ในที่สุดคณะประชาชนผู้รักชาติที่นำโดยนายวีระ สมความคิด ได้ไปพิสูจน์การเสียดินแดนของประเทศไทยที่เขาพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2552 ซึ่งมีสาระสำคัญหลายประการอาทิ
1. ดินแดนของไทยจากทางเดินผามออีแดงขึ้นไปถึงวัดแก้วสิขคีรีสะวารา เต็มไปด้วยทหารกัมพูชาถืออาวุธปืนตลอดเส้นทาง และด้านหลังทหารกัมพูชาที่ห้ามคนไทยเข้าไปก็มีสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และมีประชาชนชาวกัมพูชาอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว
2. วัดแก้วสิขคีรีสะวารา ซึ่งก่อสร้างขึ้นมาเป็นวัดของคนกัมพูชาในดินแดนไทย ปัจจุบันเต็มไปด้วยทหารติดอาวุธชาวกัมพูชา มีประชากรชาวกัมพูชาอาศัยเพิ่มมากขึ้น มีทหารบวชแปลงสภาพมาเป็นพระสงฆ์ในวัด และในวันปกติทหารไทย 10-12 นายขึ้นมาบนวัดตามนโยบายไม่สามารถพกพาอาวุธขึ้นมาได้ (จากคำสัมภาษณ์ยอมรับของทหารในพื้นที่) บริเวณดังกล่าวได้มีการสร้างถนนใหม่ตัดจากตัวปราสาทพระวิหารถึงวัดแก้วสิขคีรีสะวาราแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัฐบาลชุดนี้
3. ภูมะเขือ จุดยุทธศาสตร์สำคัญอีกหนึ่งจุดมีการสร้างทางขึ้นเขาจากฝ่ายกัมพูชา ส่วนฝ่ายไทยมีการสร้างถนนขนาดใหญ่ ด้านยอดบนของภูมะเขือปัจจุบันเป็นที่ตั้งของทหารและประชากรของฝ่ายกัมพูชาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมกับการวางกับระเบิดจำนวนมาก
4. ประตูเหล็กและบริเวณบันไดด้านล่างทางขึ้นตัวปราสาทรวมถึงพื้นที่รอบปราสาท ปัจจุบันมีการขยายสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ทหารกัมพูชาได้ใช้พื้นที่ตัวปราสาทและพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเป็นฐานทัพและสั่งสมอาวุธ และพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารก็ทำรั้วกั้นเอาไว้ไม่ให้คนไทยเข้าไปได้
ผลการพิสูจน์อธิปไตยจากการสำรวจพื้นที่บางส่วนใน 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหาร ด้วยการบันทึกภาพวิดีโอจากสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม 2 ช่อง คือ ASTV และ FMTV ของชาวอโศก สรุปได้ว่า ดินแดนและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยหลายจุดได้ถูกทหารและประชาชนกัมพูชารุกล้ำเข้ามาแล้วอย่างแน่นอน
มีข้าราชการและนายทหารเลวในกองทัพบางคนมีผลประโยชน์ในการทำมาหากินในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ถึงขั้นมีนายทหารบางคนรับงานก่อสร้างจากฝ่ายกัมพูชา สร้างบ้านขายให้ชาวกัมพูชาเข้ามาอาศัยในดินแดนไทย ค้าขายสินค้าหนีภาษี จนถึงขั้นรู้เห็นเป็นใจนำรถยนต์ที่ลักขโมยมาจากประเทศไทยส่งไปยังกัมพูชาเพื่อไปขายในตลาดมืด
และเพราะมีทหารรักชาติที่อยู่ในพื้นที่เกิดความคับแค้นใจ ทนมองผู้บังคับบัญชาของตัวเองทำมาหากินขายชาติไม่ไหว เจ็บช้ำน้ำใจที่เห็นดินแดนไทยถูกรุกล้ำแต่ไม่สามารถทวงคืนได้ จึงได้ส่งข้อมูลมาให้ภาคประชาชนได้ทราบและมาในการพิสูจน์ความจริงครั้งนี้
ส่วน นายกษิต ภิรมย์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ทำหน้าที่ของตัวเองเอาไว้แล้วในเรื่องการรุกล้ำอธิปไตยที่ผ่านมาก็คือ “การทำหนังสือประท้วง” ต่อรัฐบาลกัมพูชาไปหลายครั้ง อันเป็นการใช้สิทธิ์ในการแสดงอาณาเขตของไทย แต่ก็ไม่ได้แปลว่าการประท้วงจากกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นคำตอบทุกอย่างในการทวงคืนดินแดนที่ถูกรุกล้ำอธิปไตยได้
เพราะการใช้กำลังผลักดันกองกำลังและประชาชนของฝ่ายกัมพูชาให้ออกจากพื้นที่ และรื้อสิ่งปลูกสร้างของฝ่ายกัมพูชาเพื่อรักษาอธิปไตยนั้น ต้องเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบและการตัดสินใจของกองทัพบก กระทรวงกลาโหม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และนายกรัฐมนตรี!
