วานนี้(31 ส.ค.)ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เป็นประธานในที่ประชุม เพื่อพิจารณากรอบข้อสัญญา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 โดยนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล ได้ขอเลื่อนระเบียบวาระ การประชุม 5.13 ร่าง กรอบการเจรจาเพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาและกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้ และ 5 กรอบเจรจาอื่นๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
แต่นายวิทยา บูรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ได้ท้วงว่าการเสนอเลื่อนระเบียบวาระดังกล่าวไม่เป็นไปตามข้อตกลงของวิปทั้ง 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล ฝ่ายค้าน และวุฒิสภา ที่ตกลงกันว่าจะหารือถึงข้อสรุปของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว เพราะก่อนหน้านี้นายกฯ เคยประกาศว่าหากทุกฝ่ายมีความเห็นอย่างไร รัฐบาลพร้อมปฏิบัติ แต่จนถึงขณะนี้กว่า 3 เดือนแล้ว ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ จึงอยากรู้ว่านายกฯจะทำตามข้อเสนอเมื่อใด หรือต้องการรอให้พวก"สีเขียว"มาแก้รัฐธรรมนูญ
ด้านนายชัย ชี้แจงว่า ต้องรอผลสรุปของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ที่จะสรุปผลเสนอตนในวันที่ 4 ก.ย.นี้ จากนั้นจะรวมข้อเสนอของคณะกรรมการทั้ง2 คณะจัดทำเป็นรูปเล่ม และตนจะเชิญประธาน และรองประธานวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร มาหารือว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อไป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า คณะกรรมการฯ ที่เข้ามาทำงานสมานฉันท์มี 2 คณะ แต่ข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรธน. เป็นเรื่องที่รัฐสภาต้องทำร่วมกัน ทั้งนี้ตนทราบว่าวิป 3 ฝ่าย ได้ตกลงว่าจะเปิดให้มีการหารือกันเรื่องนี้ ซึ่งตนก็เห็นด้วย ที่จะนำมาพูดในสภาฯให้เรียบร้อย เพราะข้อเสนอได้แบ่งเป็นหลายช่วง เช่น ให้แก้รธน.ภายใน1 ปี จากนั้นให้ตั้ง ส.ส.ร. เพื่อสะสางรธน.ปี 50
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้ประท้วงว่า นายกฯพูดจาซ้ำซาก ทั้งที่ควรตอบให้ชัดไปเลยว่า จะทำตามข้อเสนอของ กก.สมานฉันท์ หรือไม่ ถ้าทำจะทำเมื่อใด ส่วนนายวิทยา กล่าวว่า ตนได้ยินมากับหูว่านายกฯ รับปากว่าหากประชุม 3 ฝ่ายเรียบร้อย ก็พร้อมจะยุบสภา จึงอย่ามายื้อเวลาอีกเลย
ทำให้นายกฯ กล่าวโต้ว่า ตนไม่ได้พูดซ้ำซาก วกวน เพราะจะกล่าวอะไรก็ต้องมีการอธิบาย หากประธานรัฐสภานัดประชุมร่วมในเรื่องความสมานฉันท์ เพื่อหาข้อยุติร่วมกัน ตนก็พร้อม และรัฐบาลจะร่วมมืออย่างเต็มที่ อีกทั้งตนไม่เคยพูดเรื่องยุบสภา มีแต่ฝ่ายค้านที่พูดเท่านั้น นอกจากนี้โพลจากหลายสำนักที่สำรวจเรื่องความสมานฉันท์ ก็สรุปว่า ให้การแก้ไขรธน.เป็นเรื่องสุดท้าย ขณะที่ขอให้ลดการตอบโต้วิวาทะการเมืองเป็นสิ่งแรก เพราะประชาชนมีความรู้สึกว่า ถึงทำเรื่องการแก้รธน. แต่บางฝ่ายก็ยังไม่หยุด
