ไทยประกาศความพร้อมจัดประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 41 วันที่ 13-16 ส.ค.นี้ เตรียมถกอนาคตของอาเซียนหลังจะเป็นประชาคมเศรษฐกิจในปี 2558 พร้อมหารือความร่วมมืออาเซียนกับคู่เจรจา +3 และ +6 เอกชนผลักดันอาเซียนขยายความร่วมมือ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้า การลงทุน มั่นใจระบบรักษาความปลอดภัยพร้อมเต็มสูบ
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยพร้อมจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 41 ระหว่างวันที่ 13-16 ส.ค.นี้ ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ โดยจะมีการหารือถึงอนาคตของอาเซียนหลังจากจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่จะถึงนี้โดยจะมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการรวมกลุ่มเชิงลึก เช่น การพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพศุลกากร หรือการรวมกลุ่มในรูปแบบอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียน
นอกจากนี้ จะมีการหารือถึงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในกรอบอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) และอาเซียน +6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ว่าจะเพิ่มความร่วมมือกันอย่างไร หลังจากที่อาเซียนได้มีการทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศเหล่านี้แล้ว ก็จะมีการหารือถึงกรอบความร่วมมือที่มากยิ่งขึ้น
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะร่วมประชุมกันในวันที่ 13-14 ส.ค. โดยจะมีการติดตามการดำเนินงานตามพันธกรณีของแต่ละประเทศสมาชิก (AEC Scorecard) ว่าได้ดำเนินการตามแผนมากน้อยแค่ไหน เพราะหลายๆ ประเทศยังทำได้ต่ำกว่าแผนที่ระบุไว้มากซึ่งจะจัดทำผลสรุปและนำเสนอให้ผู้นำของแต่ละประเทศพิจารณาในการประชุมสุดยอดผู้นำเดือนต.ค.นี้
สำหรับการหารือระหว่างอาเซียน +3 และอาเซียน +6 จะมีการหารือว่าอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาจะเพิ่มความร่วมมือระหว่างกันอย่างไร เพราะขณะนี้ได้มีการทำ FTA ทั้งในกรอบอาเซียนกับคู่เจรจา หรือทำ FTA ในกรอบของรายประเทศกับคู่เจรจา ซึ่งทางเลือกในการเจรจาจะมีทั้งการเพิ่มความร่วมมือในกรอบอาเซียน +3 หรืออาเซียน +6 ไปเลย หรือจะเลือกทางใดทางหนึ่ง
เป็นเรื่องที่จะมีการหารือกัน
นอกจากนี้ จะมีการหารือถึงความร่วมมือของอาเซียนในการผลักดันการเจรจาการค้ารอบโดฮาภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ที่ยังคงไม่มีความคืบหน้าว่าอาเซียนจะเพิ่มแรงผลักดันในเรื่องนี้อย่างไร รวมไปถึงประเด็นทางด้านการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจ และปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ไข้หวัด 2009 เป็นต้น
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากเห็นอาเซียนเพิ่มความร่วมมือเป็นอาเซียน +3 และอาเซียน +6 เพราะจะเกิดประโยชน์ในด้านการค้า การลงทุน และการทำธุรกิจของไทยและอาเซียน
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า อยากเห็นไทยเป็นผู้นำในการผลักดันให้อาเซียนก้าวไปสู่การเป็น AEC โดยริเริ่มกรอบความร่วมมือใหม่ๆ เช่น การเป็นสหภาพศุลกากร การวางระบบมาตรฐานต่างๆ ทั้งด้านสุขอนามัย มาตรฐานสินค้า และสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันผู้บริโภคหลังจากที่มีการเปิดเสรี และอาจจะมีสินค้าด้อยคุณภาพเข้ามาสู่ประเทศ
