อาเซียนกดดันอินโดนีเซีย มาเลเซียและฟิลิปปินส์ลดภาษีสินค้าอ่อนไหวข้าวและน้ำตาลตามที่ผูกพันเอาไว้ หลังส่อเบี้ยวอีก หวั่นเส้นทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนชะงัก เพราะมัวแต่ฟ้องร้องหรือตอบโต้กัน พร้อมเดินหน้าศึกษาทำเขตค้าเสรีขนาดใหญ่อาเซียน +3/+6 “กอร์ปศักดิ์” ย้ำการเปิดเสรีข้าวปีหน้า ไทยมีแผนรับมือแล้ว “พรทิวา”เสนอตั้งสมาคมผู้ค้าข้าวร่วมกัน
วานนี้ (14 ส.ค.) รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ได้ประชุมต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 หลังจากที่วันแรก (13 ส.ค.) ได้ประสบความสำเร็จในการลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) อาเซียน-อินเดียสำหรับการค้าสินค้าไปแล้ว โดยการประชุมยังคงเน้นการแก้ไขปัญหา อุปสรรค ที่จะทำให้การก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ไม่มีการหยุดชะงัก
ไทยพร้อมเปิดเสรีข้าวAFTA
ในช่วงเช้า นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดประชุม AEM ครั้งที่ 41 ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ โดยเรียกร้องให้อาเซียนใช้กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจในเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจอาเซียนให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีส่วนช่วยขับเคลื่อนการสร้างเศรษฐกิจไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ตามเป้าหมายในปี 2558
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า การเปิดเสรีสินค้าเกษตร ภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 ซึ่งไทยจะต้องลดภาษีนำเข้าข้าวจากอาเซียนเป็น 0% และมีโอกาสให้ข้าวประเทศเพื่อนบ้านทะลักเข้าไทยจำนวนมากนั้น รัฐบาลได้หามาตรการป้องกันไม่ให้เกษตรกรได้รับผลกระทบแล้ว โดยขณะนี้ ได้เร่งขึ้นทะเบียน เพื่อไม่ให้มีสินค้าจากเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิ์เกษตรกรเข้าโครงการรับประกันราคาของรัฐบาล แต่การเปิดเสรีสินค้าเกษตรไม่ได้เกิดเพียงผลเสียต่อไทย แต่ยังเกิดผลดีโดยจะทำให้ไทยมีโอกาสนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าเพื่อส่งออกอีกทางหนึ่ง
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ถึงการหารือ 2 ฝ่ายกับกัมพูชาว่า ไทยได้เสนอจัดตั้งสมาคมผู้ค้าข้าวร่วมกันในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ประกอบด้วย ไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าว โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสแต่ละประเทศไปเจรจารายละเอียด โดยภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการโดยมีภาครัฐสนับสนุน ตามเป้าหมายปี53
บีบอาเซียนลดภาษีข้าว-น้ำตาล
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุม AEM และคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) ได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามข้อตกลง โดยเฉพาะการลดภาษีในกลุ่มสินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List) ตามตารางที่ผูกผันไว้ เนื่องจากขณะนี้หลายประเทศยังไม่สามารถลดภาษีได้ตามที่กำหนด และส่งผลกระทบต่อกระบวนการเดินหน้าไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่อาจจะต้องล่าช้าออกไป
ทั้งนี้ ปัจจุบันเหลือเพียง 3 ประเทศที่คงมีรายการสินค้าอ่อนไหวสูง คือ อินโดนีเซีย 2 รายการ คือ ข้าวและน้ำตาล โดยข้าวผูกพันที่จะลดภาษีเป็น 25% ในปี 2558 น้ำตาล ผูกพันจะลดภาษีจาก 30-40% เป็น 5-10% ในปี 2558 มาเลเซีย 1 รายการ คือ ข้าว โดยผูกผันที่จะลดภาษีจาก 40% เป็น 20% ในปี 2553 และฟิลิปปินส์ 1 รายการ คือ ข้าว โดยปัจจุบันยังไม่ได้ผูกพันการลดภาษี แต่เรียกเก็บภาษีนำเข้าตาม WTO ที่ 40%และกำหนดโควตา 350,000 ตัน แต่ทั้ง 3 ประเทศมีแนวโน้มที่จะไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ส่วนสินค้าอ่อนไหวอื่นๆ ตามกำหนดเดิม อาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้ตกลงที่จะลดภาษีเหลือ 0-5% ในปี 2553 ยกเว้นอาเซียนใหม่ ที่จะช้าออกไป โดยไทยมีสินค้าอ่อนไหวเพียง 7 รายการ
