"มาร์ค"เดินหน้าใช้อำนาจนายกฯหา ผบ.ตร.คนใหม่ ยันไม่ยุบสภา ไม่ขัดแย้ง"เทือก-ห้อย" ชี้ทุกปัญหามีทางออก ประกาศต่อหน้า ส.ส. ถ้ายังอยู่ ต้องบริหารได้ ถ้าบริหารไม่ได้ ก็ไม่ควรอยู่ "ชวน-บัญญัติ-ส.ส.ปชป." ให้กำลังใจ คาดไม่ถึงถูกหักกลางที่ประชุม หากยุบสภา-ลาออก จะยิ่งทำให้ประเทศเสีย สองอดีต บิ๊กตำรวจชี้ ไม่เด็ดขาด ถูกตีแสกหน้า เป็นแค่เด็กเมื่อวานซืน แนะแก้เกมสั่ง"ป๊อด" ช่วยราชการสำนักนายกฯ ตั้ง"ปทีป" รักษาการ ก่อนสูญเสียอำนาจไปมากกว่านี้ จวก"ชวรัตน์" เสียมารยาท
หลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) เมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่ แทน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ที่จะเกษียณอายุราชการในสิ้นเดือนกันยายนนี้ แต่มีปัญหาขัดข้องเนื่องจากกรรมการ ก.ต.ช.ส่วนหนึ่งไม่เห็นชอบให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ ขึ้นเป็น ผบ.ตร. ตามที่นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธาน ก.ต.ช.เสนอ ทำให้ต้องเลื่อนการแต่งตั้งออกไปก่อน
เช้าวานนี้ (21 ส.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางออกจากบ้านพักซอยสวัสดี ตั้งแต่เวลา 06.48 น. เพื่อไปพบนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพักซอยสุขุมวิท 53 โดยคาดว่าจะเป็นการหารือถึงเรื่องตำแหน่ง ผบ.ตร. ที่ยังเป็นปัญหาค้างคาอยู่ โดยใช้เวลาในการหารือประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นนายกฯเดินออกมาด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม เมื่อถูกสื่อมวลชนซักถามว่า ตัดสินใจได้แล้วหรือยังในการเลือก ผบ.ตร. คนใหม่ โดยนายกฯ กล่าวว่า มัวแต่ยุ่งเรื่องอื่นอยู่
เมื่อถามว่า ยุ่งเรื่องยุบสภาอยู่ใช่หรือไม่ นายกฯตอบทีเล่นทีจริงว่า สื่อช่างคิด ก่อนเดินทางกลับ และตรงไปร่วมประชุมกับผู้บริหารโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ขณะที่นายนิพนธ์ กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า เกิดความขัดแย้งกับนายกฯ เรื่องการแต่งตั้ง ผบ.ตร. โดยยืนยันว่า “ไม่ได้เกิดความขัดแย้งกับนายกฯแต่อย่างใด”
"มาร์ค"ประกาศเดินหน้าชน
จากนั้น นายอภิสิทธิ์ ได้ให้สัมภาษณ์หลังพบนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กว่า 1 ชั่วโมง ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ ว่า จะเดินหน้าใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการเสนอชื่อ ผบ.ตร. ต่อไป เชื่อว่าไม่มีปัญหา เพียงแต่ขณะนี้มี ก.ต.ช. บางส่วนไม่อยู่ ไปต่างประเทศ จึงไม่ทราบว่าจะนัดประชุม ก.ต.ช.อีกครั้งเมื่อใด แต่ควรเลือกให้ได้ก่อนเดือนตุลาคมนี้ ขณะนี้ได้ให้ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)ไปดูตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปก่อน เพราะตามข้อกฎหมายแล้ว สามารถทำได้ ทั้งนี้เชื่อว่าเรื่องนี้มีทางออก กระบวนการยังไม่จบ
"เดี๋ยวผมก็หาทางออกได้ ทุกปัญหามีทางออก ไม่รู้สึกกดดัน เพราะสิ่งที่ทำทั้งหมด ผมได้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ผมไม่ได้มีอะไรเป็นการส่วนตัวกับใคร ดังนั้นไม่มีอะไรต้องกังวล ไม่มีอะไรต้องกดดัน และจะเดินหน้าต่อ ผมต้องขอบคุณประชาชน ที่เป็นห่วงผมจำนวนมากทั้งตลอดเมื่อคืนนี้และวันนี้ และทุกอย่างจะยึดประโยชน์บ้านเมือง ยึดตามระบบทุกอย่าง ส่วนการยุบสภาจะเป็นทางออกหรือไม่ ผมเห็นว่าทางออกมีหลายทาง" นายกฯ กล่าว
ยันไม่ขัดแย้ง"เทือก-ห้อย"
สำหรับกระแสข่าวที่ระบุว่านายกฯขัดแย้งกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทยนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลอะไรต้องขัดแย้ง เพราะทั้ง 2 คนไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ และนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ยังไม่ได้พูดคุยกัน จึงไม่ทราบว่านายชวรัตน์ จะสนับสนุนใคร แต่เชื่อว่าหากคุยกันแล้วเสียงน่าจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
ต่อกรณีที่ ก.ต.ช.บางคนอ้างว่าไม่ยุติธรรมที่นายกฯเสนอชื่อผู้เหมาะสมเป็นผบ.ตร.คนใหม่ เพียงคนเดียวนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องการแสดงวิสัยทัศน์ในอดีตไม่เคยมี และครั้งนี้ได้พูดคุยกับหลายคน และมีการให้ข้อมูลมาแล้ว
เมื่อถามว่า ก.ต.ช.ท้าทายอำนาจหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ไม่มีใครมาท้าทาย เมื่อถามว่า สถานการณ์รุนแรงจนถึงขั้นต้องยุบสภาหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตอนนี้สภาฯยังอยู่ เพียงแต่งดประชุม และไม่มีการพูดคุยระหว่างตน และ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
ลั่นถ้ายังอยู่ต้องบริหารได้
นายอภิสิทธิ์ ได้เดินไปที่ชั้น 3 ของอาคารเสนีย์ ปราโมช โดยมี ส.ส.ส่วนหนึ่งรอให้กำลังใจ และเมื่อเดินทางไปถึง ส.ส.ต่างปรบมือส่งเสียงให้กำลังใจ และได้พูดคุยกับ ส.ส.ที่นำโดยนายเจริญ คันธวงศ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายกฯ กล่าวว่า “ถ้าผมยังอยู่ ต้องบริหารราชการได้ ถ้าบริหารราชไม่ได้ ก็ไม่ควรอยู่ แต่คิดว่ายังทำได้ โดยได้ปรึกษากับคุณชวนแล้ว ขอเวลาอีก 2-3 วัน น่าจะมีคำตอบ" ทำให้ส.ส.ที่มาให้กำลังใจต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า หากเกิดอะไรขึ้นขอให้ช่วยบอกล่วงหน้าด้วย จะได้เตรียมตัวสำหรับการเลือกตั้งใหม่ได้ทัน