ต่อมา นายายชัย ได้สั่งให้เข้าสู่การพิจารณา ตามที่ประธานวิปรัฐบาล เสนอ ทำให้ ส.ส.ฝ่ายค้านพากันคัดค้าน และขอให้พิจารณาตามวาระการประชุมที่ได้บรรจุให้ร่างแก้ไขรธน. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ของ คปพร. เป็นเรื่องด่วน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นกล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลกัมพูชา ได้ให้สัมปทานเกาะกูดแก่ประเทศฝรั่งเศสไปแล้ว แต่ทำไมรมว.ต่างประเทศของไทย ยังนิ่งเฉย ทำให้นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล ลุกขึ้นกล่าวตำหนิว่า เรื่องนี้เป็นความมั่นคงระหว่างประเทศ ไม่ควรนำมาพูด เพราะเป็นความลับ
หลังจากที่ประชุมใช้เวลาถกเถียงกันมานานเกือบ 1 ชั่วโมง ในที่สุดที่ประชุมก็มีมติให้เลื่อนระเบียบวาระตามที่ นายชินวรณ์เสนอ ด้วยเสียง 309 ต่อ 90 งดออกเสียง 12 ไม่ลงคะแนน 14
จากนั้น ที่ประชุมร่วมรัฐสภา จึงได้เริ่มพิจารณาระเบียบวาระที่ 5.13 ร่าง กรอบการเจรจาเพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในกรอบของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา และกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้ตามที่ ครม.เป็นผู้เสนอ ซึ่งพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ได้ลุกขึ้นเสนอร่างกรอบการเจรจาดังกล่าวโดยขอให้มีการประชุมลับ ด้วยเหตุผลว่าเป็นเรื่องเกี่ยวข้อกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และความมั่นคง ประธาน จึงสั่งประชุมลับ ในเวลา 11.05 น.
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากใช้เวลาประชุมลับร่วม 2 ชั่วโมง นายชัย ได้สั่งปิดการประชุม โดยที่ยังไม่ได้มีการลงมติ โดยให้เหตุผลว่า ยังมีผู้ประสงค์จะอภิปรายเป็นจำนวนมาก และบางเรื่องก็เกี่ยวข้องกับ รมว.ต่างประเทศ แต่รมว.ต่างประเทศไม่ได้มาร่วมการประชุม รวมทั้ง ส.ว.จะต้องใช้ห้องประชุมสภาต่อในช่วงบ่าย ทำให้ประธานสั่งเลื่อนการพิจารณาไปใน วันพุธที่ 2 ก.ย. เวลา 09.00 น.
สำหรับเนื้อหาในที่ประชุม ส.ส. ฝ่ายค้านได้อภิปรายโจมตี นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ที่ไม่มาร่วมชี้แจงต่อที่ประชุม ทั้งที่เป็นวาระสำคัญ แต่ฝ่ายรัฐบาลเห็นว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ รมว.กลาโหมโดยตรง และยังได้สอบถามถึงข่าวที่กัมพูชา ถอนกำลังทหารออกจากบริเวณพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งมีข่าวว่าฝ่ายไทย จะถอนกำลังเช่นกัน โดย พล.อ.ประวิตร กล่าวต่อที่ประชุม โดยไม่ใช้แจงรายละเอียด แต่ยืนยันว่า สถานการณ์ขณะนี้ได้คงกำลังทหารไทยไว้ในปริมาณที่จะรักษาอธิปไตยในพื้นที่ 4.6 ตาราง กม.ได้
ขณะที่สมาชิกจากกลุ่ม 40 ส.ว. โดยนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้อภิปรายแสดงความเป็นห่วงเรื่องพื้นที่ 4.6 ตาราง กม. จึงไม่อยากให้ข้อตกลงดังกล่าวผ่านที่ประชุมรัฐสภาไปโดยไม่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และการที่กัมพูชา สร้างถนนสร้างวัด และสร้างชุมชน บนพื้นที่ดังกล่าว โดยที่ฝ่ายไทยคัดค้านแต่เพียงการประท้วงอย่างเป็นทางการ โดยกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่น่าจะเพียงพอในการพิทักษ์ปกป้องอธิปไตยของชาติ
