นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. แถลงหลังการประชุม กกต. วานนี้ (18 ส.ค.)ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณารายงานผลการสอบสวนของคณะกรรมการไต่สวนฯ กรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา และนายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ ขอให้ กกต.ตรวจสอบสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (6) ของ 44 ส.ส. เนื่องจากถือครองหุ้นต้องห้ามในธุรกิจสื่อฯ และบริษัท ที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 48 และมาตรา 265 โดยมีมติ ให้เลขาคณะกรรมการไต่สวนฯ ไปดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดต่างๆ ให้เรียบร้อย โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดกลุ่มว่าบริษัทใดบ้างที่เป็นบริษัทเข้าข่ายห้าม ส.ส. ,ส.ว.เข้าไปถือครองหุ้นเพิ่มเติม จากเดิม 18 บริษัท ที่ กกต.ได้เคยมีมติไว้ บริษัทใดบ้างที่ ส.ส.ผู้ถูกร้องเข้าไปถือหุ้นกู้ หุ้นสามัญ และบริษัทใดบ้างที่พบว่าคู่สมรสของ ผู้ถูกร้องเข้าไปถือหุ้น และเข้าข่ายลักษณะต้องห้าม ทั้งนี้ให้ดำเนินการโดยเร็วและเสนอต่อประธาน กกต.ภายในวันที่ 25 ส.ค.นี้
นายสุทธิพล กล่าวว่า ในการพิจารณาของที่ประชุมฯหลังคณะกรรมการไต่สวนฯได้นำเสนอ รายงานแล้ว ก็มีคำถามมากมายในประเด็นดังกล่าวจากที่ประชุม รวมทั้งคณะกรรมการไต่สวนฯ ก็มีการเสนอเอกสารเพิ่มเติม โดยเป็นเอกสารของผู้ถูกร้องที่เสนอเข้ามา ประกอบกับบริษัทที่คณะกรรมการไต่สวนฯ ตรวจสอบนั้นมีจำนวนมากถึง 753 บริษัท และคณะกรรมการไต่สวนฯ ก็ยอมรับว่า มีข้อความของรายงานที่มีความคลาดเคลื่อน ต้องการปรับปรุง ที่ประชุม กกต.จึงเห็นว่าหากเอกสารไม่ชัดเจนครบถ้วนก็จะมีผลต่อการวินิจฉัย
ขอยืนยันว่าเรื่องนี้ กกต.ไม่ได้ต้องการที่จะยื้อเวลาแต่อย่างใด อีกทั้งการที่ให้ เลขาคณะกรรมการไต่สวนไปดำเนินการดังกล่าวก็ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมติของ คณะกรรมการไต่สวนฯ ที่มีมติแล้ว
นายสุทธิพล กล่าวว่าประธาน กกต.ได้กำชับให้เลขาฯของคณะกรรมการไต่สวนฯ เสนอรายงานที่มีการปรับปรุงใหม่ภายในช่วงเช้าวันอังคารที่ 25 ส.ค.เพื่อที่จะได้นำเสนอ กกต.ในการประชุมวันเดียวกัน เพื่อที่ประชุมก็ได้พิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร หากรายงานมีความครบถ้วนก็จะให้ กกต.นำไปศึกษาเป็นเวลา 7 วัน ก่อนที่นัดวันลงมติอีกครั้งในวันดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีนี้หลังจากกกต.ได้พิจารณารายงานผลการตรวจสอบ ของคณะกรรมการไต่สวนครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. จนถึงวันที่18 ส.ค. เป็นเวลาเกือบ 2 เดือนแล้ว แต่กกต.ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ทั้งที่มีการระบุว่าได้กำชับกับคณะกรรมการไต่สวนตลอดช่วงของการขอขยายเวลารวม 2 ครั้ง 30 วันว่าให้มีการจัดหมวดหมู่ประเภทของหุ้นให้ชัดเจนแล้ว ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเหตุที่ กกต.ยังไม่มีมติเรื่องดังกล่าวไม่น่าจะเป็นมาจากข้ออ้างดังล่าว แต่น่าจะเป็นเพราะต้องการ รอความชัดเจนระดับหนึ่งจากศาลปกครองที่รับพิจารณากรณี กกต.มีมติว่า 16 ส.ว. ถือหุ้นเข้าข่ายทำให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงมากกว่า
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน และหัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ซึ่งเป็นหนึ่งใน 44 ส.ส. ที่ถูก กกต.ตรวจสอบคุณสมบัติการถือครองหุ้นกิจการสื่อและบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐ กล่าวว่า คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะตนเคยถือหุ้นไม่ขัดตามมาตรา 48 ประกอบ มาตรา 265 (2) (4) แห่งรัฐธรรมนูญ โดย ดังนั้นจึงมั่นใจว่าตนไม่ผิด
