หนึ่งในสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยที่ทุกรัฐบาลไม่ต้องการเลยคือการชุมนุมและเดินขบวน ยิ่งเป็นการรวมตัวกันเพื่อล้มล้างรัฐบาลด้วยแล้วยิ่งไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้นแม้นเพียงครั้งหนึ่งในช่วงชีวิตรัฐบาล หากกระนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วรัฐบาลประชาธิปไตยก็ต้องบริหารจัดการการชุมนุมและเดินขบวนภายใต้เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญและหลักการสากลบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ชุมนุมนั้นๆ อันจะไม่นำมาซึ่งชีวิตทรัพย์สินสูญเสียมหาศาลเหมือนคราตุลา 16, ตุลา 19, พฤษภา 35 และ 7 ตุลา 51 จากการลุแก่อำนาจ
การอ้างการถ่ายโอนอำนาจให้เจ้าหน้าที่รัฐตามสายการบังคับบัญชาเข้าสลายการชุมนุมเพื่อปัดความรับผิด (Blame avoidance) นั้นนอกจากขลาดเขลาแล้ว ยังเผยธาตุแท้ความเห็นแก่ตัวสูงยิ่งด้วย
กล่าวเฉพาะการชุมนุมและเดินขบวนโดยกลุ่มที่เรียกขานตนเองว่า ‘คนเสื้อแดง’ เวลานี้มีแหล่งที่มาของภาวะวิกฤตที่สลับซับซ้อนพอควรคือการสูญสิ้นอำนาจของเครือข่ายอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลังรัฐประหารอันเนื่องมาจากบริหารชาติบ้านเมืองแบบขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict on interest) และเอื้ออำนวยทุจริตคอร์รัปชันเชิงนโยบายเบียดบังประโยชน์สาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนตน ผสมผสานกับอุดมการณ์เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเชื้อไฟสมัยปฏิวัติเบ่งบาน และการเสพติดนโยบายประชานิยมของประชาชนรากแก้วบางส่วนที่ขาดข้อมูลข่าวสาร
ครั้นรัฐบาลปัจจุบันละเลยการจัดการความเสี่ยงเชิงระบบก่อนเกิดวิกฤตเสียแล้ว และไม่มองจากมุมมองภายนอกที่มองเห็นความเสี่ยงต่อระบอบการปกครองและระบบจริยธรรมเท่ากับมุมมองภายในที่ต้องการแค่อยู่รอดเป็นรัฐบาลต่อไป รวมทั้งยังไม่รับฟังเมินเฉยคำเตือนต่างๆ การตามแก้วิกฤตการชุมนุมและเดินขบวนอย่างชาญฉลาดที่สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตโดยอาศัยภาวะวิกฤตเคยเผชิญมาและจินตนาการถึงความเลวร้ายสุดขั้วที่มีความน่าจะเป็นจึงเป็นทางรอดเดียว
มุมมองเช่นนี้มิใช่การมองโลกแง่ร้าย หากแต่เป็นการตรวจสอบและจัดการกับความเสี่ยงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบที่มีรากฐานความน่าจะเป็น (Probability) รองรับ
หน้าที่ของรัฐบาลด้านนี้จะสัมฤทธิผลได้ก็ต่อเมื่อสามารถจัดลำดับภาวะวิกฤตได้รอบคอบถูกต้อง ตระหนักว่าความเสี่ยงบางอย่างต้องได้รับความสนใจกว่าความเสี่ยงอื่นๆ มิเช่นนั้นจะเกิดปรากฏการณ์สนใจความเสี่ยงที่ไม่อาจเกิดขึ้น ขณะละเลยความเสี่ยงที่ทำร้ายชาติบ้านเมืองได้จริงๆ