แต่สิ่งที่กำลังเป็นอันตรายต่อประเทศชาติภายใต้การตัดสินใจของกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนี้ก็คือ การนำร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
เนื้อหาใจความร่างข้อตกลงฉบับนี้มีหลักคิดอยู่ว่าให้ทหารทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่ที่มีปัญหา เช่น วัดแก้วสิขคีรีสะวารา และพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ซึ่งจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เรียกชื่อภาษาอังกฤษย่อว่า JBC
บังเอิญว่าการถอนกองกำลังทหารทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหารตรงตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ตามมติคณะกรรมการมรดกโลก ที่จะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเป็นมรดกโลกของฝ่ายกัมพูชาในปีหน้า
บังเอิญว่าในร่างข้อตกลงนี้ทหารไทยต้องถอยออกจากดินแดนของไทย ทหารกัมพูชาก็ถอยออกจากดินแดนของไทย แต่กลับยังคงเหลือเอาไว้ซึ่งประชาชนชาวกัมพูชา สิ่งปลูกสร้างบ้านเรือน วัด ถนน ซึ่งมีสภาพไม่ต่างเป็นดินแดนอาศัยของชาวกัมพูชาโดยที่ไม่มีทหารทั้งสองฝ่ายมารบกวน
บังเอิญว่าร่างข้อตกลงฉบับนี้ระบุเอาไว้ว่า “ข้อตกลงชั่วคราวฯ จะมีผลบังคับใช้จนกว่าการจัดทำหลักเขตแดนจะเสร็จสิ้นลง” ซึ่งไม่มีกำหนดว่าจะจบลงเมื่อใด และถ้าไม่มีวันจัดทำหลักเขตแดนเสร็จสิ้นหรือตกลงกันไม่ได้ ดินแดนไทยที่มีแต่ถนน สิ่งปลูกสร้าง วัด ประชาชนชาวกัมพูชาซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบสิ้น และราชอาณาจักรไทยจะไม่สามารถทวงดินแดนส่วนนั้นกลับมาได้อีกเลย ซึ่งฝ่ายกัมพูชาย่อมพอใจที่จะเจรจาในร่างข้อตกลงนี้ตลอดกาล
บังเอิญว่าร่างข้อตกลงนี้ทำให้ฝ่ายกัมพูชาพึงพอใจอย่างยิ่ง เพราะราชอาณาจักรไทยได้เปลี่ยนจุดยืนจากการยึดหลักสันปันน้ำ มาเป็นฝากความหวังและอนาคตเอาไว้กับคณะ JBC
บังเอิญว่ามีทหารขายชาติบางคนพร้อมเอื้อประโยชน์ให้กับกัมพูชาหากได้ผลประโยชน์ส่วนตน ยิ่งมีอำนาจจากรัฐสภาไทยรับรองอำนาจการตัดสินใจเรื่องเขตแดนด้วยทหารเพียงไม่กี่คน แรงจูงใจในผลประโยชน์ก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นมหาศาล
ร่างข้อตกลงนี้จึงไม่ต่างอะไรกับการสร้างกลไกและเครื่องมือที่จะทำให้เสียดินแดนและอธิปไตยของชาติอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยน้ำมือของสมาชิกรัฐสภาไทย ใช่หรือไม่?
