การเสนอข่าวเกี่ยวกับคุกนรกของสหรัฐฯ ที่มีในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก (รวมไทยด้วย) ถูกเปิดเผยเป็นครั้งแรกโดยนักข่าวอาวุโสชื่อดังตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ด้วยเขาเป็นบุคคลแรกที่เปิดโปงการสังหารหมู่ชาวบ้านที่หมู่บ้าน My Lai โดยทหารอเมริกันช่วงสงครามเวียดนาม และมีความเชี่ยวชาญสูงด้านการสืบสวน (investigative journalism) หาความจริงและข้อเท็จจริง บุคคลดังกล่าวคือ นาย Seymour M. Hersh ในหนังสือชื่อ “Chain of Command” ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2547 ซึ่ง Hersh ได้ยกตัวอย่างโดยระบุชื่อประเทศไทย สิงคโปร์ และปากีสถานว่าเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งที่ตั้งของคุกนรกของสหรัฐฯ ที่มีอยู่ทั่วโลก เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการสอบสวนบุคคลที่ฝ่ายสหรัฐฯ สงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย โดยสหรัฐฯ หวังจะได้ข่าวกรองที่มีคุณค่าสูงที่จะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันได้ทันท่วงทีก่อนหน้าที่ฝ่ายก่อการร้ายจะสามารถปฏิบัติการก่อการร้ายได้ และเป็นข่าวกรองที่จะช่วยชี้นำไปสู่การจับกุมผู้ก่อการร้ายระดับแกนนำคนอื่นๆ
ตลอดจนการทำลายเครือข่ายการก่อการร้ายทั่วโลก (ไม่ว่าจะเป็น Al Qaeda หรือ Jemah Islamiyah) ซึ่งโครงการจัดตั้งคุกนรกเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 โดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ภายใต้การกำกับดูแลของนาย Donald Rumsfeld รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในยุคของรัฐบาลประธานาธิบดี George W. Bush ได้จัดตั้งโครงการลับที่สุดภายใต้ชื่อ special-access program หรือ SAP มีบทบาทโดยตรงปฏิบัติการทางลับเพื่อตามล่า ลักพาตัว จับกุม และสังหาร (หากจำเป็น)
ผู้ที่ฝ่ายสหรัฐฯ สงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายระดับแกนนำหรือหัวโจก (high-value detainees) โดยนำผู้ต้องสงสัยเหล่านี้ไปกักขังและทำการสอบสวนด้วยเทคนิคและวิธีการทรมาน (torture) ในรูปแบบต่างๆ (ที่ฝากรอยแผลทั้งทางร่างกายและจิตใจ) เพื่อหวังผลให้ผู้ถูกทรมานสารภาพออกมาตามที่ผู้ทำการทรมาน (หรือผู้ทำการสอบสวน) ประสงค์ (Chain of Command หน้า 16–20) โดยในระยะแรกเริ่มของการประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (สงครามในอัฟกานิสถาน และต่อมาในอิรัก)
คุกนรกสำคัญ ได้แก่ ฐานทัพอากาศเมืองบากรัมในอัฟกานิสถาน คุกอาบูเกร็บในอิรัก และคุกกวันตานาโม (พื้นที่ส่วนหนึ่งบริเวณอ่าวกวันตานาโมใกล้ประเทศคิวบาที่สหรัฐฯ ถือสิทธิใช้ตลอดกาล อันเป็นผลมาจากชัยชนะของสหรัฐฯ ในสงครามระหว่างสหรัฐฯ กับสเปนเมื่อ พ.ศ. 2441)
เป็นที่น่าสังเกตได้ว่า หลังจากที่นาย Hersh เปิดโปงเรื่องคุกนรกของสหรัฐฯ ภายใต้การดำเนินการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่มีชื่อว่า special-access program (SAP) ซึ่งต่อมาได้ขยายเครือข่ายออกไปทั่วโลก (รวมทั้งในประเทศไทยสมัยยุคพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล พ.ศ. 2544-2549) ทางหน่วยงานด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ (ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงกลาโหม หรือองค์การข่าวกรอง ซีไอเอ) แม้จะไม่ยอมรับหรือยืนยันว่าคุกนรกของสหรัฐฯ ทั่วโลกมีจริง แต่ก็ไม่เคยปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง (Jane Mayer “The Dark Side” หน้า 370-371)
หลังจากที่หนังสือของ Seymour Hersh ออกมาแล้ว ได้มีนักข่าวและนักวิชาการอีกหลายคน ที่ได้ทำการค้นคว้าเพื่อหาความจริงและรายละเอียดเพิ่มเติมล่าสุดที่สำคัญ ได้แก่ หนังสือชื่อ “A Question of Torture: CIA Interrogation, from the Cold War to the War on Terror” พิมพ์ พ.ศ. 2506 เขียนโดย Alfred McCoy นักวิชาการชื่อดังแห่งมหาวิทยาลัย Wisconsin และเป็นที่ยอมรับนับถืออย่างกว้างขวางทั่วไป และหนังสือของ Jane Mayer นักข่าวและนักเขียนของนิตยสาร The New Yorker และหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal และเป็นนักข่าวหญิงคนแรกประจำทำเนียบขาวของหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal หนังสือของ Jane Mayer “The Dark Side” พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2551
ทั้ง Alfred McCoy และ Jane Mayer ตอกย้ำให้ผู้อ่านได้เห็นว่า การเค้นให้ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายสารภาพหรือให้ข้อมูลด้วยวิธีการทรมานหลายรูปแบบไม่ใช่เป็นปรากฏการณ์ใหม่หรือเป็นเรื่องโดยบังเอิญ หากแต่เป็นเรื่องที่ทางการสหรัฐฯ ได้ให้ความใส่ใจและสนใจศึกษาเป็นพิเศษมาโดยตลอด
40 กว่าปีของยุคสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน (สหรัฐฯ ได้ทำการศึกษาเป็นพิเศษด้านเทคนิคการทรมานของระบอบคอมมิวนิสต์โซเวียตยุคของสตาลินและของเกาหลีเหนือในเรื่องของกระบวนการล้างสมองและการควบคุมเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์) ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ Alfred McCoy และ Jane Mayer ต่างมีความเห็นตรงกันว่าข้อมูลที่สหรัฐฯ ได้จากการทรมานผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายเกือบ 100% หาได้มีคุณค่าสำคัญอะไรมากต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำสงครามกับการก่อการร้ายหรือมีคุณค่าเชิงข่าวกรองแต่อย่างใด (เพราะผู้ถูกทรมานส่วนใหญ่มักรีบสารภาพทุกอย่างตามที่ผู้ทำการสอบสวนประสงค์ เพื่อไม่ต้องถูกทรมานเจ็บปวดถึงขั้นเสียชีวิตหรือพิการ) ตรงกันข้ามที่ผ่านมาสหรัฐฯ มักจะได้ข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นประโยชน์แท้จริงจากผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายจากวิธีการสอบสวนแบบปกติและเป็นวิธีการที่พึ่งการสร้างความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างผู้สอบสวนกับผู้ถูกสอบสวนมากกว่าการพึ่งวิธีการทรมาน
นอกจากนั้นหนังสือของ Jane Mayer ยังได้กล่าวถึงผู้ต้องสงสัยจำนวนไม่น้อยที่ถูกกักขังและถูกทรมานฟรีในคุกนรกต่างๆ ทั่วโลก และได้รับการปล่อยตัวในที่สุดเพราะหลักฐานไม่เพียงพอ มีอยู่หนึ่งรายแม้จะถูกทรมานฟรี มีบาดแผลเจ็บปวดทั้งทางกายและใจ แต่ก็ยังได้รับการชดเชยเป็นเงิน 10.5 ล้านเหรียญสหรัฐ จากรัฐบาลแคนาดา ดังกรณีของนาย Maher Arar บุคคลสัญชาติแคนาดาซึ่งถูกทางการสหรัฐฯ จับกุมและนำไปฝากขังเพื่อทำการสอบสวนด้วยวิธีการทรมานต่างๆ ในคุกนรกของประเทศซีเรียเป็นเวลากว่า 1 ปี จนในที่สุดได้รับการปล่อยตัวจากการเข้ามาช่วยเหลือของรัฐบาลแคนาดา (Jane Mayer “The Dark Side” หน้า 129-133)
ทั้งหนังสือของ Seymour Hersh และของ Jane Mayer ล้วนมีเนื้อหายืนยันอย่างชัดแจ้งว่า หากในยุคสงครามเย็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ คือ ลัทธิคอมมิวนิสต์ ในยุคหลังสงครามเย็น (หรือยุคโลกาภิวัตน์) สหรัฐฯ ถือว่าศัตรูหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ คือ ขบวนการก่อการร้ายทั้งภายในและนอกประเทศ และว่าในยุคสงครามเย็นสหรัฐฯ จะให้การสนับสนุนรัฐบาลที่เป็นเผด็จการ (ไม่ว่าเผด็จการทหารหรือพลเรือน) ของประเทศต่างๆ ตราบใดที่รัฐบาลเผด็จการของประเทศเหล่านี้ร่วมมือกับสหรัฐฯ ต่อต้านประเทศคอมมิวนิสต์ ฉันใดก็ฉันนั้น หากรัฐบาลของประเทศต่างๆ ให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการทำสงครามกับการก่อการร้ายอย่างปราศจากเงื่อนไขใดๆ สหรัฐฯ ก็จะยกย่องและให้การสนับสนุนโดยไม่สนใจว่ารัฐบาลของประเทศที่ให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ จะเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ (Seymour Hersh, Chain of Command หน้า 287-291 และ Jane Mayer, The Dark Side หน้า 112-118 และหน้า 132)
นอกจากนั้นสำหรับสหรัฐฯ รัฐบาลของประเทศยากจนและกำลังพัฒนาทั้งหลาย หากเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและสนับสนุนสหรัฐฯ ทำสงครามกับกลุ่มที่สหรัฐฯ มองว่าเป็นฝ่ายก่อการร้าย สหรัฐฯ ก็ถือว่ารัฐบาลของประเทศที่สนับสนุนสหรัฐฯ เป็นประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่รัฐบาลนั้นโกงการเลือกตั้ง ทำลายระบบการตรวจสอบถ่วงดุล แทรกแซงองค์กรอิสระ ผูกขาดอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ ขาดธรรมาภิบาล ละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำลายหลักนิติรัฐ/นิติธรรม ลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของปัจเจกชน แทรกแซงอำนาจตุลาการ จำกัดและทำลายเสรีภาพของสื่อมวลชน ตลอดจนลุแก่อำนาจ และผูกขาดอำนาจทุกด้าน
ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสำคัญเป็นเพราะสำหรับสหรัฐฯ และประเทศตะวันตกทั่วไป คำนิยามของคำว่าประชาธิปไตยที่ใช้กับประเทศยากจนและกำลังพัฒนาทั้งหลายถูกจำกัดความหมายไว้เพียงแค่ประชาธิปไตยคือการมีการเลือกตั้งและการไปใช้สิทธิหย่อนบัตรเลือกตั้งเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจอะไร ทำไมคุกนรกของสหรัฐฯ จึงมีในประเทศยากจนและกำลังพัฒนาทั้งหลายของทวีปเอเชีย แอฟริกา ภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียกลาง เพราะประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียและแอฟริกาส่วนใหญ่ประกอบด้วยรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยแต่ในรูปแบบเท่านั้น (เพราะมาจากการเลือกตั้ง) อีกทั้งยินดีให้สหรัฐฯ มีฐานทัพ ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 900 แห่ง (โปรดดู Chahmers Johnson “The Sorrow of Empire” และ “Blow Back” ซึ่งหนังสือทั้งสองเล่มดังกล่าวอธิบายให้ข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของบรรดาฐานทัพของสหรัฐฯ ในทวีปต่าง ๆ ของโลก) โดยในยุคของรัฐบาลประธานาธิบดี George W. Bush ฐานทัพเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นคุกนรกของสหรัฐฯ แต่ปัจจุบัน ประธานาธิบดี Barack Obama ได้ประกาศให้มีการปิดคุกนรกของสหรัฐฯ ที่มีอยู่ทั่วโลกไปแล้ว
ในขณะที่ฝ่ายกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มีโครงการที่เรียกว่า special-access program (SAP) เป็นกลไกสำหรับใช้ดำเนินการสอบสวนผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ฝ่ายพลเรือนคือ องค์การข่าวกรอง CIA ก็มีโครงการพิเศษเพื่อการส่งมอบตัว (extraordinary rendition program) เพื่อทำหน้าที่อย่างเดียวกับโครงการ SAP ของฝ่ายทหารสหรัฐฯ โดยโครงการพิเศษเพื่อการส่งมอบตัวผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายขององค์การ CIA จะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายขององค์การ CIA (Counterterrist Center) การดำเนินตามโครงการพิเศษเพื่อการส่งมอบตัวผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย (extraordinary rendition program) ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การ CIA นั้น จะเกี่ยวข้องกับการลักพาตัว (ทางลับ) ผู้ต้องสงสัยแล้วนำไปมอบให้กับเจ้าหน้าที่ของประเทศต่างๆ ที่ยินดีให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ เพื่อกักขังและทำการสอบสวนด้วยวิธีการปกติและไม่ปกติ (ทรมานในรูปแบบต่างๆ) เป็นการดำเนินในทางลับที่สุดเพื่อไม่ให้เป็นที่รับรู้ของประชาชนของประเทศที่ให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในเรื่องนี้ (outsourcing torture) และในเรื่องของการดำเนินการสอบสวนผู้ต้องสงสัยนั้น
บางกรณีฝ่ายสหรัฐฯ จะเป็นฝ่ายดำเนินการเอง บางกรณีสหรัฐฯ จะฝากคำถามให้กับเจ้าหน้าที่ (ผู้ชำนาญการด้านการทรมานผู้ต้องสงสัย) ของรัฐบาลประเทศเจ้าภาพที่ตั้งของคุกนรกเพื่อทำการสอบสวนแทนฝ่ายสหรัฐฯ บางกรณีก็อาจมีการดำเนินการร่วมกัน นอกจากนั้น ในกรณีที่การสอบสวนยังไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ ก็จะมีการเคลื่อนย้ายผู้ต้องสงสัยไปส่งมอบตัวให้กับรัฐบาลของประเทศอื่นๆ ที่ยินดีร่วมมือกับสหรัฐฯ ในเรื่องนี้ ผู้ต้องสงสัยบางรายถูกโยกย้ายไปอยู่ในคุกนรกของหลายประเทศ ผ่านการทรมานในหลายรูปแบบจนเจ้าตัวกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิธีการและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการทรมาน (Jane Mayer “The Dark Side” หน้า 102-119)
ในประเด็นเกี่ยวกับเหตุผลทำไมสหรัฐฯ จึงคิดค้นโครงการ special-access program (ของฝ่ายกระทรวงกลาโหม) และ rendition program (ขององค์การข่าวกรอง CIA) ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกดำเนินการด้านสอบสวน (ทางลับ) ด้วยวิธีการทรมานผู้ต้องสงสัยนั้น กล่าวได้ว่ามีเหตุผลสำคัญมาจากข้อจำกัดที่มีในกฎหมายระหว่างประเทศเป็นสำคัญ กล่าวคือ ในเมื่อการประกาศทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้ายถือได้ว่าเป็นลักษณะของการขัดกันทางอาวุธ (armed conflict) อย่างหนึ่ง ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ดังปรากฏในอนุสัญญากรุงเจนีวา พ.ศ. 2492 ซึ่งกำหนดห้ามกระทำความรุนแรงต่อชีวิตและร่างกายบุคคล การทรมาน การลักพาตัว การจับตัวประกัน และอื่นๆ สหรัฐฯ เองก็ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญากรุงเจนีวา พ.ศ. 2492 จึงมีพันธกรณีที่จำต้องปฏิบัติตามและไม่ละเมิดอนุสัญญาดังกล่าว
นอกจากนั้นก็ยังมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายของสหรัฐฯ เอง ที่มีข้อความห้ามในเรื่องของการใช้ความรุนแรงต่อชีวิตและร่างกาย การทรมานผู้ต้องสงสัย รวมทั้งมีหลักสากลและเหตุผลด้านมนุษยธรรมที่สหรัฐฯ ในฐานะเป็นอารยประเทศพึงให้การเคารพและยึดถือปฏิบัติ ประจวบกับสหรัฐฯ ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน พ.ศ. 2537 ซึ่งห้ามมิให้สหรัฐฯ ส่งตัวนักโทษไปยังประเทศอื่นโดยไม่ทำการทบทวน ศึกษา พิจารณาประวัติและพฤติกรรมของประเทศที่เกี่ยวข้องว่าเป็นประเทศที่มีประวัติการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและร้ายแรงมากน้อยเพียงใด ซึ่งอนุสัญญาต่อต้านการทรมานดังกล่าวมีผลใช้บังคับกับบุคคลที่อยู่ในความควบคุมของสหรัฐฯ ทั่วโลก มิใช่แค่บุคคลที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในสหรัฐฯ เท่านั้น (The Dark Side หน้า 108-109)