ความเสี่ยงที่หนุนเนื่องมากับการชุมนุมและเดินขบวนของคนเสื้อแดง ณ ขณะนี้ยึดโยงอย่างแนบแน่นกับการตัดสินใจเชิงบริหารของทุกรัฐบาลหลังรัฐประหารที่ไม่จริงจังด้านปราบปรามคอร์รัปชัน ยืดเยื้อให้กลุ่มกังฉินกินเมืองกำหนดประเด็นข่าวสารสื่อมวลชน (Agenda setting) ตลอดจนปลุกปั่นแตกแยกขัดแย้งผ่านวาทกรรมประชาธิปไตยที่ใช้การล้มล้าง ‘อำมาตยาธิปไตย’ เป็นคานงัดสำคัญ
จากสัญญาณวิกฤตการชุมนุมและเดินขบวนอ่อนๆ จนถี่แรงเช่นปัจจุบันนั้นสัมพันธ์กับการกระทำของรัฐบาลเองเป็นส่วนใหญ่ที่ไม่รอบคอบครุ่นคิดถึงผลที่จะตามมา ทั้งๆ วิกฤตเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ถ้ากำหนดและดำเนินนโยบายทุจริตคอร์รัปชันเคร่งครัด ติดตามตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ โดยไม่แบ่งแยกว่าเคยเป็นผู้กุมอำนาจรัฐหรือคนปลายอ้อปลายแขมไร้อำนาจเจรจาต่อรองตามหลักสากลของความเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมาย (Principle of Equality before the Law)
ไม่ใช่ว่าต้องเจรจาประนีประนอมยอมความกันในคดีทุจริตคอร์รัปชันถ้าหากผู้นำนั้นๆ มีประชาชนจำนวนมากมายหนุนหลัง อีกทั้งศักดิ์ศรีของผู้นำคือความรับผิดต่อความผิดที่เคยกระทำไว้
ยิ่งยกตนอวดเทียบประธานาธิบดี เนลสัน มันเดลา (Nelson Mandela) ที่ใช้ชีวิตกว่า 27 ปีในคุกจากความพยายามหยุดยั้งนโยบายแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ (Apartheid) ด้วยแล้ว ยิ่งต้องพิสูจน์จริยธรรมผู้นำ อย่างน้อยสุดก็ความกล้าหาญที่ว่า ‘ต้องนำจากข้างหน้า ทว่าไม่ทอดทิ้งฐานการสนับสนุนไว้เบื้องหลัง’ (Lead from the front-but don’t leave your base behind) ที่ไกลห่างจากสภาวะผลักดันประชาชนออกไปบาดเจ็บล้มตายในสมรภูมิรบโดยตนเองหลุบหลบหลุมปลอดภัย
ทั้งนี้ ล่วงเลยถึงเวลานี้แล้วรัฐบาลคงไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบจากการชุมนุมและเดินขบวนของคนเสื้อแดงในระดับที่ยอมรับได้ การเตรียมแผนสำรอง (Contingency planning) ที่ไม่ได้ป้องกันภาวะวิกฤตแต่ช่วยต่อต้าน ควบคุม และลดผลกระทบทางลบทุกด้าน กระทั่งคืนกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วจึงเป็นทางเลือกสำคัญ โดยรัฐบาลต้องทุ่มเทจัดตั้งทีมจัดการภาวะวิกฤต (Core crisis team) มากทักษะประสบการณ์เพื่อไม่ให้มองข้ามสิ่งสำคัญ ประเมินขอบเขตของปัญหาด้วยการระดมสมอง จนถึงทดสอบแผนสำรองเช่นเดียวกับการซ้อมหนีไฟและสึนามิ ที่สำคัญปรับปรุงแผนให้ยืดหยุ่นทันสมัยเท่าทันพลวัตการชุมนุม ไม่ใช่ใช้กรอบอ้างอิงแบบกลุ่มก่อการร้ายสลายการชุมนุม
มากกว่านั้น ต้องสื่อสารภาวะวิกฤตทั้งภายในและนอกรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประชาชนในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) เพื่อควบคุมสยบข่าวลือไร้สาระที่กระทบภาพลักษณ์รัฐบาลอันนำไปสู่เสถียรภาพไม่มั่นคงตามหลักการที่ว่าประชาชนเชื่อการรับรู้ (Perception) และข่าวลือ (Rumor) ที่กระจายกว้างขวางยามเกิดวิกฤต มากกว่าความจริงเชิงข้อเท็จจริง (Factual truth) ตามประจักษ์พยานหลักทางสื่อสารมวลชนและคำพิพากษาศาลยุติธรรม
