นับถอยหลังจากวันนี้ไป เหลือเวลาอีกไม่กี่วัน การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 41 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่กำหนดไว้ว่าจะประชุมกันระหว่างวันที่ 12-16 ส.ค.2552 ณ โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ จะเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยจะมีรัฐมนตรีของประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และรัฐมนตรีจากประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย มาร่วมในการประชุมหารือครั้งนี้
การประชุม AEM เป็นการจัดประชุมต่อเนื่องทุกปี โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ แต่ปีนี้ที่พิเศษ ก็คือ การที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ซึ่งล่าสุดได้มีการเตรียมความพร้อมในการจัดการประชุมทั้งในกรอบของอาเซียน อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และกับภาคเอกชน
รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมพิเศษในโอกาสที่ไทยเป็นเจ้าภาพอย่างการจัดงานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEAN Fashion Plus Trade Fair)
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน จะเดินทางไปร่วมงาน ASEAN Fashion Plus ที่อิมแพค เมืองทองธานี ที่เป็นการจัดงานแสดงสินค้าแฟชั่นที่มีคุณภาพของอาเซียน ซึ่งจัดควบคู่กับงาน Bangkok International Fashion Fair and Bangkok International Leather Fair 2009 (BIFF&BIL2009) โดยสิ่งที่พิเศษ ก็คือ มีการแสดงสินค้าสำหรับผู้ผลิตและออกแบบสินค้าแฟชั่นในอาเซียน ครอบคลุมตั้งแต่เส้นใย เส้นด้าย สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง และเครื่องประดับ ที่จะเป็นการสนับสนุนการเชื่อมโยงตลาดและฐานการผลิตสินค้าแฟชั่นในอาเซียน
สำหรับประเด็นสำคัญที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจที่อาเซียนต้องหารือกันในการประชุมครั้งนี้ ก็คือ อาเซียนจะมีการติดตามความคืบหน้าของการผลักดันให้อาเซียนก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) โดยเฉพาะประเด็นที่จะต้องเร่งดำเนินการเพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีด้านการค้า การลงทุน การเงิน และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ อย่างเสรีในปี 2558 รวมถึงแผนงานการรวมกลุ่มของอาเซียนภายหลังจากปี 2558 ว่าจะมีทิศทางเป็นเช่นไร
ที่สำคัญ ในระหว่างการประชุมจะมีการลงนามในกรอบความร่วมมือ FTA กับประเทศคู่เจรจา และติดตามความคืบหน้าการทำ FTA กับประเทศคู่เจรจา ได้แก่ อาเซียน-จีน จะมีการลงนามความตกลงด้านการลงทุน เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน การให้ความคุ้มครองกับนักลงทุนและเงินทุนโดยครอบคลุมทั้งการลงทุนทางตรง และการลงทุนในหลักทรัพย์ ส่วนอาเซียน-อินเดีย หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้ข้อสรุปความตกลงการค้าสินค้าแล้ว อาจจะมีการลงนามความตกลงได้ในการประชุมครั้งนี้
สำหรับกรอบอาเซียนกับประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จะเป็นการติดตามการบังคับใช้ข้อตกลง FTA ที่ได้มีการลงนามกันไปก่อนหน้านี้ให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดเวลา
นอกจากนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน จะมีการหารือถึงความร่วมมือของอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม โดยเฉพาะในกรอบอาเซียน +3 และอาเซียน +6 ซึ่งหลังจากที่คณะผู้เชี่ยวชาญได้มีการศึกษาแนวทางการรวมกลุ่มของทั้งสองกรอบแล้ว ในการประชุมครั้งนี้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับรัฐมนตรี +3 +6 จะมีการหารือถึงทิศทางความร่วมมือการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ในขณะเดียวกัน ในระหว่างการประชุม ยังได้จัดให้มีเวทีการหารือร่วมระหว่าง AEM และภาคเอกชนอาเซียน ได้แก่ สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ABAC) สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN-CCI) และสหพันธ์สิ่งทออาเซียน (AFTEX) เป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนของอาเซียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มของอาเซียน เพราะเอกชนเป็นตัวจักรสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่ AEC ขณะที่ภาครัฐจะได้รับข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดทิศทางและนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนได้ต่อไป
การประชุม AEM ครั้งที่ 41 ที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ จะเป็นเวทีที่สมาชิกอาเซียนจะมาร่วมกันผลักดันให้อาเซียนก้าวไปสู่เป้าหมายการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน และการวางรากฐานของอาเซียนหลังจากที่ได้ก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นใจต่อนักลงทุนทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค
ส่วนประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ จะได้ประโยชน์ในแง่การสร้างความเชื่อมั่นทางด้านเศรษฐกิจของไทย และภูมิภาคอาเซียนท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ และแสดงความพร้อมของไทยในการเป็นศูนย์กลางด้านแฟชั่น และการเป็น Silk Hub ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการจัดงาน ASEAN Fashion Plus ที่สำคัญ จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในเวทีโลก โดยเฉพาะการต้อนรับคณะผู้แทนทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ ที่จะเข้ามาร่วมงานการประชุม AEM ครั้งนี้
สำหรับรายละเอียดการประชุม และความพร้อมของไทยในการจัดประชุม AEM ครั้งนี้ นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จะร่วมกันแถลงข่าวในประเด็นต่างๆ ในวันนี้ (10 ส.ค.) ส่วนผู้ที่สนใจจะติดตามรายละเอียดการประชุม AEM ครั้งที่ 41 และการประชุมอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง ยังสามารถเข้าไปชมได้ที่เว็บไซต์ www.41staem.org ซึ่งเป็นเว็บไชต์ที่กระทรวงพาณิชย์จัดทำขึ้นสำหรับเผยแพร่ผลการประชุมได้ตลอดการจัดงาน
การประชุม AEM เป็นการจัดประชุมต่อเนื่องทุกปี โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ แต่ปีนี้ที่พิเศษ ก็คือ การที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ซึ่งล่าสุดได้มีการเตรียมความพร้อมในการจัดการประชุมทั้งในกรอบของอาเซียน อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และกับภาคเอกชน
รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมพิเศษในโอกาสที่ไทยเป็นเจ้าภาพอย่างการจัดงานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEAN Fashion Plus Trade Fair)
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน จะเดินทางไปร่วมงาน ASEAN Fashion Plus ที่อิมแพค เมืองทองธานี ที่เป็นการจัดงานแสดงสินค้าแฟชั่นที่มีคุณภาพของอาเซียน ซึ่งจัดควบคู่กับงาน Bangkok International Fashion Fair and Bangkok International Leather Fair 2009 (BIFF&BIL2009) โดยสิ่งที่พิเศษ ก็คือ มีการแสดงสินค้าสำหรับผู้ผลิตและออกแบบสินค้าแฟชั่นในอาเซียน ครอบคลุมตั้งแต่เส้นใย เส้นด้าย สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง และเครื่องประดับ ที่จะเป็นการสนับสนุนการเชื่อมโยงตลาดและฐานการผลิตสินค้าแฟชั่นในอาเซียน
สำหรับประเด็นสำคัญที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจที่อาเซียนต้องหารือกันในการประชุมครั้งนี้ ก็คือ อาเซียนจะมีการติดตามความคืบหน้าของการผลักดันให้อาเซียนก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) โดยเฉพาะประเด็นที่จะต้องเร่งดำเนินการเพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีด้านการค้า การลงทุน การเงิน และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ อย่างเสรีในปี 2558 รวมถึงแผนงานการรวมกลุ่มของอาเซียนภายหลังจากปี 2558 ว่าจะมีทิศทางเป็นเช่นไร
ที่สำคัญ ในระหว่างการประชุมจะมีการลงนามในกรอบความร่วมมือ FTA กับประเทศคู่เจรจา และติดตามความคืบหน้าการทำ FTA กับประเทศคู่เจรจา ได้แก่ อาเซียน-จีน จะมีการลงนามความตกลงด้านการลงทุน เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน การให้ความคุ้มครองกับนักลงทุนและเงินทุนโดยครอบคลุมทั้งการลงทุนทางตรง และการลงทุนในหลักทรัพย์ ส่วนอาเซียน-อินเดีย หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้ข้อสรุปความตกลงการค้าสินค้าแล้ว อาจจะมีการลงนามความตกลงได้ในการประชุมครั้งนี้
สำหรับกรอบอาเซียนกับประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จะเป็นการติดตามการบังคับใช้ข้อตกลง FTA ที่ได้มีการลงนามกันไปก่อนหน้านี้ให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดเวลา
นอกจากนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน จะมีการหารือถึงความร่วมมือของอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม โดยเฉพาะในกรอบอาเซียน +3 และอาเซียน +6 ซึ่งหลังจากที่คณะผู้เชี่ยวชาญได้มีการศึกษาแนวทางการรวมกลุ่มของทั้งสองกรอบแล้ว ในการประชุมครั้งนี้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับรัฐมนตรี +3 +6 จะมีการหารือถึงทิศทางความร่วมมือการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ในขณะเดียวกัน ในระหว่างการประชุม ยังได้จัดให้มีเวทีการหารือร่วมระหว่าง AEM และภาคเอกชนอาเซียน ได้แก่ สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ABAC) สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN-CCI) และสหพันธ์สิ่งทออาเซียน (AFTEX) เป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนของอาเซียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มของอาเซียน เพราะเอกชนเป็นตัวจักรสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่ AEC ขณะที่ภาครัฐจะได้รับข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดทิศทางและนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนได้ต่อไป
การประชุม AEM ครั้งที่ 41 ที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ จะเป็นเวทีที่สมาชิกอาเซียนจะมาร่วมกันผลักดันให้อาเซียนก้าวไปสู่เป้าหมายการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน และการวางรากฐานของอาเซียนหลังจากที่ได้ก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นใจต่อนักลงทุนทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค
ส่วนประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ จะได้ประโยชน์ในแง่การสร้างความเชื่อมั่นทางด้านเศรษฐกิจของไทย และภูมิภาคอาเซียนท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ และแสดงความพร้อมของไทยในการเป็นศูนย์กลางด้านแฟชั่น และการเป็น Silk Hub ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการจัดงาน ASEAN Fashion Plus ที่สำคัญ จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในเวทีโลก โดยเฉพาะการต้อนรับคณะผู้แทนทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ ที่จะเข้ามาร่วมงานการประชุม AEM ครั้งนี้
สำหรับรายละเอียดการประชุม และความพร้อมของไทยในการจัดประชุม AEM ครั้งนี้ นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จะร่วมกันแถลงข่าวในประเด็นต่างๆ ในวันนี้ (10 ส.ค.) ส่วนผู้ที่สนใจจะติดตามรายละเอียดการประชุม AEM ครั้งที่ 41 และการประชุมอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง ยังสามารถเข้าไปชมได้ที่เว็บไซต์ www.41staem.org ซึ่งเป็นเว็บไชต์ที่กระทรวงพาณิชย์จัดทำขึ้นสำหรับเผยแพร่ผลการประชุมได้ตลอดการจัดงาน