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงได้แสดงจุดยืนให้รัฐบาลผลักดันทหาร ประชาชน สิ่งปลูกสร้าง ออกจากดินแดนไทยเสียก่อน เพื่อรักษาอธิปไตยเป็นลำดับความสำคัญแรก ก่อนที่จะมีการเจรจาใดๆ
ในขณะที่ฝ่ายทหารบางคนปล่อยให้มีทหารขายชาติขายแผ่นดิน ค้าขายชายแดนเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง จึงปกปิดข้อมูลเรื่องการถูกรุกล้ำอธิปไตยรอบด้าน
ในขณะที่ฝ่ายทหารและกระทรวงการต่างประเทศบางส่วนก็รับใช้เป็นเครื่องมือให้กับฝ่ายการเมืองในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช จนแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย- กัมพูชาที่ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกโดยกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียวนั้นต้องขัดต่อรัฐธรรมนูญ ข้าราชการและนักการเมืองจำนวนหนึ่งกำลังถูกดำเนินคดีอยู่ในชั้นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งหากมีความผิดก็อาจมีบทลงโทษสูงสุดด้วยการประหารชีวิต จึงกำลังหาหนทางบิดเบือนข้อมูลเพื่อรอดพ้นจากคดีที่กระทำผิดสำเร็จไปแล้วในทุกวิถีทาง
ตัวอย่างเหมือนกับหนังสือที่นายกษิต ภิรมย์ ที่เชื่อว่า แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชากรณีปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลก ได้สิ้นผลไปแล้วตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2551 โดยหนังสือของนายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ได้ทำถึงฝ่ายกัมพูชา แต่เมื่อดูเนื้อความแล้วกลับเป็นการทำหนังสือแจ้งสิ้นผลที่ไม่อ้างอิงคำพิพากษาของศาลไทย แล้วยังพยายามหักล้างคำพิพากษาของไทยโดยอ้างในหนังสือฉบับนั้นว่าฝ่ายกัมพูชาเป็นฝ่ายพิจารณาว่าแถลงการณ์ร่วมฯ ฉบับดังกล่าวทางกัมพูชาไม่นำมาพิจารณาเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อหวังว่านักการเมืองและข้าราชการจะได้รอดคดีความอาญาที่กำลังจะตามมาใช่หรือไม่?... ซึ่งผลปรากฏว่าฝ่ายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ตอบกลับมาแบบคลุมเครือเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายกัมพูชาเป็นสำคัญ
เช่นเดียวกันกับกรณีล่าสุดที่คิดจะให้มีร่างข้อตกลงระหว่างไทย-กัมพูชา ให้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไทย แล้วให้มีคณะ JBC เพื่อมาทำหน้าที่ปักปันเขตแดนนั้น ก็ยังมีข้อสงสัยว่าเป็นข้อเสนอจากคนในกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ข้าราชการรอดพ้นจากความผิดในคดีความที่กำลังดำเนินการอยู่ใช่หรือไม่? โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามทำให้ดินแดนของราชอาณาจักรไทยที่ยึดหลักสันปันน้ำกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนให้ได้
ล่าสุดนักวิชาการและข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศที่พยายามผลักดันร่างข้อตกลงเข้าสู่สภา ยอมรับว่าการตั้ง JBC คือการถ่วงเวลาให้นานแสนนาน โดยพยายามโน้มน้าวให้เชื่อทำนองว่าเสียแค่นี้ดีกว่าเสียมากไปกว่านี้ ซึ่งปรากฏอยู่ในบทความของนายคำนูณ สิทธิสมาน ที่ได้สรุปความคิดของบุคคลในกระทรวงการต่างประเทศความตอนหนึ่งว่า:
