ASTVผู้จัดการรายวัน- "อภิสิทธิ์" อ้างมติป.ป.ช.ไม่ถึงมือ ยังเชือด"พัชรวาท"ไม่ได้ หวั่นมีปัญหาทางกฎหมาย เชื่อป.ป.ช.รู้สถานการณ์ดีในเรื่องเงื่อนเวลา ส่วน "พัชรวาท"ห้าห่วงยังดึงดันเข้าทำงานที่ สตช.ตามปกติ แต่เก็บตัวเงียบอยู่ในห้อง ด้านป.ป.ช.ยันกฎหมายระบุชัด ขรก.ที่ถูกชี้มูลความผิดต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที การเซ็นคำสั่งใดๆ จะไม่มีผลทางกฎหมาย ขณะที่"ชายกระโปรง"ยังไม่สำนึก อ้างตำรวจทำดี ควรได้รับการปูนบำเหน็จ ไม่ใช่ถูกแจ้งข้อหา ขณะที่"สุชาติ เหมือนแก้ว" ล่องหนจากภาค4-หลบหน้าเข้ากรุง
เมื่อวานนี้ (8 ก.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเตรียมการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) เพื่อแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) คนใหม่ว่า เมื่อคณะกรรมการมีความพร้อม ซึ่งขณะนี้กำลังให้เช็คเรื่องเวลา เพราะยังมีเรื่องการเดินทางอยู่ ยังไม่แน่ใจว่าจะประชุมภายในสัปดาห์นี้ได้หรือไม่
ส่วนการดำเนินการกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ. สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผ.บชน. ซึ่งถูกทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด ทั้งอาญา และผิดวินัยร้ายแรง จากกรณีสั่งการให้ใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 นั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ทางป.ป.ช.ยังไม่ได้ส่งเรื่องชี้มูลความผิดของทั้งสองคนมาให้ แต่ตนได้ประสานไปยังระดับเจ้าหน้าที่ ได้รับคำตอบว่า ก่อนที่จะส่งมติมา จะต้องมีการประชุมเพื่อรับรองมติ แต่ตนไม่ทราบว่า ป.ป.ช.จะประชุมได้เมื่อไร ส่วนจะมีคำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท มาช่วยราชการที่สำนักนายกฯ หรือไม่นั้น ต้องรอให้ป.ป.ช. มีมติยืนยันมาก่อน
เมื่อถามว่าทาง ป.ป.ช.บอกหรือไม่ว่าต้องใช้เวลาเท่าไร จึงจะยืนยันได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นการประสานกับระดับเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่ตัวกรรมการป.ป.ช. คำตอบจากเจ้าหน้าที่บอกว่า ปกติไม่น่าจะนาน แต่ตนไม่สามารถยืนยันได้ ต้องสอบถามป.ป.ช. ว่าต้องใช้เวลาเท่าไร คิดว่ากรรมการป.ป.ช.ทราบดีว่า สถานการณ์ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ตนไปก้าวล่วงไม่ได้
เมื่อถามว่าหากป.ป.ช.ส่งเรื่องมาแล้ว เป็นอำนาจนายกฯ ที่จะตัดสินใจว่า จะให้ออก หรือ ปลดออก นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "ถูกต้อง" เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯจะใช้อำนาจนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "ผมต้องมีหน้าที่ในการที่จะทำ ไม่ใช่การใช้อำนาจอะไร เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ ตามกฎหมาย"
ส่วนจะดำเนินการก่อนที่ พล.ต.อ.พัชรวาท จะเกษียณอายุราชการหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องถาม ป.ป.ช. เพราะตนไม่สามารถดำเนินการอะไรได้จนกว่า ป.ป.ช. จะยืนยันมา อันนี้เป็นแนวทางที่เคยเกิดขึ้นกับข้าราชการคนอื่นๆ ก็ต้องใช้แนวปฏิบัติเดียวกัน หากไปทำอะไรโดยที่ป.ป.ช.ไม่ยืนยันมา จะเป็นปัญหาทางกฎหมายขึ้นมาอีก
เมื่อถามว่า การพิจารณาเรื่องนี้จะกระทบต่อความสัมพันธ์ของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ซึ่งเป็นพี่ชายของ พล.ต.อ.พัชรวาท หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวข้องกัน ทุกท่านทราบดีอยู่แล้วว่า กระบวนการทางกฎหมายเป็นอย่างไร เมื่อถามว่า คณะกรรมการ ก.ต.ช. จะเรียกประชุม จะเกี่ยวข้องที่ต้องรอมติของป.ป.ช. ด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยว 2 เรื่องนี้ ไม่เกี่ยวกัน อย่างไรก็ตาม การเลือก ผบ.ตร. คนใหม่ จะต้องให้ทันเวลา ไม่ให้งานเสียหรอก
เมื่อถามว่า ถ้าพล.ต.อ.พัชรวาท ถูกสั่งให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ จะไม่มีสิทธิเข้ามานั่งประชุม ก.ต.ช.หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้ามีคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา ก็ไม่มีสิทธิ
**"ป๊อด"หนาทำงานตามปกติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ได้เข้ามาทำงานที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติตามปกติ และกล่าวทักทายสื่อมวลชนที่มารอทำข่าวด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส โดยกล่าวเพียงสั้นๆว่า วันนี้เข้ามาทำงานตามปกติ จะอยู่ที่นี่โดยตลอด เว้นแต่จะมีภารกิจไปประชุมข้างนอก ก่อนที่จะเดินขึ้นลิฟท์ไปยังสำนักงาน ผบ.ตร. ชั้น 7 ทันที
สำหรับบรรยายกาศภายในสำนักงาน ผบ.ตร.ชั้น 7 นั้นเป็นไปอย่างเงียบเหงา โดยมีเพียงเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ และกันไม่ให้สื่อมวลชนขึ้นไปข้างบน โดยระบุว่า ผบ.ตร. ต้องการความเป็นส่วนตัว
**ป.ป.ช.ยันต้องยุติปฏิบัติหน้าที่ทันที
น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยืนยันว่า ข้าราชการที่ถูกป.ป.ช.ชี้มูลว่ามีความผิด กรณีสั่งสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที เพราะตามกฎหมาย มาตรา 55 ระบุไว้ชัดเจนว่า นับตั้งแต่วันที่ป.ป.ช.ชี้มูล จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที ซึ่งหมายถึงการเซ็นคำสั่งใดๆ หลังจากนั้น จะไม่มีผลในทางกฎหมายเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การจะให้ข้าราชการที่ถูกชี้มูลยุติการปฏิบัติหน้าที่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ว่า จะมีคำสั่งเช่นใด เพราะถือเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง ส่วน ป.ป.ช.จะสามารถสรุปสำนวนส่งให้นายกรัฐมนตรีได้เมื่อใดนั้น ไม่สามารถตอบได้
นอกจากนี้ กรณีผู้ที่ถูกชี้มูลออกมาแสดงความไม่พอใจการทำหน้าที่ของป.ป.ช. ก็ต้องให้ผู้ที่ถูกชี้มูล ไปต่อสู้ในชั้นศาลต่อไป เพราะการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. สิ้นสุดแล้วตามกระบวนการ
ด้านนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด พล.ต.อ.พัชรวาท และเห็นสมควรให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ว่า ตนไม่ได้คุมตำรวจ ต้องศึกษาทางกฎหมาย แต่ทั้งนี้เห็นว่า ยังไม่ได้มีการกล่าวโทษ หรือคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมกับ พล.ต.อ.พัชรวาท ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
**"ชายกระโปรง"ป้องตำรวจ
ด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นอีกคนหนึ่งที่ถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิดทางอาญา ได้เปิดแถลงข่าวที่พรรคเพื่อไทย ว่าเหตุการณ์ 7 ตุลาฯนั้น ที่ผ่านมาหลายฝ่ายโจมตีว่ามีการใช้ความรุนแรงทั้งๆ ที่เมื่อตนเข้ามารับตำแหน่งนายกฯ แทนนายสมัคร สุนทรเวช ก็ได้แสดงถึงความมุ่งมั่นว่าจะยึดแนวทางสมานฉันท์ โดยการประกาศเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทันที ตนไม่เลือกที่จะดำเนินการกับคนที่อยู่ภายในทำเนียบรัฐบาล แต่ยอมย้ายไปทำงานที่สนามบินดอนเมือง
สำหรับเหตุการณ์ในวันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภานั้น มีคนกลุ่มหนึ่งไปขัดขวางการทำงานของสภา โดยนำ อาวุธ ปืน มีด และระเบิดไปด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ของตำรวจ ที่จะต้องดูแลความเรียบร้อยอยู่แล้ว ส่วนตัวก็เห็นใจตำรวจเพราะพฤติการณ์ของผู้ชุมนุมในวันที่ 7 ตุลา นั้นทุกคนก็เห็นกันอยู่ ดังนั้นต้องให้กำลังใจ และขอบคุณตำรวจ หากวันนั้นไม่มีตำรวจแล้วจะทำอย่างไร ความจริงเจ้าหน้าที่ตำรวจควรที่จะได้รับบำเหน็จ ไม่ใช่ได้รับข้อหาอย่างนี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต่อไปหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ตำรวจก็จะใส่แต่เกียร์ว่าง
