ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติส่งสัญญาณไม่แตะดอกเบี้ย คาดไตรมาส 4 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.3% ถือว่าต่ำกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.5-3.0% ที่ใช้กำหนดการดำเนินนโยบายการเงิน
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ประเมินว่าไตรมาส 3 ปีนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.5% ส่วนไตรมาส 4 อยูที่ 0.3% ทำให้ค่าเฉลี่ยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทั้งปีอยู่ที่ระดับ 1.4% แม้ในช่วงไตรมาส 4 จะต่ำกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการเงิน แต่ก็เกิดจากปีก่อนฐานสูงจากราคาน้ำมันเร่งตัวสูง ภาวะเศรษฐกิจปีนี้ชะลอตัว ทำให้ความต้องการในประเทศ รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยต่างๆ น้อยลงไป
สำหรับปี 53 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ระดับ 1.75% ถือเป็นค่ากลางของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานใหม่เป็น 0.5-3.0% ซึ่งใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินประจำปี 52
"แม้ที่ผ่านมาธปท.ได้ดำเนินมาตรการการเงินไปมากแล้วด้วยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.5% นับตั้งแต่ปลายปี 51 ที่ผ่านมา ถือเป็นการปรับลดอย่างรวดเร็วและต่ำพอสมควร แต่สามารถประคองอัตราเงินเฟ้อจากที่ต่ำกลับขึ้นมาบ้าง แต่ไม่เพิ่มมากนัก ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับอัตราเงินเฟ้อใหม่" นายไพบูลย์กล่าวและย้ำว่า ธปท.ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียงพอแล้ว
การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) นั้นไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงกันบ่อยนัก เพราะอาจสร้างความสับสนได้และมีผลต่อการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอนาคตด้วย ส่วนเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อประจำปี 52 ที่ล่าช้าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ทำให้กระบวนการต่างๆ ล่าช้าไปด้วย ซึ่งก็ต้องยอมรับสถานการณ์นี้ อย่างไรก็ตาม ธปท.จะต้องดูแลเสถียรภาพราคา ซึ่งต้องดูระยะปานกลางและระยะยาว เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้แบบยั่งยืน
“เสถียรภาพราคาเป็นเงื่อนไขจำเป็นของการเจริญเติบโตเศรษฐกิจแบบยั่งยืน แม้ระยะสั้นจะเห็นผลเหมือนกับการฉีดยาโด๊ปเข้าไป แต่ในระยะยาวเมื่อยาหมดไปเศรษฐกิจอาจฟุบได้ ทำให้เงินเฟ้อเพิ่ม เราไม่อยากเห็นประเทศไทยเป็นเช่นนี้ จึงใช้กรอบเงินเฟ้อแบบนี้ เพื่อเป็นสมอเรือ ทำให้เรือนิ่งและมีความมั่นคง ทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้ทั้งการค้าการลงทุนต่างๆ” ผู้ช่วยฯ ธปท.กล่าว.
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ประเมินว่าไตรมาส 3 ปีนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.5% ส่วนไตรมาส 4 อยูที่ 0.3% ทำให้ค่าเฉลี่ยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทั้งปีอยู่ที่ระดับ 1.4% แม้ในช่วงไตรมาส 4 จะต่ำกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการเงิน แต่ก็เกิดจากปีก่อนฐานสูงจากราคาน้ำมันเร่งตัวสูง ภาวะเศรษฐกิจปีนี้ชะลอตัว ทำให้ความต้องการในประเทศ รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยต่างๆ น้อยลงไป
สำหรับปี 53 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ระดับ 1.75% ถือเป็นค่ากลางของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานใหม่เป็น 0.5-3.0% ซึ่งใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินประจำปี 52
"แม้ที่ผ่านมาธปท.ได้ดำเนินมาตรการการเงินไปมากแล้วด้วยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.5% นับตั้งแต่ปลายปี 51 ที่ผ่านมา ถือเป็นการปรับลดอย่างรวดเร็วและต่ำพอสมควร แต่สามารถประคองอัตราเงินเฟ้อจากที่ต่ำกลับขึ้นมาบ้าง แต่ไม่เพิ่มมากนัก ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับอัตราเงินเฟ้อใหม่" นายไพบูลย์กล่าวและย้ำว่า ธปท.ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียงพอแล้ว
การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) นั้นไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงกันบ่อยนัก เพราะอาจสร้างความสับสนได้และมีผลต่อการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอนาคตด้วย ส่วนเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อประจำปี 52 ที่ล่าช้าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ทำให้กระบวนการต่างๆ ล่าช้าไปด้วย ซึ่งก็ต้องยอมรับสถานการณ์นี้ อย่างไรก็ตาม ธปท.จะต้องดูแลเสถียรภาพราคา ซึ่งต้องดูระยะปานกลางและระยะยาว เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้แบบยั่งยืน
“เสถียรภาพราคาเป็นเงื่อนไขจำเป็นของการเจริญเติบโตเศรษฐกิจแบบยั่งยืน แม้ระยะสั้นจะเห็นผลเหมือนกับการฉีดยาโด๊ปเข้าไป แต่ในระยะยาวเมื่อยาหมดไปเศรษฐกิจอาจฟุบได้ ทำให้เงินเฟ้อเพิ่ม เราไม่อยากเห็นประเทศไทยเป็นเช่นนี้ จึงใช้กรอบเงินเฟ้อแบบนี้ เพื่อเป็นสมอเรือ ทำให้เรือนิ่งและมีความมั่นคง ทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้ทั้งการค้าการลงทุนต่างๆ” ผู้ช่วยฯ ธปท.กล่าว.