ASTVผู้จัดการรายวัน- "เพื่อไทย" ได้ทีดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติประกบ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของภูมิใจไทย หวังปลดโซ่ตรวนให้ นช.แม้ว "ลิ่วล้อ" ซัดหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย มีวาระซ่อนเร้นทางการเมือง นิรโทษแค่ครึ่งเดียวหวังโดดเดี่ยว นช.แม้ว
วานนี้ (20 ส.ค.) นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคภูมิใจไทยเสนอ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ระหว่างวันที่ 25 พ.ค.-3 ธ.ค.51 และระหว่างวันที่ 26 มี.ค.-14 เม.ย.52 ว่า ส่วนตัวยังไม่ทราบถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรรคภูมิใจไทย เพราะเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยมาก่อน
อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีผู้ที่จะได้ประโยชน์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มคนเสื้อเหลือง 2. กลุ่มคนเสื้อแดง และ 3. ข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ชุมนุม ซึ่งก็มีเสียงสะท้อนจากผู้ที่เกี่ยวข้อง คือทั้งกลุ่มคนเสื้อเหลือง และเสื้อแดง ต่างก็ออกมาแสดงท่าทีไม่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นี้ ยังมีก็เพียงแต่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ชุมนุม เพราะต้องถูกดำเนินคดี ทั้งทางแพ่งและอาญา และโทษทางวินัยข้าราชการด้วย
สำหรับในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ต้องรอให้ประธานสภาบรรจุร่าง พ.ร.บ.นี้เข้าสู่วาระประชุมก่อน แล้วจึงค่อยหารือในที่ประชุมพรรคร่วมรัฐบาลอีกครั้งว่ามีความเห็นอย่างไร
"เชื่อว่า ถ้าร่าง พ.ร.บ.นี้ เข้าสู่การพิจารณาของสภา พรรคเพื่อไทย จะเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ที่เคยยื่นมาก่อนหน้านี้แล้วประกบกับร่างกฏหมายนี้แน่นอน โดยหวังผลที่จะช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยตรง ซึ่งอาจเชื่อมโยงถึงการนิรโทษกรรมย้อนหลังตั้งแต่ 19 ก.ย. 49 จนถึงเหตุการณ์ 13 เม.ย.52 แน่นอน"
นายเทพไท กล่าวด้วยว่า ทุกฝ่ายต้องรับฟังเสียงสะท้อน และความเห็นของสังคมทุกภาคส่วนด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วการนิรโทษกรรมจะเป็นการออกกฏหมายพร่ำเพรื่อ และทำลายหลักนิติรัฐของชาติ ที่ใครคนใดคนหนึ่งกระทำความผิดแล้วกดดันเคลื่อนไหวเพื่อขอนิรโทษกรรมในการกระทำของตนเองได้ จะทำให้กฏหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์
การยกเรื่องนี้มาพิจารณาโดยอ้างความสมานฉันท์ ทั้งที่ในข้อเท็จจริงแล้วความสมานฉันท์ของคนในชาติจะเกิดได้ ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้ก็ได้ แต่ผู้กระทำความผิดทุกคนจะต้องได้รับการปฏิบัติภายใต้กฏหมายด้วยมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลนี้กำลังดำเนินการอยู่ ถ้าทุกคนยอมรับการบังคับใช้กฏหมายของประเทศ ก็จะไม่เป็นปัญหาในเรื่องความสมานฉันท์ เว้นแต่บางคนที่มีพฤติกรรมไม่ยอมรับการบังคับใช้กฏหมาย โดยอ้างว่ากระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซง หากตัวเองได้ประโยชน์ก็ยอมรับและใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งพิง แต่เมื่อตัวเองเสียประโยชน์ ก็บิดเบือนใส่ร้ายกระบวนการยุติธรรมว่าถูกแทรกแซงกลั่นแกล้ง มีสองมาตรฐาน