การแพร่สะพัดข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริงจึงไม่มลายหายเนื่องจากรัฐบาลจัดการภาวะวิกฤตด้อยมาตรฐาน โดยเฉพาะขาดแผนการสื่อสารที่ให้ข้อเท็จจริงสู่สาธารณชนเพื่อตอบโต้ข่าวลือ รับมือสื่อ และลดสุญญากาศด้านข้อมูลที่ท่วมท้นด้วยความรู้สึกและคาดเดาเหตุการณ์แบบขาดข้อเท็จจริง
อนึ่ง ถึงแม้นว่าสัญญาณเตือนภัยเหล่านั้นจะกึกก้องกังวานสังคมไทยมาช้านานแล้ว แต่ท้ายสุดก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้มีอำนาจฟากรัฐบาลมากเท่าฝั่งประชาสังคมที่มีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เป็นแก่นแกน เพราะรัฐบาลไม่เพียงประมาท หยิ่งทะนง มองปัญหาไม่รอบคอบดังกล่าวมา ทว่าเหนืออื่นใดยังไม่สามารถเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน
ทั้งๆ วิกฤตครั้งนี้หยั่งรากลึกไม่ต่างจากภูเขาน้ำแข็งที่ซุกซ่อนสัดส่วนมหึมาใต้มหาสมุทรคราม มองเผินๆ ก็เห็นแค่ยอดความขัดแย้งระหว่างคนสวมเสื้อสีต่างกันหรือทุนเก่ากับใหม่ หากพินิจจึงพบว่าภาวะวิกฤตคราวนี้ยึดโยงทุกภาคส่วนสังคม ขมวดเข้มข้นเข้าสู่ศูนย์กลางความขัดแย้งแตกแยกอย่างไม่เคยมาก่อน การล่มสลายระดับสงครามกลางเมืองจากการสนับสนุนสงครามประชาชนเกิดได้เสมอๆ
ความผิดพลาดเพียงน้อยนิดในการเชื่อมจุดต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างบูรณาการ ซ้ำเติมด้วยการเห็นใบไม้แค่ใบเดียวแล้วสรุปว่านั่นคือป่าทั้งป่า ก็ทำให้การจัดการภาวะวิกฤตของรัฐบาลถูกออกแบบเป็นริ้วส่วนฉีกขาดที่ไม่อาจแก้องค์รวมของปัญหาได้ ไม่ต่างอันใดกับองค์กรธุรกิจที่มีข้อมูลเป็นประโยชน์จำนวนมากจากการรวบรวมของแผนกต่างๆ แต่ก็ไม่ได้ถูกผนวกเข้าด้วยกัน
ทำนองเดียวกับกรณีหายนะ ณ Pearl Harbor เมื่อไม่มีการผนวกข้อมูลข่าวกรองทางทหารเข้าด้วยกัน ทำให้ไม่อาจหยุดยั้งแผนการโจมตีทางทหารของญี่ปุ่นที่ควรจะระงับได้ ละม้ายความพังพินาศกรณี 9/11 ที่ FBI ผิดพลาดไม่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลเข้าด้วยกันจนเห็นแผนการก่อการร้ายในภาพรวม
ถ้าไม่อาจสกัดกั้นได้ การควบคุมขอบเขตของภาวะวิกฤต (Crisis containment) จากการชุมนุมและเดินขบวนก็ต้องถูกนำมาใช้โดยด่วนเพื่อป้องกันไม่ให้ภาวะวิกฤตเลวร้ายลงกว่าเดิม รวมถึงเป็นชนวนนำไปสู่วิกฤตอื่นๆ การดำเนินการเด็ดขาดทันท่วงทีโดยคำนึงถึงความเป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกมากกว่าวัตถุสิ่งของที่ถึงสูญเสียก็จัดหาใหม่ได้นั้นจึงเป็นพันธกิจที่รัฐบาลปฏิเสธไม่ได้เด็ดขาด
การชี้ขาดความแตกต่างในภาวะวิกฤตคราวนี้จึงอยู่ที่ตัวผู้นำว่าจะใช้ศาสตร์และศิลป์สร้างดุลยภาพระหว่างสิทธิและเสรีภาพการชุมนุมกับการสลายการชุมนุมได้โดดเด่นแค่ไหน เพราะประชาชนต้องการเห็นผู้นำของพวกเขาในภาวะวิกฤตว่ามีทักษะด้านการจัดการภาวะวิกฤต (Crisis management) มากเพียงพอจะรับมือการชุมนุมและเดินขบวนที่มีหมุดหมายล้มล้างรัฐบาลหรือมากกว่านั้น ในขณะเดียวกันก็ปรารถนาการสิ้นสุดของภาวะวิกฤตที่ไม่สูญเสียเลือดเนื้อชีวิตด้วย.