**ยกมติครม.อ้าง ไม่เคยสั่งสลายม็อบ
นายสมชาย อ้างว่า มติ ครม.นัดพิเศษ/2551 เมื่อวันที่ 6 ต.ค.51 มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่า ครม. มีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ) ในขณะนั้น ติดตามตรวจสอบสถานการณ์ และกำกับดูแลการรักษาความสงบเรียบร้อยในวันประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยให้ประสานสั่งการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อการนี้ได้ รวมทั้งให้ตั้งคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานต่างๆ โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงานได้ตามความเหมาะสม
ดังนั้น แสดงให้เห็นว่า ครม.ไม่ได้มีมติให้สลายการชุมนุมในวันดังกล่าว ตนไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบ เพียงแต่ต้องการเล่าความจริงว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจากนี้ตนจะตั้งทีมทนายเพื่อต่อสู้คดีต่อไป
**อ้างเหตุเกิดก่อนมอบนโยบาย
"อยากฝากเป็นข้อคิดว่า ให้นำเหตุการณ์ 7 ตุลา 51 มาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ เมษายน 52 ดูว่าเป็นอย่างไร ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นได้มีการพิสูจน์หรือยังว่า บาดเจ็บ และเสียชีวิตจากสาเหตุอะไร อยากชี้แจงว่า ตอนที่ผมเป็นนายกฯ ก็ต้องกำกับ สตช. โดยตำแหน่ง มีหน้าที่กำหนดบทบาท และให้นโยบาย สตช. ส่วนการไปจับกุมใคร หรือตั้งเวรยามในจุดไหน เป็นหน้าที่ของตำรวจที่ทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว และวันนั้นเหตุการณ์ก็เกิดก่อนที่ผมจะได้มอบนโยบายให้กับหน่วยงานต่างๆ ผมพยายามแก้ข้อกล่าวหาของป.ป.ช. พยายามขอตรวจเอกสารตามกฎมหายรัฐธรรมนูญ ที่ให้สิทธิ์กับผู้ถูกกล่าวหา ผมไปร้องคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ ไปร้องศาลปกครอง แต่ปรากฎว่า ป.ป.ช. ท่านไม่รอ ตัดสินเลย อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณประชาชน ตำรวจ และป.ป.ช. 1 เสียง ที่โหวตให้ผม" นายสมชายกล่าว
** ชี้ฟัน"พัชรวาท"โยงตั้งผบ.ตร.ใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า การตัดสินของ ป.ป.ช. จะเกี่ยวพันกับการแต่งตั้งผบ.ตร. คนใหม่ด้วยหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ตนไม่ทราบ แต่เข้าใจว่าหาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางวินัย ก็จะไม่ได้เข้าร่วมประชุม ก.ต.ช. ด้วย ส่วนตัวเห็นใจพล.ต.อ.พัชรวาท ที่ทำงานด้วยความกล้าหาญ แต่กลับโดนตั้งข้อหา
นายสมชายกล่าวด้วยว่า ตนยังไม่หารือกับบุคลอื่นที่ถูกป.ป.ช. ชี้มูลในครั้งนี้ แต่ก่อนหน้านี้ เคยพูดคุยกับ พล.อ.ชวลิต ซึ่งท่านก็ยืนยันว่า ทำทุกอย่างถูกต้อง ไม่มีอะไรที่บกพร่อง หรือผิดพลาด ส่วนหากพิสูจน์แล้วว่าไม่มีความผิด จะฟ้องกลับป.ป.ช.หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่คิดอะไรทั้งสิ้น เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เพราะตนมั่นใจว่า ตนบริสุทธิ์
**วรัญชัยฉก"พานพุ่ม"ให้กำลังใจสมชาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่นายสมชาย แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเสร็จสิ้น ปรากฎว่านายวรัญชัย โชคชนะ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองได้นำพานดอกไม้ มามอบให้นายสมชาย เพื่อให้กำลังใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้สื่อข่าวสังเกตดูพานดอกไม้ดังกล่าว พบว่า เป็นพานดอกไม้ที่พรรคเพื่อไทยนำมาวางเพื่อสักการะ พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งประดับไว้อยู่หน้าที่ทำการพรรค
**ถูกชี้มูลแล้วอย่าตีโพยตีพาย
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า แม้การชี้มูลของ ป.ป.ช. ในครั้งนี้จะสร้างความเจ็บปวด และความไม่พอใจให้นักการเมือง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่อยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพในมติของ ป.ป.ช. ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลกับฝ่ายบริหาร