“คำพิพากษาพูดเรื่องแผนที่อัตราส่วน 1 : 200,000 ที่กัมพูชาเสนอไว้ชัดเจน ว่าไทยยอมรับโดยปริยาย กระทรวงการต่างประเทศเชื่อว่าหากเกิดข้อพิพาทเขตแดนไทย-กัมพูชาบริเวณปราสาทพระวิหารขึ้นจนเรื่องต้องเข้าไปสู่การตัดสินขององค์กรระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นศาลโลก หรือสหประชาชาติ ไม่แน่นักว่าไทยจะได้เปรียบ โดยเฉพาะหากศาลโลกตีความคำพิพากษาปี 2505 ตามธรรมนูญศาลโลกมาตรา 60 ยิ่งไม่แน่นักว่าไทยจะได้เปรียบ”
ในที่สุด ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตทนายผู้ประสานงานคณะทนายฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหาร ได้กรุณาชี้แจงเอาไว้ในบทความชื่อ “ปราสาทพระวิหาร” เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2552 ว่า ข้ออ้างที่กล่าวมาข้างต้นนั้นไม่เป็นความจริง โดยสรุปใจความเอาได้ว่า แผนที่ 1:200,000 ซึ่งกัมพูชาได้เสนอเป็นแผนที่ผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชานั้นมีความผิดพลาดไม่ได้เป็นไปตามสันปันน้ำคลาดเคลื่อนไปหลายกิโลเมตร จึงย่อมไม่ใช่แผนที่แสดงเขตแดน
ส่วนสถานภาพของแผนที่ผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชานั้น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยเฉพาะประเด็นคำฟ้องเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยคำขอเพิ่มเติมของกัมพูชาในเรื่อง 1. สถานภาพของแผนที่ผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา หรือ 2. เส้นเขตแดนในบริเวณที่พิพาท ดังนั้นศาลฯ จึงงดเว้นการวินิจฉัยความถูกต้องของเส้นเขตแดนตามที่ปรากฏในแผนที่ผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชารวมทั้งแผนที่ผนวก 1 ทั้งฉบับ หรืออีกนัยหนึ่ง ศาลฯ ไม่ทำหน้าที่กรรมการปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา
วันนี้ถึงเวลาที่คนไทยต้องกดดันให้กองทัพบก กระทรวงกลาโหม และรัฐบาลไทย ทวงดินแดนอธิปไตยกลับคืนมา และนำตัวคนขายชาติขายแผ่นดิน และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มาลงโทษให้ถึงที่สุด!
1. ดินแดนของไทยจากทางเดินผามออีแดงขึ้นไปถึงวัดแก้วสิขคีรีสะวารา เต็มไปด้วยทหารกัมพูชาถืออาวุธปืนตลอดเส้นทาง และด้านหลังทหารกัมพูชาที่ห้ามคนไทยเข้าไปก็มีสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และมีประชาชนชาวกัมพูชาอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว
2. วัดแก้วสิขคีรีสะวารา ซึ่งก่อสร้างขึ้นมาเป็นวัดของคนกัมพูชาในดินแดนไทย ปัจจุบันเต็มไปด้วยทหารติดอาวุธชาวกัมพูชา มีประชากรชาวกัมพูชาอาศัยเพิ่มมากขึ้น มีทหารบวชแปลงสภาพมาเป็นพระสงฆ์ในวัด และในวันปกติทหารไทย 10-12 นายขึ้นมาบนวัดตามนโยบายไม่สามารถพกพาอาวุธขึ้นมาได้ (จากคำสัมภาษณ์ยอมรับของทหารในพื้นที่) บริเวณดังกล่าวได้มีการสร้างถนนใหม่ตัดจากตัวปราสาทพระวิหารถึงวัดแก้วสิขคีรีสะวาราแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัฐบาลชุดนี้
3. ภูมะเขือ จุดยุทธศาสตร์สำคัญอีกหนึ่งจุดมีการสร้างทางขึ้นเขาจากฝ่ายกัมพูชา ส่วนฝ่ายไทยมีการสร้างถนนขนาดใหญ่ ด้านยอดบนของภูมะเขือปัจจุบันเป็นที่ตั้งของทหารและประชากรของฝ่ายกัมพูชาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมกับการวางกับระเบิดจำนวนมาก