นายประพล มิลินทจินดา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในการจัดระบบรักษาความปลอดภัยการประชุมครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศรภ.กองทัพเรือ และหน่วยงานรักษาความปลอดภัยจากอีกหลายหน่วยที่จะให้การสนับสนุนตลอด 24 ชม. ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยจะมีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยแบบ Radio Frequency Identification Device (RFID)เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบและยืนยันสถานภาพของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยพร้อมจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 41 ระหว่างวันที่ 13-16 ส.ค.นี้ ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ โดยจะมีการหารือถึงอนาคตของอาเซียนหลังจากจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่จะถึงนี้โดยจะมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการรวมกลุ่มเชิงลึก เช่น การพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพศุลกากร หรือการรวมกลุ่มในรูปแบบอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียน
นอกจากนี้ จะมีการหารือถึงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในกรอบอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) และอาเซียน +6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ว่าจะเพิ่มความร่วมมือกันอย่างไร หลังจากที่อาเซียนได้มีการทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศเหล่านี้แล้ว ก็จะมีการหารือถึงกรอบความร่วมมือที่มากยิ่งขึ้น
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะร่วมประชุมกันในวันที่ 13-14 ส.ค. โดยจะมีการติดตามการดำเนินงานตามพันธกรณีของแต่ละประเทศสมาชิก (AEC Scorecard) ว่าได้ดำเนินการตามแผนมากน้อยแค่ไหน เพราะหลายๆ ประเทศยังทำได้ต่ำกว่าแผนที่ระบุไว้มากซึ่งจะจัดทำผลสรุปและนำเสนอให้ผู้นำของแต่ละประเทศพิจารณาในการประชุมสุดยอดผู้นำเดือนต.ค.นี้
สำหรับการหารือระหว่างอาเซียน +3 และอาเซียน +6 จะมีการหารือว่าอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาจะเพิ่มความร่วมมือระหว่างกันอย่างไร เพราะขณะนี้ได้มีการทำ FTA ทั้งในกรอบอาเซียนกับคู่เจรจา หรือทำ FTA ในกรอบของรายประเทศกับคู่เจรจา ซึ่งทางเลือกในการเจรจาจะมีทั้งการเพิ่มความร่วมมือในกรอบอาเซียน +3 หรืออาเซียน +6 ไปเลย หรือจะเลือกทางใดทางหนึ่ง
เป็นเรื่องที่จะมีการหารือกัน
นอกจากนี้ จะมีการหารือถึงความร่วมมือของอาเซียนในการผลักดันการเจรจาการค้ารอบโดฮาภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ที่ยังคงไม่มีความคืบหน้าว่าอาเซียนจะเพิ่มแรงผลักดันในเรื่องนี้อย่างไร รวมไปถึงประเด็นทางด้านการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจ และปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ไข้หวัด 2009 เป็นต้น
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากเห็นอาเซียนเพิ่มความร่วมมือเป็นอาเซียน +3 และอาเซียน +6 เพราะจะเกิดประโยชน์ในด้านการค้า การลงทุน และการทำธุรกิจของไทยและอาเซียน
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า อยากเห็นไทยเป็นผู้นำในการผลักดันให้อาเซียนก้าวไปสู่การเป็น AEC โดยริเริ่มกรอบความร่วมมือใหม่ๆ เช่น การเป็นสหภาพศุลกากร การวางระบบมาตรฐานต่างๆ ทั้งด้านสุขอนามัย มาตรฐานสินค้า และสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันผู้บริโภคหลังจากที่มีการเปิดเสรี และอาจจะมีสินค้าด้อยคุณภาพเข้ามาสู่ประเทศ
นายประพล มิลินทจินดา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในการจัดระบบรักษาความปลอดภัยการประชุมครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศรภ.กองทัพเรือ และหน่วยงานรักษาความปลอดภัยจากอีกหลายหน่วยที่จะให้การสนับสนุนตลอด 24 ชม. ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยจะมีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยแบบ Radio Frequency Identification Device (RFID)เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบและยืนยันสถานภาพของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน