ASTVผู้จัดการรายวัน- ภาคเอกชน 3 สถาบันถกวันนี้(13ก.ค.)ถกสรุปมาตรการเสนอที่ประชุมกรอ.ที่มีนายกฯเป็นประธานวันที่ 15 ก.ค.เตรียมเสนอมาตรการลดต้นทุนภาคธุรกิจช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวโดยเฉพาะมาตรการด้านภาษี ทั้งลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีโรงเรือน ฯลฯ พร้อมถกปัญหามาบตาพุดหวั่นลงทุนหยุดชะงักกระทบเศรษฐกิจบานปลาย
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) วันที่ 13 ก.ค.จะมีการหารือเกี่ยวกับมาตรการด้านภาษีที่จะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 15 ก.ค.นี้โดยมาตรการที่จะเสนอจะเน้นไปที่การช่วยให้เอกชนลดต้นทุนช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวโดยเฉพาะการขอลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือ 28% ในปี 2552 และเหลือ 25% ในปี 2553
นอกจากนี้ยังจะหารือถึงผลกระทบต่อกรณีที่มีกลุ่มคนยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดกรณีให้ระงับการดำเนินโครงการ 30 กว่าแห่งในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเพราะขัดต่อมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 เนื่องจากเกรงว่าหากถึงขั้นต้องปิดกิจการจะกระทบต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานได้ซึ่งล่าสุดทางส.อ.ท.ได้ทำหนังสือไปถึงนายกรัฐมนตรีแล้วเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า มาตรการทางด้านภาษีที่กกร.จะหารือนอกเหนือจากการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วยังจะหารือเพื่อขอลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับกำไรจากการขายสินทรัพย์ที่เป็นทุนให้เหลือ 10%,ขอยกเว้นภาษีการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยังไม่ถูกฟ้องล้มละลาย ,ลดภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับรายได้ประเภทเงินปันผลและดอกเบี้ย
พร้อมกันนี้จะมีการพิจารณาขอให้รัฐเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการภาคธุรกิจโรงแรม เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว และขอลดหย่อนอัตราภาษีโรงเรือนและที่ดินจากเดิมที่เรียกเก็บอยู่ที่อัตรา 12% ให้เหลือ 7% เพื่อช่วยลดภาระผู้ประกอบการในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า จะมีการหารือเรื่องผลกระทบจากปัญหาการประกาศเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต่อที่ประชุม กกร.ด้วย โดยภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐตั้งหน่วยงานที่จะให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวเรื่องนี้แก่นักลงทุนให้ไปในทิศทางเดียวกัน เพราะขณะนี้มีคดีฟ้องร้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ในหลายหน่วยงาน
จนทำให้มีการชะลอลงทุน 50 โครงการ มูลค่า 4 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการปิโตรเคมีและเหล็กที่อยู่ในนิคมฯมาบตาพุด
“เรื่องนี้กระทบต่อความเชื่อมั่นต่อการลงทุนและการทำธุรกิจของเอกชน จึงอยากให้ภาครัฐมีการแก้ปัญหาไปทางเดียวกันเพราะหากมีการชะลอลงทุนเกิดขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อภาคการลงทุน โดยจะมีการนำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุม กรอ.ในวันที่ 15 ก.ค.อีกครั้ง”นายพยุงศักดิ์ กล่าว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) วันที่ 13 ก.ค.จะมีการหารือเกี่ยวกับมาตรการด้านภาษีที่จะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 15 ก.ค.นี้โดยมาตรการที่จะเสนอจะเน้นไปที่การช่วยให้เอกชนลดต้นทุนช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวโดยเฉพาะการขอลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือ 28% ในปี 2552 และเหลือ 25% ในปี 2553
นอกจากนี้ยังจะหารือถึงผลกระทบต่อกรณีที่มีกลุ่มคนยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดกรณีให้ระงับการดำเนินโครงการ 30 กว่าแห่งในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเพราะขัดต่อมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 เนื่องจากเกรงว่าหากถึงขั้นต้องปิดกิจการจะกระทบต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานได้ซึ่งล่าสุดทางส.อ.ท.ได้ทำหนังสือไปถึงนายกรัฐมนตรีแล้วเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า มาตรการทางด้านภาษีที่กกร.จะหารือนอกเหนือจากการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วยังจะหารือเพื่อขอลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับกำไรจากการขายสินทรัพย์ที่เป็นทุนให้เหลือ 10%,ขอยกเว้นภาษีการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยังไม่ถูกฟ้องล้มละลาย ,ลดภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับรายได้ประเภทเงินปันผลและดอกเบี้ย
พร้อมกันนี้จะมีการพิจารณาขอให้รัฐเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการภาคธุรกิจโรงแรม เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว และขอลดหย่อนอัตราภาษีโรงเรือนและที่ดินจากเดิมที่เรียกเก็บอยู่ที่อัตรา 12% ให้เหลือ 7% เพื่อช่วยลดภาระผู้ประกอบการในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า จะมีการหารือเรื่องผลกระทบจากปัญหาการประกาศเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต่อที่ประชุม กกร.ด้วย โดยภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐตั้งหน่วยงานที่จะให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวเรื่องนี้แก่นักลงทุนให้ไปในทิศทางเดียวกัน เพราะขณะนี้มีคดีฟ้องร้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ในหลายหน่วยงาน
จนทำให้มีการชะลอลงทุน 50 โครงการ มูลค่า 4 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการปิโตรเคมีและเหล็กที่อยู่ในนิคมฯมาบตาพุด
“เรื่องนี้กระทบต่อความเชื่อมั่นต่อการลงทุนและการทำธุรกิจของเอกชน จึงอยากให้ภาครัฐมีการแก้ปัญหาไปทางเดียวกันเพราะหากมีการชะลอลงทุนเกิดขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อภาคการลงทุน โดยจะมีการนำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุม กรอ.ในวันที่ 15 ก.ค.อีกครั้ง”นายพยุงศักดิ์ กล่าว