หนึ่งดัชนีชี้วัดพัฒนาการประชาธิปไตยคือเปิดกว้างเสรีภาพการชุมนุม (Freedom of assembly) ที่ต่อยอดมาจากเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นแบบรวมหมู่ทางการเมืองทั้งเชิงสนับสนุนและต่อต้าน
ดุจเดียวกันกับพัฒนาการของผู้นำรัฐนาวาก็ต้องส่งเสริมเสรีภาพในการพูดของประชาชน เฉกเช่นที่วิศวกรผู้ประสบความสำเร็จในการจัดการน้ำเลือกขุดลอกคลองให้น้ำไหลได้สะดวกแทนสร้างเขื่อนขึ้นขวางลำน้ำ เพราะการขัดขวางการวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนนั้นอันตรายร้ายแรงกว่าการสร้างเขื่อนขวางกั้นกระแสน้ำเชี่ยวกราก ด้วยถึงที่สุดแล้วแม้แต่รัฐบาลฉ้อราษฎร์บังหลวงสูงสุดก็ยังสามารถอยู่รอดได้ชั่วขณะหนึ่งหากเปิดโอกาสให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ ดังที่ปราชญ์จีนระบุไว้
การชุมนุมที่พัฒนาการจากการแสดงความคิดเห็นของประชาชนจึงทรงพลานุภาพ ดังพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ต่อยอดจากรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรที่มาแทนรายการเมืองไทยรายสัปดาห์หลังรัฐบาลสั่งถอดออกจาก อสมท เพราะวิพากษ์วิจารณ์ ที่ท้ายสุดก็สามารถทลายรัฐบาลทุจริตคอร์รัปชันลงได้แม้นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง
อนึ่ง ในการกล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่าทุกการชุมนุมจะเกิดขึ้นได้โดยไม่มีเงื่อนไขถึงแม้นได้มวลชนจำนวนหนึ่งรวมตัวกันสนับสนุนแสดงความคิดเห็นสู่สาธารณชน เพราะไม่เพียงเสรีภาพการชุมนุมไม่ใช่เสรีภาพเด็ดขาด หากยังควรคำนึงถึงจารีตวัฒนธรรมประเพณีที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศยึดเป็นกรอบโครงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการชุมนุมซุกซ่อนวาระซ่อนเร้นล้มล้าง
รวมทั้งยังต้องปฏิบัติตามหลักเสรีภาพการชุมนุมที่ต้องสงบและปราศจากอาวุธอย่างเคร่งครัด ด้วยทั้งสองเงื่อนไขไม่เพียงเป็นใบรับประกันการใช้เสรีภาพด้านนี้ ทว่ายังป้องกันไม่ให้ความรุนแรงเกิดกับขบวนการมวลชนและเจ้าหน้าที่รัฐด้วย ดังความรุนแรงจากมวลชนช่วงสงกรานต์เลือด การเคลื่อนมวลชนเข้าปะทะมวลชนอีกฝั่งที่ถูกอุปโลกน์เป็นปรปักษ์ทั้งกลางพระนครและหนองประจักษ์ ขณะความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐก็ประจักษ์แจ้งจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 7 ตุลาคม 2551
เนื่องจากว่าช่วงเวลานั้นจะก่อเกิดกระบวนการทอนความเป็นมนุษย์ (Dehumanization) ที่เข้มข้นขนาดปลุกปั่นประชาชนลุกขึ้นมาฆ่าฟันกันได้ในฝั่งของมวลชน เช่นเดียวกับฟากเจ้าหน้าที่รัฐก็ท่วมท้นไม่แพ้กัน มิเช่นนั้นคงไม่ถั่งโถมอาวุธใส่ผู้ชุมนุมเพศแม่แบบเลือดเย็นตั้งแต่อรุณรุ่งจนจรดคืนค่ำ
ทั้งนี้ เหตุแห่งวิกฤตก็คือที่ผ่านมาไม่ได้แปรหลักการว่าด้วยการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามมาตรา 63 และ 44 ในรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2550 และ 2540 หรือย้อนไปไกลถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 มาเป็นกฎหมายลำดับรอง ตลอดจนขาดการตีความด้านสิทธิการชุมนุมหลังไทยเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ตั้งแต่ต้นปี 2540