สำหรับในส่วนของรัฐบาล และพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนมาตลอดในเรื่องเหล่านี้ว่า จะไม่เข่าไปก้าวก่าย หรือแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล มีบุคคลสำคัญระดับเลขาธิการพรรค เคยถูก ป.ป.ช.ชี้มูลมาแล้ว พรรคก็ยอมรับผลการตัดสินครั้งนั้นโดยดุษฏี ซึ่งผิดกับยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เข่าไปก้าวก่าย แทรกแซง และครอบงำ องค์กรอิสระต่างๆ จนทำงานไม่ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ย.49
ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพการทำหน้าที่ของกันและกัน โดยเชื่อว่าการชี้มูลของ ป.ป.ช. คงเป็นแค่ข้อกล่าวหาเบื้องต้น ที่ผู้ถูกชี้มูลต่างมีสิทธิต่อสู้ตามกระบวนการของกฏหมายอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ควรออกมาตีโพยตีพาย โวยวาย สร้างความสับสนให้สังคม ทางที่ดีควรเตรียมตัวสู้ตามสิทธิ ตามกระบวนการ ซึ่งจะเป็นแบบอย่างและบรรทัดฐานให้กับสังคมไทยต่อไป
**“สุชาติ”ล่องหนจากภาค4-หลบหน้าเข้ากรุง
ที่ จ.ขอนแก่น วานนี้ ((8 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่กองบังคับการตำรวจภูธรภาค 4 จังหวัดขอนแก่น เพื่อขอสัมภาษณ์ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.ภาค 4 หลังจาก ป.ป.ช.มีมติ 8 ต่อ 1 ว่าการกระทำของ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.ภาค 4 อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ตามแผน“กรกฎ 48” ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของพันธมิตรฯ ด้วยแก๊สน้ำตาวันที่ 7 ตุลาฯ51 ได้ปฏิบัติหน้าที่เกินกว่าเหตุทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จึงต้องรับผิดชอบการผลักดันผู้ชุมนุมทั้งหมดทุกสถานการณ์ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานทำร้ายประชาชนในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงและกระทำหรือละเว้นการกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เสียหาย แก่ราชการอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 79 (3) (5) (6) และมีมูลความผิดทางอาญาตามมาตรา 157
เมื่อไปถึงผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่า พล.ต.ท.สุชาติ ไม่ได้อยู่ในพื้นที่โดยเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครตั้งแต่เช้าวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมาเพื่อปฏิบัติราชการเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ขณะที่บรรยากาศด้านหน้ากองบังคับการตำรวจภูธรภาค 4 เป็นไปอย่างเงียบเหงา
เมื่อวานนี้ (8 ก.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเตรียมการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) เพื่อแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) คนใหม่ว่า เมื่อคณะกรรมการมีความพร้อม ซึ่งขณะนี้กำลังให้เช็คเรื่องเวลา เพราะยังมีเรื่องการเดินทางอยู่ ยังไม่แน่ใจว่าจะประชุมภายในสัปดาห์นี้ได้หรือไม่