จากนั้น ได้เดินทางไปที่วัดเบญจมบพิตร เพื่อไปร่วมอวยพรวันเกิด นายมารุต บุนนาค อดีตประธานสภาฯ ที่อายุครบ 85 ปี โดยนายมารุตได้มอบพระหลวงพ่อโสธรให้
"ชวน"คาดไม่ถึง"มาร์ค"ถูกหัก
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวยอมรับว่าหลายฝ่ายเป็นห่วงนายกฯ ในสถานการณ์ขณะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา แต่เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้ ซึ่งไม่ได้ให้คำแนะนำใดๆ ส่วนปัญหาการแต่งตั้ง ผบ.ตร.เป็นเรื่องท้าทายหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า เป็นสิ่งที่นายกฯคาดไม่ถึง แต่มั่นใจว่าจะแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้
ทั้งนี้ ปฏิเสธว่า ไม่เคยได้ยินข่าวเรื่องการยุบสภา และไม่ขอให้ความเห็น ในประเด็นที่ว่า หากมีการปรับคณะรัฐมนตรีจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้หรือไม่ โดยขอให้ไปถามนายกฯเอง พร้อมยืนยันว่าภายในพรรคฯ ไม่มีแรงกระเพื่อมกดดันนายกฯ โดยแต่ละคนต่างช่วยกันทำภาระหน้าที่
"บัญญัติ"ยืนยันนายกฯทำถูกต้อง
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายกฯ ปฏิบัติตามกฎหมาย และธรรมเนียมปฏิบัติถูกต้องตามอำนาจหน้าที่ ในการคัดเลือกรายชื่อ และเสนอผู้มีความเหมาะสม ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ครั้งแรก แต่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่สมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ควบคุมดูแล สตช. มั่นใจว่า ครั้งต่อไป จะได้ข้อยุติเรื่องตัวบุคคล เพราะมั่นใจสภาวะผู้นำของนายกฯ ทั้งนี้ ต้องให้เวลา ก.ต.ช. ทบทวนสักระยะ ขณะเดียวกัน ยังไม่มีการพูดคุยรายละเอียดว่า นายกฯ จะเสนอชื่อคนเดิมหรือไม่ แต่เชื่อมั่นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะไม่เกิดการยุบสภา หรือนายกฯจะลาออก เพราะการเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ใช่เรื่องง่าย และจะมีผลกระทบโดยรวม โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจ
"เทือก"บอกไม่ใช่เรื่องตื่นเต้น
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีกล่าว ก่อนไปปฏิบัติภารกิจที่ จ.ภูเก็ต ว่า คงไม่มีปัญหาอะไรกับรัฐบาล เพราะก.ต.ช. อาจจะมีความเห็นแตกต่างกัน ก็ค่อยประชุมกันใหม่ เลือกใหม่
ส่วนที่ นายกฯ กับทาง สตช. เกิดปัญหาหลายครั้ง การเลือก ผบ.ตร.ไม่ได้ ทำให้เป็นห่วงกันว่า ต่อไปนายกฯ จะบริหารงานได้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอะไร เพราะมันไม่ใช่ความผิดของนายกฯ และไม่ใช่ความผิดของใคร เพราะกรรมการตั้ง 11 คน ก็ย่อมมีความเห็นที่แตกต่างกันได้ เป็นธรรมดา ไม่มีการเล่นการเมืองภายใน ก.ต.ช. แต่เป็นเรื่องของกรรมการแต่ละคนมีดุลยพินิจของตัวเอง ขึ้นอยู่กับข้อมูล ซึ่งก็ต้องค่อยๆซักซ้อมกันไป คำว่าซักซ้อม ก็หมายความว่า ต้องเอาข้อมูลมาแลกเปลี่ยน และสอบถามกัน และคิดว่า คนเหล่านั้นก็คงจะต้องคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป
ส่วนเป็นความจริงหรือไม่ที่พรรคภูมิใจไทย สนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย โดยนายสุเทพ ย้อนถามว่า แล้วสื่อมวลชนคิดว่าตนจะรู้หรือไม่ เพราะตนก็ไม่ได้อยู่ใน ก.ต.ช. ตนเป็นเพียงมือประสานงานกับพรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องทำหน้าที่ประสานต่อไปเท่านั้นเอง เวลามีอะไรตนก็จะช่วยเท่าที่จะทำได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข่าวว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ พูดกันไปไกลถึงขนาดว่า ถ้ามีการยุบสภา ก็จะรวมตัวกันมาให้กำลังใจ เคียงข้างนายกฯ นายสุเทพ ย้อนถามว่า ส.ส.คนไหน นายศิริโชค โสภา หรือ ตนก็อยู่กับ ส.ส.เมื่อคืนที่สภา ตนยังคุยกับนายชวน และส.ส.อีกหลายคน ก็ไม่เห็นใครพูดอะไร เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับว่าสื่อมวลชนไปฟัง ส.ส.คนไหนพูดมา ขอให้บอกชื่อมา ตนจะได้ไปถามให้ ในฐานะเลขาธิการพรรค ตนไม่เห็นว่า ส.ส.มีความเคลื่อนไหวอะไรในเรื่องนี้
"สาทิตย์"ยอมรับส.ส.ผวายุบสภา
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ค่ำวันที่ 20 ส.ค. ส.ส.ในพรรค ห่วงความรู้สึกของนายกฯ และกังวลกันมาก เกรงว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะกระทบการบริหารงานของนายกฯ ส.ส.ส่วนใหญ่จึงพยายามให้กำลังใจนายกฯ โดยยอมรับว่าส.ส.บางคนได้พูดว่าหากนายกฯไปไม่ไหวจริงๆ และจะยุบสภา ก็พร้อมที่จะสนับสนุน ซึ่งตรงนี้คงเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้บางส่วนหยิบยกมาพูดจนเป็นข่าว เรื่องยุบสภา แต่ยอมรับว่ามีคนคิดเรื่องยุบสภา ซึ่งนายกฯบอกว่าการที่จะตัดสินใจอย่างไร ต้องคิดถึงชาติบ้านเมือง ปัญหาตอนนี้ไม่หนักถึงขั้นต้องยุบสภา ซึ่งตนเองก็เห็นว่ายังไม่มีเหตุผลอะไรที่จะยุบสภา
2 บิ๊กตำรวจ จวก ก.ต.ช.ไม่ให้เกียรติ นายกฯ