**นายกฯไม่เตะถ่วง"สมานฉันท์"
นายเทพไท เสนพงศ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่นายวิทยา บุรณะศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวพาดพิงถึงนายกรัฐมนตรีว่า เตะถ่วงผลสรุปของคณะกรรมการสมานฉันท์ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมว่า กรณีนี้นายกฯให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ปั้นมากับมือ โดยได้เข้าไปรับฟังข้อสรุปด้วยตัวเอง แต่ขั้นตอนการปฏิบัติจะต้องพิจารณาว่า ควรจะให้ฝ่ายใดเป็นเจ้าภาพ ซึ่งในเบื้องต้นเห็นว่าฝ่ายนิติบัญญัติน่าจะมีความเหมาะสมที่จะรับเรื่องนี้ไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยอาจจัดเป็นรูปแบบคณะกรรมาธิการวิสามัญ รับฟังความคิดเห็นโดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมเป็นกรรมาธิการด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรโยนความผิด บิดประเด็นให้นายกฯ ตัวนายวิทยา เองก็เป็นถึงประธานวิปฝ่ายค้าน น่าจะไปหารือกับประธานวิปรัฐบาล และประธานสภาว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร
**พท.ดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดองประกบ
ในวันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภานายพีระพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พร้อมด้วยนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงผลการหารือกับร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย และวิปฝ่ายค้าน ในกรณีที่พรรคภูมิใจไทย ยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยนายพีระพันธุ์ กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทย คงมีจุดประสงค์แอบแฝง และขอตั้งสังเกตว่าเหตุใดจึงเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในช่วงเวลานี้ หากพรรคภูมิใจไทยมีความจริงใจที่ต้องการสร้างความสมานฉันท์ตามแนวทางนี้จริง ควรผลักดันให้เกิดความชัดเจนภายในพรรคร่วมรัฐบาลเสียก่อน ไม่ใช่เสนอเพียงลำพังพรรคเดียว
นายพีระพันธุ์ กล่าวด้วยว่า พรรคเพื่อไทยเคยเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ.... มาตั้งแต่เดือนมีนาคมแล้ว ซึ่งมีเนื้อหานิรโทษกรรมครอบคลุม ตั้งแต่หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย. 49 ซึ่งถือเป็นการนิรโทษกรรมจากต้นตอของปัญหาอย่างแท้จริง และคืนความเป็นธรรมให้กับบุคคลที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่จนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่ได้รับการพิจารณา
นายไพจิตกล่าวว่า พรรคภูมิใจไทย ไม่ได้ต้องการให้เกิดความสมานฉันท์แท้จริง แต่เป็นเพียงแค่เกมการเมืองเท่านั้น ซึ่งตนเห็นว่าทางที่ดีควรใช้แนวทางคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น มากกว่า เพราะถือเป็นการหลอมรวมความคิดของทั้ง ส.ส. และ ส.ว. แต่จนถึงขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน และพยายามซื้อเวลาไปวันๆ เท่านั้น
"หากมีการบรรจุร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสู่การพิจาณาในสภา พรรคเพื่อไทย จะเสนอให้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ที่ค้างอยู่ในวาระร่วมด้วย เนื่องจากเห็นว่าหากต้องการสร้างความสมานฉันท์จริง ต้องเริ่มทำที่ต้นเหตุ ไม่ใช่ทำที่ปลายเหตุ"
นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวยืนยันว่าผลการศึกษาของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่ควรนำมาดำเนินการก่อน ส่วนเรื่องที่ยื่นมาใหม่คงต้องดูว่าสอดคล้องกันหรือไม่ ทั้งนี้หากเป็นเรื่องเดียวกันอาจพิจารณาไปพร้อมกันก็ได้
อย่างไรก็ตาม ตนยังไม่เห็นร่างกฎหมาย จึงไม่รู้ว่ามีนัยยะอย่างไร ทั้งหากมีเจตนาที่ดี ตนแม้เป็นฝ่ายค้านมองว่า หากใครที่มีสติปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาในห้วงเวลานี้ได้ ก็เป็นสิ่งที่ควรมองด้วยเจตนาดีเอาไว้ก่อน