ส่วนการดำเนินการกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ. สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผ.บชน. ซึ่งถูกทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด ทั้งอาญา และผิดวินัยร้ายแรง จากกรณีสั่งการให้ใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 นั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ทางป.ป.ช.ยังไม่ได้ส่งเรื่องชี้มูลความผิดของทั้งสองคนมาให้ แต่ตนได้ประสานไปยังระดับเจ้าหน้าที่ ได้รับคำตอบว่า ก่อนที่จะส่งมติมา จะต้องมีการประชุมเพื่อรับรองมติ แต่ตนไม่ทราบว่า ป.ป.ช.จะประชุมได้เมื่อไร ส่วนจะมีคำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท มาช่วยราชการที่สำนักนายกฯ หรือไม่นั้น ต้องรอให้ป.ป.ช. มีมติยืนยันมาก่อน
เมื่อถามว่าทาง ป.ป.ช.บอกหรือไม่ว่าต้องใช้เวลาเท่าไร จึงจะยืนยันได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นการประสานกับระดับเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่ตัวกรรมการป.ป.ช. คำตอบจากเจ้าหน้าที่บอกว่า ปกติไม่น่าจะนาน แต่ตนไม่สามารถยืนยันได้ ต้องสอบถามป.ป.ช. ว่าต้องใช้เวลาเท่าไร คิดว่ากรรมการป.ป.ช.ทราบดีว่า สถานการณ์ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ตนไปก้าวล่วงไม่ได้
เมื่อถามว่าหากป.ป.ช.ส่งเรื่องมาแล้ว เป็นอำนาจนายกฯ ที่จะตัดสินใจว่า จะให้ออก หรือ ปลดออก นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "ถูกต้อง" เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯจะใช้อำนาจนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "ผมต้องมีหน้าที่ในการที่จะทำ ไม่ใช่การใช้อำนาจอะไร เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ ตามกฎหมาย"
ส่วนจะดำเนินการก่อนที่ พล.ต.อ.พัชรวาท จะเกษียณอายุราชการหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องถาม ป.ป.ช. เพราะตนไม่สามารถดำเนินการอะไรได้จนกว่า ป.ป.ช. จะยืนยันมา อันนี้เป็นแนวทางที่เคยเกิดขึ้นกับข้าราชการคนอื่นๆ ก็ต้องใช้แนวปฏิบัติเดียวกัน หากไปทำอะไรโดยที่ป.ป.ช.ไม่ยืนยันมา จะเป็นปัญหาทางกฎหมายขึ้นมาอีก
เมื่อถามว่า การพิจารณาเรื่องนี้จะกระทบต่อความสัมพันธ์ของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ซึ่งเป็นพี่ชายของ พล.ต.อ.พัชรวาท หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวข้องกัน ทุกท่านทราบดีอยู่แล้วว่า กระบวนการทางกฎหมายเป็นอย่างไร เมื่อถามว่า คณะกรรมการ ก.ต.ช. จะเรียกประชุม จะเกี่ยวข้องที่ต้องรอมติของป.ป.ช. ด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยว 2 เรื่องนี้ ไม่เกี่ยวกัน อย่างไรก็ตาม การเลือก ผบ.ตร. คนใหม่ จะต้องให้ทันเวลา ไม่ให้งานเสียหรอก
เมื่อถามว่า ถ้าพล.ต.อ.พัชรวาท ถูกสั่งให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ จะไม่มีสิทธิเข้ามานั่งประชุม ก.ต.ช.หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้ามีคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา ก็ไม่มีสิทธิ
**"ป๊อด"หนาทำงานตามปกติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ได้เข้ามาทำงานที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติตามปกติ และกล่าวทักทายสื่อมวลชนที่มารอทำข่าวด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส โดยกล่าวเพียงสั้นๆว่า วันนี้เข้ามาทำงานตามปกติ จะอยู่ที่นี่โดยตลอด เว้นแต่จะมีภารกิจไปประชุมข้างนอก ก่อนที่จะเดินขึ้นลิฟท์ไปยังสำนักงาน ผบ.ตร. ชั้น 7 ทันที
สำหรับบรรยายกาศภายในสำนักงาน ผบ.ตร.ชั้น 7 นั้นเป็นไปอย่างเงียบเหงา โดยมีเพียงเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ และกันไม่ให้สื่อมวลชนขึ้นไปข้างบน โดยระบุว่า ผบ.ตร. ต้องการความเป็นส่วนตัว