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การขาดกฎหมายลำดับรองรองรับเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญเป็นตัวแปรสำคัญหนึ่งที่ถึงไม่ใช่ลำดับแรก ทว่าถ้ามีก็จะตัดตอนความรุนแรงลงได้ไม่น้อย โดยเฉพาะจากเจ้าหน้าที่รัฐที่อ้างการไม่มีกฎหมายโดยตรงแล้วกระทำการลุแก่อำนาจผ่านแผนสลายการชุมนุม เช่น แผนกรกฎ ปฐพี ไพรีพินาศ หรือไม่ก็สกัดกั้นการชุมนุมด้วยกฎหมายที่ไม่ได้ตราขึ้นเฉพาะ เช่น พ.ร.บ.ทางหลวง 2535 พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ 2535 และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ 2493
เพราะการกระทำเช่นนี้นอกจากจะขัดเจตนารมณ์กฎหมายสูงสุดของประเทศโดยการใช้ ‘ดุลพินิจแบบเห็นว่า’ ของตำรวจและทหารที่มักกระทำเกินกว่าเหตุ และสองมาตรฐานตั้งข้อกล่าวหาเกินจริงแก่ผู้ชุมนุมเดินขบวนที่ใช้อำนาจอธิปไตยเคลื่อนไหวแล้ว ยังทำให้มวลชนไม่เรียนรู้การชุมนุมและเดินขบวนตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ต้องบริหารจัดการความสมดุลระหว่างสิทธิของผู้ชุมนุมและเดินขบวนกับสิทธิของบุคคลที่สามในการใช้พื้นที่สาธารณะ หรือกระทั่งสิทธิในชีวิตทรัพย์สินของฟากฝั่งตรงข้าม ทั้งๆ ที่ทั้งหมดได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญด้วยกันทั้งสิ้น
ยิ่งกว่านั้นสังคมโดยรวมก็ปรามาสการชุมนุมเดินขบวนเป็นแค่ ‘ม็อบ’ วุ่นวายทำลายความสงบเรียบร้อยของชาติบ้านเมืองที่รักสมัครสมานสามัคคีมากกว่าจะเห็นเป็นคุณูปการต่อการผลักดันนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนรวมและสร้างเสริมประชาธิปไตยที่ลงหลักปักฐานตั้งมั่น รวมทั้งส่วนมากมักเห็นดีเห็นงามกับการสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยความรุนแรงกับฟากฝั่งปฏิปักษ์
กระบวนการเช่นนี้มีแต่นำประเทศไทยในห้วงยามระบอบประชาธิปไตยระยะเปลี่ยนผ่านไม่อาจผ่านไปสู่ความมีอารยะยอมรับความคิดต่างเห็นแย้งที่เป็นคุณลักษณะที่สังคมพหุนิยม (Pluralistic society) ต้องการได้ หรือย่ำแย่กว่าก็เกิดสงครามกลางเมืองอันเนื่องมาจากความต้องการหลากหลายขนาดสวนทางกันทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่ผู้คนพร้อมจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มกดดัน (Pressure group) และกลุ่มผลประโยชน์ (Interest group) ออกมาชุมนุมเดินขบวนบนท้องถนน
ดังนั้นการกำหนด ‘พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะและการเดินขบวน พ.ศ. ...’ ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่มุ่งคุ้มครองการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของประชาชนอย่างแท้จริงจึงจำเป็นยิ่งยวด ด้วยจะป้องปรามไม่ให้ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการชุมนุมเดินขบวนเกิดความรุนแรงสูญเสียเลือดเนื้อ เหมือน 7 ตุลา 51 ที่ล่วงเกือบปีแล้วก็ยังนำเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงและนักการเมืองเบื้องหลังคำสั่งสลายการชุมนุมโดยมิชอบจนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตมารับโทษไม่ได้ ในขณะเดียวกันมวลชนที่กลุ้มรุมทำร้ายฝ่ายตรงข้ามก็คงลอยนวลด้วยใจลิงโลดพร้อมละเมิดสิทธิต่อไป