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีต ผบ.ตร. ให้สัมภาษณ์ “เอสเอสทีวีผู้จัดการ”ว่า อำนาจการแต่งตั้ง ผบ.ตร. เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ที่จะเป็นผู้เสนอชื่อตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 53 ให้ก.ต.ช เห็นชอบ ฉะนั้นการคัดเลือกหัวหน้าตำรวจ กรรมการ ก.ต.ช. ทุกคนต้องให้เกียรตินายกฯ เรื่องที่เกิดขึ้นนั้น ถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะในความเป็นจริง หากตำรวจไปทำอะไรที่เสียหาย นายกฯ ก็ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่นายสุเทพ เพราะนายกรัฐมนตรี ดูแล สตช.โดยตำแหน่ง
"มันเป็นการไม่ให้เกียรตินายกฯ บวกกับการที่นายกฯ เองก็อ่อน ไม่มีประสบการณ์ ไม่กล้าหาญในการตัดสินใจ เขาเห็นนายกฯ เป็นหมู เป็นเด็กเมื่อวานซืน และมองข้ามหัวนายกฯ ที่อายุแค่ 45 ปี แต่ ก.ต.ช. นายสุเทพ และพล.ต.อ.พัชรวาท ล้วนแค่อายุ 60 อัพแล้วทั้งนั้น นายกฯ แค่รุ่นลูก อายุห่างกันกว่า 15 ปี ทั้งหมดเป็นเพราะนายกฯ ไม่แสดงความกล้าหาญ จึงทำให้เกิดปัญหาถูกตีกบาล ถูกตีแสกหน้า” พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าว
สมัยพล.อ.สุรยุทธ์ ตั้งตนเองใช้เวลาแค่ 5 นาที
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวด้วยว่า นายกฯยังเห็นกับประโยชน์ส่วนตัวทางการเมือง กลัวที่จะถูกเปลี่ยนตัว กลัวที่พรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคจะไม่สนับสนุน หรือคิดว่าหากให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก็จะไม่ได้กลับเข้ามา ตรงนี้อาจทำให้ประเทศเสียหาย สมัยที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ประธาน ก.ต.ช. ที่เสนอตนเองเป็น ผบ.ตร. ใช้เวลาผ่านไป 5 นาที เสร็จแล้ว แต่วันนี้คนที่เป็นก.ต.ช.มาจากไหน มาจากนายสุเทพ และพล.ต.อ.พัชรวาท แล้วนายกฯ มีใครคิดเอาก็แล้วกัน
ใช้อำนาจนายกฯ แก้เกม เด้ง “พัชรวาท”
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า ทางออกเวลานี้ นายกฯต้องรีบแก้เกมด้วยการย้ายพล.ต.อ.พัชรวาท มาช่วยราชการประจำสำนักนายกฯ และตั้ง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รอง ผบ.ตร.ทำหน้าที่รักษาการแทน เมื่อมีการประชุม ก.ต.ช. นายกฯ ก็เสนอชื่อคนที่นายกฯ เห็นว่าเหมาะสมให้ที่ประชุม ก.ต.ช.พิจารณา ซึ่งการประชุมที่ผ่านมา เสียงออกมา 5 ต่อ 4 เมื่อไม่มี พล.ต.อ.พัชรวาท เสียงข้างมากจะหายไป 1 เสียง อย่างไรก็ตาม อยู่ที่ความกล้าหาญ กล้าตัดสินใจเด็ดขาดนายกฯด้วย ไม่เช่นนั้น นายกฯสูญเสียอำนาจ อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
นอกจากนี้ พล.ต.อ.พัชววาท ยังมีข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริต ในการโครงการจัดจ้างบริษัทเอกชนทำการประชาสัมพันธ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งสมัยที่ตน ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. ได้สอบสวนไปแล้ว ตามมาตรา 84 พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ
ดังนั้นนายกรัฐมนตรีสามารถที่จะมีคำสั่งตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง พล.ต.อ.พัชรวาท ได้เลย ตามมาตรา 86 ของ พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ โดยไม่ต้องให้ใครมาชี้ วันนี้นายสุเทพ ดึงเรื่องไว้ โดยโยนให้กฤษฏีกาตีความ เรื่องเลยไม่คืบหน้า หากเรื่องนี้คืบหน้า นายกฯสามารถใช้โอกาสนี้ย้าย พล.ต.อ.พัชรวาท มาช่วยราชการที่สำนักนายกฯ ได้เช่นกัน โดยที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ไม่ต้องมาถามว่า "น้องผมผิดอะไร"
นายกฯยังมีสิทธิ์เสนอชื่อ"ปทีป"อีก
พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ กล่าวว่า อำนาจการเสนอรายชื่อ ผบ.ตร.เป็นอำนาจของนายกฯ ซึ่งหากไม่เห็นชอบก็มีสิทธิที่จะเสนอใหม่ โดยเป็นคนใหม่หรือคนเดิมก็ได้ เป็นสิทธิโดยชอบของนายกฯ และข้ออ้างที่ว่าต้องให้ พล.ต.อ. แสดงวิสัยทัศน์ ให้ครบทั้ง 9 คน ก่อนนั้นถือเป็นข้ออ้างที่ไม่มีในกฎหมาย และก.ต.ช.ไม่มีสิทธิเลือกว่าจะเอาใครมาเป็นผบ.ตร. เพียงแต่ให้ความเห็นชอบหรือไม่
" เวลานี้ผมเห็นว่า เราต้องมาพูดกันด้วยเหตุผล ท่านนายกฯ เป็นหัวหน้ารัฐบาล ท่านมีความรับผิดชอบ เพราะตำแหน่ง ผบ.ตร. สำคัญ ต้องทำหน้าที่รักษาความสงบของประเทศ และประชาชน ท่านมีความรอบคอบ จึงดูว่ามีคนสองคนเหมาะสม และเรียกว่าท่านได้พบและสัมภาษณ์แล้วจึงตัดสินใจจะเสนอคุณปทีป ขึ้นมา และปัญหาที่สองคือ ก.ต.ช. ประกอบด้วยข้าราชการประจำถึง 7 คน ระดับปลัดกระทรวง 4 คน และเป็นนักการเมืองอีก 3 คน และนักการเมือง 3 คนนี้ เป็นคนที่นายกฯ แต่งตั้งด้วยซ้ำ”
ถาม “มท.1” รู้ดีกว่านายกฯได้อย่างไร
อดีตอธิบดีกรมตำรวจ กล่าวต่อว่า กรณีของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ที่นายกฯ แต่งตั้งมา นายกฯต้องรับผิดชอบเหมือนกับการแต่งตั้ง ผบ.ตร. หากนายชวรัตน์เป็นรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล จะมาคัดค้านได้อย่างไร โดยมารยาทแล้ว รมว.มหาดไทยไม่ได้มีความมักคุ้น จะมาคัดค้านได้อย่างไร “ผมอยากถามนายชวรัตน์ว่า คุณทำถูกแล้วหรือ คุณรู้ดีกว่านายกฯได้อย่างไร คุณไม่เชื่อหัวหน้ารัฐบาลได้อย่างไร" พล.ต.อ.ประทินกล่าว
