โดย : ปิ่น บุตรี
เมื่อประมาณ 2 เดือนที่แล้ว นิตยสาร ทราเวล แอนด์ เลเชอร์ นิตยสารท่องเที่ยวชื่อดังของอเมริกาได้ประกาศจัดอันดับให้กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองยอดเยี่ยมที่น่าท่องเที่ยวที่สุดของโลก ประจำปี 2551
แน่นอนว่างานนี้ไปเข้าทางของภาครัฐบางหน่วยงาน ถือโอกาสฉกฉวยจังหวะโอ่ประโคมข่าวสร้างภาพว่านี่คือความสำเร็จของหน่วยงานตน ทั้งๆที่ผลงานที่ผ่านมามันฟ้องอย่างชัดเจนว่าพวกคุณทำงานกันห่วยแตกอย่างไร แต่ในทางกลับกันหากกรุงเทพฯปรากฏเป็นข่าวไม่ดี ข่าวในด้านลบ หน่วยงานพวกนั้นจะเงียบเป็นเป่าสากแล้วโบ้ยความรับผิดชอบทิ้งไปแบบหน้าด้านๆ
อย่างไรก็ตามกับการที่กรุงเทพฯได้รับการเลือกให้เป็นเมืองน่าท่องเที่ยวยอดเยี่ยมของโลกมันก็สร้างความกระชุ่มกระชวยในจิตใจของผมได้ไม่น้อย เพราะถึงแม้จะไม่ได้เกิดที่กรุงเทพฯแต่ผมก็มาเติบโตที่กรุงเทพและอยู่ที่นี่เรื่อยมากว่า 20 ปี จนกลายเป็นคน(ลูกทุ่ง)กรุงเทพไปโดยปริยาย ซึ่งผมพบว่ากรุงเทพฯนั้นมีทั้งด้านบวกและด้านลบ
สำหรับด้านบวกที่ทำให้กรุงเทพฯน่าจะได้รับการโหวตนั้นก็อย่างเช่น มีความหลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งวัดวาอาราม ปราสาทราชวัง สถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ แสงสีราตรี บันเทิง มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแต่ว่าก็อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน มีอาหารการกินหลากหลายชาติให้เลือกกินอย่างบริบูรณ์ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะหาบเร่ แผงลอย รถเข็น ร้านริมทาง นั้นถือเป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพฯเลยทีเดียว
กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีค่าใช้จ่ายไม่แพงหากเทียบกับเมืองท่องเที่ยวชั้นนำอื่นๆของโลก กรุงเทพฯมีแหล่งช้อปปิ้งให้เลือกซื้อกันมากมายตั้งแต่ราคาย่อมเยายันราคาแพงระยับ กรุงเทพฯมีที่พักหลายระดับหลายราคาให้เลือกพัก
นอกจากนี้กรุงเทพฯยังมีความน่าสนใจและเสน่ห์ซุกซ่อนอยู่อีกมากมายรอคอยให้มาค้นหา ซึ่งที่กล่าวมาล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการให้กรุงเทพฯได้รับการคัดเลือกในครั้งนี้
ทีนี้มาดูด้านลบของกรุงเทพฯกันบ้าง แน่นอนว่าปัญหารถติดนั้นนอนมาเป็นอับดับหนึ่ง ในขณะที่ปัญหาหลักอื่นๆก็มีอย่างเช่น ความสกปรก ความไร้ระเบียบ มลภาวะทางเสียง-อากาศ ผังเมืองที่สับสนวุ่นวาย ภูมิทัศน์ทางสายตาอันสุดรกรุงรัง ความไร้ระเบียบของสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงปัญหายิบย่อยอื่นๆอีกมากมาย
แต่ดูเหมือนว่าภาพด้านลบต่างๆของเมืองกรุงยุคนี้ พ.ศ.นี้ จะดูด้อยไปถนัดเมื่อเกิดภาพด้านลบสุดๆจากเหตุการณ์ 7 ตุลา 51 วันมหาวิปโยค ที่รัฐบาลทรราชและโจรในคราบตำรวจทำร้ายประชาชนกลุ่มพันธมิตรฯอย่างเลือดเย็น ซึ่งมันได้ส่งผลให้กรุงเทพฯเมืองที่น่าท่องเที่ยวที่สุดของโลกต้องกำสรวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
โอ...นี่มันเกิดอะไรขึ้นกับรัฐบาลสมชายที่พร่ำอ้างความสมานฉันท์ แต่สิ่งที่กระทำกลับตรงกันข้าม ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน วิกฤตบ้านเมืองเริ่มผ่อนคลายเมื่อมีข่าวว่าบิ๊กจิ๋ว พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ กับแกนนำพันธมิตรมีร่วมกันเดินหน้าเพื่อเจรจาหาข้อยุติ แต่แล้วจู่ๆนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำกลับถูกตำรวจจับกุม(โดยการบางการของไอ้โม่ง) ก่อนตามด้วยการจับพลตรี จำลอง ศรีเมือง ในระหว่างที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่ากทม.