ส่วนกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง ประกาศไม่รับร่างกฎหมายดังกล่าว ก็เป็นความเห็นอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นมุมมองส่วนตัวของนายจตุพร ที่อาจไม่เชื่อใจใครทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีเรื่องนี้ในส่วนขอฝ่ายค้าน ต้องหารือกับหลายฝ่ายทั้งในพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมฝ่ายค้าน
นายวิทยากล่าวอีกว่า หากมีการเปิดประชุมรัฐสภา ตนคงต้องถามนายกรัฐมนตรีว่าจะดำเนินการอย่างไร เมื่อได้รับทราบผลการศึกษาของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ แล้ว นายกรัฐมนตรีควรเร่งดำเนินการ เพราะรัฐสภารออยู่
ด้าน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้น่าจะคุยกันในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งนี้ พรรคภูมิใจไทย คงมีเจตนาดีที่ต้องการเห็นความปรองดองเกิดขึ้น คงไม่มีเจตนาร้าย อย่างไรก็ดี ตนยังไม่เห็นรายละเอียดของกฎหมายจึงยังพูดอะไรไม่ได้ เบื้องต้นคิดว่าการเสนอกฎหมายอาจไม่ใช่ทางออกของปัญหา เพราะล่าสุดทราบว่าพันธมิตรฯ และนปช. ต่างประกาศไม่รับร่างกฎหมายดังกล่าวทั้งสองฝ่าย
**ชี้พ.ร.บ.นิรโทษหวังโดดเดี่ยวแม้ว
นายศักดา คงเพชร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวว่า การเสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทย น่าจะมีเรื่องซับซ้อนซ่อนเร้น แอบแฝงผลประโยชน์ทางการเมือง ต้องมองให้ลึกๆ อย่ามองแค่ชั้นเดียวเพราะพฤติกรรมสะท้อนให้เห็น
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเชื่อว่าการเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ก็เพื่อต้องการโดดเดี่ยว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่อยากให้พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา การเสนอร่าง พ.ร.บ.นี้เหมือนกับพวกผีที่กลัวพระ กลัวน้ำมนต์ คนพวกนี้เป็นได้เพียงเหลือบ หรือพวกบ้าอำนาจเท่านั้น
นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า แม้พรรคภูมิใจไทยจะอ้างว่า การเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเพื่อการปรองดอง แต่เชื่อว่าต้องมีวาระซ่อนเร้น ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชาตินั้น เริ่มขึ้นหลังการปฎิวัติ 19 ก.ย.49 ที่มีการตั้งคณะบุคคลเข้าไปรักษาอำนาจต่ออีก 9 ปีในส่วนขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ จึงทำให้เกิดกระบวนการ 2 มาตรฐานทางกฎหมาย การจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมนั้น ไม่ใช่การแก้ปัญหา หากมีเจตนาจริงใจในการแก้ไขปัญหา ต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 299 ที่เกี่ยวข้องในการรักษาอำนาจของ 9 องค์กรให้ครอบคลุม ถือเป็นหัวใจของความขัดแย้ง ทั้ง สีเหลืองและสีแดง นั้นล้วนเป็นผลพวงจากการปฎิวัติทั้งสิ้น
นายสงวน กล่าวด้วยว่า การเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นการตัดตอนทางประวัติศาสตร์ ไม่ใช่การแก้ปัญหา แต่จะยิ่งสร้างปัญหาขึ้น ยิ่งพรรคภูมิใจไทยเป็นแกนนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ก็ยิ่งมีข้อสงสัยมากขึ้น เพราะหากอ้างว่าต้องการให้เกิดความสามัคคี ความสมานฉันท์ ทำไมถึงไม่มีการหารือกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นแกนนำรัฐบาลก่อนที่จะเสนอ ทั้งๆ ที่ควรพูดคุยในพรรคร่วมรัฐบาลและวุฒิสภาก่อน หาก 2 ฝ่ายเห็นด้วย แม้ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย ก็เชื่อว่ากฎหมายดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ แต่หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่เอาด้วย ก็เป็นไปได้ยาก ดังนั้นหากมีความจริงใจ หรือมีเจตนาที่จะแก้ปัญหาต้องเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ มีเวทีพูดคุยกันจากทุกฝ่ายให้เกิดความเข้าใจเสียก่อน
