับภูมิภาคเป็นสำคัญหากแข็งค่ากว่าท้ายสุดผู้ส่งออกก็ไปกดราคาสินค้าเกษตร ไปกดค่าแรง เพื่อลดต้นทุนแบบนี้หนีไม่พ้นเพราะผู้ส่งออกเองก็ถูกต่อรองราคาเช่นกันก็จะวนอยู่แบบนี้”นายธนิตกล่าว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า กรณีที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ศึกษาแผนพัฒนาภาคอุตสาหกรรมใหม่ให้เสร็จภายในสิ้นปีโดยเน้นมูลค่าเพิ่ม ยึดความเหมาะสมของที่ตั้งสิ่งแวดล้อมและผลกระทบชุมชนภาคเอกชนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ควรจะดำเนินการแต่ภาคการผลิตของไทยปัจจุบันมีความหลากหลายจำเป็นที่จะต้องหารือทุกฝ่ายและหากเป็นไปได้แผนพัฒนาควรเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเป็นนโยบายระยะยาว 5-10 ปี
“เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่แต่เห็นด้วยที่ควรจะทำไทยจะต้องเลือกหาความแข็งแกร่งของภาคการผลิตเราว่าจะไปทางไหนเพราะอีกหน่อยอาเซียนจะต้องรวมเป็นหนึ่งไม่ควรจะแข่งขันกันเองแต่แผนนี้ต้องเป็นแผนที่ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนก็จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงตามการเมือง ซึ่งการพูดลอยๆ กันจะยิ่งสร้างความสับสนให้กับนักลงทุนมากขึ้นน่าจะหารือกันในภาพรวมมากกว่า”นายสันติกล่าว
ทั้งนี้นโยบายรัฐบาลควรจะต้องชัดเจนถึงทิศทางภาคอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีเม็ดเงินลงทุนนับแสนล้านบาทว่าไทยจะเดินไปทางไหนแน่จะหยุดแค่นี้หรือไม่ รวมถึงอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ อุตสาหกรรมพลังงาน เพราะอุตสาหกรรมเหล่านี้ถือเป็นอุตสาหกรรมหลักที่เป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมภาพรวมหากไม่ชัดเจนก็จะส่งผลต่อการลงทุนของไทยได้
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า การปรับโครงสร้างภาคการผลิตของไทยนั้นไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงกันได้ภายใน 1-2 วันนี้เพราะมีการลงทุนที่หลากหลายไปแล้วจำนวนมากหากไทยจะเดินหน้าไปยังอุตสาหกรรมการบริการ หรือแม้กระทั่งโครงการของรัฐบาลคือ เมืองไทย เมืองนักคิด (ครีเอทีฟ ไทยแลนด์) ล้วนอาศัยเวลาและไม่ง่ายนักเพราะไทยยังไม่พร้อมทั้งแรงงานและธุรกิจสนับสนุนโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ไทยไม่แข็งแรงพอ
“ ระยะยาวแล้วก็เห็นด้วยที่ไทยจะต้องวางกรอบการพัฒนาให้มีความเข้มแข็งในความได้เปรียบของคนไทยแต่เราจะต้องไม่ทิ้งสิ่งที่มีอยู่จะต้องทำควบคู่กันไปเพราะการลงทุนที่มีอยู่ปัจจุบันคือกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในวันนี้สิ่งที่เห็นว่าควรจะเริ่มต้นเลยคือการที่รัฐและทุกหน่วยงานต้องเน้นด้านการวิจัยและพัฒนา”นายธนิตกล่าว
รับมือบาทแข็งค่าสิ้นปีเกิน10%
สำหรับเศรษฐกิจไทยปัจจุบันการส่งออกยังถือเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจซึ่งภาวะค่าเงินบาทที่เริ่มแข็งค่ามาอยู่ระดับ33.6 บาทต่อเหรียญสหรัฐนั้นซึ่งหากพิจารณานับตั้งแต่ต้นปีมาค่าเงินบาทเคลื่อนไหวที่ระดับ 35.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐถือว่ามีการแข็งค่าขึ้นแล้วถึง 7% หากพิจารณาแนวโน้มแล้วมีโอกาสที่จะแข็งค่าได้อีกเนื่องจากเดือนส.ค.พบว่าไทยมีการนำเข้าติดลบ 34% ประกอบกับการลงทุนใหม่ๆ ยังไม่มีเข้ามามากเพราะยังขาดความเชื่อมั่นภาพรวมสิ้นปีจึงมีแนวโน้มค่าเงินบาทไทยน่าจะแข็งค่าโดยรวมมากกว่า 10%
“เราไม่ได้ต้องการให้บาทอยู่ที่เท่าใดแต่สำคัญคือควรจะสอดคล้องกับภูมิภาคเป็นสำคัญหากแข็งค่ากว่าท้ายสุดผู้ส่งออกก็ไปกดราคาสินค้าเกษตร ไปกดค่าแรง เพื่อลดต้นทุนแบบนี้หนีไม่พ้นเพราะผู้ส่งออกเองก็ถูกต่อรองราคาเช่นกันก็จะวนอยู่แบบนี้”นายธนิตกล่าว