นั่นเห็นได้ชัดว่ารัฐบาลนอกจากจะไม่มีความจริงใจการเจรจาแล้วยังพยายามราดน้ำมันใส่ในกองไฟอีก จนปลุกมวลชนพันธมิตรฯให้ลุกฮือก่อนนำไปสู่การปิดรัฐสภา ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อว่าโจรตำรวจกลับไม่ใช้วิธีเจรจาแต่กลับใช้วิธีสลายมวลชนอย่างดุดัน รุนแรง ทั้งที่ยังไม่มีเหตุสมควรแต่อย่างใดเนื่องจากการประท้วงของพันธมิตรนั้นยังอยู่ในความสงบ อหิงสา ไม่ได้เข้าข่ายการก่อจราจลแต่อย่างใด
ทว่าโจรตำรวจกลับใช้แก๊สน้ำตายิงเป็นชุดๆเข้าใส่มวลชนอย่างไม่ปราณี ซึ่งหากเป็นประเทศอารยะ การยิงแก๊สน้ำตาจะไม่เกิดผลสูญเสียมากมายขนาดนี้ เพราะเขาจะใช้การยิงด้วยวิถีโค้งเพื่อลดพิษของแก๊สน้ำตาโดยหวังใช้ควันกดดันผู้ชุมนุม แต่นี่โจรในคราบตำรวจไทยกับใช้วิธียิงแก๊สน้ำตาแนวขนานเข้าใส่ฝูงชนแบบจะจะ แถมยังเดินหน้าฆ่ามันดาหน้าเข้ายิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมอย่างต่อเนื่องในหลายช่วงเวลาตลอดทั้งวัน จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ศพ และบาดเจ็บอีกร่วม 400 ราย
เท่านั้นยังไม่พอจากข่าวที่ปรากฏเชื่อได้ว่าโจรตำรวจต้องมีการเขวี้ยงระเบิดเข้าใส่ผู้ชุมนุมด้วย เนื่องจากมีคนถูกสะเก็ดระเบิดล้มตาย 1 คน และแขนขาด ขาขาด บาดเจ็บอีกจำนวนมาก ทว่าโจรตำรวจกลับปฏิเสธหน้าตาเฉย แถมบอกว่าพวกเขายิงเพียงแก๊สน้ำตาตามมาตรฐานสากลเข้าใส่เท่านั้น และยังตอกย้ำว่า“แก๊สน้ำตาไม่ทำให้คนขาขาด”
อ้าว!?! แล้วที่คนเขาแขนขาด ขาขาด ไปจนถึงตายนี่โจรตำรวจจะว่ายังไง เรื่องนี้ไม่เห็นมีใครแสดงความรับผิดชอบมีแต่พูดเอาดีแล้วโยนขี้ให้คนอื่น(โยนไปให้มือที่ 3 อีกตามเคย) ในขณะที่นายกฯสมชายนั้นก็ไม่มีบุคลิกสมความเป็นชายแต่อย่างใด เพราะเมื่อเหตุการณ์รุนแรงถึงขนาดนี้ นายสมชายกลับลอยตัวนิ่งเฉยไม่แสดงภาวะผู้นำออกมาแต่อย่างใด
ส่วนที่ทุเรศมากๆก็คือการแถลงนโยบายของรัฐบาล เพราะในช่วงเช้าวันที่ 7 ต.ค. โจรตำรวจได้ใช้กำลังสลายผู้ชุมนุมเพื่อเปิดทางให้ ส.ส. เข้าประชุมสภา จนเป็นเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ แขนขาด ขาขาด และ ส.ส. ฝ่ายค้านและ ส.ว.ส่วนหนึ่งก็เข้าร่วมนับฟัง เนื่องจากโจรตำรวจทำเกิดกว่าเหตุ แต่สุดท้ายสภาก็ถูลู่ถูกังให้รัฐบาลแถลงนโยบาย ซึ่งภาพการยืนอ่านนโยบายแบบตะกุกตะกักของนายสมชาย ท่ามกลางสถานการณ์ที่วุ่นวายนอกสภานั้นมันน่าสมเพชสิ้นดี เพราะคนเป็นนายกฯแทนที่จะห่วงใยสถานการณ์บ้านเมืองและประชาชนผู้บาดเจ็บ แต่นี่เขากลับสนใจแต่เรื่องของการขอให้ตัวเองได้แถลงนโยบายเท่านั้น
ผมไม่ได้ฟังว่านโยบายของรัฐบาลมีอะไรบ้าง รู้แต่ว่านโยบายแรกของรัฐบาลสมชายนั้นก็คือ นโยบาย“เข่นฆ่า”ประชาชนกลุ่มพันธมิตรฯผู้มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง จนเกิดเหตุการณ์ 7 ตุลา วันมหาวิปโยคขึ้น