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
การอ้างการถ่ายโอนอำนาจให้เจ้าหน้าที่รัฐตามสายการบังคับบัญชาเข้าสลายการชุมนุมเพื่อปัดความรับผิด (Blame avoidance) นั้นนอกจากขลาดเขลาแล้ว ยังเผยธาตุแท้ความเห็นแก่ตัวสูงยิ่งด้วย
กล่าวเฉพาะการชุมนุมและเดินขบวนโดยกลุ่มที่เรียกขานตนเองว่า ‘คนเสื้อแดง’ เวลานี้มีแหล่งที่มาของภาวะวิกฤตที่สลับซับซ้อนพอควรคือการสูญสิ้นอำนาจของเครือข่ายอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลังรัฐประหารอันเนื่องมาจากบริหารชาติบ้านเมืองแบบขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict on interest) และเอื้ออำนวยทุจริตคอร์รัปชันเชิงนโยบายเบียดบังประโยชน์สาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนตน ผสมผสานกับอุดมการณ์เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเชื้อไฟสมัยปฏิวัติเบ่งบาน และการเสพติดนโยบายประชานิยมของประชาชนรากแก้วบางส่วนที่ขาดข้อมูลข่าวสาร
ครั้นรัฐบาลปัจจุบันละเลยการจัดการความเสี่ยงเชิงระบบก่อนเกิดวิกฤตเสียแล้ว และไม่มองจากมุมมองภายนอกที่มองเห็นความเสี่ยงต่อระบอบการปกครองและระบบจริยธรรมเท่ากับมุมมองภายในที่ต้องการแค่อยู่รอดเป็นรัฐบาลต่อไป รวมทั้งยังไม่รับฟังเมินเฉยคำเตือนต่างๆ การตามแก้วิกฤตการชุมนุมและเดินขบวนอย่างชาญฉลาดที่สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตโดยอาศัยภาวะวิกฤตเคยเผชิญมาและจินตนาการถึงความเลวร้ายสุดขั้วที่มีความน่าจะเป็นจึงเป็นทางรอดเดียว
มุมมองเช่นนี้มิใช่การมองโลกแง่ร้าย หากแต่เป็นการตรวจสอบและจัดการกับความเสี่ยงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบที่มีรากฐานความน่าจะเป็น (Probability) รองรับ
หน้าที่ของรัฐบาลด้านนี้จะสัมฤทธิผลได้ก็ต่อเมื่อสามารถจัดลำดับภาวะวิกฤตได้รอบคอบถูกต้อง ตระหนักว่าความเสี่ยงบางอย่างต้องได้รับความสนใจกว่าความเสี่ยงอื่นๆ มิเช่นนั้นจะเกิดปรากฏการณ์สนใจความเสี่ยงที่ไม่อาจเกิดขึ้น ขณะละเลยความเสี่ยงที่ทำร้ายชาติบ้านเมืองได้จริงๆ
ความเสี่ยงที่หนุนเนื่องมากับการชุมนุมและเดินขบวนของคนเสื้อแดง ณ ขณะนี้ยึดโยงอย่างแนบแน่นกับการตัดสินใจเชิงบริหารของทุกรัฐบาลหลังรัฐประหารที่ไม่จริงจังด้านปราบปรามคอร์รัปชัน ยืดเยื้อให้กลุ่มกังฉินกินเมืองกำหนดประเด็นข่าวสารสื่อมวลชน (Agenda setting) ตลอดจนปลุกปั่นแตกแยกขัดแย้งผ่านวาทกรรมประชาธิปไตยที่ใช้การล้มล้าง ‘อำมาตยาธิปไตย’ เป็นคานงัดสำคัญ