ด้วยตราบใดไม่มีกฎหมายระดับ พ.ร.บ.เพื่อแปรเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญสู่ภาคปฏิบัติการ ตราบนั้นการสลายการชุมนุมที่ไม่คำนึงถึง ‘หลักความพอสมควรแก่เหตุ’ ที่ใช้สำหรับตรวจสอบการกระทำของรัฐไม่ให้ใช้อำนาจแบบอำเภอใจจนไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ก็น่าจะยังคงปรากฏต่อไป ไม่ต่างจากอดีตที่ปฏิบัติการสลายการชุมนุมทุกครั้งรัฐไม่เคยนำหลักความเหมาะสม หลักความจำเป็น และหลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ มาร่วมพิจารณาเลย
รวมทั้งผู้ชุมนุมเดินขบวนในอนาคตก็จะไม่ลังเลใจก้าวตามตัวอย่างม็อบเมื่ออดีต โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะหลงยึดติดเป้าหมายอธิบายวิธีการ (The end justifies the means) ว่าคือชัยชนะ ขณะที่ผู้นำหรือจัดการการชุมนุมและเดินขบวนก็จะลอยตัวไม่รับผิดชอบการนำเหมือนเดิมแม้จะเป็นผู้ปลุกปั่นมวลชนพกพาอาวุธ ระดมคนก่อจลาจล หรือยั่วยุรุกไล่ล่าก่ออาชญากรรม ก็ตาม
ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปการชุมนุมเดินขบวนของมวลชนจะเป็นม็อบรุนแรงไม่สันติอหิงสา การสลายการชุมนุมด้วยอาวุธจะเป็นอาชญากรรมรัฐที่ยอมรับได้ถึงจะละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขัดวัตถุประสงค์แห่งการบังคับทางปกครอง และความชอบด้วยกฎหมาย ใช้กำลังได้โดยไม่แม้แต่จะแจ้งเตือนจากเบาไปหนัก
กล่าวถึงที่สุด การไม่มีกฎหมายว่าด้วยเสรีภาพนี้โดยตรงเป็นหนึ่งอุปสรรคพัฒนาประชาธิปไตย เพราะกว่ากระบวนการยุติธรรมจะนำความเป็นธรรมกลับคืนสู่มวลชนผู้สูญเสียก็ใช้เวลาเนิ่นนานจนหลายฝ่ายมองว่า ‘ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความอยุติธรรม’ ดังการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีตุลาล่าสุดของ ป.ป.ช. ทั้งยังนับเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ ต้องมีเหตุก่อนถึงจะเข้ามาจัดการได้ ไม่เหมือน พ.ร.บ.ฉบับนี้ที่ทำให้ทั้งผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบรับรู้ชัดเจนว่าสิ่งใดทำได้/ไม่ได้ ไม่ให้สถานการณ์บานปลายกลายเป็นคดีความตามมามากมายทั้งที่ควรด้วยเหตุผลและถูกกลั่นแกล้ง
มิเอ่ยว่าจะขจัดการไม่ลงร้อยกันทางความคิดของสังคมเรื่องตุลาการภิวัฒน์อันเนื่องมาจากการตัดสินคดีความเกี่ยวกับการชุมนุมเดินขบวนที่มีทั้งภาคส่วนสนับสนุนและคัดค้านได้ด้วย
การมุ่งคุ้มครองการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของ พ.ร.บ.ฉบับรื้อสร้างนี้จะนำพาปรากฏการณ์ ‘โพสต์ม็อบ’ (Post Mob) มาสู่สังคมไทยได้ ด้วยไม่เพียงทำให้คดีความที่เกิดกับผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐลดน้อยลงหลังสิ้นสุดการเคลื่อนไหวในท้องถนนจากต่างฝ่ายต่างตระหนักขอบเขตสิทธิเสรีภาพซึ่งกัน ทว่าขณะเดียวกันนั้นก็ยังรื้อถอนมายาคติว่าการชุมนุมเดินขบวนเป็นการก่อความวุ่นวายออกจากจิตใจพลเมืองผู้เคยอิหลักอิเหลื่อได้ด้วย