ดังนั้นในเมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังกล่าวทั้งหมดข้างต้น ประธานาธิบดี George W. Bush รองประธานาธิบดี Dick Cheney รัฐมนตรีกลาโหม Donald Rumsfeld และผู้อำนวยการองค์การ CIA นาย George Tenet จึงร่วมกันวางแผนเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายทั้งภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ให้กฎหมายมาเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการตามโครงการ special-access program (ของกลาโหม) และ rendition program (ของ CIA) ด้วยการว่าจ้างนักกฎหมายระดับแนวหน้าที่พร้อมให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหาร ให้คำแนะนำเพื่อหาทางเลี่ยงข้อกฎหมาย
ข้อสรุปที่ได้จากนักกฎหมายก็คือ ให้ถือว่าผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายที่อยู่ในการควบคุมของสหรัฐฯ ล้วนมีสถานะเป็น “พลรบที่ผิดกฎหมาย” (illegal enemy combatants) และการดำเนินการสอบสวนตามโครงการ special-access program และ rendition program ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการนอกประเทศสหรัฐฯ ดังนั้น กฎหมายภายในของสหรัฐฯ และกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องจึงไม่มีผลใช้บังคับกับการดำเนินการสอบสวน (ทางลับ) ด้วยวิธีการทรมานผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการดำเนินการที่อยู่เหนือและพ้นจากเงื้อมมือของกฎหมาย (Seymour M. Hersh, Chain of Command หน้า 18-19, 46-47 และ 53-55 และ Jane Mayer, The Dark Side หน้า 7-9 และหน้า 108-115)
สำหรับเรื่องของคุกนรกในไทยโดยเฉพาะนั้น หนังสือ The Dark Side ของ Jane Mayer ได้กล่าวไว้ 2 ตอน (หน้า 149 และหน้า 225) โดยในหน้า 149 Mayer ได้กล่าวถึงหัวหน้าฝ่ายส่งกำลังบำรุงของ Al Qaeda ชื่อจัดตั้ง Zubayda (ชื่อจริง Zayn al-Abidin Muhammed Hussein) เกิดในประเทศซาอุดีอาระเบีย และเคยร่วมในขบวนการมูจาฮีดินทำสงครามขับไล่กองทัพอดีตสหภาพโซเวียตออกจากอัฟกานิสถานในยุคสงครามเย็น และได้มีโอกาสรู้จักทำความสนิทสนมกับ Osama Bin Laden ณ สมรภูมิในอัฟกานิสถาน จึงทำให้ฝ่ายสหรัฐฯ เชื่อว่า Zubayda น่าจะรู้ที่ซ่อนของ Bin Laden ในอัฟกานิสถาน เป็นผลทำให้นาย Zubayda ถูกทางการสหรัฐฯ จับกุมได้ในเดือนมีนาคม 2545 บริเวณชายแดนระหว่างอัฟกานิสถานกับปากีสถาน ทำให้ Zubayda เป็นผู้ถูกคุมตัวที่มีค่าตัวสูง (high-value detainee)
คนแรกที่สหรัฐฯ สามารถจับกุมได้ในอัฟกานิสถานหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2545 และได้นำไปกักขังไว้ในคุกนรกในประเทศไทย (แต่ไม่ได้ระบุว่า ณ ที่ใดของประเทศไทย) รัฐบาลไทยในช่วงนั้น (รัฐบาลไทยรักไทยของทักษิณ ชินวัตร) ได้มีข้อกำหนดไว้ประการเดียว นั่นคือ ต้องไม่ให้เรื่องนี้เป็นที่เปิดเผยแก่สาธารณชนโดยเด็ดขาด และว่าหากปฏิบัติการและความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในครั้งนี้สามารถปิดได้อย่างมิดชิดตลอดกาล ทางฝ่ายไทยยินดีให้ CIA ใช้สถานที่ในไทย ซึ่งมีห้องขังใต้ดินอีกด้วย
ส่วนในหน้า 225 Mayer ได้กล่าวถึงนาย Abd al-Rahim al-Nashiri ผู้ถูกคุมตัวที่มีค่าตัวสูงรายที่ 2 ซึ่งถูกย้ายมาจากคุกนรกในอัฟกานิสถานมากักขังและทรมานในไทยเมื่อปลาย พ.ศ. 2547 Jane Mayer ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า นาย Adb al-Rahim al-Nashiri ถูกทรมานด้วยการอัดน้ำ (water boarded) และการทรมานรูปแบบอื่นๆ และว่าทาง CIA ได้ทำการถ่ายวิดีโอเทปการสอบสวนนาย al-Rahim al-Nashiri เป็นรายสุดท้าย ในส่วนที่เกี่ยวกับนาย Hambali นั้น Jane Mayer ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมาก นอกจากกล่าวถึงนาย Hambali ว่าได้ถูกจับกุมช่วง พ.ศ. 2546 มีชื่อจริงว่า Riduan Isamuddin และเป็นหัวหน้าขบวนการก่อการร้าย Jemaah Islamiya สาขาของ Al Qaeda ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผู้บงการการวางระเบิดสถานบันเทิงกลางคืนที่เกาะบาหลี และเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถของ Al Qaeda ในการผลิตสารพิษ anthrax (หน้า 269)
เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังกล่าวทั้งหมดข้างต้น คำถามสุดท้ายก็คือ คุกนรกของ CIA ในไทยมีจริงหรือไม่? เรื่องนี้หากไปถามฝ่ายสหรัฐฯ ก็จะได้รับคำตอบที่เป็นสูตรสำเร็จรูปที่ฝ่ายสหรัฐฯ ใช้ตอบคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องที่สหรัฐฯ ถือว่าเป็นเรื่อง “ลับที่สุด” นั่นคือ “ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นรื่องจริง พร้อมทั้งไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่จริง” (can neither confirm nor deny) ถอดรหัสเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ “ขอไม่พูดดีกว่า” ถอดรหัสเป็นภาษาการทูตก็คือ “รู้แต่พูดไม่ได้” หรือ “ยังไม่ถึงเวลาที่จะพูด” ทิ้งไว้ให้เป็นปริศนา แต่สามัญสำนึกบอกเราได้ว่า ถ้าไม่จริงก็ควรได้รับการปฏิเสธตั้งแต่ต้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ประชาชนชาวไทยก็ไม่ควรไปหลงผิดตื่นเต้นดีใจ ภูมิใจอะไรกับการที่อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร พยายามประโคมข่าวใหญ่โตให้ชาวไทยทั้งประเทศมีความปีติยินดีกับการที่รัฐบาลประธานาธิบดี George W. Bush มอบให้ประเทศไทยมีฐานะเป็นพันธมิตรหลักนอกนาโต้ (Major Non-Nato Ally) เพราะไทยให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ อย่างดี อีกทั้งประชาชนชาวไทยก็ไม่ควรตกใจหรือรู้สึกประหลาดใจว่า ทำไมสหรัฐฯ จึงมีปฏิกิริยาท่าทีเป็นฟืนเป็นไฟต่อการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549