ด้านนายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข และส.ส.ราชบุรี พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ตนคงต้องรอดูผลจากทาง กกต. เพราะมีรายชื่อทั้งหมดอยู่ตรงนั้น อย่างไรก็ตามหากผลจากการวินิจฉัยของกกต.จะออกมาเป็นอย่างไรเราต้องรับฟังและน้อมรับ และคงต้องว่ากันต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่ายอมรับผลจากกกต. นายมานิต กล่าวว่า คงต้องรอ เพราะอาจจะรอดก็ได้ เมื่อถามว่ามีการเตรียมแผน 2 ไว้อย่างไรบ้าง นายมานิต กล่าวว่า ในส่วนของพรรคมีขั้นตอนอยู่แล้ว แต่คงต้องมาวิเคราะห์กันในรายละเอียดอีกครั้ง ซึ่งไม่แน่ใจว่าทางกกต.จะเลื่อนการพิจารณาไปอีกหรือไม่
นายสุทธิพล กล่าวว่า ในการพิจารณาของที่ประชุมฯหลังคณะกรรมการไต่สวนฯได้นำเสนอ รายงานแล้ว ก็มีคำถามมากมายในประเด็นดังกล่าวจากที่ประชุม รวมทั้งคณะกรรมการไต่สวนฯ ก็มีการเสนอเอกสารเพิ่มเติม โดยเป็นเอกสารของผู้ถูกร้องที่เสนอเข้ามา ประกอบกับบริษัทที่คณะกรรมการไต่สวนฯ ตรวจสอบนั้นมีจำนวนมากถึง 753 บริษัท และคณะกรรมการไต่สวนฯ ก็ยอมรับว่า มีข้อความของรายงานที่มีความคลาดเคลื่อน ต้องการปรับปรุง ที่ประชุม กกต.จึงเห็นว่าหากเอกสารไม่ชัดเจนครบถ้วนก็จะมีผลต่อการวินิจฉัย
ขอยืนยันว่าเรื่องนี้ กกต.ไม่ได้ต้องการที่จะยื้อเวลาแต่อย่างใด อีกทั้งการที่ให้ เลขาคณะกรรมการไต่สวนไปดำเนินการดังกล่าวก็ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมติของ คณะกรรมการไต่สวนฯ ที่มีมติแล้ว
นายสุทธิพล กล่าวว่าประธาน กกต.ได้กำชับให้เลขาฯของคณะกรรมการไต่สวนฯ เสนอรายงานที่มีการปรับปรุงใหม่ภายในช่วงเช้าวันอังคารที่ 25 ส.ค.เพื่อที่จะได้นำเสนอ กกต.ในการประชุมวันเดียวกัน เพื่อที่ประชุมก็ได้พิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร หากรายงานมีความครบถ้วนก็จะให้ กกต.นำไปศึกษาเป็นเวลา 7 วัน ก่อนที่นัดวันลงมติอีกครั้งในวันดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีนี้หลังจากกกต.ได้พิจารณารายงานผลการตรวจสอบ ของคณะกรรมการไต่สวนครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. จนถึงวันที่18 ส.ค. เป็นเวลาเกือบ 2 เดือนแล้ว แต่กกต.ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ทั้งที่มีการระบุว่าได้กำชับกับคณะกรรมการไต่สวนตลอดช่วงของการขอขยายเวลารวม 2 ครั้ง 30 วันว่าให้มีการจัดหมวดหมู่ประเภทของหุ้นให้ชัดเจนแล้ว ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเหตุที่ กกต.ยังไม่มีมติเรื่องดังกล่าวไม่น่าจะเป็นมาจากข้ออ้างดังล่าว แต่น่าจะเป็นเพราะต้องการ รอความชัดเจนระดับหนึ่งจากศาลปกครองที่รับพิจารณากรณี กกต.มีมติว่า 16 ส.ว. ถือหุ้นเข้าข่ายทำให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงมากกว่า
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน และหัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ซึ่งเป็นหนึ่งใน 44 ส.ส. ที่ถูก กกต.ตรวจสอบคุณสมบัติการถือครองหุ้นกิจการสื่อและบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐ กล่าวว่า คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะตนเคยถือหุ้นไม่ขัดตามมาตรา 48 ประกอบ มาตรา 265 (2) (4) แห่งรัฐธรรมนูญ โดย ดังนั้นจึงมั่นใจว่าตนไม่ผิด
ด้านนายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข และส.ส.ราชบุรี พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ตนคงต้องรอดูผลจากทาง กกต. เพราะมีรายชื่อทั้งหมดอยู่ตรงนั้น อย่างไรก็ตามหากผลจากการวินิจฉัยของกกต.จะออกมาเป็นอย่างไรเราต้องรับฟังและน้อมรับ และคงต้องว่ากันต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่ายอมรับผลจากกกต. นายมานิต กล่าวว่า คงต้องรอ เพราะอาจจะรอดก็ได้ เมื่อถามว่ามีการเตรียมแผน 2 ไว้อย่างไรบ้าง นายมานิต กล่าวว่า ในส่วนของพรรคมีขั้นตอนอยู่แล้ว แต่คงต้องมาวิเคราะห์กันในรายละเอียดอีกครั้ง ซึ่งไม่แน่ใจว่าทางกกต.จะเลื่อนการพิจารณาไปอีกหรือไม่