ผมได้อ่านบทความของ Jeffrey A. Frankel เรื่อง “What’s In and Out in Global Money” ที่กล่าวถึงประเด็นสำคัญๆทางเศรษฐกิจบางประเด็นที่ในบางช่วงอาจจะมีบทบาทสำคัญมาก นักเศรษฐศาสตร์และผู้กำหนดนโยบายขานรับกันมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปดูเหมือนว่าจะลดบทบาทลง สำหรับบางประเด็นที่เมื่อก่อนดูเหมือนไม่ค่อยมีความสำคัญนักแต่กลับมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจในปัจจุบันและระยะต่อไป ซึ่งประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวและน่าสนใจผมจึงนำมาสรุปสั้นๆให้ท่านผู้อ่านได้ทราบและติดตามกันต่อไป
ประเด็นแรก คือ เรื่องเกี่ยวกับบทบาทของกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ G7 (แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา) และบทบาทของกลุ่มประเทศ G20 (G7 และ อาเจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล จีน อินเดีย อินโดนิเซีย เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย สหภาพยุโรป แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี) บทบาทของ กลุ่ม G7 แม้มีการเพิ่มรัสเซียเข้ามาเป็นกลุ่ม G8 แล้วก็ตาม บทบาทในการกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจโลกของกลุ่ม G7/8 นี้ลดลง ทั้งนี้อาจมีสาเหตุจากการที่บทบาทในระบบการเงินโลกนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆมากขึ้น เช่น เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายของประเทศจีนหรือประเทศอุตสาหกรรมใหม่อื่นๆ ดังนั้น บทบาทและทิศทางนโยบายของกลุ่ม G20 จึงมีความสำคัญ เป็นประเด็นที่มีผลกระทบกับระบบการเงินโลกและเป็นที่ได้รับความสนใจในระบบการเงินโลกมากกว่า
ประเด็นที่สอง คือ เรื่องระบบอัตราแลกเปลี่ยน จากหลักการทางทฤษฎีที่ว่านโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สามารถดูแลเศรษฐกิจของประเทศได้นั้น ประเทศหนึ่งๆจะต้องเลือกดำเนินอย่างเคร่งครัดระหว่างระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่หรือระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันที่มีประเทศต่างๆในโลกที่ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบผสมผสานกันระหว่างระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่และลอยตัว เช่น การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว แต่มีการกำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวได้ใน bands หรือให้เคลื่อนไหวไปตามค่าเงินในตะกร้าเงินของตนหรือการใช้ระบบ Adjustable pegs มีหลักฐานยืนยันว่าหลายประเทศที่ดำเนินนโยบายดังกล่าวสามารถดูแลประเทศให้ฝ่าฟันวิกฤตและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ดี ซึ่งในปัจจุบันนี้กว่าครึ่งหนึ่งของประเทศที่เป็นสมาชิกของ IMF (IMF มีสมาชิกทั้งหมด 186 ประเทศ) ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบผสมผสานนี้ ดังนั้น ในเรื่องระบบอัตราแลกเปลี่ยนนี้ การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนโดยใช้วิธีผสมผสานระหว่างระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่และลอยตัว จึงเป็นเรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน
ประเด็นที่สาม คือ เรื่องการแทรกแซงค่าเงินโดยใช้เงินสำรองระหว่างประเทศ ตามหลักการมีความเชื่อว่า หากประเทศที่ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแล้วนไม่จำเป็นต้องมีการสะสมเงินสำรองระหว่างประเทศไว้จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม พบว่ามีหลายประเทศในช่วงก่อนวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2551 ที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแต่ในขณะเดียวกันก็ได้มีการสะสมเงินสำรองระหว่างประเทศไว้เป็นจำนวนมากด้วย ทั้งนี้ เงินสำรองระหว่างประเทศนี้ได้ช่วยให้ประเทศเหล่านี้ สามารถหลีกเลี่ยงการอ่อนค่าอย่างรวดเร็วของเงินในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2551 จากการที่มีเงินไหลออกนอกประเทศจำนวนมากได้ ดังนั้น การสะสมเงินสำรองภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวก็เปรียบเสมือนเป็นการซื้อประกันต่อความผันผวนของค่าเงินรูปแบบหนึ่ง
