จากการเปิดเสรีทางการค้าทั้งในระดับพหุภาคี ในกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) ระดับภูมิภาคในกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และทวิภาคีในรูปของ FTA เช่น อาเซียน-จีน ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-อินเดีย ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ แม้จะมีผลทำให้การค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ก็พบว่ามีบางกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี เช่น โคเนื้อ โคนม ผลิตภัณฑ์นม เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า และเซรามิก เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย และผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs)
ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องเร่งให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวให้อยู่รอดได้ หรือให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆว่า กองทุนเอฟทีเอ โดยมีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการกองทุน และดำเนินการให้ความช่วยเหลือกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบ
ที่ผ่านมา กองทุนเอฟทีเอได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในหลายๆ กลุ่มสินค้า ทั้งเกษตรและอุตสาหกรรม จนถึงปัจจุบันนี้รวมแล้ว 12 โครงการ โดยโครงการที่ได้รับความช่วยเหลือ บางโครงการก็ได้มีการสรุปผลออกมาให้เห็นกันบ้างแล้ว ซึ่งพอจะใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการอื่นๆ ที่เห็นว่าตัวเองได้รับ หรืออาจจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี และทำแผนงาน โครงการ เพื่อขอใช้เงินกองทุนเอฟทีเอเพื่อการปรับตัวได้เป็นอย่างดี
เริ่มจากอุตสาหกรรมปลาป่น ซึ่งสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย มองว่า เมื่อมีการเปิด FTA ไทย-เปรู จะทำให้ผู้ประกอบการโรงงานผู้ผลิตปลาป่นได้รับผลกระทบ จึงได้ทำโครงการขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเอฟทีเอ เพื่อพิจารณาให้การสนับสนุนจัดทำระบบประกันคุณภาพ GMP โรงงานปลาป่นจำนวน 40 โรงงาน ใช้ระยะเวลา 1 ปี นับแต่เดือนเม.ย.2551-มี.ค.2552 โดยจ้างบริษัท ควอลิตี้ แซททิสฟายด์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาแนะนำด้านการจัดทำระบบตลอดจนคำปรึกษาให้การฝึกอบรมกับโรงงานผู้ผลิตปลาป่นไทย และขณะนี้โครงการได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยมีโรงงานผู้ผลิตปลาป่นไทยได้รับรองระบบประกันคุณภาพ GMP จำนวน 37 ราย
ถัดมาเป็นเรื่องของอุตสาหกรรมโคเนื้อ ที่ใครๆ มองว่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบจากการทำ FTA กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ มากที่สุดอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง เพราะก่อนเปิดเสรี ปี 2548 ภาษีนำเข้าอยู่ที่ 51% ปัจจุบันปี 2552 ภาษีนำเข้าลดเหลือ 29.33% และจะลดลงเหลือ 0% ในปี 2563 ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ส่วนแบ่งตลาดเนื้อโคขุนคุณภาพในประเทศลดลง จากเนื้อนำเข้าราคาถูก ขณะที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อของไทย ยังมีการรวมตัวเป็นสหกรณ์ หรือเครือข่ายวิสาหกิจผู้เลี้ยงโคเนื้อได้น้อยมาก ทำให้ไม่สามารถพัฒนาทั้งตัวเกษตรกร วิธีการเลี้ยง ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพของเนื้อโคให้มีคุณภาพเทียบเท่ากับเนื้อโคนำเข้า ทดแทนการนำเข้า และทำการส่งออก เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้
เมื่อมองเห็นปัญหา สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด และสหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด ในฐานะผู้ผลิตเนื้อโคขุนชั้นนำของประเทศ ที่ดูแลเกษตรกรที่เป็นสมาชิกรวมกันกว่า 10,000 ราย จึงได้ริเริ่มพัฒนาโครงการเพิ่มขีดความในการแข่งขันของกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ และได้ขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนเอฟทีเอ ซึ่งได้เริ่มทำโครงการตั้งแต่เดือนเม.ย.2551 สิ้นสุดโครงการในเดือนเม.ย.2552 ที่ผ่านมา โดยมีสถาบันคีนันแห่งเอเชียเป็นผู้บริหารโครงการ และเกิดผลสำเร็จ คือ 1.เกิดคลัสเตอร์โคขุนโพนยางคำ 2.เกิดคลัสเตอร์โคขุนกำแพงแสน และ 3.มีการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับโคเนื้อ รวมทั้งการทำรหัสประจำตัวสัตว์ สำหรับสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำนวน 1 ระบบ
นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมยา ที่เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี โดยเฉพาะการเปิดเสรีภายใต้กรอบ AFTA ที่มีสมาชิก 10 ประเทศและกำลังจะพัฒนาไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 โดยอุตสาหกรรมยาของไทย มีคู่แข่งสำคัญ คือ สิงคโปร์และมาเลเซีย เพราะมีความพร้อมในการเปิดเสรีมากกว่าประเทศอื่น ซึ่งสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน ได้เล็งเห็นว่า ถ้าจะทำให้อุตสาหกรรมยาในประเทศสามารถแข่งขันกับทั้ง 2 ประเทศข้างต้นและประเทศที่เหลือได้ จะต้องมีการพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมยา
โดยอุตสาหกรรมยา ได้ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเอฟทีเอ 2 โครงการ คือ 1.โครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมยาเพื่อรองรับผลกระทบ AFTA ในข้อตกลงด้าน ASEAN Harmonized Products ของสินค้ายาจากระบบเอกสารการขึ้นทะเบียนยาแบบ ACTD (ASEAN Common Technical Dossier) และ 2.โครงการศึกษาและเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยาเพื่อรองรับผลกระทบจากบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Agreement : MRA) ตามกรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งขณะนี้ ทั้ง 2 โครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยคาดว่าเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมยาของไทยให้แข่งขันได้อย่างแน่นอน
จากตัวอย่างข้างต้น พอทำให้เห็นภาพว่า แม้หลายๆ อุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี แต่ภาครัฐก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยมีกองทุนเอฟทีเอคอยให้ความช่วยเหลือ เพียงแต่ผู้ประกอบการจะต้องตื่นตัวและหาทางปรับตัวให้ได้ แต่หากไม่มีเงินทุนเพียงพอ กองทุนเอฟทีเอ คือ คำตอบสุดท้ายที่จะช่วยท่านได้ ที่สำคัญ เงื่อนไขการขอรับความช่วยเหลือมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก โดยสามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.dft.go.th หรือสายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรืออยากจะสายตรงกับเจ้าหน้าที่ ก็สามารถสอบถามได้เลยที่ โทร. 02-5474818
ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องเร่งให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวให้อยู่รอดได้ หรือให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆว่า กองทุนเอฟทีเอ โดยมีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการกองทุน และดำเนินการให้ความช่วยเหลือกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบ
ที่ผ่านมา กองทุนเอฟทีเอได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในหลายๆ กลุ่มสินค้า ทั้งเกษตรและอุตสาหกรรม จนถึงปัจจุบันนี้รวมแล้ว 12 โครงการ โดยโครงการที่ได้รับความช่วยเหลือ บางโครงการก็ได้มีการสรุปผลออกมาให้เห็นกันบ้างแล้ว ซึ่งพอจะใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการอื่นๆ ที่เห็นว่าตัวเองได้รับ หรืออาจจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี และทำแผนงาน โครงการ เพื่อขอใช้เงินกองทุนเอฟทีเอเพื่อการปรับตัวได้เป็นอย่างดี
เริ่มจากอุตสาหกรรมปลาป่น ซึ่งสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย มองว่า เมื่อมีการเปิด FTA ไทย-เปรู จะทำให้ผู้ประกอบการโรงงานผู้ผลิตปลาป่นได้รับผลกระทบ จึงได้ทำโครงการขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเอฟทีเอ เพื่อพิจารณาให้การสนับสนุนจัดทำระบบประกันคุณภาพ GMP โรงงานปลาป่นจำนวน 40 โรงงาน ใช้ระยะเวลา 1 ปี นับแต่เดือนเม.ย.2551-มี.ค.2552 โดยจ้างบริษัท ควอลิตี้ แซททิสฟายด์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาแนะนำด้านการจัดทำระบบตลอดจนคำปรึกษาให้การฝึกอบรมกับโรงงานผู้ผลิตปลาป่นไทย และขณะนี้โครงการได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยมีโรงงานผู้ผลิตปลาป่นไทยได้รับรองระบบประกันคุณภาพ GMP จำนวน 37 ราย