รายงานข่าวแจ้งว่า หากทั้ง 3 ประเทศไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง จะทำให้ไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกทั้งข้าวและน้ำตาลได้รับผลกระทบทันที เพราะจะส่งสินค้าเข้าไปขายได้ลำบากขึ้น โดยเฉพาะกรณีน้ำตาลของอินโดนีเซีย ซึ่งไทยได้เสียส่วนแบ่งตลาดไปแล้ว
วานนี้ (14 ส.ค.) รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ได้ประชุมต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 หลังจากที่วันแรก (13 ส.ค.) ได้ประสบความสำเร็จในการลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) อาเซียน-อินเดียสำหรับการค้าสินค้าไปแล้ว โดยการประชุมยังคงเน้นการแก้ไขปัญหา อุปสรรค ที่จะทำให้การก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ไม่มีการหยุดชะงัก
ไทยพร้อมเปิดเสรีข้าวAFTA
ในช่วงเช้า นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดประชุม AEM ครั้งที่ 41 ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ โดยเรียกร้องให้อาเซียนใช้กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจในเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจอาเซียนให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีส่วนช่วยขับเคลื่อนการสร้างเศรษฐกิจไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ตามเป้าหมายในปี 2558
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า การเปิดเสรีสินค้าเกษตร ภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 ซึ่งไทยจะต้องลดภาษีนำเข้าข้าวจากอาเซียนเป็น 0% และมีโอกาสให้ข้าวประเทศเพื่อนบ้านทะลักเข้าไทยจำนวนมากนั้น รัฐบาลได้หามาตรการป้องกันไม่ให้เกษตรกรได้รับผลกระทบแล้ว โดยขณะนี้ ได้เร่งขึ้นทะเบียน เพื่อไม่ให้มีสินค้าจากเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิ์เกษตรกรเข้าโครงการรับประกันราคาของรัฐบาล แต่การเปิดเสรีสินค้าเกษตรไม่ได้เกิดเพียงผลเสียต่อไทย แต่ยังเกิดผลดีโดยจะทำให้ไทยมีโอกาสนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าเพื่อส่งออกอีกทางหนึ่ง
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ถึงการหารือ 2 ฝ่ายกับกัมพูชาว่า ไทยได้เสนอจัดตั้งสมาคมผู้ค้าข้าวร่วมกันในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ประกอบด้วย ไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าว โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสแต่ละประเทศไปเจรจารายละเอียด โดยภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการโดยมีภาครัฐสนับสนุน ตามเป้าหมายปี53
บีบอาเซียนลดภาษีข้าว-น้ำตาล
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุม AEM และคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) ได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามข้อตกลง โดยเฉพาะการลดภาษีในกลุ่มสินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List) ตามตารางที่ผูกผันไว้ เนื่องจากขณะนี้หลายประเทศยังไม่สามารถลดภาษีได้ตามที่กำหนด และส่งผลกระทบต่อกระบวนการเดินหน้าไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่อาจจะต้องล่าช้าออกไป
ทั้งนี้ ปัจจุบันเหลือเพียง 3 ประเทศที่คงมีรายการสินค้าอ่อนไหวสูง คือ อินโดนีเซีย 2 รายการ คือ ข้าวและน้ำตาล โดยข้าวผูกพันที่จะลดภาษีเป็น 25% ในปี 2558 น้ำตาล ผูกพันจะลดภาษีจาก 30-40% เป็น 5-10% ในปี 2558 มาเลเซีย 1 รายการ คือ ข้าว โดยผูกผันที่จะลดภาษีจาก 40% เป็น 20% ในปี 2553 และฟิลิปปินส์ 1 รายการ คือ ข้าว โดยปัจจุบันยังไม่ได้ผูกพันการลดภาษี แต่เรียกเก็บภาษีนำเข้าตาม WTO ที่ 40%และกำหนดโควตา 350,000 ตัน แต่ทั้ง 3 ประเทศมีแนวโน้มที่จะไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ส่วนสินค้าอ่อนไหวอื่นๆ ตามกำหนดเดิม อาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้ตกลงที่จะลดภาษีเหลือ 0-5% ในปี 2553 ยกเว้นอาเซียนใหม่ ที่จะช้าออกไป โดยไทยมีสินค้าอ่อนไหวเพียง 7 รายการ
รายงานข่าวแจ้งว่า หากทั้ง 3 ประเทศไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง จะทำให้ไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกทั้งข้าวและน้ำตาลได้รับผลกระทบทันที เพราะจะส่งสินค้าเข้าไปขายได้ลำบากขึ้น โดยเฉพาะกรณีน้ำตาลของอินโดนีเซีย ซึ่งไทยได้เสียส่วนแบ่งตลาดไปแล้ว