**ป.ป.ช.ยันต้องยุติปฏิบัติหน้าที่ทันที
น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยืนยันว่า ข้าราชการที่ถูกป.ป.ช.ชี้มูลว่ามีความผิด กรณีสั่งสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที เพราะตามกฎหมาย มาตรา 55 ระบุไว้ชัดเจนว่า นับตั้งแต่วันที่ป.ป.ช.ชี้มูล จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที ซึ่งหมายถึงการเซ็นคำสั่งใดๆ หลังจากนั้น จะไม่มีผลในทางกฎหมายเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การจะให้ข้าราชการที่ถูกชี้มูลยุติการปฏิบัติหน้าที่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ว่า จะมีคำสั่งเช่นใด เพราะถือเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง ส่วน ป.ป.ช.จะสามารถสรุปสำนวนส่งให้นายกรัฐมนตรีได้เมื่อใดนั้น ไม่สามารถตอบได้
นอกจากนี้ กรณีผู้ที่ถูกชี้มูลออกมาแสดงความไม่พอใจการทำหน้าที่ของป.ป.ช. ก็ต้องให้ผู้ที่ถูกชี้มูล ไปต่อสู้ในชั้นศาลต่อไป เพราะการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. สิ้นสุดแล้วตามกระบวนการ
ด้านนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด พล.ต.อ.พัชรวาท และเห็นสมควรให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ว่า ตนไม่ได้คุมตำรวจ ต้องศึกษาทางกฎหมาย แต่ทั้งนี้เห็นว่า ยังไม่ได้มีการกล่าวโทษ หรือคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมกับ พล.ต.อ.พัชรวาท ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
**"ชายกระโปรง"ป้องตำรวจ
ด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นอีกคนหนึ่งที่ถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิดทางอาญา ได้เปิดแถลงข่าวที่พรรคเพื่อไทย ว่าเหตุการณ์ 7 ตุลาฯนั้น ที่ผ่านมาหลายฝ่ายโจมตีว่ามีการใช้ความรุนแรงทั้งๆ ที่เมื่อตนเข้ามารับตำแหน่งนายกฯ แทนนายสมัคร สุนทรเวช ก็ได้แสดงถึงความมุ่งมั่นว่าจะยึดแนวทางสมานฉันท์ โดยการประกาศเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทันที ตนไม่เลือกที่จะดำเนินการกับคนที่อยู่ภายในทำเนียบรัฐบาล แต่ยอมย้ายไปทำงานที่สนามบินดอนเมือง
สำหรับเหตุการณ์ในวันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภานั้น มีคนกลุ่มหนึ่งไปขัดขวางการทำงานของสภา โดยนำ อาวุธ ปืน มีด และระเบิดไปด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ของตำรวจ ที่จะต้องดูแลความเรียบร้อยอยู่แล้ว ส่วนตัวก็เห็นใจตำรวจเพราะพฤติการณ์ของผู้ชุมนุมในวันที่ 7 ตุลา นั้นทุกคนก็เห็นกันอยู่ ดังนั้นต้องให้กำลังใจ และขอบคุณตำรวจ หากวันนั้นไม่มีตำรวจแล้วจะทำอย่างไร ความจริงเจ้าหน้าที่ตำรวจควรที่จะได้รับบำเหน็จ ไม่ใช่ได้รับข้อหาอย่างนี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต่อไปหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ตำรวจก็จะใส่แต่เกียร์ว่าง
**ยกมติครม.อ้าง ไม่เคยสั่งสลายม็อบ
นายสมชาย อ้างว่า มติ ครม.นัดพิเศษ/2551 เมื่อวันที่ 6 ต.ค.51 มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่า ครม. มีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ) ในขณะนั้น ติดตามตรวจสอบสถานการณ์ และกำกับดูแลการรักษาความสงบเรียบร้อยในวันประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยให้ประสานสั่งการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อการนี้ได้ รวมทั้งให้ตั้งคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานต่างๆ โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงานได้ตามความเหมาะสม
ดังนั้น แสดงให้เห็นว่า ครม.ไม่ได้มีมติให้สลายการชุมนุมในวันดังกล่าว ตนไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบ เพียงแต่ต้องการเล่าความจริงว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจากนี้ตนจะตั้งทีมทนายเพื่อต่อสู้คดีต่อไป