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากเปิดให้สมาชิกอภิปรายได้ระยะหนึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ได้ลุกขึ้นชี้แจงโดยกล่าวยืนยันว่า เรื่องเขตแดนไทยกัมพูชา เป็นเรื่องของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ รับผิดชอบ ไม่ใช่เรื่องของ เจบีซี ซึ่งกระทรวงกลาโหมรับผิดชอบ อย่างไรก็ดี กระทรวงกลาโหมขอยืนยันว่า พร้อมรักษาอธิปไตยของประเทศ และมีกำลังที่เพียงพอ แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องการสร้างถนนในพื้นที่ 4.6 ตางรางกม.นั้น ฝ่ายไทย ก็ได้ใช้ประโยชน์ด้วย
คำชี้แจงดังกล่าว เป็นผลให้ ส.ว.จำนวนหนึ่ง ลุกขึ้นถาม ขอให้ รมว.กลาโหม ชี้แจงให้ชัดว่า ฝ่ายไทยได้ประโยชน์ จากถนนดังกล่าวอย่างไร เพราะเท่าที่ทราบเป็นถนนเพื่อเป็นเส้นทางในการขึ้นปราสาทพระวิหารจากดินแดนกัมพูชาโดยมีวัดแก้วสิขาคีรีศวร อยู่ตรงจุดยุทธศาสตร์ ก่อนจะขึ้นปราสาทพระวิหาร คนไทยนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังมีข้อมูลว่า แม้จะเข้าไปใกล้ถนนดังกล่าว ก็ทำไม่ได้
นอกจากนี้ มี ส.ว.อีกท่านหนึ่ง ถามว่า เท่าที่ทราบ กำลังทหารของไทย ในเขต 4.6 ตาราง กม. มีจำนวนไม่มากนัก จะสามารถปกป้องอธิปไตยได้จริงหรือ แต่ยังไม่ทันที่ รมว.กลาโหม จะลุกขึ้นตอบคำถาม ของ 2 ส.ว. ประธานรัฐสภา ก็ได้สั่งเลื่อนการประชุมออกไป เป็นวันที่ 2 ก.ย. ท่ามกลางความงุนงง ของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นที่น่าสังเกตว่า ส.ส.ได้รับหนังสือแจ้งว่าวาระการประชุมทั้งที่ยังอยู่ระหว่างการประชุมในเรื่องนี้อยู่
แต่นายวิทยา บูรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ได้ท้วงว่าการเสนอเลื่อนระเบียบวาระดังกล่าวไม่เป็นไปตามข้อตกลงของวิปทั้ง 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล ฝ่ายค้าน และวุฒิสภา ที่ตกลงกันว่าจะหารือถึงข้อสรุปของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว เพราะก่อนหน้านี้นายกฯ เคยประกาศว่าหากทุกฝ่ายมีความเห็นอย่างไร รัฐบาลพร้อมปฏิบัติ แต่จนถึงขณะนี้กว่า 3 เดือนแล้ว ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ จึงอยากรู้ว่านายกฯจะทำตามข้อเสนอเมื่อใด หรือต้องการรอให้พวก"สีเขียว"มาแก้รัฐธรรมนูญ
ด้านนายชัย ชี้แจงว่า ต้องรอผลสรุปของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ที่จะสรุปผลเสนอตนในวันที่ 4 ก.ย.นี้ จากนั้นจะรวมข้อเสนอของคณะกรรมการทั้ง2 คณะจัดทำเป็นรูปเล่ม และตนจะเชิญประธาน และรองประธานวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร มาหารือว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อไป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า คณะกรรมการฯ ที่เข้ามาทำงานสมานฉันท์มี 2 คณะ แต่ข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรธน. เป็นเรื่องที่รัฐสภาต้องทำร่วมกัน ทั้งนี้ตนทราบว่าวิป 3 ฝ่าย ได้ตกลงว่าจะเปิดให้มีการหารือกันเรื่องนี้ ซึ่งตนก็เห็นด้วย ที่จะนำมาพูดในสภาฯให้เรียบร้อย เพราะข้อเสนอได้แบ่งเป็นหลายช่วง เช่น ให้แก้รธน.ภายใน1 ปี จากนั้นให้ตั้ง ส.ส.ร. เพื่อสะสางรธน.ปี 50