จากสัญญาณวิกฤตการชุมนุมและเดินขบวนอ่อนๆ จนถี่แรงเช่นปัจจุบันนั้นสัมพันธ์กับการกระทำของรัฐบาลเองเป็นส่วนใหญ่ที่ไม่รอบคอบครุ่นคิดถึงผลที่จะตามมา ทั้งๆ วิกฤตเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ถ้ากำหนดและดำเนินนโยบายทุจริตคอร์รัปชันเคร่งครัด ติดตามตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ โดยไม่แบ่งแยกว่าเคยเป็นผู้กุมอำนาจรัฐหรือคนปลายอ้อปลายแขมไร้อำนาจเจรจาต่อรองตามหลักสากลของความเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมาย (Principle of Equality before the Law)
ไม่ใช่ว่าต้องเจรจาประนีประนอมยอมความกันในคดีทุจริตคอร์รัปชันถ้าหากผู้นำนั้นๆ มีประชาชนจำนวนมากมายหนุนหลัง อีกทั้งศักดิ์ศรีของผู้นำคือความรับผิดต่อความผิดที่เคยกระทำไว้
ยิ่งยกตนอวดเทียบประธานาธิบดี เนลสัน มันเดลา (Nelson Mandela) ที่ใช้ชีวิตกว่า 27 ปีในคุกจากความพยายามหยุดยั้งนโยบายแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ (Apartheid) ด้วยแล้ว ยิ่งต้องพิสูจน์จริยธรรมผู้นำ อย่างน้อยสุดก็ความกล้าหาญที่ว่า ‘ต้องนำจากข้างหน้า ทว่าไม่ทอดทิ้งฐานการสนับสนุนไว้เบื้องหลัง’ (Lead from the front-but don’t leave your base behind) ที่ไกลห่างจากสภาวะผลักดันประชาชนออกไปบาดเจ็บล้มตายในสมรภูมิรบโดยตนเองหลุบหลบหลุมปลอดภัย
ทั้งนี้ ล่วงเลยถึงเวลานี้แล้วรัฐบาลคงไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบจากการชุมนุมและเดินขบวนของคนเสื้อแดงในระดับที่ยอมรับได้ การเตรียมแผนสำรอง (Contingency planning) ที่ไม่ได้ป้องกันภาวะวิกฤตแต่ช่วยต่อต้าน ควบคุม และลดผลกระทบทางลบทุกด้าน กระทั่งคืนกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วจึงเป็นทางเลือกสำคัญ โดยรัฐบาลต้องทุ่มเทจัดตั้งทีมจัดการภาวะวิกฤต (Core crisis team) มากทักษะประสบการณ์เพื่อไม่ให้มองข้ามสิ่งสำคัญ ประเมินขอบเขตของปัญหาด้วยการระดมสมอง จนถึงทดสอบแผนสำรองเช่นเดียวกับการซ้อมหนีไฟและสึนามิ ที่สำคัญปรับปรุงแผนให้ยืดหยุ่นทันสมัยเท่าทันพลวัตการชุมนุม ไม่ใช่ใช้กรอบอ้างอิงแบบกลุ่มก่อการร้ายสลายการชุมนุม
มากกว่านั้น ต้องสื่อสารภาวะวิกฤตทั้งภายในและนอกรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประชาชนในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) เพื่อควบคุมสยบข่าวลือไร้สาระที่กระทบภาพลักษณ์รัฐบาลอันนำไปสู่เสถียรภาพไม่มั่นคงตามหลักการที่ว่าประชาชนเชื่อการรับรู้ (Perception) และข่าวลือ (Rumor) ที่กระจายกว้างขวางยามเกิดวิกฤต มากกว่าความจริงเชิงข้อเท็จจริง (Factual truth) ตามประจักษ์พยานหลักทางสื่อสารมวลชนและคำพิพากษาศาลยุติธรรม
การแพร่สะพัดข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริงจึงไม่มลายหายเนื่องจากรัฐบาลจัดการภาวะวิกฤตด้อยมาตรฐาน โดยเฉพาะขาดแผนการสื่อสารที่ให้ข้อเท็จจริงสู่สาธารณชนเพื่อตอบโต้ข่าวลือ รับมือสื่อ และลดสุญญากาศด้านข้อมูลที่ท่วมท้นด้วยความรู้สึกและคาดเดาเหตุการณ์แบบขาดข้อเท็จจริง