ประเด็นที่สี่ คือ เรื่องการดำเนินนโยบายการเงินตามกรอบการตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) การดำเนินนโยบายการเงินโดยคำนึงแต่อัตราเงินเฟ้ออย่างเดียว หรือการดูแลควบคู่ไปกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่การที่มีการให้ความสำคัญกับประเด็นของราคาสินทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยนหรือราคาสินค้าส่งออกไม่มากนัก อาจมีผลกระทบต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจของประเทศได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพิงการค้าต่างประเทศ นอกจากนี้ประสบการณ์ของวิกฤตการณ์ทางการเงินหลายๆครั้งบ่งชี้ว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายหลังจากวิกฤตจะทำให้มีปรับเพิ่มขึ้นมากของราคาสินทรัพย์และอาจเป็นต้นเหตุของปัญหาเศรษฐกิจในช่วงต่อมาได้ ดังนั้น การให้ความสำคัญมากขึ้นต่อประเด็นเรื่องราคาสินทรัพย์น่าจะต้องดำเนินควบคู่กับการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป
ประเด็นสุดท้าย คือ เรื่องบทบาทความสำคัญของเงินดอลลาร์ สรอ. วิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ทำให้ความน่าเชื่อถือของเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. ลดลงมาก ในอดีตการถือเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เป็นสัดส่วนที่สำคัญของเงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศต่างๆ ในปีนี้สินทรัพย์อื่นๆ เช่น เงินสกุลยูโร เงิน SDRs (Special Drawing Rights-สิทธิพิเศษถอนเงิน) ของ IMF เงินเยน และเงินหยวน มีความสำคัญมากขึ้นในสัดส่วนของเงินสำรองระหว่างประเทศดังกล่าว ซึ่งในที่ประชุม G20 เมื่อต้นปีนี้ประเทศจีนได้พยายามผลักดันให้มีการใช้เงิน SDRs เป็นสกุลเงินสำรองหลักแทนดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม สำหรับเงินหยวน ในอนาคตหลังจากที่ตลาดการเงินของประเทศจีนมีการพัฒนามากขึ้น เงินหยวนเองก็อาจจะเป็นเงินสกุลที่มีโอกาสมีบทบาทเพิ่มขึ้นได้ด้วย ดังนั้น การที่ดอลลาร์ สรอ. ลดบทบาทลงจึงเห็นบทบาทของเงินสกุลอื่นๆมีความสำคัญมากขึ้นในองค์ประกอบของเงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศต่างๆ ซึ่งการที่ประเทศต่างๆลงทุนในหลากหลายสกุลเงินนี้ ก็อาจจะเป็นข้อดีที่จะช่วยป้องกันผลที่ตามมาเช่นกรณีของปัญหาเศรษฐกิจ (การก่อหนี้) ของสหรัฐอเมริกาครับ
surachit@gmail.com
ประเด็นแรก คือ เรื่องเกี่ยวกับบทบาทของกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ G7 (แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา) และบทบาทของกลุ่มประเทศ G20 (G7 และ อาเจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล จีน อินเดีย อินโดนิเซีย เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย สหภาพยุโรป แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี) บทบาทของ กลุ่ม G7 แม้มีการเพิ่มรัสเซียเข้ามาเป็นกลุ่ม G8 แล้วก็ตาม บทบาทในการกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจโลกของกลุ่ม G7/8 นี้ลดลง ทั้งนี้อาจมีสาเหตุจากการที่บทบาทในระบบการเงินโลกนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆมากขึ้น เช่น เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายของประเทศจีนหรือประเทศอุตสาหกรรมใหม่อื่นๆ ดังนั้น บทบาทและทิศทางนโยบายของกลุ่ม G20 จึงมีความสำคัญ เป็นประเด็นที่มีผลกระทบกับระบบการเงินโลกและเป็นที่ได้รับความสนใจในระบบการเงินโลกมากกว่า
ประเด็นที่สอง คือ เรื่องระบบอัตราแลกเปลี่ยน จากหลักการทางทฤษฎีที่ว่านโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สามารถดูแลเศรษฐกิจของประเทศได้นั้น ประเทศหนึ่งๆจะต้องเลือกดำเนินอย่างเคร่งครัดระหว่างระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่หรือระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันที่มีประเทศต่างๆในโลกที่ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบผสมผสานกันระหว่างระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่และลอยตัว เช่น การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว แต่มีการกำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวได้ใน bands หรือให้เคลื่อนไหวไปตามค่าเงินในตะกร้าเงินของตนหรือการใช้ระบบ Adjustable pegs มีหลักฐานยืนยันว่าหลายประเทศที่ดำเนินนโยบายดังกล่าวสามารถดูแลประเทศให้ฝ่าฟันวิกฤตและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ดี ซึ่งในปัจจุบันนี้กว่าครึ่งหนึ่งของประเทศที่เป็นสมาชิกของ IMF (IMF มีสมาชิกทั้งหมด 186 ประเทศ) ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบผสมผสานนี้ ดังนั้น ในเรื่องระบบอัตราแลกเปลี่ยนนี้ การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนโดยใช้วิธีผสมผสานระหว่างระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่และลอยตัว จึงเป็นเรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน
ประเด็นที่สาม คือ เรื่องการแทรกแซงค่าเงินโดยใช้เงินสำรองระหว่างประเทศ ตามหลักการมีความเชื่อว่า หากประเทศที่ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแล้วนไม่จำเป็นต้องมีการสะสมเงินสำรองระหว่างประเทศไว้จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม พบว่ามีหลายประเทศในช่วงก่อนวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2551 ที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแต่ในขณะเดียวกันก็ได้มีการสะสมเงินสำรองระหว่างประเทศไว้เป็นจำนวนมากด้วย ทั้งนี้ เงินสำรองระหว่างประเทศนี้ได้ช่วยให้ประเทศเหล่านี้ สามารถหลีกเลี่ยงการอ่อนค่าอย่างรวดเร็วของเงินในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2551 จากการที่มีเงินไหลออกนอกประเทศจำนวนมากได้ ดังนั้น การสะสมเงินสำรองภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวก็เปรียบเสมือนเป็นการซื้อประกันต่อความผันผวนของค่าเงินรูปแบบหนึ่ง
ประเด็นที่สี่ คือ เรื่องการดำเนินนโยบายการเงินตามกรอบการตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) การดำเนินนโยบายการเงินโดยคำนึงแต่อัตราเงินเฟ้ออย่างเดียว หรือการดูแลควบคู่ไปกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่การที่มีการให้ความสำคัญกับประเด็นของราคาสินทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยนหรือราคาสินค้าส่งออกไม่มากนัก อาจมีผลกระทบต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจของประเทศได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพิงการค้าต่างประเทศ นอกจากนี้ประสบการณ์ของวิกฤตการณ์ทางการเงินหลายๆครั้งบ่งชี้ว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายหลังจากวิกฤตจะทำให้มีปรับเพิ่มขึ้นมากของราคาสินทรัพย์และอาจเป็นต้นเหตุของปัญหาเศรษฐกิจในช่วงต่อมาได้ ดังนั้น การให้ความสำคัญมากขึ้นต่อประเด็นเรื่องราคาสินทรัพย์น่าจะต้องดำเนินควบคู่กับการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป
ประเด็นสุดท้าย คือ เรื่องบทบาทความสำคัญของเงินดอลลาร์ สรอ. วิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ทำให้ความน่าเชื่อถือของเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. ลดลงมาก ในอดีตการถือเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เป็นสัดส่วนที่สำคัญของเงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศต่างๆ ในปีนี้สินทรัพย์อื่นๆ เช่น เงินสกุลยูโร เงิน SDRs (Special Drawing Rights-สิทธิพิเศษถอนเงิน) ของ IMF เงินเยน และเงินหยวน มีความสำคัญมากขึ้นในสัดส่วนของเงินสำรองระหว่างประเทศดังกล่าว ซึ่งในที่ประชุม G20 เมื่อต้นปีนี้ประเทศจีนได้พยายามผลักดันให้มีการใช้เงิน SDRs เป็นสกุลเงินสำรองหลักแทนดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม สำหรับเงินหยวน ในอนาคตหลังจากที่ตลาดการเงินของประเทศจีนมีการพัฒนามากขึ้น เงินหยวนเองก็อาจจะเป็นเงินสกุลที่มีโอกาสมีบทบาทเพิ่มขึ้นได้ด้วย ดังนั้น การที่ดอลลาร์ สรอ. ลดบทบาทลงจึงเห็นบทบาทของเงินสกุลอื่นๆมีความสำคัญมากขึ้นในองค์ประกอบของเงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศต่างๆ ซึ่งการที่ประเทศต่างๆลงทุนในหลากหลายสกุลเงินนี้ ก็อาจจะเป็นข้อดีที่จะช่วยป้องกันผลที่ตามมาเช่นกรณีของปัญหาเศรษฐกิจ (การก่อหนี้) ของสหรัฐอเมริกาครับ
surachit@gmail.com