4. ประตูเหล็กและบริเวณบันไดด้านล่างทางขึ้นตัวปราสาทรวมถึงพื้นที่รอบปราสาท ปัจจุบันมีการขยายสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ทหารกัมพูชาได้ใช้พื้นที่ตัวปราสาทและพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเป็นฐานทัพและสั่งสมอาวุธ และพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารก็ทำรั้วกั้นเอาไว้ไม่ให้คนไทยเข้าไปได้
ผลการพิสูจน์อธิปไตยจากการสำรวจพื้นที่บางส่วนใน 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหาร ด้วยการบันทึกภาพวิดีโอจากสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม 2 ช่อง คือ ASTV และ FMTV ของชาวอโศก สรุปได้ว่า ดินแดนและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยหลายจุดได้ถูกทหารและประชาชนกัมพูชารุกล้ำเข้ามาแล้วอย่างแน่นอน
มีข้าราชการและนายทหารเลวในกองทัพบางคนมีผลประโยชน์ในการทำมาหากินในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ถึงขั้นมีนายทหารบางคนรับงานก่อสร้างจากฝ่ายกัมพูชา สร้างบ้านขายให้ชาวกัมพูชาเข้ามาอาศัยในดินแดนไทย ค้าขายสินค้าหนีภาษี จนถึงขั้นรู้เห็นเป็นใจนำรถยนต์ที่ลักขโมยมาจากประเทศไทยส่งไปยังกัมพูชาเพื่อไปขายในตลาดมืด
และเพราะมีทหารรักชาติที่อยู่ในพื้นที่เกิดความคับแค้นใจ ทนมองผู้บังคับบัญชาของตัวเองทำมาหากินขายชาติไม่ไหว เจ็บช้ำน้ำใจที่เห็นดินแดนไทยถูกรุกล้ำแต่ไม่สามารถทวงคืนได้ จึงได้ส่งข้อมูลมาให้ภาคประชาชนได้ทราบและมาในการพิสูจน์ความจริงครั้งนี้
ส่วน นายกษิต ภิรมย์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ทำหน้าที่ของตัวเองเอาไว้แล้วในเรื่องการรุกล้ำอธิปไตยที่ผ่านมาก็คือ “การทำหนังสือประท้วง” ต่อรัฐบาลกัมพูชาไปหลายครั้ง อันเป็นการใช้สิทธิ์ในการแสดงอาณาเขตของไทย แต่ก็ไม่ได้แปลว่าการประท้วงจากกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นคำตอบทุกอย่างในการทวงคืนดินแดนที่ถูกรุกล้ำอธิปไตยได้
เพราะการใช้กำลังผลักดันกองกำลังและประชาชนของฝ่ายกัมพูชาให้ออกจากพื้นที่ และรื้อสิ่งปลูกสร้างของฝ่ายกัมพูชาเพื่อรักษาอธิปไตยนั้น ต้องเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบและการตัดสินใจของกองทัพบก กระทรวงกลาโหม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และนายกรัฐมนตรี!
แต่สิ่งที่กำลังเป็นอันตรายต่อประเทศชาติภายใต้การตัดสินใจของกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนี้ก็คือ การนำร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
เนื้อหาใจความร่างข้อตกลงฉบับนี้มีหลักคิดอยู่ว่าให้ทหารทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่ที่มีปัญหา เช่น วัดแก้วสิขคีรีสะวารา และพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ซึ่งจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เรียกชื่อภาษาอังกฤษย่อว่า JBC
บังเอิญว่าการถอนกองกำลังทหารทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหารตรงตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ตามมติคณะกรรมการมรดกโลก ที่จะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเป็นมรดกโลกของฝ่ายกัมพูชาในปีหน้า
บังเอิญว่าในร่างข้อตกลงนี้ทหารไทยต้องถอยออกจากดินแดนของไทย ทหารกัมพูชาก็ถอยออกจากดินแดนของไทย แต่กลับยังคงเหลือเอาไว้ซึ่งประชาชนชาวกัมพูชา สิ่งปลูกสร้างบ้านเรือน วัด ถนน ซึ่งมีสภาพไม่ต่างเป็นดินแดนอาศัยของชาวกัมพูชาโดยที่ไม่มีทหารทั้งสองฝ่ายมารบกวน