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
ดุจเดียวกันกับพัฒนาการของผู้นำรัฐนาวาก็ต้องส่งเสริมเสรีภาพในการพูดของประชาชน เฉกเช่นที่วิศวกรผู้ประสบความสำเร็จในการจัดการน้ำเลือกขุดลอกคลองให้น้ำไหลได้สะดวกแทนสร้างเขื่อนขึ้นขวางลำน้ำ เพราะการขัดขวางการวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนนั้นอันตรายร้ายแรงกว่าการสร้างเขื่อนขวางกั้นกระแสน้ำเชี่ยวกราก ด้วยถึงที่สุดแล้วแม้แต่รัฐบาลฉ้อราษฎร์บังหลวงสูงสุดก็ยังสามารถอยู่รอดได้ชั่วขณะหนึ่งหากเปิดโอกาสให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ ดังที่ปราชญ์จีนระบุไว้
การชุมนุมที่พัฒนาการจากการแสดงความคิดเห็นของประชาชนจึงทรงพลานุภาพ ดังพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ต่อยอดจากรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรที่มาแทนรายการเมืองไทยรายสัปดาห์หลังรัฐบาลสั่งถอดออกจาก อสมท เพราะวิพากษ์วิจารณ์ ที่ท้ายสุดก็สามารถทลายรัฐบาลทุจริตคอร์รัปชันลงได้แม้นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง
อนึ่ง ในการกล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่าทุกการชุมนุมจะเกิดขึ้นได้โดยไม่มีเงื่อนไขถึงแม้นได้มวลชนจำนวนหนึ่งรวมตัวกันสนับสนุนแสดงความคิดเห็นสู่สาธารณชน เพราะไม่เพียงเสรีภาพการชุมนุมไม่ใช่เสรีภาพเด็ดขาด หากยังควรคำนึงถึงจารีตวัฒนธรรมประเพณีที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศยึดเป็นกรอบโครงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการชุมนุมซุกซ่อนวาระซ่อนเร้นล้มล้าง
รวมทั้งยังต้องปฏิบัติตามหลักเสรีภาพการชุมนุมที่ต้องสงบและปราศจากอาวุธอย่างเคร่งครัด ด้วยทั้งสองเงื่อนไขไม่เพียงเป็นใบรับประกันการใช้เสรีภาพด้านนี้ ทว่ายังป้องกันไม่ให้ความรุนแรงเกิดกับขบวนการมวลชนและเจ้าหน้าที่รัฐด้วย ดังความรุนแรงจากมวลชนช่วงสงกรานต์เลือด การเคลื่อนมวลชนเข้าปะทะมวลชนอีกฝั่งที่ถูกอุปโลกน์เป็นปรปักษ์ทั้งกลางพระนครและหนองประจักษ์ ขณะความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐก็ประจักษ์แจ้งจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 7 ตุลาคม 2551
เนื่องจากว่าช่วงเวลานั้นจะก่อเกิดกระบวนการทอนความเป็นมนุษย์ (Dehumanization) ที่เข้มข้นขนาดปลุกปั่นประชาชนลุกขึ้นมาฆ่าฟันกันได้ในฝั่งของมวลชน เช่นเดียวกับฟากเจ้าหน้าที่รัฐก็ท่วมท้นไม่แพ้กัน มิเช่นนั้นคงไม่ถั่งโถมอาวุธใส่ผู้ชุมนุมเพศแม่แบบเลือดเย็นตั้งแต่อรุณรุ่งจนจรดคืนค่ำ
ทั้งนี้ เหตุแห่งวิกฤตก็คือที่ผ่านมาไม่ได้แปรหลักการว่าด้วยการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามมาตรา 63 และ 44 ในรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2550 และ 2540 หรือย้อนไปไกลถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 มาเป็นกฎหมายลำดับรอง ตลอดจนขาดการตีความด้านสิทธิการชุมนุมหลังไทยเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ตั้งแต่ต้นปี 2540