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้ประท้วงว่า นายกฯพูดจาซ้ำซาก ทั้งที่ควรตอบให้ชัดไปเลยว่า จะทำตามข้อเสนอของ กก.สมานฉันท์ หรือไม่ ถ้าทำจะทำเมื่อใด ส่วนนายวิทยา กล่าวว่า ตนได้ยินมากับหูว่านายกฯ รับปากว่าหากประชุม 3 ฝ่ายเรียบร้อย ก็พร้อมจะยุบสภา จึงอย่ามายื้อเวลาอีกเลย
ทำให้นายกฯ กล่าวโต้ว่า ตนไม่ได้พูดซ้ำซาก วกวน เพราะจะกล่าวอะไรก็ต้องมีการอธิบาย หากประธานรัฐสภานัดประชุมร่วมในเรื่องความสมานฉันท์ เพื่อหาข้อยุติร่วมกัน ตนก็พร้อม และรัฐบาลจะร่วมมืออย่างเต็มที่ อีกทั้งตนไม่เคยพูดเรื่องยุบสภา มีแต่ฝ่ายค้านที่พูดเท่านั้น นอกจากนี้โพลจากหลายสำนักที่สำรวจเรื่องความสมานฉันท์ ก็สรุปว่า ให้การแก้ไขรธน.เป็นเรื่องสุดท้าย ขณะที่ขอให้ลดการตอบโต้วิวาทะการเมืองเป็นสิ่งแรก เพราะประชาชนมีความรู้สึกว่า ถึงทำเรื่องการแก้รธน. แต่บางฝ่ายก็ยังไม่หยุด
ต่อมา นายายชัย ได้สั่งให้เข้าสู่การพิจารณา ตามที่ประธานวิปรัฐบาล เสนอ ทำให้ ส.ส.ฝ่ายค้านพากันคัดค้าน และขอให้พิจารณาตามวาระการประชุมที่ได้บรรจุให้ร่างแก้ไขรธน. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ของ คปพร. เป็นเรื่องด่วน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นกล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลกัมพูชา ได้ให้สัมปทานเกาะกูดแก่ประเทศฝรั่งเศสไปแล้ว แต่ทำไมรมว.ต่างประเทศของไทย ยังนิ่งเฉย ทำให้นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล ลุกขึ้นกล่าวตำหนิว่า เรื่องนี้เป็นความมั่นคงระหว่างประเทศ ไม่ควรนำมาพูด เพราะเป็นความลับ
หลังจากที่ประชุมใช้เวลาถกเถียงกันมานานเกือบ 1 ชั่วโมง ในที่สุดที่ประชุมก็มีมติให้เลื่อนระเบียบวาระตามที่ นายชินวรณ์เสนอ ด้วยเสียง 309 ต่อ 90 งดออกเสียง 12 ไม่ลงคะแนน 14
จากนั้น ที่ประชุมร่วมรัฐสภา จึงได้เริ่มพิจารณาระเบียบวาระที่ 5.13 ร่าง กรอบการเจรจาเพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในกรอบของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา และกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้ตามที่ ครม.เป็นผู้เสนอ ซึ่งพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ได้ลุกขึ้นเสนอร่างกรอบการเจรจาดังกล่าวโดยขอให้มีการประชุมลับ ด้วยเหตุผลว่าเป็นเรื่องเกี่ยวข้อกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และความมั่นคง ประธาน จึงสั่งประชุมลับ ในเวลา 11.05 น.
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากใช้เวลาประชุมลับร่วม 2 ชั่วโมง นายชัย ได้สั่งปิดการประชุม โดยที่ยังไม่ได้มีการลงมติ โดยให้เหตุผลว่า ยังมีผู้ประสงค์จะอภิปรายเป็นจำนวนมาก และบางเรื่องก็เกี่ยวข้องกับ รมว.ต่างประเทศ แต่รมว.ต่างประเทศไม่ได้มาร่วมการประชุม รวมทั้ง ส.ว.จะต้องใช้ห้องประชุมสภาต่อในช่วงบ่าย ทำให้ประธานสั่งเลื่อนการพิจารณาไปใน วันพุธที่ 2 ก.ย. เวลา 09.00 น.