ส่วนพล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รอง ผบ.ตร. ได้ออกจากสตช. ไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ซี 11 ในยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และกลับมาในสมัยที่ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ตนอยากถามว่าเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ รัฐบาลจะกล้าไว้ใจ พล.ต.อ.จุมพล หรือไม่ เพราะเชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับพล.ต.อ.จุมพล ยังเหนียวแน่น
ระวังขาดอำนาจจนเกิดสุญญากาศ
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) กล่าวว่า สะท้อนให้เห็นถึงเกมอำนาจในรัฐบาลชุดนี้ ที่ยืนอยู่บนเงื่อนไขของผลประโยชน์ และการต่อรองกันตลอดเวลา โดยไม่คำนึงถึงปัญหาใน สตช. และวิกฤติของประเทศ วันนี้ใน ก.ต.ช.หรือในสตช.กลับกลายเป็นเวทีของกลุ่มการเมือง บรรดานักเลือกตั้ง ที่พยายามเข้าไปสถาปนารัฐตำรวจตลอดเวลา
นอกจากนี้ การเลือกผบ.ตร.ที่ต้องสะดุดลง ย่อมชี้ให้เห็นถึงอำนาจที่เป็นจริงของนายกรัฐมนตรี ที่ชื่อว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่ามีเพียงน้อยนิด ซึ่งสภาวะการขาดแคลนอำนาจเช่นนี้ จะทำให้การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล แม้กระทั่งวิสัยทัศน์ของนายกฯ จะไม่บรรลุถึงจุดมุ่งหมายได้ เพราะไม่มีอำนาจขับเคลื่อนที่เป็นจริง เพราะต้องเฉลี่ยอำนาจให้กับกลุ่ม มุ้ง อำนาจต่างๆในพรรคร่วมรัฐบาล จนในที่สุด ถ้าสภาพแบบนี้ดำรงอยู่ต่อไป จะเข้าเงื่อนไขสุญญากาศ หากประเทศเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้เกิด fail state หรือสภาวะรัฐล้มละลายได้ในที่สุด
เลือก"จุมพล" ต้องมีคำอธิบาย
"มาถึงตอนนี้ นายกฯไม่มีทางเลือกอีกแล้วที่จะไม่ตัดสินใจ หรือจะใช้วิธีเจรจา เฉลี่ยผลประโยชน์ไปเรื่อยๆ แบบเก่าคงไม่ได้แล้ว ลำพังปัญหากรณี พล.ต.อ. พัชรวาท ก็สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะไร้อำนาจของนายกฯ มากพออยู่แล้ว หากยังปล่อยให้ปัญหาการแต่งตั้ง ผบ.ตร. คนใหม่สั่นคลอนอำนาจของนายกฯ ก็จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจของประชาชนในระยะยาว ฉะนั้นวันนี้ท่านนายกฯ จะต้องเด็ดขาด และก็ในส่วนตัวแล้วถ้าให้เลือกระหว่าง พล.ต.อ.ปทีป กับ พล.ต.อ.จุมพล แล้ว ภาพของ พล.ต.อ.ปทีป จะอธิบายกับสังคมได้มากกว่า พล.ต.อ. จุมพล เพราะพล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย เป็นเพื่อนเตรียมทหารรุ่น 10 กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และในสมัยเป็นผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ ก็ใกล้ชิดสนิทสนมกับ พ.ต.ท. ทักษิณ อย่างชนิดที่ว่าแกะไม่ออก จนคล้ายๆ กับเป็นนายพลคู่กายคุณทักษิณไปแล้ว ฉะนั้นหากนายกฯ ตัดสินใจเลือก พล.ต.อ.จุมพล ก็ต้องมีคำอธิบายกับสังคมว่าเกิดอะไรขึ้น โดยเฉพาะกับฝ่ายที่เห็นว่าระบอบทักษิณเป็นปัญหาต่อประเทศชาติ" นายสุริยะใส กล่าว
ทั้งนี้ ไม่แปลกใจที่พรรคภูมิใจไทย พยายามผลักดัน พล.ต.อ.จุมพล ให้เป็น ผบ.ตร. คนใหม่ เพราะพรรคภูมิใจไทยก็คาดหวังที่จะให้ พล.ต.อ. จุมพล มาเป็นนอมินี พล.ต.อ. พัชรวาท เพื่อสานต่อภารกิจสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโผโยกย้าย ทั่วประเทศ ที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งเรื่องการบังคับบัญชา สตช.เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อการเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่จะมาถึงนี้ และก็เป็นไปได้เช่นกันถ้า พล.ต.อ.จุมพล ได้รับแต่งตั้งเป็น ผบ.ตร. พรรคภูมิใจไทย ก็จะไล่บี้ พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อให้ยุบสภาในที่สุด ถึงตอนนั้นตัวเองก็จะได้เปรียบทางการเมือง เพราะว่าได้ทั้งตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย และ ผบ.ตร. เป็นคนของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งก็แน่นอนว่า ต้องมีความได้เปรียบทางการเมืองมากกว่าพรรคอื่นๆ อย่างแน่นอน ซึ่งอันนี้ชี้ให้เห็นถึงความเละเทะ ของระบบการเมืองแบบเก่า ที่ใช้กลไกรับราชการตำรวจ หรือข้าราชการประจำ กลายเป็นเพียงเครื่องมือทางการของนักการเมืองอย่างน่าเวทนา
"เนวิน"ปัดภูมิใจไทยตัวการป่วน
นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า เรื่องนี้มีคำตอบจากนายกฯ ไม่เกี่ยวกับตนเลย ส่วนรายละเอียดปัญหาเรื่องนี้เป็นอย่างไร คิดว่าต้องถามนายสุเทพ และนายนิพนธ์ จะมาถามตน หรือรมว.มหาดไทย ไม่ได้ ส่วนเรื่องยุบสภา ไม่เคยได้ยิน ส่วนพรรคภูมิใจไทย จะพูดคุยกับพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ นายเนวิน กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ ต้องไปคุยกันเองในพรรค และเมื่อถามว่าปัญหาแต่งตั้ง ผบ.ตร. จะทำให้รัฐบาลอายุสั้นหรือไม่ นายเนวิน กล่าวว่า ต้องไปถามนายกฯ
ส่วนเรื่องนี้จะกดดันพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ นายเนวิน กล่าวว่า ไม่มีอะไร เรื่องนี้ต้องไปถามหัวหน้าพรรค แต่ในพรรคภูมิใจไทย ยังไม่เห็นมีใครมาบอกตนว่าถูกบีบ เมื่อถามถึงกรณีที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาขับไล่นายชวรัตน์ ออกจากรมว.มหาดไทย นายเนวิน กล่าวว่า "ผมคิดว่า ส.ส.ประชาธิปัตย์ ต้องกลับไปถามนายสุเทพ และนายนิพนธ์ก่อนหากมีปัญหาข้องใจ อย่ามาถามจากพรรคผม"