อนึ่ง ถึงแม้นว่าสัญญาณเตือนภัยเหล่านั้นจะกึกก้องกังวานสังคมไทยมาช้านานแล้ว แต่ท้ายสุดก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้มีอำนาจฟากรัฐบาลมากเท่าฝั่งประชาสังคมที่มีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เป็นแก่นแกน เพราะรัฐบาลไม่เพียงประมาท หยิ่งทะนง มองปัญหาไม่รอบคอบดังกล่าวมา ทว่าเหนืออื่นใดยังไม่สามารถเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน
ทั้งๆ วิกฤตครั้งนี้หยั่งรากลึกไม่ต่างจากภูเขาน้ำแข็งที่ซุกซ่อนสัดส่วนมหึมาใต้มหาสมุทรคราม มองเผินๆ ก็เห็นแค่ยอดความขัดแย้งระหว่างคนสวมเสื้อสีต่างกันหรือทุนเก่ากับใหม่ หากพินิจจึงพบว่าภาวะวิกฤตคราวนี้ยึดโยงทุกภาคส่วนสังคม ขมวดเข้มข้นเข้าสู่ศูนย์กลางความขัดแย้งแตกแยกอย่างไม่เคยมาก่อน การล่มสลายระดับสงครามกลางเมืองจากการสนับสนุนสงครามประชาชนเกิดได้เสมอๆ
ความผิดพลาดเพียงน้อยนิดในการเชื่อมจุดต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างบูรณาการ ซ้ำเติมด้วยการเห็นใบไม้แค่ใบเดียวแล้วสรุปว่านั่นคือป่าทั้งป่า ก็ทำให้การจัดการภาวะวิกฤตของรัฐบาลถูกออกแบบเป็นริ้วส่วนฉีกขาดที่ไม่อาจแก้องค์รวมของปัญหาได้ ไม่ต่างอันใดกับองค์กรธุรกิจที่มีข้อมูลเป็นประโยชน์จำนวนมากจากการรวบรวมของแผนกต่างๆ แต่ก็ไม่ได้ถูกผนวกเข้าด้วยกัน
ทำนองเดียวกับกรณีหายนะ ณ Pearl Harbor เมื่อไม่มีการผนวกข้อมูลข่าวกรองทางทหารเข้าด้วยกัน ทำให้ไม่อาจหยุดยั้งแผนการโจมตีทางทหารของญี่ปุ่นที่ควรจะระงับได้ ละม้ายความพังพินาศกรณี 9/11 ที่ FBI ผิดพลาดไม่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลเข้าด้วยกันจนเห็นแผนการก่อการร้ายในภาพรวม
ถ้าไม่อาจสกัดกั้นได้ การควบคุมขอบเขตของภาวะวิกฤต (Crisis containment) จากการชุมนุมและเดินขบวนก็ต้องถูกนำมาใช้โดยด่วนเพื่อป้องกันไม่ให้ภาวะวิกฤตเลวร้ายลงกว่าเดิม รวมถึงเป็นชนวนนำไปสู่วิกฤตอื่นๆ การดำเนินการเด็ดขาดทันท่วงทีโดยคำนึงถึงความเป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกมากกว่าวัตถุสิ่งของที่ถึงสูญเสียก็จัดหาใหม่ได้นั้นจึงเป็นพันธกิจที่รัฐบาลปฏิเสธไม่ได้เด็ดขาด
การชี้ขาดความแตกต่างในภาวะวิกฤตคราวนี้จึงอยู่ที่ตัวผู้นำว่าจะใช้ศาสตร์และศิลป์สร้างดุลยภาพระหว่างสิทธิและเสรีภาพการชุมนุมกับการสลายการชุมนุมได้โดดเด่นแค่ไหน เพราะประชาชนต้องการเห็นผู้นำของพวกเขาในภาวะวิกฤตว่ามีทักษะด้านการจัดการภาวะวิกฤต (Crisis management) มากเพียงพอจะรับมือการชุมนุมและเดินขบวนที่มีหมุดหมายล้มล้างรัฐบาลหรือมากกว่านั้น ในขณะเดียวกันก็ปรารถนาการสิ้นสุดของภาวะวิกฤตที่ไม่สูญเสียเลือดเนื้อชีวิตด้วย.
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org