บังเอิญว่าร่างข้อตกลงฉบับนี้ระบุเอาไว้ว่า “ข้อตกลงชั่วคราวฯ จะมีผลบังคับใช้จนกว่าการจัดทำหลักเขตแดนจะเสร็จสิ้นลง” ซึ่งไม่มีกำหนดว่าจะจบลงเมื่อใด และถ้าไม่มีวันจัดทำหลักเขตแดนเสร็จสิ้นหรือตกลงกันไม่ได้ ดินแดนไทยที่มีแต่ถนน สิ่งปลูกสร้าง วัด ประชาชนชาวกัมพูชาซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบสิ้น และราชอาณาจักรไทยจะไม่สามารถทวงดินแดนส่วนนั้นกลับมาได้อีกเลย ซึ่งฝ่ายกัมพูชาย่อมพอใจที่จะเจรจาในร่างข้อตกลงนี้ตลอดกาล
บังเอิญว่าร่างข้อตกลงนี้ทำให้ฝ่ายกัมพูชาพึงพอใจอย่างยิ่ง เพราะราชอาณาจักรไทยได้เปลี่ยนจุดยืนจากการยึดหลักสันปันน้ำ มาเป็นฝากความหวังและอนาคตเอาไว้กับคณะ JBC
บังเอิญว่ามีทหารขายชาติบางคนพร้อมเอื้อประโยชน์ให้กับกัมพูชาหากได้ผลประโยชน์ส่วนตน ยิ่งมีอำนาจจากรัฐสภาไทยรับรองอำนาจการตัดสินใจเรื่องเขตแดนด้วยทหารเพียงไม่กี่คน แรงจูงใจในผลประโยชน์ก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นมหาศาล
ร่างข้อตกลงนี้จึงไม่ต่างอะไรกับการสร้างกลไกและเครื่องมือที่จะทำให้เสียดินแดนและอธิปไตยของชาติอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยน้ำมือของสมาชิกรัฐสภาไทย ใช่หรือไม่?
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงได้แสดงจุดยืนให้รัฐบาลผลักดันทหาร ประชาชน สิ่งปลูกสร้าง ออกจากดินแดนไทยเสียก่อน เพื่อรักษาอธิปไตยเป็นลำดับความสำคัญแรก ก่อนที่จะมีการเจรจาใดๆ
ในขณะที่ฝ่ายทหารบางคนปล่อยให้มีทหารขายชาติขายแผ่นดิน ค้าขายชายแดนเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง จึงปกปิดข้อมูลเรื่องการถูกรุกล้ำอธิปไตยรอบด้าน
ในขณะที่ฝ่ายทหารและกระทรวงการต่างประเทศบางส่วนก็รับใช้เป็นเครื่องมือให้กับฝ่ายการเมืองในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช จนแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย- กัมพูชาที่ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกโดยกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียวนั้นต้องขัดต่อรัฐธรรมนูญ ข้าราชการและนักการเมืองจำนวนหนึ่งกำลังถูกดำเนินคดีอยู่ในชั้นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งหากมีความผิดก็อาจมีบทลงโทษสูงสุดด้วยการประหารชีวิต จึงกำลังหาหนทางบิดเบือนข้อมูลเพื่อรอดพ้นจากคดีที่กระทำผิดสำเร็จไปแล้วในทุกวิถีทาง
ตัวอย่างเหมือนกับหนังสือที่นายกษิต ภิรมย์ ที่เชื่อว่า แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชากรณีปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลก ได้สิ้นผลไปแล้วตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2551 โดยหนังสือของนายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ได้ทำถึงฝ่ายกัมพูชา แต่เมื่อดูเนื้อความแล้วกลับเป็นการทำหนังสือแจ้งสิ้นผลที่ไม่อ้างอิงคำพิพากษาของศาลไทย แล้วยังพยายามหักล้างคำพิพากษาของไทยโดยอ้างในหนังสือฉบับนั้นว่าฝ่ายกัมพูชาเป็นฝ่ายพิจารณาว่าแถลงการณ์ร่วมฯ ฉบับดังกล่าวทางกัมพูชาไม่นำมาพิจารณาเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อหวังว่านักการเมืองและข้าราชการจะได้รอดคดีความอาญาที่กำลังจะตามมาใช่หรือไม่?... ซึ่งผลปรากฏว่าฝ่ายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ตอบกลับมาแบบคลุมเครือเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายกัมพูชาเป็นสำคัญ