เมื่อถามว่าคิดอย่างไรที่มีชื่อเข้าไปเกี่ยวข้อง ทั้งการตั้งปลัดมหาดไทย และตั้ง ผบ.ตร. นายเนวิน กล่าวว่า มันเป็นเวรกรรมของตนที่ชื่อเนวิน และเมื่อถามต่อว่า จะเปลี่ยนชื่อใหม่หรือไม่ นายเนวิน ก็กล่าวพร้อมกระตุกยิ้มมุมปาก ว่า ไม่ต้องเปลี่ยน เพราะพ่อผมตั้งมาให้ดีแล้ว
หลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) เมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่ แทน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ที่จะเกษียณอายุราชการในสิ้นเดือนกันยายนนี้ แต่มีปัญหาขัดข้องเนื่องจากกรรมการ ก.ต.ช.ส่วนหนึ่งไม่เห็นชอบให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ ขึ้นเป็น ผบ.ตร. ตามที่นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธาน ก.ต.ช.เสนอ ทำให้ต้องเลื่อนการแต่งตั้งออกไปก่อน
เช้าวานนี้ (21 ส.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางออกจากบ้านพักซอยสวัสดี ตั้งแต่เวลา 06.48 น. เพื่อไปพบนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพักซอยสุขุมวิท 53 โดยคาดว่าจะเป็นการหารือถึงเรื่องตำแหน่ง ผบ.ตร. ที่ยังเป็นปัญหาค้างคาอยู่ โดยใช้เวลาในการหารือประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นนายกฯเดินออกมาด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม เมื่อถูกสื่อมวลชนซักถามว่า ตัดสินใจได้แล้วหรือยังในการเลือก ผบ.ตร. คนใหม่ โดยนายกฯ กล่าวว่า มัวแต่ยุ่งเรื่องอื่นอยู่
เมื่อถามว่า ยุ่งเรื่องยุบสภาอยู่ใช่หรือไม่ นายกฯตอบทีเล่นทีจริงว่า สื่อช่างคิด ก่อนเดินทางกลับ และตรงไปร่วมประชุมกับผู้บริหารโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ขณะที่นายนิพนธ์ กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า เกิดความขัดแย้งกับนายกฯ เรื่องการแต่งตั้ง ผบ.ตร. โดยยืนยันว่า “ไม่ได้เกิดความขัดแย้งกับนายกฯแต่อย่างใด”
"มาร์ค"ประกาศเดินหน้าชน
จากนั้น นายอภิสิทธิ์ ได้ให้สัมภาษณ์หลังพบนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กว่า 1 ชั่วโมง ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ ว่า จะเดินหน้าใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการเสนอชื่อ ผบ.ตร. ต่อไป เชื่อว่าไม่มีปัญหา เพียงแต่ขณะนี้มี ก.ต.ช. บางส่วนไม่อยู่ ไปต่างประเทศ จึงไม่ทราบว่าจะนัดประชุม ก.ต.ช.อีกครั้งเมื่อใด แต่ควรเลือกให้ได้ก่อนเดือนตุลาคมนี้ ขณะนี้ได้ให้ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)ไปดูตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปก่อน เพราะตามข้อกฎหมายแล้ว สามารถทำได้ ทั้งนี้เชื่อว่าเรื่องนี้มีทางออก กระบวนการยังไม่จบ
"เดี๋ยวผมก็หาทางออกได้ ทุกปัญหามีทางออก ไม่รู้สึกกดดัน เพราะสิ่งที่ทำทั้งหมด ผมได้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ผมไม่ได้มีอะไรเป็นการส่วนตัวกับใคร ดังนั้นไม่มีอะไรต้องกังวล ไม่มีอะไรต้องกดดัน และจะเดินหน้าต่อ ผมต้องขอบคุณประชาชน ที่เป็นห่วงผมจำนวนมากทั้งตลอดเมื่อคืนนี้และวันนี้ และทุกอย่างจะยึดประโยชน์บ้านเมือง ยึดตามระบบทุกอย่าง ส่วนการยุบสภาจะเป็นทางออกหรือไม่ ผมเห็นว่าทางออกมีหลายทาง" นายกฯ กล่าว
ยันไม่ขัดแย้ง"เทือก-ห้อย"
สำหรับกระแสข่าวที่ระบุว่านายกฯขัดแย้งกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทยนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลอะไรต้องขัดแย้ง เพราะทั้ง 2 คนไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ และนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ยังไม่ได้พูดคุยกัน จึงไม่ทราบว่านายชวรัตน์ จะสนับสนุนใคร แต่เชื่อว่าหากคุยกันแล้วเสียงน่าจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
ต่อกรณีที่ ก.ต.ช.บางคนอ้างว่าไม่ยุติธรรมที่นายกฯเสนอชื่อผู้เหมาะสมเป็นผบ.ตร.คนใหม่ เพียงคนเดียวนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องการแสดงวิสัยทัศน์ในอดีตไม่เคยมี และครั้งนี้ได้พูดคุยกับหลายคน และมีการให้ข้อมูลมาแล้ว
เมื่อถามว่า ก.ต.ช.ท้าทายอำนาจหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ไม่มีใครมาท้าทาย เมื่อถามว่า สถานการณ์รุนแรงจนถึงขั้นต้องยุบสภาหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตอนนี้สภาฯยังอยู่ เพียงแต่งดประชุม และไม่มีการพูดคุยระหว่างตน และ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
ลั่นถ้ายังอยู่ต้องบริหารได้
นายอภิสิทธิ์ ได้เดินไปที่ชั้น 3 ของอาคารเสนีย์ ปราโมช โดยมี ส.ส.ส่วนหนึ่งรอให้กำลังใจ และเมื่อเดินทางไปถึง ส.ส.ต่างปรบมือส่งเสียงให้กำลังใจ และได้พูดคุยกับ ส.ส.ที่นำโดยนายเจริญ คันธวงศ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายกฯ กล่าวว่า “ถ้าผมยังอยู่ ต้องบริหารราชการได้ ถ้าบริหารราชไม่ได้ ก็ไม่ควรอยู่ แต่คิดว่ายังทำได้ โดยได้ปรึกษากับคุณชวนแล้ว ขอเวลาอีก 2-3 วัน น่าจะมีคำตอบ" ทำให้ส.ส.ที่มาให้กำลังใจต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า หากเกิดอะไรขึ้นขอให้ช่วยบอกล่วงหน้าด้วย จะได้เตรียมตัวสำหรับการเลือกตั้งใหม่ได้ทัน
จากนั้น ได้เดินทางไปที่วัดเบญจมบพิตร เพื่อไปร่วมอวยพรวันเกิด นายมารุต บุนนาค อดีตประธานสภาฯ ที่อายุครบ 85 ปี โดยนายมารุตได้มอบพระหลวงพ่อโสธรให้