**ย้อนชวรัตน์ผิด กม.ป.ป.ช.กี่ครั้งแล้ว
นายสงวน กล่าวอีกว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่า การที่พรรคภูมิใจไทยประกาศเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพราะต้องการให้เกิดความสงบ สามัคคี สันติ แต่พฤติกรรมที่พรรคภูมิใจไทยทำโดยสั่งให้มีการตั้งโต๊ะล่าชื่อประชาชนคัดค้านการถวายฎีกาของคนเสื้อแดงนั้น ทั้งๆ ที่การเข้าชื่อถวายฎีกา ก็เพื่อหาทางออกให้ประเทศ แล้วแบบนี้จะสมานฉันท์ได้อย่างไร การที่พรรคภูมิใจไทย เสนอร่างฉบับนี้มีเจตนาหรือต้องการอะไรกันแน่
อย่างไรก็ตาม ขอเรียกร้องให้พรรคภูมิใจไทยไปตรวจสอบว่า นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กระทำผิดกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 100 กี่เรื่องแล้ว ถ้าจะขอนิรโทษกรรมนั้น จะรวมถึงความผิดตามมาตรา 100 ของป.ป.ช. ด้วยหรือไม่
**แฉเขียนร่าง พ.ร.บ. แบบลวกๆ
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ก็เพื่อกลบเกลื่อนปัญหาและเรื่องต่างๆ ที่ส่อไปในเรื่องไม่โปร่งใส เท่าที่ดูรายละเอียดของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวนั้น เป็นการเขียนแบบลวกๆ เหมือนไม่ตั้งใจร่าง เพราะแม้กระทั่งพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังไม่ทราบเรื่อง จู่ๆ ก็ร่างแล้วดันเข้าสภาโดยไม่มีการหารือกันก่อน ดูแล้วผิดปกติที่เสนอร่างเข้ามาในช่วงนี้ อีกทั้งเหตุผลก็ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของพรรคภูมิใจไทย
อย่างไรก็ตาม ในฐานะพรรคฝ่ายค้าน คงต้องรอดูท่าทีของรัฐบาลก่อน เพราะไม่รู้ว่ากำลังเล่นละครหรือเล่นอะไรกันอยู่.
วานนี้ (20 ส.ค.) นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคภูมิใจไทยเสนอ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ระหว่างวันที่ 25 พ.ค.-3 ธ.ค.51 และระหว่างวันที่ 26 มี.ค.-14 เม.ย.52 ว่า ส่วนตัวยังไม่ทราบถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรรคภูมิใจไทย เพราะเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยมาก่อน
อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีผู้ที่จะได้ประโยชน์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มคนเสื้อเหลือง 2. กลุ่มคนเสื้อแดง และ 3. ข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ชุมนุม ซึ่งก็มีเสียงสะท้อนจากผู้ที่เกี่ยวข้อง คือทั้งกลุ่มคนเสื้อเหลือง และเสื้อแดง ต่างก็ออกมาแสดงท่าทีไม่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นี้ ยังมีก็เพียงแต่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ชุมนุม เพราะต้องถูกดำเนินคดี ทั้งทางแพ่งและอาญา และโทษทางวินัยข้าราชการด้วย
สำหรับในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ต้องรอให้ประธานสภาบรรจุร่าง พ.ร.บ.นี้เข้าสู่วาระประชุมก่อน แล้วจึงค่อยหารือในที่ประชุมพรรคร่วมรัฐบาลอีกครั้งว่ามีความเห็นอย่างไร
"เชื่อว่า ถ้าร่าง พ.ร.บ.นี้ เข้าสู่การพิจารณาของสภา พรรคเพื่อไทย จะเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ที่เคยยื่นมาก่อนหน้านี้แล้วประกบกับร่างกฏหมายนี้แน่นอน โดยหวังผลที่จะช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยตรง ซึ่งอาจเชื่อมโยงถึงการนิรโทษกรรมย้อนหลังตั้งแต่ 19 ก.ย. 49 จนถึงเหตุการณ์ 13 เม.ย.52 แน่นอน"