สำหรับเนื้อหาในที่ประชุม ส.ส. ฝ่ายค้านได้อภิปรายโจมตี นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ที่ไม่มาร่วมชี้แจงต่อที่ประชุม ทั้งที่เป็นวาระสำคัญ แต่ฝ่ายรัฐบาลเห็นว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ รมว.กลาโหมโดยตรง และยังได้สอบถามถึงข่าวที่กัมพูชา ถอนกำลังทหารออกจากบริเวณพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งมีข่าวว่าฝ่ายไทย จะถอนกำลังเช่นกัน โดย พล.อ.ประวิตร กล่าวต่อที่ประชุม โดยไม่ใช้แจงรายละเอียด แต่ยืนยันว่า สถานการณ์ขณะนี้ได้คงกำลังทหารไทยไว้ในปริมาณที่จะรักษาอธิปไตยในพื้นที่ 4.6 ตาราง กม.ได้
ขณะที่สมาชิกจากกลุ่ม 40 ส.ว. โดยนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้อภิปรายแสดงความเป็นห่วงเรื่องพื้นที่ 4.6 ตาราง กม. จึงไม่อยากให้ข้อตกลงดังกล่าวผ่านที่ประชุมรัฐสภาไปโดยไม่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และการที่กัมพูชา สร้างถนนสร้างวัด และสร้างชุมชน บนพื้นที่ดังกล่าว โดยที่ฝ่ายไทยคัดค้านแต่เพียงการประท้วงอย่างเป็นทางการ โดยกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่น่าจะเพียงพอในการพิทักษ์ปกป้องอธิปไตยของชาติ
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากเปิดให้สมาชิกอภิปรายได้ระยะหนึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ได้ลุกขึ้นชี้แจงโดยกล่าวยืนยันว่า เรื่องเขตแดนไทยกัมพูชา เป็นเรื่องของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ รับผิดชอบ ไม่ใช่เรื่องของ เจบีซี ซึ่งกระทรวงกลาโหมรับผิดชอบ อย่างไรก็ดี กระทรวงกลาโหมขอยืนยันว่า พร้อมรักษาอธิปไตยของประเทศ และมีกำลังที่เพียงพอ แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องการสร้างถนนในพื้นที่ 4.6 ตางรางกม.นั้น ฝ่ายไทย ก็ได้ใช้ประโยชน์ด้วย
คำชี้แจงดังกล่าว เป็นผลให้ ส.ว.จำนวนหนึ่ง ลุกขึ้นถาม ขอให้ รมว.กลาโหม ชี้แจงให้ชัดว่า ฝ่ายไทยได้ประโยชน์ จากถนนดังกล่าวอย่างไร เพราะเท่าที่ทราบเป็นถนนเพื่อเป็นเส้นทางในการขึ้นปราสาทพระวิหารจากดินแดนกัมพูชาโดยมีวัดแก้วสิขาคีรีศวร อยู่ตรงจุดยุทธศาสตร์ ก่อนจะขึ้นปราสาทพระวิหาร คนไทยนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังมีข้อมูลว่า แม้จะเข้าไปใกล้ถนนดังกล่าว ก็ทำไม่ได้
นอกจากนี้ มี ส.ว.อีกท่านหนึ่ง ถามว่า เท่าที่ทราบ กำลังทหารของไทย ในเขต 4.6 ตาราง กม. มีจำนวนไม่มากนัก จะสามารถปกป้องอธิปไตยได้จริงหรือ แต่ยังไม่ทันที่ รมว.กลาโหม จะลุกขึ้นตอบคำถาม ของ 2 ส.ว. ประธานรัฐสภา ก็ได้สั่งเลื่อนการประชุมออกไป เป็นวันที่ 2 ก.ย. ท่ามกลางความงุนงง ของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นที่น่าสังเกตว่า ส.ส.ได้รับหนังสือแจ้งว่าวาระการประชุมทั้งที่ยังอยู่ระหว่างการประชุมในเรื่องนี้อยู่