"ชวน"คาดไม่ถึง"มาร์ค"ถูกหัก
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวยอมรับว่าหลายฝ่ายเป็นห่วงนายกฯ ในสถานการณ์ขณะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา แต่เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้ ซึ่งไม่ได้ให้คำแนะนำใดๆ ส่วนปัญหาการแต่งตั้ง ผบ.ตร.เป็นเรื่องท้าทายหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า เป็นสิ่งที่นายกฯคาดไม่ถึง แต่มั่นใจว่าจะแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้
ทั้งนี้ ปฏิเสธว่า ไม่เคยได้ยินข่าวเรื่องการยุบสภา และไม่ขอให้ความเห็น ในประเด็นที่ว่า หากมีการปรับคณะรัฐมนตรีจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้หรือไม่ โดยขอให้ไปถามนายกฯเอง พร้อมยืนยันว่าภายในพรรคฯ ไม่มีแรงกระเพื่อมกดดันนายกฯ โดยแต่ละคนต่างช่วยกันทำภาระหน้าที่
"บัญญัติ"ยืนยันนายกฯทำถูกต้อง
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายกฯ ปฏิบัติตามกฎหมาย และธรรมเนียมปฏิบัติถูกต้องตามอำนาจหน้าที่ ในการคัดเลือกรายชื่อ และเสนอผู้มีความเหมาะสม ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ครั้งแรก แต่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่สมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ควบคุมดูแล สตช. มั่นใจว่า ครั้งต่อไป จะได้ข้อยุติเรื่องตัวบุคคล เพราะมั่นใจสภาวะผู้นำของนายกฯ ทั้งนี้ ต้องให้เวลา ก.ต.ช. ทบทวนสักระยะ ขณะเดียวกัน ยังไม่มีการพูดคุยรายละเอียดว่า นายกฯ จะเสนอชื่อคนเดิมหรือไม่ แต่เชื่อมั่นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะไม่เกิดการยุบสภา หรือนายกฯจะลาออก เพราะการเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ใช่เรื่องง่าย และจะมีผลกระทบโดยรวม โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจ
"เทือก"บอกไม่ใช่เรื่องตื่นเต้น
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีกล่าว ก่อนไปปฏิบัติภารกิจที่ จ.ภูเก็ต ว่า คงไม่มีปัญหาอะไรกับรัฐบาล เพราะก.ต.ช. อาจจะมีความเห็นแตกต่างกัน ก็ค่อยประชุมกันใหม่ เลือกใหม่
ส่วนที่ นายกฯ กับทาง สตช. เกิดปัญหาหลายครั้ง การเลือก ผบ.ตร.ไม่ได้ ทำให้เป็นห่วงกันว่า ต่อไปนายกฯ จะบริหารงานได้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอะไร เพราะมันไม่ใช่ความผิดของนายกฯ และไม่ใช่ความผิดของใคร เพราะกรรมการตั้ง 11 คน ก็ย่อมมีความเห็นที่แตกต่างกันได้ เป็นธรรมดา ไม่มีการเล่นการเมืองภายใน ก.ต.ช. แต่เป็นเรื่องของกรรมการแต่ละคนมีดุลยพินิจของตัวเอง ขึ้นอยู่กับข้อมูล ซึ่งก็ต้องค่อยๆซักซ้อมกันไป คำว่าซักซ้อม ก็หมายความว่า ต้องเอาข้อมูลมาแลกเปลี่ยน และสอบถามกัน และคิดว่า คนเหล่านั้นก็คงจะต้องคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป
ส่วนเป็นความจริงหรือไม่ที่พรรคภูมิใจไทย สนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย โดยนายสุเทพ ย้อนถามว่า แล้วสื่อมวลชนคิดว่าตนจะรู้หรือไม่ เพราะตนก็ไม่ได้อยู่ใน ก.ต.ช. ตนเป็นเพียงมือประสานงานกับพรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องทำหน้าที่ประสานต่อไปเท่านั้นเอง เวลามีอะไรตนก็จะช่วยเท่าที่จะทำได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข่าวว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ พูดกันไปไกลถึงขนาดว่า ถ้ามีการยุบสภา ก็จะรวมตัวกันมาให้กำลังใจ เคียงข้างนายกฯ นายสุเทพ ย้อนถามว่า ส.ส.คนไหน นายศิริโชค โสภา หรือ ตนก็อยู่กับ ส.ส.เมื่อคืนที่สภา ตนยังคุยกับนายชวน และส.ส.อีกหลายคน ก็ไม่เห็นใครพูดอะไร เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับว่าสื่อมวลชนไปฟัง ส.ส.คนไหนพูดมา ขอให้บอกชื่อมา ตนจะได้ไปถามให้ ในฐานะเลขาธิการพรรค ตนไม่เห็นว่า ส.ส.มีความเคลื่อนไหวอะไรในเรื่องนี้
"สาทิตย์"ยอมรับส.ส.ผวายุบสภา
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ค่ำวันที่ 20 ส.ค. ส.ส.ในพรรค ห่วงความรู้สึกของนายกฯ และกังวลกันมาก เกรงว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะกระทบการบริหารงานของนายกฯ ส.ส.ส่วนใหญ่จึงพยายามให้กำลังใจนายกฯ โดยยอมรับว่าส.ส.บางคนได้พูดว่าหากนายกฯไปไม่ไหวจริงๆ และจะยุบสภา ก็พร้อมที่จะสนับสนุน ซึ่งตรงนี้คงเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้บางส่วนหยิบยกมาพูดจนเป็นข่าว เรื่องยุบสภา แต่ยอมรับว่ามีคนคิดเรื่องยุบสภา ซึ่งนายกฯบอกว่าการที่จะตัดสินใจอย่างไร ต้องคิดถึงชาติบ้านเมือง ปัญหาตอนนี้ไม่หนักถึงขั้นต้องยุบสภา ซึ่งตนเองก็เห็นว่ายังไม่มีเหตุผลอะไรที่จะยุบสภา
2 บิ๊กตำรวจ จวก ก.ต.ช.ไม่ให้เกียรติ นายกฯ
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีต ผบ.ตร. ให้สัมภาษณ์ “เอสเอสทีวีผู้จัดการ”ว่า อำนาจการแต่งตั้ง ผบ.ตร. เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ที่จะเป็นผู้เสนอชื่อตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 53 ให้ก.ต.ช เห็นชอบ ฉะนั้นการคัดเลือกหัวหน้าตำรวจ กรรมการ ก.ต.ช. ทุกคนต้องให้เกียรตินายกฯ เรื่องที่เกิดขึ้นนั้น ถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะในความเป็นจริง หากตำรวจไปทำอะไรที่เสียหาย นายกฯ ก็ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่นายสุเทพ เพราะนายกรัฐมนตรี ดูแล สตช.โดยตำแหน่ง