นายเทพไท กล่าวด้วยว่า ทุกฝ่ายต้องรับฟังเสียงสะท้อน และความเห็นของสังคมทุกภาคส่วนด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วการนิรโทษกรรมจะเป็นการออกกฏหมายพร่ำเพรื่อ และทำลายหลักนิติรัฐของชาติ ที่ใครคนใดคนหนึ่งกระทำความผิดแล้วกดดันเคลื่อนไหวเพื่อขอนิรโทษกรรมในการกระทำของตนเองได้ จะทำให้กฏหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์
การยกเรื่องนี้มาพิจารณาโดยอ้างความสมานฉันท์ ทั้งที่ในข้อเท็จจริงแล้วความสมานฉันท์ของคนในชาติจะเกิดได้ ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้ก็ได้ แต่ผู้กระทำความผิดทุกคนจะต้องได้รับการปฏิบัติภายใต้กฏหมายด้วยมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลนี้กำลังดำเนินการอยู่ ถ้าทุกคนยอมรับการบังคับใช้กฏหมายของประเทศ ก็จะไม่เป็นปัญหาในเรื่องความสมานฉันท์ เว้นแต่บางคนที่มีพฤติกรรมไม่ยอมรับการบังคับใช้กฏหมาย โดยอ้างว่ากระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซง หากตัวเองได้ประโยชน์ก็ยอมรับและใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งพิง แต่เมื่อตัวเองเสียประโยชน์ ก็บิดเบือนใส่ร้ายกระบวนการยุติธรรมว่าถูกแทรกแซงกลั่นแกล้ง มีสองมาตรฐาน
**นายกฯไม่เตะถ่วง"สมานฉันท์"
นายเทพไท เสนพงศ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่นายวิทยา บุรณะศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวพาดพิงถึงนายกรัฐมนตรีว่า เตะถ่วงผลสรุปของคณะกรรมการสมานฉันท์ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมว่า กรณีนี้นายกฯให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ปั้นมากับมือ โดยได้เข้าไปรับฟังข้อสรุปด้วยตัวเอง แต่ขั้นตอนการปฏิบัติจะต้องพิจารณาว่า ควรจะให้ฝ่ายใดเป็นเจ้าภาพ ซึ่งในเบื้องต้นเห็นว่าฝ่ายนิติบัญญัติน่าจะมีความเหมาะสมที่จะรับเรื่องนี้ไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยอาจจัดเป็นรูปแบบคณะกรรมาธิการวิสามัญ รับฟังความคิดเห็นโดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมเป็นกรรมาธิการด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรโยนความผิด บิดประเด็นให้นายกฯ ตัวนายวิทยา เองก็เป็นถึงประธานวิปฝ่ายค้าน น่าจะไปหารือกับประธานวิปรัฐบาล และประธานสภาว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร
**พท.ดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดองประกบ
ในวันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภานายพีระพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พร้อมด้วยนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงผลการหารือกับร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย และวิปฝ่ายค้าน ในกรณีที่พรรคภูมิใจไทย ยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยนายพีระพันธุ์ กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทย คงมีจุดประสงค์แอบแฝง และขอตั้งสังเกตว่าเหตุใดจึงเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในช่วงเวลานี้ หากพรรคภูมิใจไทยมีความจริงใจที่ต้องการสร้างความสมานฉันท์ตามแนวทางนี้จริง ควรผลักดันให้เกิดความชัดเจนภายในพรรคร่วมรัฐบาลเสียก่อน ไม่ใช่เสนอเพียงลำพังพรรคเดียว