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การขาดกฎหมายลำดับรองรองรับเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญเป็นตัวแปรสำคัญหนึ่งที่ถึงไม่ใช่ลำดับแรก ทว่าถ้ามีก็จะตัดตอนความรุนแรงลงได้ไม่น้อย โดยเฉพาะจากเจ้าหน้าที่รัฐที่อ้างการไม่มีกฎหมายโดยตรงแล้วกระทำการลุแก่อำนาจผ่านแผนสลายการชุมนุม เช่น แผนกรกฎ ปฐพี ไพรีพินาศ หรือไม่ก็สกัดกั้นการชุมนุมด้วยกฎหมายที่ไม่ได้ตราขึ้นเฉพาะ เช่น พ.ร.บ.ทางหลวง 2535 พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ 2535 และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ 2493
เพราะการกระทำเช่นนี้นอกจากจะขัดเจตนารมณ์กฎหมายสูงสุดของประเทศโดยการใช้ ‘ดุลพินิจแบบเห็นว่า’ ของตำรวจและทหารที่มักกระทำเกินกว่าเหตุ และสองมาตรฐานตั้งข้อกล่าวหาเกินจริงแก่ผู้ชุมนุมเดินขบวนที่ใช้อำนาจอธิปไตยเคลื่อนไหวแล้ว ยังทำให้มวลชนไม่เรียนรู้การชุมนุมและเดินขบวนตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ต้องบริหารจัดการความสมดุลระหว่างสิทธิของผู้ชุมนุมและเดินขบวนกับสิทธิของบุคคลที่สามในการใช้พื้นที่สาธารณะ หรือกระทั่งสิทธิในชีวิตทรัพย์สินของฟากฝั่งตรงข้าม ทั้งๆ ที่ทั้งหมดได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญด้วยกันทั้งสิ้น
ยิ่งกว่านั้นสังคมโดยรวมก็ปรามาสการชุมนุมเดินขบวนเป็นแค่ ‘ม็อบ’ วุ่นวายทำลายความสงบเรียบร้อยของชาติบ้านเมืองที่รักสมัครสมานสามัคคีมากกว่าจะเห็นเป็นคุณูปการต่อการผลักดันนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนรวมและสร้างเสริมประชาธิปไตยที่ลงหลักปักฐานตั้งมั่น รวมทั้งส่วนมากมักเห็นดีเห็นงามกับการสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยความรุนแรงกับฟากฝั่งปฏิปักษ์
กระบวนการเช่นนี้มีแต่นำประเทศไทยในห้วงยามระบอบประชาธิปไตยระยะเปลี่ยนผ่านไม่อาจผ่านไปสู่ความมีอารยะยอมรับความคิดต่างเห็นแย้งที่เป็นคุณลักษณะที่สังคมพหุนิยม (Pluralistic society) ต้องการได้ หรือย่ำแย่กว่าก็เกิดสงครามกลางเมืองอันเนื่องมาจากความต้องการหลากหลายขนาดสวนทางกันทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่ผู้คนพร้อมจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มกดดัน (Pressure group) และกลุ่มผลประโยชน์ (Interest group) ออกมาชุมนุมเดินขบวนบนท้องถนน
ดังนั้นการกำหนด ‘พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะและการเดินขบวน พ.ศ. ...’ ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่มุ่งคุ้มครองการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของประชาชนอย่างแท้จริงจึงจำเป็นยิ่งยวด ด้วยจะป้องปรามไม่ให้ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการชุมนุมเดินขบวนเกิดความรุนแรงสูญเสียเลือดเนื้อ เหมือน 7 ตุลา 51 ที่ล่วงเกือบปีแล้วก็ยังนำเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงและนักการเมืองเบื้องหลังคำสั่งสลายการชุมนุมโดยมิชอบจนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตมารับโทษไม่ได้ ในขณะเดียวกันมวลชนที่กลุ้มรุมทำร้ายฝ่ายตรงข้ามก็คงลอยนวลด้วยใจลิงโลดพร้อมละเมิดสิทธิต่อไป