"มันเป็นการไม่ให้เกียรตินายกฯ บวกกับการที่นายกฯ เองก็อ่อน ไม่มีประสบการณ์ ไม่กล้าหาญในการตัดสินใจ เขาเห็นนายกฯ เป็นหมู เป็นเด็กเมื่อวานซืน และมองข้ามหัวนายกฯ ที่อายุแค่ 45 ปี แต่ ก.ต.ช. นายสุเทพ และพล.ต.อ.พัชรวาท ล้วนแค่อายุ 60 อัพแล้วทั้งนั้น นายกฯ แค่รุ่นลูก อายุห่างกันกว่า 15 ปี ทั้งหมดเป็นเพราะนายกฯ ไม่แสดงความกล้าหาญ จึงทำให้เกิดปัญหาถูกตีกบาล ถูกตีแสกหน้า” พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าว
สมัยพล.อ.สุรยุทธ์ ตั้งตนเองใช้เวลาแค่ 5 นาที
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวด้วยว่า นายกฯยังเห็นกับประโยชน์ส่วนตัวทางการเมือง กลัวที่จะถูกเปลี่ยนตัว กลัวที่พรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคจะไม่สนับสนุน หรือคิดว่าหากให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก็จะไม่ได้กลับเข้ามา ตรงนี้อาจทำให้ประเทศเสียหาย สมัยที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ประธาน ก.ต.ช. ที่เสนอตนเองเป็น ผบ.ตร. ใช้เวลาผ่านไป 5 นาที เสร็จแล้ว แต่วันนี้คนที่เป็นก.ต.ช.มาจากไหน มาจากนายสุเทพ และพล.ต.อ.พัชรวาท แล้วนายกฯ มีใครคิดเอาก็แล้วกัน
ใช้อำนาจนายกฯ แก้เกม เด้ง “พัชรวาท”
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า ทางออกเวลานี้ นายกฯต้องรีบแก้เกมด้วยการย้ายพล.ต.อ.พัชรวาท มาช่วยราชการประจำสำนักนายกฯ และตั้ง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รอง ผบ.ตร.ทำหน้าที่รักษาการแทน เมื่อมีการประชุม ก.ต.ช. นายกฯ ก็เสนอชื่อคนที่นายกฯ เห็นว่าเหมาะสมให้ที่ประชุม ก.ต.ช.พิจารณา ซึ่งการประชุมที่ผ่านมา เสียงออกมา 5 ต่อ 4 เมื่อไม่มี พล.ต.อ.พัชรวาท เสียงข้างมากจะหายไป 1 เสียง อย่างไรก็ตาม อยู่ที่ความกล้าหาญ กล้าตัดสินใจเด็ดขาดนายกฯด้วย ไม่เช่นนั้น นายกฯสูญเสียอำนาจ อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
นอกจากนี้ พล.ต.อ.พัชววาท ยังมีข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริต ในการโครงการจัดจ้างบริษัทเอกชนทำการประชาสัมพันธ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งสมัยที่ตน ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. ได้สอบสวนไปแล้ว ตามมาตรา 84 พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ
ดังนั้นนายกรัฐมนตรีสามารถที่จะมีคำสั่งตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง พล.ต.อ.พัชรวาท ได้เลย ตามมาตรา 86 ของ พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ โดยไม่ต้องให้ใครมาชี้ วันนี้นายสุเทพ ดึงเรื่องไว้ โดยโยนให้กฤษฏีกาตีความ เรื่องเลยไม่คืบหน้า หากเรื่องนี้คืบหน้า นายกฯสามารถใช้โอกาสนี้ย้าย พล.ต.อ.พัชรวาท มาช่วยราชการที่สำนักนายกฯ ได้เช่นกัน โดยที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ไม่ต้องมาถามว่า "น้องผมผิดอะไร"
นายกฯยังมีสิทธิ์เสนอชื่อ"ปทีป"อีก
พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ กล่าวว่า อำนาจการเสนอรายชื่อ ผบ.ตร.เป็นอำนาจของนายกฯ ซึ่งหากไม่เห็นชอบก็มีสิทธิที่จะเสนอใหม่ โดยเป็นคนใหม่หรือคนเดิมก็ได้ เป็นสิทธิโดยชอบของนายกฯ และข้ออ้างที่ว่าต้องให้ พล.ต.อ. แสดงวิสัยทัศน์ ให้ครบทั้ง 9 คน ก่อนนั้นถือเป็นข้ออ้างที่ไม่มีในกฎหมาย และก.ต.ช.ไม่มีสิทธิเลือกว่าจะเอาใครมาเป็นผบ.ตร. เพียงแต่ให้ความเห็นชอบหรือไม่
" เวลานี้ผมเห็นว่า เราต้องมาพูดกันด้วยเหตุผล ท่านนายกฯ เป็นหัวหน้ารัฐบาล ท่านมีความรับผิดชอบ เพราะตำแหน่ง ผบ.ตร. สำคัญ ต้องทำหน้าที่รักษาความสงบของประเทศ และประชาชน ท่านมีความรอบคอบ จึงดูว่ามีคนสองคนเหมาะสม และเรียกว่าท่านได้พบและสัมภาษณ์แล้วจึงตัดสินใจจะเสนอคุณปทีป ขึ้นมา และปัญหาที่สองคือ ก.ต.ช. ประกอบด้วยข้าราชการประจำถึง 7 คน ระดับปลัดกระทรวง 4 คน และเป็นนักการเมืองอีก 3 คน และนักการเมือง 3 คนนี้ เป็นคนที่นายกฯ แต่งตั้งด้วยซ้ำ”
ถาม “มท.1” รู้ดีกว่านายกฯได้อย่างไร
อดีตอธิบดีกรมตำรวจ กล่าวต่อว่า กรณีของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ที่นายกฯ แต่งตั้งมา นายกฯต้องรับผิดชอบเหมือนกับการแต่งตั้ง ผบ.ตร. หากนายชวรัตน์เป็นรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล จะมาคัดค้านได้อย่างไร โดยมารยาทแล้ว รมว.มหาดไทยไม่ได้มีความมักคุ้น จะมาคัดค้านได้อย่างไร “ผมอยากถามนายชวรัตน์ว่า คุณทำถูกแล้วหรือ คุณรู้ดีกว่านายกฯได้อย่างไร คุณไม่เชื่อหัวหน้ารัฐบาลได้อย่างไร" พล.ต.อ.ประทินกล่าว
ส่วนพล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รอง ผบ.ตร. ได้ออกจากสตช. ไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ซี 11 ในยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และกลับมาในสมัยที่ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ตนอยากถามว่าเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ รัฐบาลจะกล้าไว้ใจ พล.ต.อ.จุมพล หรือไม่ เพราะเชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับพล.ต.อ.จุมพล ยังเหนียวแน่น