ตลอดจนการทำลายเครือข่ายการก่อการร้ายทั่วโลก (ไม่ว่าจะเป็น Al Qaeda หรือ Jemah Islamiyah) ซึ่งโครงการจัดตั้งคุกนรกเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 โดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ภายใต้การกำกับดูแลของนาย Donald Rumsfeld รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในยุคของรัฐบาลประธานาธิบดี George W. Bush ได้จัดตั้งโครงการลับที่สุดภายใต้ชื่อ special-access program หรือ SAP มีบทบาทโดยตรงปฏิบัติการทางลับเพื่อตามล่า ลักพาตัว จับกุม และสังหาร (หากจำเป็น)
ผู้ที่ฝ่ายสหรัฐฯ สงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายระดับแกนนำหรือหัวโจก (high-value detainees) โดยนำผู้ต้องสงสัยเหล่านี้ไปกักขังและทำการสอบสวนด้วยเทคนิคและวิธีการทรมาน (torture) ในรูปแบบต่างๆ (ที่ฝากรอยแผลทั้งทางร่างกายและจิตใจ) เพื่อหวังผลให้ผู้ถูกทรมานสารภาพออกมาตามที่ผู้ทำการทรมาน (หรือผู้ทำการสอบสวน) ประสงค์ (Chain of Command หน้า 16–20) โดยในระยะแรกเริ่มของการประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (สงครามในอัฟกานิสถาน และต่อมาในอิรัก)
คุกนรกสำคัญ ได้แก่ ฐานทัพอากาศเมืองบากรัมในอัฟกานิสถาน คุกอาบูเกร็บในอิรัก และคุกกวันตานาโม (พื้นที่ส่วนหนึ่งบริเวณอ่าวกวันตานาโมใกล้ประเทศคิวบาที่สหรัฐฯ ถือสิทธิใช้ตลอดกาล อันเป็นผลมาจากชัยชนะของสหรัฐฯ ในสงครามระหว่างสหรัฐฯ กับสเปนเมื่อ พ.ศ. 2441)
เป็นที่น่าสังเกตได้ว่า หลังจากที่นาย Hersh เปิดโปงเรื่องคุกนรกของสหรัฐฯ ภายใต้การดำเนินการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่มีชื่อว่า special-access program (SAP) ซึ่งต่อมาได้ขยายเครือข่ายออกไปทั่วโลก (รวมทั้งในประเทศไทยสมัยยุคพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล พ.ศ. 2544-2549) ทางหน่วยงานด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ (ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงกลาโหม หรือองค์การข่าวกรอง ซีไอเอ) แม้จะไม่ยอมรับหรือยืนยันว่าคุกนรกของสหรัฐฯ ทั่วโลกมีจริง แต่ก็ไม่เคยปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง (Jane Mayer “The Dark Side” หน้า 370-371)
หลังจากที่หนังสือของ Seymour Hersh ออกมาแล้ว ได้มีนักข่าวและนักวิชาการอีกหลายคน ที่ได้ทำการค้นคว้าเพื่อหาความจริงและรายละเอียดเพิ่มเติมล่าสุดที่สำคัญ ได้แก่ หนังสือชื่อ “A Question of Torture: CIA Interrogation, from the Cold War to the War on Terror” พิมพ์ พ.ศ. 2506 เขียนโดย Alfred McCoy นักวิชาการชื่อดังแห่งมหาวิทยาลัย Wisconsin และเป็นที่ยอมรับนับถืออย่างกว้างขวางทั่วไป และหนังสือของ Jane Mayer นักข่าวและนักเขียนของนิตยสาร The New Yorker และหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal และเป็นนักข่าวหญิงคนแรกประจำทำเนียบขาวของหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal หนังสือของ Jane Mayer “The Dark Side” พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2551
ทั้ง Alfred McCoy และ Jane Mayer ตอกย้ำให้ผู้อ่านได้เห็นว่า การเค้นให้ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายสารภาพหรือให้ข้อมูลด้วยวิธีการทรมานหลายรูปแบบไม่ใช่เป็นปรากฏการณ์ใหม่หรือเป็นเรื่องโดยบังเอิญ หากแต่เป็นเรื่องที่ทางการสหรัฐฯ ได้ให้ความใส่ใจและสนใจศึกษาเป็นพิเศษมาโดยตลอด
40 กว่าปีของยุคสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน (สหรัฐฯ ได้ทำการศึกษาเป็นพิเศษด้านเทคนิคการทรมานของระบอบคอมมิวนิสต์โซเวียตยุคของสตาลินและของเกาหลีเหนือในเรื่องของกระบวนการล้างสมองและการควบคุมเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์) ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ Alfred McCoy และ Jane Mayer ต่างมีความเห็นตรงกันว่าข้อมูลที่สหรัฐฯ ได้จากการทรมานผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายเกือบ 100% หาได้มีคุณค่าสำคัญอะไรมากต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำสงครามกับการก่อการร้ายหรือมีคุณค่าเชิงข่าวกรองแต่อย่างใด (เพราะผู้ถูกทรมานส่วนใหญ่มักรีบสารภาพทุกอย่างตามที่ผู้ทำการสอบสวนประสงค์ เพื่อไม่ต้องถูกทรมานเจ็บปวดถึงขั้นเสียชีวิตหรือพิการ) ตรงกันข้ามที่ผ่านมาสหรัฐฯ มักจะได้ข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นประโยชน์แท้จริงจากผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายจากวิธีการสอบสวนแบบปกติและเป็นวิธีการที่พึ่งการสร้างความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างผู้สอบสวนกับผู้ถูกสอบสวนมากกว่าการพึ่งวิธีการทรมาน