นายพีระพันธุ์ กล่าวด้วยว่า พรรคเพื่อไทยเคยเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ.... มาตั้งแต่เดือนมีนาคมแล้ว ซึ่งมีเนื้อหานิรโทษกรรมครอบคลุม ตั้งแต่หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย. 49 ซึ่งถือเป็นการนิรโทษกรรมจากต้นตอของปัญหาอย่างแท้จริง และคืนความเป็นธรรมให้กับบุคคลที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่จนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่ได้รับการพิจารณา
นายไพจิตกล่าวว่า พรรคภูมิใจไทย ไม่ได้ต้องการให้เกิดความสมานฉันท์แท้จริง แต่เป็นเพียงแค่เกมการเมืองเท่านั้น ซึ่งตนเห็นว่าทางที่ดีควรใช้แนวทางคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น มากกว่า เพราะถือเป็นการหลอมรวมความคิดของทั้ง ส.ส. และ ส.ว. แต่จนถึงขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน และพยายามซื้อเวลาไปวันๆ เท่านั้น
"หากมีการบรรจุร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสู่การพิจาณาในสภา พรรคเพื่อไทย จะเสนอให้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ที่ค้างอยู่ในวาระร่วมด้วย เนื่องจากเห็นว่าหากต้องการสร้างความสมานฉันท์จริง ต้องเริ่มทำที่ต้นเหตุ ไม่ใช่ทำที่ปลายเหตุ"
นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวยืนยันว่าผลการศึกษาของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่ควรนำมาดำเนินการก่อน ส่วนเรื่องที่ยื่นมาใหม่คงต้องดูว่าสอดคล้องกันหรือไม่ ทั้งนี้หากเป็นเรื่องเดียวกันอาจพิจารณาไปพร้อมกันก็ได้
อย่างไรก็ตาม ตนยังไม่เห็นร่างกฎหมาย จึงไม่รู้ว่ามีนัยยะอย่างไร ทั้งหากมีเจตนาที่ดี ตนแม้เป็นฝ่ายค้านมองว่า หากใครที่มีสติปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาในห้วงเวลานี้ได้ ก็เป็นสิ่งที่ควรมองด้วยเจตนาดีเอาไว้ก่อน
ส่วนกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง ประกาศไม่รับร่างกฎหมายดังกล่าว ก็เป็นความเห็นอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นมุมมองส่วนตัวของนายจตุพร ที่อาจไม่เชื่อใจใครทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีเรื่องนี้ในส่วนขอฝ่ายค้าน ต้องหารือกับหลายฝ่ายทั้งในพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมฝ่ายค้าน
นายวิทยากล่าวอีกว่า หากมีการเปิดประชุมรัฐสภา ตนคงต้องถามนายกรัฐมนตรีว่าจะดำเนินการอย่างไร เมื่อได้รับทราบผลการศึกษาของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ แล้ว นายกรัฐมนตรีควรเร่งดำเนินการ เพราะรัฐสภารออยู่
ด้าน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้น่าจะคุยกันในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งนี้ พรรคภูมิใจไทย คงมีเจตนาดีที่ต้องการเห็นความปรองดองเกิดขึ้น คงไม่มีเจตนาร้าย อย่างไรก็ดี ตนยังไม่เห็นรายละเอียดของกฎหมายจึงยังพูดอะไรไม่ได้ เบื้องต้นคิดว่าการเสนอกฎหมายอาจไม่ใช่ทางออกของปัญหา เพราะล่าสุดทราบว่าพันธมิตรฯ และนปช. ต่างประกาศไม่รับร่างกฎหมายดังกล่าวทั้งสองฝ่าย
**ชี้พ.ร.บ.นิรโทษหวังโดดเดี่ยวแม้ว
นายศักดา คงเพชร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวว่า การเสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทย น่าจะมีเรื่องซับซ้อนซ่อนเร้น แอบแฝงผลประโยชน์ทางการเมือง ต้องมองให้ลึกๆ อย่ามองแค่ชั้นเดียวเพราะพฤติกรรมสะท้อนให้เห็น
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเชื่อว่าการเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ก็เพื่อต้องการโดดเดี่ยว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่อยากให้พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา การเสนอร่าง พ.ร.บ.นี้เหมือนกับพวกผีที่กลัวพระ กลัวน้ำมนต์ คนพวกนี้เป็นได้เพียงเหลือบ หรือพวกบ้าอำนาจเท่านั้น
นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า แม้พรรคภูมิใจไทยจะอ้างว่า การเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเพื่อการปรองดอง แต่เชื่อว่าต้องมีวาระซ่อนเร้น ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชาตินั้น เริ่มขึ้นหลังการปฎิวัติ 19 ก.ย.49 ที่มีการตั้งคณะบุคคลเข้าไปรักษาอำนาจต่ออีก 9 ปีในส่วนขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ จึงทำให้เกิดกระบวนการ 2 มาตรฐานทางกฎหมาย การจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมนั้น ไม่ใช่การแก้ปัญหา หากมีเจตนาจริงใจในการแก้ไขปัญหา ต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 299 ที่เกี่ยวข้องในการรักษาอำนาจของ 9 องค์กรให้ครอบคลุม ถือเป็นหัวใจของความขัดแย้ง ทั้ง สีเหลืองและสีแดง นั้นล้วนเป็นผลพวงจากการปฎิวัติทั้งสิ้น
นายสงวน กล่าวด้วยว่า การเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นการตัดตอนทางประวัติศาสตร์ ไม่ใช่การแก้ปัญหา แต่จะยิ่งสร้างปัญหาขึ้น ยิ่งพรรคภูมิใจไทยเป็นแกนนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ก็ยิ่งมีข้อสงสัยมากขึ้น เพราะหากอ้างว่าต้องการให้เกิดความสามัคคี ความสมานฉันท์ ทำไมถึงไม่มีการหารือกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นแกนนำรัฐบาลก่อนที่จะเสนอ ทั้งๆ ที่ควรพูดคุยในพรรคร่วมรัฐบาลและวุฒิสภาก่อน หาก 2 ฝ่ายเห็นด้วย แม้ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย ก็เชื่อว่ากฎหมายดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ แต่หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่เอาด้วย ก็เป็นไปได้ยาก ดังนั้นหากมีความจริงใจ หรือมีเจตนาที่จะแก้ปัญหาต้องเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ มีเวทีพูดคุยกันจากทุกฝ่ายให้เกิดความเข้าใจเสียก่อน
**ย้อนชวรัตน์ผิด กม.ป.ป.ช.กี่ครั้งแล้ว
นายสงวน กล่าวอีกว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่า การที่พรรคภูมิใจไทยประกาศเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพราะต้องการให้เกิดความสงบ สามัคคี สันติ แต่พฤติกรรมที่พรรคภูมิใจไทยทำโดยสั่งให้มีการตั้งโต๊ะล่าชื่อประชาชนคัดค้านการถวายฎีกาของคนเสื้อแดงนั้น ทั้งๆ ที่การเข้าชื่อถวายฎีกา ก็เพื่อหาทางออกให้ประเทศ แล้วแบบนี้จะสมานฉันท์ได้อย่างไร การที่พรรคภูมิใจไทย เสนอร่างฉบับนี้มีเจตนาหรือต้องการอะไรกันแน่
อย่างไรก็ตาม ขอเรียกร้องให้พรรคภูมิใจไทยไปตรวจสอบว่า นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กระทำผิดกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 100 กี่เรื่องแล้ว ถ้าจะขอนิรโทษกรรมนั้น จะรวมถึงความผิดตามมาตรา 100 ของป.ป.ช. ด้วยหรือไม่
**แฉเขียนร่าง พ.ร.บ. แบบลวกๆ
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ก็เพื่อกลบเกลื่อนปัญหาและเรื่องต่างๆ ที่ส่อไปในเรื่องไม่โปร่งใส เท่าที่ดูรายละเอียดของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวนั้น เป็นการเขียนแบบลวกๆ เหมือนไม่ตั้งใจร่าง เพราะแม้กระทั่งพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังไม่ทราบเรื่อง จู่ๆ ก็ร่างแล้วดันเข้าสภาโดยไม่มีการหารือกันก่อน ดูแล้วผิดปกติที่เสนอร่างเข้ามาในช่วงนี้ อีกทั้งเหตุผลก็ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของพรรคภูมิใจไทย
อย่างไรก็ตาม ในฐานะพรรคฝ่ายค้าน คงต้องรอดูท่าทีของรัฐบาลก่อน เพราะไม่รู้ว่ากำลังเล่นละครหรือเล่นอะไรกันอยู่.