ด้วยตราบใดไม่มีกฎหมายระดับ พ.ร.บ.เพื่อแปรเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญสู่ภาคปฏิบัติการ ตราบนั้นการสลายการชุมนุมที่ไม่คำนึงถึง ‘หลักความพอสมควรแก่เหตุ’ ที่ใช้สำหรับตรวจสอบการกระทำของรัฐไม่ให้ใช้อำนาจแบบอำเภอใจจนไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ก็น่าจะยังคงปรากฏต่อไป ไม่ต่างจากอดีตที่ปฏิบัติการสลายการชุมนุมทุกครั้งรัฐไม่เคยนำหลักความเหมาะสม หลักความจำเป็น และหลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ มาร่วมพิจารณาเลย
รวมทั้งผู้ชุมนุมเดินขบวนในอนาคตก็จะไม่ลังเลใจก้าวตามตัวอย่างม็อบเมื่ออดีต โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะหลงยึดติดเป้าหมายอธิบายวิธีการ (The end justifies the means) ว่าคือชัยชนะ ขณะที่ผู้นำหรือจัดการการชุมนุมและเดินขบวนก็จะลอยตัวไม่รับผิดชอบการนำเหมือนเดิมแม้จะเป็นผู้ปลุกปั่นมวลชนพกพาอาวุธ ระดมคนก่อจลาจล หรือยั่วยุรุกไล่ล่าก่ออาชญากรรม ก็ตาม
ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปการชุมนุมเดินขบวนของมวลชนจะเป็นม็อบรุนแรงไม่สันติอหิงสา การสลายการชุมนุมด้วยอาวุธจะเป็นอาชญากรรมรัฐที่ยอมรับได้ถึงจะละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขัดวัตถุประสงค์แห่งการบังคับทางปกครอง และความชอบด้วยกฎหมาย ใช้กำลังได้โดยไม่แม้แต่จะแจ้งเตือนจากเบาไปหนัก
กล่าวถึงที่สุด การไม่มีกฎหมายว่าด้วยเสรีภาพนี้โดยตรงเป็นหนึ่งอุปสรรคพัฒนาประชาธิปไตย เพราะกว่ากระบวนการยุติธรรมจะนำความเป็นธรรมกลับคืนสู่มวลชนผู้สูญเสียก็ใช้เวลาเนิ่นนานจนหลายฝ่ายมองว่า ‘ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความอยุติธรรม’ ดังการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีตุลาล่าสุดของ ป.ป.ช. ทั้งยังนับเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ ต้องมีเหตุก่อนถึงจะเข้ามาจัดการได้ ไม่เหมือน พ.ร.บ.ฉบับนี้ที่ทำให้ทั้งผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบรับรู้ชัดเจนว่าสิ่งใดทำได้/ไม่ได้ ไม่ให้สถานการณ์บานปลายกลายเป็นคดีความตามมามากมายทั้งที่ควรด้วยเหตุผลและถูกกลั่นแกล้ง
มิเอ่ยว่าจะขจัดการไม่ลงร้อยกันทางความคิดของสังคมเรื่องตุลาการภิวัฒน์อันเนื่องมาจากการตัดสินคดีความเกี่ยวกับการชุมนุมเดินขบวนที่มีทั้งภาคส่วนสนับสนุนและคัดค้านได้ด้วย
การมุ่งคุ้มครองการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของ พ.ร.บ.ฉบับรื้อสร้างนี้จะนำพาปรากฏการณ์ ‘โพสต์ม็อบ’ (Post Mob) มาสู่สังคมไทยได้ ด้วยไม่เพียงทำให้คดีความที่เกิดกับผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐลดน้อยลงหลังสิ้นสุดการเคลื่อนไหวในท้องถนนจากต่างฝ่ายต่างตระหนักขอบเขตสิทธิเสรีภาพซึ่งกัน ทว่าขณะเดียวกันนั้นก็ยังรื้อถอนมายาคติว่าการชุมนุมเดินขบวนเป็นการก่อความวุ่นวายออกจากจิตใจพลเมืองผู้เคยอิหลักอิเหลื่อได้ด้วย
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org