งานนี้บางคนจึงอดตั้งข้อสังเกตไม่ได้ว่า นี่อาจจะเป็นความพยายามสร้างสถานการณ์การนองเลือดของใครบางคนหรือเปล่า??? เพราะในขณะที่ปรากฏภาพของประชาชนบาดเจ็บล้มตายเผยแพร่ไปทั่วโลก น้ำหนักของมันก็ยิ่งช่วยไปตอกย้ำให้กับบางคนในลอนดอนที่พยายามขอลี้ภัยทางการเมืองให้มีน้ำหนักมากขึ้น
นับเป็นความบังเอิญอย่างร้ายกาจเสียจริงๆ
ส่วนที่ไม่บังเอิญก็คือเหตุการณ์ 7 ตุลา 51 นั้นเป็นหนึ่งในเหตุการณ์การสูญเสียจากการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนครั้งสำคัญอีกในประวัติศาสตร์ ไม่ต่างจาก 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 และพฤษภาทมิฬ(35)
7 ตุลา 51 เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในบริบทเดิมนั่นก็คือ ฝ่ายรัฐใช้ความรุนแรงกับประชาชน ซึ่งเราๆท่านๆคงต้องบอกให้ลูกหลานจดจำเหตุการณ์ครั้งนี้ไว้ พร้อมร่วมกันสาปแช่งทรราชที่เข่นฆ่าประชาชนอย่างเลือดเย็นผิดมนุษย์มนาให้ตายตกไปตามกันกับวีรชนผู้เสียสละทั้งหลาย
เมื่อประมาณ 2 เดือนที่แล้ว นิตยสาร ทราเวล แอนด์ เลเชอร์ นิตยสารท่องเที่ยวชื่อดังของอเมริกาได้ประกาศจัดอันดับให้กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองยอดเยี่ยมที่น่าท่องเที่ยวที่สุดของโลก ประจำปี 2551
แน่นอนว่างานนี้ไปเข้าทางของภาครัฐบางหน่วยงาน ถือโอกาสฉกฉวยจังหวะโอ่ประโคมข่าวสร้างภาพว่านี่คือความสำเร็จของหน่วยงานตน ทั้งๆที่ผลงานที่ผ่านมามันฟ้องอย่างชัดเจนว่าพวกคุณทำงานกันห่วยแตกอย่างไร แต่ในทางกลับกันหากกรุงเทพฯปรากฏเป็นข่าวไม่ดี ข่าวในด้านลบ หน่วยงานพวกนั้นจะเงียบเป็นเป่าสากแล้วโบ้ยความรับผิดชอบทิ้งไปแบบหน้าด้านๆ
อย่างไรก็ตามกับการที่กรุงเทพฯได้รับการเลือกให้เป็นเมืองน่าท่องเที่ยวยอดเยี่ยมของโลกมันก็สร้างความกระชุ่มกระชวยในจิตใจของผมได้ไม่น้อย เพราะถึงแม้จะไม่ได้เกิดที่กรุงเทพฯแต่ผมก็มาเติบโตที่กรุงเทพและอยู่ที่นี่เรื่อยมากว่า 20 ปี จนกลายเป็นคน(ลูกทุ่ง)กรุงเทพไปโดยปริยาย ซึ่งผมพบว่ากรุงเทพฯนั้นมีทั้งด้านบวกและด้านลบ
สำหรับด้านบวกที่ทำให้กรุงเทพฯน่าจะได้รับการโหวตนั้นก็อย่างเช่น มีความหลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งวัดวาอาราม ปราสาทราชวัง สถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ แสงสีราตรี บันเทิง มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแต่ว่าก็อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน มีอาหารการกินหลากหลายชาติให้เลือกกินอย่างบริบูรณ์ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะหาบเร่ แผงลอย รถเข็น ร้านริมทาง นั้นถือเป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพฯเลยทีเดียว
กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีค่าใช้จ่ายไม่แพงหากเทียบกับเมืองท่องเที่ยวชั้นนำอื่นๆของโลก กรุงเทพฯมีแหล่งช้อปปิ้งให้เลือกซื้อกันมากมายตั้งแต่ราคาย่อมเยายันราคาแพงระยับ กรุงเทพฯมีที่พักหลายระดับหลายราคาให้เลือกพัก
นอกจากนี้กรุงเทพฯยังมีความน่าสนใจและเสน่ห์ซุกซ่อนอยู่อีกมากมายรอคอยให้มาค้นหา ซึ่งที่กล่าวมาล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการให้กรุงเทพฯได้รับการคัดเลือกในครั้งนี้
ทีนี้มาดูด้านลบของกรุงเทพฯกันบ้าง แน่นอนว่าปัญหารถติดนั้นนอนมาเป็นอับดับหนึ่ง ในขณะที่ปัญหาหลักอื่นๆก็มีอย่างเช่น ความสกปรก ความไร้ระเบียบ มลภาวะทางเสียง-อากาศ ผังเมืองที่สับสนวุ่นวาย ภูมิทัศน์ทางสายตาอันสุดรกรุงรัง ความไร้ระเบียบของสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงปัญหายิบย่อยอื่นๆอีกมากมาย
แต่ดูเหมือนว่าภาพด้านลบต่างๆของเมืองกรุงยุคนี้ พ.ศ.นี้ จะดูด้อยไปถนัดเมื่อเกิดภาพด้านลบสุดๆจากเหตุการณ์ 7 ตุลา 51 วันมหาวิปโยค ที่รัฐบาลทรราชและโจรในคราบตำรวจทำร้ายประชาชนกลุ่มพันธมิตรฯอย่างเลือดเย็น ซึ่งมันได้ส่งผลให้กรุงเทพฯเมืองที่น่าท่องเที่ยวที่สุดของโลกต้องกำสรวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
โอ...นี่มันเกิดอะไรขึ้นกับรัฐบาลสมชายที่พร่ำอ้างความสมานฉันท์ แต่สิ่งที่กระทำกลับตรงกันข้าม ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน วิกฤตบ้านเมืองเริ่มผ่อนคลายเมื่อมีข่าวว่าบิ๊กจิ๋ว พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ กับแกนนำพันธมิตรมีร่วมกันเดินหน้าเพื่อเจรจาหาข้อยุติ แต่แล้วจู่ๆนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำกลับถูกตำรวจจับกุม(โดยการบางการของไอ้โม่ง) ก่อนตามด้วยการจับพลตรี จำลอง ศรีเมือง ในระหว่างที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่ากทม.
นั่นเห็นได้ชัดว่ารัฐบาลนอกจากจะไม่มีความจริงใจการเจรจาแล้วยังพยายามราดน้ำมันใส่ในกองไฟอีก จนปลุกมวลชนพันธมิตรฯให้ลุกฮือก่อนนำไปสู่การปิดรัฐสภา ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อว่าโจรตำรวจกลับไม่ใช้วิธีเจรจาแต่กลับใช้วิธีสลายมวลชนอย่างดุดัน รุนแรง ทั้งที่ยังไม่มีเหตุสมควรแต่อย่างใดเนื่องจากการประท้วงของพันธมิตรนั้นยังอยู่ในความสงบ อหิงสา ไม่ได้เข้าข่ายการก่อจราจลแต่อย่างใด
ทว่าโจรตำรวจกลับใช้แก๊สน้ำตายิงเป็นชุดๆเข้าใส่มวลชนอย่างไม่ปราณี ซึ่งหากเป็นประเทศอารยะ การยิงแก๊สน้ำตาจะไม่เกิดผลสูญเสียมากมายขนาดนี้ เพราะเขาจะใช้การยิงด้วยวิถีโค้งเพื่อลดพิษของแก๊สน้ำตาโดยหวังใช้ควันกดดันผู้ชุมนุม แต่นี่โจรในคราบตำรวจไทยกับใช้วิธียิงแก๊สน้ำตาแนวขนานเข้าใส่ฝูงชนแบบจะจะ แถมยังเดินหน้าฆ่ามันดาหน้าเข้ายิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมอย่างต่อเนื่องในหลายช่วงเวลาตลอดทั้งวัน จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ศพ และบาดเจ็บอีกร่วม 400 ราย