นอกจากนั้นหนังสือของ Jane Mayer ยังได้กล่าวถึงผู้ต้องสงสัยจำนวนไม่น้อยที่ถูกกักขังและถูกทรมานฟรีในคุกนรกต่างๆ ทั่วโลก และได้รับการปล่อยตัวในที่สุดเพราะหลักฐานไม่เพียงพอ มีอยู่หนึ่งรายแม้จะถูกทรมานฟรี มีบาดแผลเจ็บปวดทั้งทางกายและใจ แต่ก็ยังได้รับการชดเชยเป็นเงิน 10.5 ล้านเหรียญสหรัฐ จากรัฐบาลแคนาดา ดังกรณีของนาย Maher Arar บุคคลสัญชาติแคนาดาซึ่งถูกทางการสหรัฐฯ จับกุมและนำไปฝากขังเพื่อทำการสอบสวนด้วยวิธีการทรมานต่างๆ ในคุกนรกของประเทศซีเรียเป็นเวลากว่า 1 ปี จนในที่สุดได้รับการปล่อยตัวจากการเข้ามาช่วยเหลือของรัฐบาลแคนาดา (Jane Mayer “The Dark Side” หน้า 129-133)
ทั้งหนังสือของ Seymour Hersh และของ Jane Mayer ล้วนมีเนื้อหายืนยันอย่างชัดแจ้งว่า หากในยุคสงครามเย็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ คือ ลัทธิคอมมิวนิสต์ ในยุคหลังสงครามเย็น (หรือยุคโลกาภิวัตน์) สหรัฐฯ ถือว่าศัตรูหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ คือ ขบวนการก่อการร้ายทั้งภายในและนอกประเทศ และว่าในยุคสงครามเย็นสหรัฐฯ จะให้การสนับสนุนรัฐบาลที่เป็นเผด็จการ (ไม่ว่าเผด็จการทหารหรือพลเรือน) ของประเทศต่างๆ ตราบใดที่รัฐบาลเผด็จการของประเทศเหล่านี้ร่วมมือกับสหรัฐฯ ต่อต้านประเทศคอมมิวนิสต์ ฉันใดก็ฉันนั้น หากรัฐบาลของประเทศต่างๆ ให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการทำสงครามกับการก่อการร้ายอย่างปราศจากเงื่อนไขใดๆ สหรัฐฯ ก็จะยกย่องและให้การสนับสนุนโดยไม่สนใจว่ารัฐบาลของประเทศที่ให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ จะเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ (Seymour Hersh, Chain of Command หน้า 287-291 และ Jane Mayer, The Dark Side หน้า 112-118 และหน้า 132)
นอกจากนั้นสำหรับสหรัฐฯ รัฐบาลของประเทศยากจนและกำลังพัฒนาทั้งหลาย หากเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและสนับสนุนสหรัฐฯ ทำสงครามกับกลุ่มที่สหรัฐฯ มองว่าเป็นฝ่ายก่อการร้าย สหรัฐฯ ก็ถือว่ารัฐบาลของประเทศที่สนับสนุนสหรัฐฯ เป็นประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่รัฐบาลนั้นโกงการเลือกตั้ง ทำลายระบบการตรวจสอบถ่วงดุล แทรกแซงองค์กรอิสระ ผูกขาดอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ ขาดธรรมาภิบาล ละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำลายหลักนิติรัฐ/นิติธรรม ลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของปัจเจกชน แทรกแซงอำนาจตุลาการ จำกัดและทำลายเสรีภาพของสื่อมวลชน ตลอดจนลุแก่อำนาจ และผูกขาดอำนาจทุกด้าน
ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสำคัญเป็นเพราะสำหรับสหรัฐฯ และประเทศตะวันตกทั่วไป คำนิยามของคำว่าประชาธิปไตยที่ใช้กับประเทศยากจนและกำลังพัฒนาทั้งหลายถูกจำกัดความหมายไว้เพียงแค่ประชาธิปไตยคือการมีการเลือกตั้งและการไปใช้สิทธิหย่อนบัตรเลือกตั้งเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจอะไร ทำไมคุกนรกของสหรัฐฯ จึงมีในประเทศยากจนและกำลังพัฒนาทั้งหลายของทวีปเอเชีย แอฟริกา ภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียกลาง เพราะประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียและแอฟริกาส่วนใหญ่ประกอบด้วยรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยแต่ในรูปแบบเท่านั้น (เพราะมาจากการเลือกตั้ง) อีกทั้งยินดีให้สหรัฐฯ มีฐานทัพ ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 900 แห่ง (โปรดดู Chahmers Johnson “The Sorrow of Empire” และ “Blow Back” ซึ่งหนังสือทั้งสองเล่มดังกล่าวอธิบายให้ข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของบรรดาฐานทัพของสหรัฐฯ ในทวีปต่าง ๆ ของโลก) โดยในยุคของรัฐบาลประธานาธิบดี George W. Bush ฐานทัพเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นคุกนรกของสหรัฐฯ แต่ปัจจุบัน ประธานาธิบดี Barack Obama ได้ประกาศให้มีการปิดคุกนรกของสหรัฐฯ ที่มีอยู่ทั่วโลกไปแล้ว