ถัดมาเป็นเรื่องของอุตสาหกรรมโคเนื้อ ที่ใครๆ มองว่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบจากการทำ FTA กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ มากที่สุดอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง เพราะก่อนเปิดเสรี ปี 2548 ภาษีนำเข้าอยู่ที่ 51% ปัจจุบันปี 2552 ภาษีนำเข้าลดเหลือ 29.33% และจะลดลงเหลือ 0% ในปี 2563 ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ส่วนแบ่งตลาดเนื้อโคขุนคุณภาพในประเทศลดลง จากเนื้อนำเข้าราคาถูก ขณะที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อของไทย ยังมีการรวมตัวเป็นสหกรณ์ หรือเครือข่ายวิสาหกิจผู้เลี้ยงโคเนื้อได้น้อยมาก ทำให้ไม่สามารถพัฒนาทั้งตัวเกษตรกร วิธีการเลี้ยง ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพของเนื้อโคให้มีคุณภาพเทียบเท่ากับเนื้อโคนำเข้า ทดแทนการนำเข้า และทำการส่งออก เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้
เมื่อมองเห็นปัญหา สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด และสหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด ในฐานะผู้ผลิตเนื้อโคขุนชั้นนำของประเทศ ที่ดูแลเกษตรกรที่เป็นสมาชิกรวมกันกว่า 10,000 ราย จึงได้ริเริ่มพัฒนาโครงการเพิ่มขีดความในการแข่งขันของกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ และได้ขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนเอฟทีเอ ซึ่งได้เริ่มทำโครงการตั้งแต่เดือนเม.ย.2551 สิ้นสุดโครงการในเดือนเม.ย.2552 ที่ผ่านมา โดยมีสถาบันคีนันแห่งเอเชียเป็นผู้บริหารโครงการ และเกิดผลสำเร็จ คือ 1.เกิดคลัสเตอร์โคขุนโพนยางคำ 2.เกิดคลัสเตอร์โคขุนกำแพงแสน และ 3.มีการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับโคเนื้อ รวมทั้งการทำรหัสประจำตัวสัตว์ สำหรับสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำนวน 1 ระบบ
นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมยา ที่เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี โดยเฉพาะการเปิดเสรีภายใต้กรอบ AFTA ที่มีสมาชิก 10 ประเทศและกำลังจะพัฒนาไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 โดยอุตสาหกรรมยาของไทย มีคู่แข่งสำคัญ คือ สิงคโปร์และมาเลเซีย เพราะมีความพร้อมในการเปิดเสรีมากกว่าประเทศอื่น ซึ่งสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน ได้เล็งเห็นว่า ถ้าจะทำให้อุตสาหกรรมยาในประเทศสามารถแข่งขันกับทั้ง 2 ประเทศข้างต้นและประเทศที่เหลือได้ จะต้องมีการพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมยา
โดยอุตสาหกรรมยา ได้ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเอฟทีเอ 2 โครงการ คือ 1.โครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมยาเพื่อรองรับผลกระทบ AFTA ในข้อตกลงด้าน ASEAN Harmonized Products ของสินค้ายาจากระบบเอกสารการขึ้นทะเบียนยาแบบ ACTD (ASEAN Common Technical Dossier) และ 2.โครงการศึกษาและเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยาเพื่อรองรับผลกระทบจากบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Agreement : MRA) ตามกรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งขณะนี้ ทั้ง 2 โครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยคาดว่าเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมยาของไทยให้แข่งขันได้อย่างแน่นอน
จากตัวอย่างข้างต้น พอทำให้เห็นภาพว่า แม้หลายๆ อุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี แต่ภาครัฐก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยมีกองทุนเอฟทีเอคอยให้ความช่วยเหลือ เพียงแต่ผู้ประกอบการจะต้องตื่นตัวและหาทางปรับตัวให้ได้ แต่หากไม่มีเงินทุนเพียงพอ กองทุนเอฟทีเอ คือ คำตอบสุดท้ายที่จะช่วยท่านได้ ที่สำคัญ เงื่อนไขการขอรับความช่วยเหลือมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก โดยสามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.dft.go.th หรือสายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรืออยากจะสายตรงกับเจ้าหน้าที่ ก็สามารถสอบถามได้เลยที่ โทร. 02-5474818