เท่านั้นยังไม่พอจากข่าวที่ปรากฏเชื่อได้ว่าโจรตำรวจต้องมีการเขวี้ยงระเบิดเข้าใส่ผู้ชุมนุมด้วย เนื่องจากมีคนถูกสะเก็ดระเบิดล้มตาย 1 คน และแขนขาด ขาขาด บาดเจ็บอีกจำนวนมาก ทว่าโจรตำรวจกลับปฏิเสธหน้าตาเฉย แถมบอกว่าพวกเขายิงเพียงแก๊สน้ำตาตามมาตรฐานสากลเข้าใส่เท่านั้น และยังตอกย้ำว่า“แก๊สน้ำตาไม่ทำให้คนขาขาด”
อ้าว!?! แล้วที่คนเขาแขนขาด ขาขาด ไปจนถึงตายนี่โจรตำรวจจะว่ายังไง เรื่องนี้ไม่เห็นมีใครแสดงความรับผิดชอบมีแต่พูดเอาดีแล้วโยนขี้ให้คนอื่น(โยนไปให้มือที่ 3 อีกตามเคย) ในขณะที่นายกฯสมชายนั้นก็ไม่มีบุคลิกสมความเป็นชายแต่อย่างใด เพราะเมื่อเหตุการณ์รุนแรงถึงขนาดนี้ นายสมชายกลับลอยตัวนิ่งเฉยไม่แสดงภาวะผู้นำออกมาแต่อย่างใด
ส่วนที่ทุเรศมากๆก็คือการแถลงนโยบายของรัฐบาล เพราะในช่วงเช้าวันที่ 7 ต.ค. โจรตำรวจได้ใช้กำลังสลายผู้ชุมนุมเพื่อเปิดทางให้ ส.ส. เข้าประชุมสภา จนเป็นเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ แขนขาด ขาขาด และ ส.ส. ฝ่ายค้านและ ส.ว.ส่วนหนึ่งก็เข้าร่วมนับฟัง เนื่องจากโจรตำรวจทำเกิดกว่าเหตุ แต่สุดท้ายสภาก็ถูลู่ถูกังให้รัฐบาลแถลงนโยบาย ซึ่งภาพการยืนอ่านนโยบายแบบตะกุกตะกักของนายสมชาย ท่ามกลางสถานการณ์ที่วุ่นวายนอกสภานั้นมันน่าสมเพชสิ้นดี เพราะคนเป็นนายกฯแทนที่จะห่วงใยสถานการณ์บ้านเมืองและประชาชนผู้บาดเจ็บ แต่นี่เขากลับสนใจแต่เรื่องของการขอให้ตัวเองได้แถลงนโยบายเท่านั้น
ผมไม่ได้ฟังว่านโยบายของรัฐบาลมีอะไรบ้าง รู้แต่ว่านโยบายแรกของรัฐบาลสมชายนั้นก็คือ นโยบาย“เข่นฆ่า”ประชาชนกลุ่มพันธมิตรฯผู้มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง จนเกิดเหตุการณ์ 7 ตุลา วันมหาวิปโยคขึ้น
งานนี้บางคนจึงอดตั้งข้อสังเกตไม่ได้ว่า นี่อาจจะเป็นความพยายามสร้างสถานการณ์การนองเลือดของใครบางคนหรือเปล่า??? เพราะในขณะที่ปรากฏภาพของประชาชนบาดเจ็บล้มตายเผยแพร่ไปทั่วโลก น้ำหนักของมันก็ยิ่งช่วยไปตอกย้ำให้กับบางคนในลอนดอนที่พยายามขอลี้ภัยทางการเมืองให้มีน้ำหนักมากขึ้น
นับเป็นความบังเอิญอย่างร้ายกาจเสียจริงๆ
ส่วนที่ไม่บังเอิญก็คือเหตุการณ์ 7 ตุลา 51 นั้นเป็นหนึ่งในเหตุการณ์การสูญเสียจากการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนครั้งสำคัญอีกในประวัติศาสตร์ ไม่ต่างจาก 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 และพฤษภาทมิฬ(35)
7 ตุลา 51 เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในบริบทเดิมนั่นก็คือ ฝ่ายรัฐใช้ความรุนแรงกับประชาชน ซึ่งเราๆท่านๆคงต้องบอกให้ลูกหลานจดจำเหตุการณ์ครั้งนี้ไว้ พร้อมร่วมกันสาปแช่งทรราชที่เข่นฆ่าประชาชนอย่างเลือดเย็นผิดมนุษย์มนาให้ตายตกไปตามกันกับวีรชนผู้เสียสละทั้งหลาย