ในขณะที่ฝ่ายกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มีโครงการที่เรียกว่า special-access program (SAP) เป็นกลไกสำหรับใช้ดำเนินการสอบสวนผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ฝ่ายพลเรือนคือ องค์การข่าวกรอง CIA ก็มีโครงการพิเศษเพื่อการส่งมอบตัว (extraordinary rendition program) เพื่อทำหน้าที่อย่างเดียวกับโครงการ SAP ของฝ่ายทหารสหรัฐฯ โดยโครงการพิเศษเพื่อการส่งมอบตัวผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายขององค์การ CIA จะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายขององค์การ CIA (Counterterrist Center) การดำเนินตามโครงการพิเศษเพื่อการส่งมอบตัวผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย (extraordinary rendition program) ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การ CIA นั้น จะเกี่ยวข้องกับการลักพาตัว (ทางลับ) ผู้ต้องสงสัยแล้วนำไปมอบให้กับเจ้าหน้าที่ของประเทศต่างๆ ที่ยินดีให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ เพื่อกักขังและทำการสอบสวนด้วยวิธีการปกติและไม่ปกติ (ทรมานในรูปแบบต่างๆ) เป็นการดำเนินในทางลับที่สุดเพื่อไม่ให้เป็นที่รับรู้ของประชาชนของประเทศที่ให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในเรื่องนี้ (outsourcing torture) และในเรื่องของการดำเนินการสอบสวนผู้ต้องสงสัยนั้น
บางกรณีฝ่ายสหรัฐฯ จะเป็นฝ่ายดำเนินการเอง บางกรณีสหรัฐฯ จะฝากคำถามให้กับเจ้าหน้าที่ (ผู้ชำนาญการด้านการทรมานผู้ต้องสงสัย) ของรัฐบาลประเทศเจ้าภาพที่ตั้งของคุกนรกเพื่อทำการสอบสวนแทนฝ่ายสหรัฐฯ บางกรณีก็อาจมีการดำเนินการร่วมกัน นอกจากนั้น ในกรณีที่การสอบสวนยังไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ ก็จะมีการเคลื่อนย้ายผู้ต้องสงสัยไปส่งมอบตัวให้กับรัฐบาลของประเทศอื่นๆ ที่ยินดีร่วมมือกับสหรัฐฯ ในเรื่องนี้ ผู้ต้องสงสัยบางรายถูกโยกย้ายไปอยู่ในคุกนรกของหลายประเทศ ผ่านการทรมานในหลายรูปแบบจนเจ้าตัวกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิธีการและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการทรมาน (Jane Mayer “The Dark Side” หน้า 102-119)
ในประเด็นเกี่ยวกับเหตุผลทำไมสหรัฐฯ จึงคิดค้นโครงการ special-access program (ของฝ่ายกระทรวงกลาโหม) และ rendition program (ขององค์การข่าวกรอง CIA) ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกดำเนินการด้านสอบสวน (ทางลับ) ด้วยวิธีการทรมานผู้ต้องสงสัยนั้น กล่าวได้ว่ามีเหตุผลสำคัญมาจากข้อจำกัดที่มีในกฎหมายระหว่างประเทศเป็นสำคัญ กล่าวคือ ในเมื่อการประกาศทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้ายถือได้ว่าเป็นลักษณะของการขัดกันทางอาวุธ (armed conflict) อย่างหนึ่ง ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ดังปรากฏในอนุสัญญากรุงเจนีวา พ.ศ. 2492 ซึ่งกำหนดห้ามกระทำความรุนแรงต่อชีวิตและร่างกายบุคคล การทรมาน การลักพาตัว การจับตัวประกัน และอื่นๆ สหรัฐฯ เองก็ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญากรุงเจนีวา พ.ศ. 2492 จึงมีพันธกรณีที่จำต้องปฏิบัติตามและไม่ละเมิดอนุสัญญาดังกล่าว
นอกจากนั้นก็ยังมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายของสหรัฐฯ เอง ที่มีข้อความห้ามในเรื่องของการใช้ความรุนแรงต่อชีวิตและร่างกาย การทรมานผู้ต้องสงสัย รวมทั้งมีหลักสากลและเหตุผลด้านมนุษยธรรมที่สหรัฐฯ ในฐานะเป็นอารยประเทศพึงให้การเคารพและยึดถือปฏิบัติ ประจวบกับสหรัฐฯ ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน พ.ศ. 2537 ซึ่งห้ามมิให้สหรัฐฯ ส่งตัวนักโทษไปยังประเทศอื่นโดยไม่ทำการทบทวน ศึกษา พิจารณาประวัติและพฤติกรรมของประเทศที่เกี่ยวข้องว่าเป็นประเทศที่มีประวัติการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและร้ายแรงมากน้อยเพียงใด ซึ่งอนุสัญญาต่อต้านการทรมานดังกล่าวมีผลใช้บังคับกับบุคคลที่อยู่ในความควบคุมของสหรัฐฯ ทั่วโลก มิใช่แค่บุคคลที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในสหรัฐฯ เท่านั้น (The Dark Side หน้า 108-109)
ดังนั้นในเมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังกล่าวทั้งหมดข้างต้น ประธานาธิบดี George W. Bush รองประธานาธิบดี Dick Cheney รัฐมนตรีกลาโหม Donald Rumsfeld และผู้อำนวยการองค์การ CIA นาย George Tenet จึงร่วมกันวางแผนเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายทั้งภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ให้กฎหมายมาเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการตามโครงการ special-access program (ของกลาโหม) และ rendition program (ของ CIA) ด้วยการว่าจ้างนักกฎหมายระดับแนวหน้าที่พร้อมให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหาร ให้คำแนะนำเพื่อหาทางเลี่ยงข้อกฎหมาย