เช่นเดียวกันกับกรณีล่าสุดที่คิดจะให้มีร่างข้อตกลงระหว่างไทย-กัมพูชา ให้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไทย แล้วให้มีคณะ JBC เพื่อมาทำหน้าที่ปักปันเขตแดนนั้น ก็ยังมีข้อสงสัยว่าเป็นข้อเสนอจากคนในกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ข้าราชการรอดพ้นจากความผิดในคดีความที่กำลังดำเนินการอยู่ใช่หรือไม่? โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามทำให้ดินแดนของราชอาณาจักรไทยที่ยึดหลักสันปันน้ำกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนให้ได้
ล่าสุดนักวิชาการและข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศที่พยายามผลักดันร่างข้อตกลงเข้าสู่สภา ยอมรับว่าการตั้ง JBC คือการถ่วงเวลาให้นานแสนนาน โดยพยายามโน้มน้าวให้เชื่อทำนองว่าเสียแค่นี้ดีกว่าเสียมากไปกว่านี้ ซึ่งปรากฏอยู่ในบทความของนายคำนูณ สิทธิสมาน ที่ได้สรุปความคิดของบุคคลในกระทรวงการต่างประเทศความตอนหนึ่งว่า:
“คำพิพากษาพูดเรื่องแผนที่อัตราส่วน 1 : 200,000 ที่กัมพูชาเสนอไว้ชัดเจน ว่าไทยยอมรับโดยปริยาย กระทรวงการต่างประเทศเชื่อว่าหากเกิดข้อพิพาทเขตแดนไทย-กัมพูชาบริเวณปราสาทพระวิหารขึ้นจนเรื่องต้องเข้าไปสู่การตัดสินขององค์กรระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นศาลโลก หรือสหประชาชาติ ไม่แน่นักว่าไทยจะได้เปรียบ โดยเฉพาะหากศาลโลกตีความคำพิพากษาปี 2505 ตามธรรมนูญศาลโลกมาตรา 60 ยิ่งไม่แน่นักว่าไทยจะได้เปรียบ”
ในที่สุด ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตทนายผู้ประสานงานคณะทนายฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหาร ได้กรุณาชี้แจงเอาไว้ในบทความชื่อ “ปราสาทพระวิหาร” เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2552 ว่า ข้ออ้างที่กล่าวมาข้างต้นนั้นไม่เป็นความจริง โดยสรุปใจความเอาได้ว่า แผนที่ 1:200,000 ซึ่งกัมพูชาได้เสนอเป็นแผนที่ผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชานั้นมีความผิดพลาดไม่ได้เป็นไปตามสันปันน้ำคลาดเคลื่อนไปหลายกิโลเมตร จึงย่อมไม่ใช่แผนที่แสดงเขตแดน
ส่วนสถานภาพของแผนที่ผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชานั้น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยเฉพาะประเด็นคำฟ้องเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยคำขอเพิ่มเติมของกัมพูชาในเรื่อง 1. สถานภาพของแผนที่ผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา หรือ 2. เส้นเขตแดนในบริเวณที่พิพาท ดังนั้นศาลฯ จึงงดเว้นการวินิจฉัยความถูกต้องของเส้นเขตแดนตามที่ปรากฏในแผนที่ผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชารวมทั้งแผนที่ผนวก 1 ทั้งฉบับ หรืออีกนัยหนึ่ง ศาลฯ ไม่ทำหน้าที่กรรมการปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา
วันนี้ถึงเวลาที่คนไทยต้องกดดันให้กองทัพบก กระทรวงกลาโหม และรัฐบาลไทย ทวงดินแดนอธิปไตยกลับคืนมา และนำตัวคนขายชาติขายแผ่นดิน และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มาลงโทษให้ถึงที่สุด!