ระวังขาดอำนาจจนเกิดสุญญากาศ
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) กล่าวว่า สะท้อนให้เห็นถึงเกมอำนาจในรัฐบาลชุดนี้ ที่ยืนอยู่บนเงื่อนไขของผลประโยชน์ และการต่อรองกันตลอดเวลา โดยไม่คำนึงถึงปัญหาใน สตช. และวิกฤติของประเทศ วันนี้ใน ก.ต.ช.หรือในสตช.กลับกลายเป็นเวทีของกลุ่มการเมือง บรรดานักเลือกตั้ง ที่พยายามเข้าไปสถาปนารัฐตำรวจตลอดเวลา
นอกจากนี้ การเลือกผบ.ตร.ที่ต้องสะดุดลง ย่อมชี้ให้เห็นถึงอำนาจที่เป็นจริงของนายกรัฐมนตรี ที่ชื่อว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่ามีเพียงน้อยนิด ซึ่งสภาวะการขาดแคลนอำนาจเช่นนี้ จะทำให้การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล แม้กระทั่งวิสัยทัศน์ของนายกฯ จะไม่บรรลุถึงจุดมุ่งหมายได้ เพราะไม่มีอำนาจขับเคลื่อนที่เป็นจริง เพราะต้องเฉลี่ยอำนาจให้กับกลุ่ม มุ้ง อำนาจต่างๆในพรรคร่วมรัฐบาล จนในที่สุด ถ้าสภาพแบบนี้ดำรงอยู่ต่อไป จะเข้าเงื่อนไขสุญญากาศ หากประเทศเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้เกิด fail state หรือสภาวะรัฐล้มละลายได้ในที่สุด
เลือก"จุมพล" ต้องมีคำอธิบาย
"มาถึงตอนนี้ นายกฯไม่มีทางเลือกอีกแล้วที่จะไม่ตัดสินใจ หรือจะใช้วิธีเจรจา เฉลี่ยผลประโยชน์ไปเรื่อยๆ แบบเก่าคงไม่ได้แล้ว ลำพังปัญหากรณี พล.ต.อ. พัชรวาท ก็สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะไร้อำนาจของนายกฯ มากพออยู่แล้ว หากยังปล่อยให้ปัญหาการแต่งตั้ง ผบ.ตร. คนใหม่สั่นคลอนอำนาจของนายกฯ ก็จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจของประชาชนในระยะยาว ฉะนั้นวันนี้ท่านนายกฯ จะต้องเด็ดขาด และก็ในส่วนตัวแล้วถ้าให้เลือกระหว่าง พล.ต.อ.ปทีป กับ พล.ต.อ.จุมพล แล้ว ภาพของ พล.ต.อ.ปทีป จะอธิบายกับสังคมได้มากกว่า พล.ต.อ. จุมพล เพราะพล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย เป็นเพื่อนเตรียมทหารรุ่น 10 กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และในสมัยเป็นผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ ก็ใกล้ชิดสนิทสนมกับ พ.ต.ท. ทักษิณ อย่างชนิดที่ว่าแกะไม่ออก จนคล้ายๆ กับเป็นนายพลคู่กายคุณทักษิณไปแล้ว ฉะนั้นหากนายกฯ ตัดสินใจเลือก พล.ต.อ.จุมพล ก็ต้องมีคำอธิบายกับสังคมว่าเกิดอะไรขึ้น โดยเฉพาะกับฝ่ายที่เห็นว่าระบอบทักษิณเป็นปัญหาต่อประเทศชาติ" นายสุริยะใส กล่าว
ทั้งนี้ ไม่แปลกใจที่พรรคภูมิใจไทย พยายามผลักดัน พล.ต.อ.จุมพล ให้เป็น ผบ.ตร. คนใหม่ เพราะพรรคภูมิใจไทยก็คาดหวังที่จะให้ พล.ต.อ. จุมพล มาเป็นนอมินี พล.ต.อ. พัชรวาท เพื่อสานต่อภารกิจสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโผโยกย้าย ทั่วประเทศ ที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งเรื่องการบังคับบัญชา สตช.เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อการเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่จะมาถึงนี้ และก็เป็นไปได้เช่นกันถ้า พล.ต.อ.จุมพล ได้รับแต่งตั้งเป็น ผบ.ตร. พรรคภูมิใจไทย ก็จะไล่บี้ พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อให้ยุบสภาในที่สุด ถึงตอนนั้นตัวเองก็จะได้เปรียบทางการเมือง เพราะว่าได้ทั้งตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย และ ผบ.ตร. เป็นคนของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งก็แน่นอนว่า ต้องมีความได้เปรียบทางการเมืองมากกว่าพรรคอื่นๆ อย่างแน่นอน ซึ่งอันนี้ชี้ให้เห็นถึงความเละเทะ ของระบบการเมืองแบบเก่า ที่ใช้กลไกรับราชการตำรวจ หรือข้าราชการประจำ กลายเป็นเพียงเครื่องมือทางการของนักการเมืองอย่างน่าเวทนา
"เนวิน"ปัดภูมิใจไทยตัวการป่วน
นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า เรื่องนี้มีคำตอบจากนายกฯ ไม่เกี่ยวกับตนเลย ส่วนรายละเอียดปัญหาเรื่องนี้เป็นอย่างไร คิดว่าต้องถามนายสุเทพ และนายนิพนธ์ จะมาถามตน หรือรมว.มหาดไทย ไม่ได้ ส่วนเรื่องยุบสภา ไม่เคยได้ยิน ส่วนพรรคภูมิใจไทย จะพูดคุยกับพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ นายเนวิน กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ ต้องไปคุยกันเองในพรรค และเมื่อถามว่าปัญหาแต่งตั้ง ผบ.ตร. จะทำให้รัฐบาลอายุสั้นหรือไม่ นายเนวิน กล่าวว่า ต้องไปถามนายกฯ
ส่วนเรื่องนี้จะกดดันพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ นายเนวิน กล่าวว่า ไม่มีอะไร เรื่องนี้ต้องไปถามหัวหน้าพรรค แต่ในพรรคภูมิใจไทย ยังไม่เห็นมีใครมาบอกตนว่าถูกบีบ เมื่อถามถึงกรณีที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาขับไล่นายชวรัตน์ ออกจากรมว.มหาดไทย นายเนวิน กล่าวว่า "ผมคิดว่า ส.ส.ประชาธิปัตย์ ต้องกลับไปถามนายสุเทพ และนายนิพนธ์ก่อนหากมีปัญหาข้องใจ อย่ามาถามจากพรรคผม"
เมื่อถามว่าคิดอย่างไรที่มีชื่อเข้าไปเกี่ยวข้อง ทั้งการตั้งปลัดมหาดไทย และตั้ง ผบ.ตร. นายเนวิน กล่าวว่า มันเป็นเวรกรรมของตนที่ชื่อเนวิน และเมื่อถามต่อว่า จะเปลี่ยนชื่อใหม่หรือไม่ นายเนวิน ก็กล่าวพร้อมกระตุกยิ้มมุมปาก ว่า ไม่ต้องเปลี่ยน เพราะพ่อผมตั้งมาให้ดีแล้ว