ข้อสรุปที่ได้จากนักกฎหมายก็คือ ให้ถือว่าผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายที่อยู่ในการควบคุมของสหรัฐฯ ล้วนมีสถานะเป็น “พลรบที่ผิดกฎหมาย” (illegal enemy combatants) และการดำเนินการสอบสวนตามโครงการ special-access program และ rendition program ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการนอกประเทศสหรัฐฯ ดังนั้น กฎหมายภายในของสหรัฐฯ และกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องจึงไม่มีผลใช้บังคับกับการดำเนินการสอบสวน (ทางลับ) ด้วยวิธีการทรมานผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการดำเนินการที่อยู่เหนือและพ้นจากเงื้อมมือของกฎหมาย (Seymour M. Hersh, Chain of Command หน้า 18-19, 46-47 และ 53-55 และ Jane Mayer, The Dark Side หน้า 7-9 และหน้า 108-115)
สำหรับเรื่องของคุกนรกในไทยโดยเฉพาะนั้น หนังสือ The Dark Side ของ Jane Mayer ได้กล่าวไว้ 2 ตอน (หน้า 149 และหน้า 225) โดยในหน้า 149 Mayer ได้กล่าวถึงหัวหน้าฝ่ายส่งกำลังบำรุงของ Al Qaeda ชื่อจัดตั้ง Zubayda (ชื่อจริง Zayn al-Abidin Muhammed Hussein) เกิดในประเทศซาอุดีอาระเบีย และเคยร่วมในขบวนการมูจาฮีดินทำสงครามขับไล่กองทัพอดีตสหภาพโซเวียตออกจากอัฟกานิสถานในยุคสงครามเย็น และได้มีโอกาสรู้จักทำความสนิทสนมกับ Osama Bin Laden ณ สมรภูมิในอัฟกานิสถาน จึงทำให้ฝ่ายสหรัฐฯ เชื่อว่า Zubayda น่าจะรู้ที่ซ่อนของ Bin Laden ในอัฟกานิสถาน เป็นผลทำให้นาย Zubayda ถูกทางการสหรัฐฯ จับกุมได้ในเดือนมีนาคม 2545 บริเวณชายแดนระหว่างอัฟกานิสถานกับปากีสถาน ทำให้ Zubayda เป็นผู้ถูกคุมตัวที่มีค่าตัวสูง (high-value detainee)
คนแรกที่สหรัฐฯ สามารถจับกุมได้ในอัฟกานิสถานหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2545 และได้นำไปกักขังไว้ในคุกนรกในประเทศไทย (แต่ไม่ได้ระบุว่า ณ ที่ใดของประเทศไทย) รัฐบาลไทยในช่วงนั้น (รัฐบาลไทยรักไทยของทักษิณ ชินวัตร) ได้มีข้อกำหนดไว้ประการเดียว นั่นคือ ต้องไม่ให้เรื่องนี้เป็นที่เปิดเผยแก่สาธารณชนโดยเด็ดขาด และว่าหากปฏิบัติการและความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในครั้งนี้สามารถปิดได้อย่างมิดชิดตลอดกาล ทางฝ่ายไทยยินดีให้ CIA ใช้สถานที่ในไทย ซึ่งมีห้องขังใต้ดินอีกด้วย
ส่วนในหน้า 225 Mayer ได้กล่าวถึงนาย Abd al-Rahim al-Nashiri ผู้ถูกคุมตัวที่มีค่าตัวสูงรายที่ 2 ซึ่งถูกย้ายมาจากคุกนรกในอัฟกานิสถานมากักขังและทรมานในไทยเมื่อปลาย พ.ศ. 2547 Jane Mayer ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า นาย Adb al-Rahim al-Nashiri ถูกทรมานด้วยการอัดน้ำ (water boarded) และการทรมานรูปแบบอื่นๆ และว่าทาง CIA ได้ทำการถ่ายวิดีโอเทปการสอบสวนนาย al-Rahim al-Nashiri เป็นรายสุดท้าย ในส่วนที่เกี่ยวกับนาย Hambali นั้น Jane Mayer ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมาก นอกจากกล่าวถึงนาย Hambali ว่าได้ถูกจับกุมช่วง พ.ศ. 2546 มีชื่อจริงว่า Riduan Isamuddin และเป็นหัวหน้าขบวนการก่อการร้าย Jemaah Islamiya สาขาของ Al Qaeda ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผู้บงการการวางระเบิดสถานบันเทิงกลางคืนที่เกาะบาหลี และเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถของ Al Qaeda ในการผลิตสารพิษ anthrax (หน้า 269)
เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังกล่าวทั้งหมดข้างต้น คำถามสุดท้ายก็คือ คุกนรกของ CIA ในไทยมีจริงหรือไม่? เรื่องนี้หากไปถามฝ่ายสหรัฐฯ ก็จะได้รับคำตอบที่เป็นสูตรสำเร็จรูปที่ฝ่ายสหรัฐฯ ใช้ตอบคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องที่สหรัฐฯ ถือว่าเป็นเรื่อง “ลับที่สุด” นั่นคือ “ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นรื่องจริง พร้อมทั้งไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่จริง” (can neither confirm nor deny) ถอดรหัสเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ “ขอไม่พูดดีกว่า” ถอดรหัสเป็นภาษาการทูตก็คือ “รู้แต่พูดไม่ได้” หรือ “ยังไม่ถึงเวลาที่จะพูด” ทิ้งไว้ให้เป็นปริศนา แต่สามัญสำนึกบอกเราได้ว่า ถ้าไม่จริงก็ควรได้รับการปฏิเสธตั้งแต่ต้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ประชาชนชาวไทยก็ไม่ควรไปหลงผิดตื่นเต้นดีใจ ภูมิใจอะไรกับการที่อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร พยายามประโคมข่าวใหญ่โตให้ชาวไทยทั้งประเทศมีความปีติยินดีกับการที่รัฐบาลประธานาธิบดี George W. Bush มอบให้ประเทศไทยมีฐานะเป็นพันธมิตรหลักนอกนาโต้ (Major Non-Nato Ally) เพราะไทยให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ อย่างดี อีกทั้งประชาชนชาวไทยก็ไม่ควรตกใจหรือรู้สึกประหลาดใจว่า ทำไมสหรัฐฯ จึงมีปฏิกิริยาท่าทีเป็นฟืนเป็นไฟต่อการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549