**อ้างเหตุเกิดก่อนมอบนโยบาย
"อยากฝากเป็นข้อคิดว่า ให้นำเหตุการณ์ 7 ตุลา 51 มาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ เมษายน 52 ดูว่าเป็นอย่างไร ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นได้มีการพิสูจน์หรือยังว่า บาดเจ็บ และเสียชีวิตจากสาเหตุอะไร อยากชี้แจงว่า ตอนที่ผมเป็นนายกฯ ก็ต้องกำกับ สตช. โดยตำแหน่ง มีหน้าที่กำหนดบทบาท และให้นโยบาย สตช. ส่วนการไปจับกุมใคร หรือตั้งเวรยามในจุดไหน เป็นหน้าที่ของตำรวจที่ทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว และวันนั้นเหตุการณ์ก็เกิดก่อนที่ผมจะได้มอบนโยบายให้กับหน่วยงานต่างๆ ผมพยายามแก้ข้อกล่าวหาของป.ป.ช. พยายามขอตรวจเอกสารตามกฎมหายรัฐธรรมนูญ ที่ให้สิทธิ์กับผู้ถูกกล่าวหา ผมไปร้องคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ ไปร้องศาลปกครอง แต่ปรากฎว่า ป.ป.ช. ท่านไม่รอ ตัดสินเลย อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณประชาชน ตำรวจ และป.ป.ช. 1 เสียง ที่โหวตให้ผม" นายสมชายกล่าว
** ชี้ฟัน"พัชรวาท"โยงตั้งผบ.ตร.ใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า การตัดสินของ ป.ป.ช. จะเกี่ยวพันกับการแต่งตั้งผบ.ตร. คนใหม่ด้วยหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ตนไม่ทราบ แต่เข้าใจว่าหาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางวินัย ก็จะไม่ได้เข้าร่วมประชุม ก.ต.ช. ด้วย ส่วนตัวเห็นใจพล.ต.อ.พัชรวาท ที่ทำงานด้วยความกล้าหาญ แต่กลับโดนตั้งข้อหา
นายสมชายกล่าวด้วยว่า ตนยังไม่หารือกับบุคลอื่นที่ถูกป.ป.ช. ชี้มูลในครั้งนี้ แต่ก่อนหน้านี้ เคยพูดคุยกับ พล.อ.ชวลิต ซึ่งท่านก็ยืนยันว่า ทำทุกอย่างถูกต้อง ไม่มีอะไรที่บกพร่อง หรือผิดพลาด ส่วนหากพิสูจน์แล้วว่าไม่มีความผิด จะฟ้องกลับป.ป.ช.หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่คิดอะไรทั้งสิ้น เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เพราะตนมั่นใจว่า ตนบริสุทธิ์
**วรัญชัยฉก"พานพุ่ม"ให้กำลังใจสมชาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่นายสมชาย แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเสร็จสิ้น ปรากฎว่านายวรัญชัย โชคชนะ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองได้นำพานดอกไม้ มามอบให้นายสมชาย เพื่อให้กำลังใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้สื่อข่าวสังเกตดูพานดอกไม้ดังกล่าว พบว่า เป็นพานดอกไม้ที่พรรคเพื่อไทยนำมาวางเพื่อสักการะ พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งประดับไว้อยู่หน้าที่ทำการพรรค
**ถูกชี้มูลแล้วอย่าตีโพยตีพาย
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า แม้การชี้มูลของ ป.ป.ช. ในครั้งนี้จะสร้างความเจ็บปวด และความไม่พอใจให้นักการเมือง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่อยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพในมติของ ป.ป.ช. ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลกับฝ่ายบริหาร
สำหรับในส่วนของรัฐบาล และพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนมาตลอดในเรื่องเหล่านี้ว่า จะไม่เข่าไปก้าวก่าย หรือแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล มีบุคคลสำคัญระดับเลขาธิการพรรค เคยถูก ป.ป.ช.ชี้มูลมาแล้ว พรรคก็ยอมรับผลการตัดสินครั้งนั้นโดยดุษฏี ซึ่งผิดกับยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เข่าไปก้าวก่าย แทรกแซง และครอบงำ องค์กรอิสระต่างๆ จนทำงานไม่ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ย.49
ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพการทำหน้าที่ของกันและกัน โดยเชื่อว่าการชี้มูลของ ป.ป.ช. คงเป็นแค่ข้อกล่าวหาเบื้องต้น ที่ผู้ถูกชี้มูลต่างมีสิทธิต่อสู้ตามกระบวนการของกฏหมายอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ควรออกมาตีโพยตีพาย โวยวาย สร้างความสับสนให้สังคม ทางที่ดีควรเตรียมตัวสู้ตามสิทธิ ตามกระบวนการ ซึ่งจะเป็นแบบอย่างและบรรทัดฐานให้กับสังคมไทยต่อไป
**“สุชาติ”ล่องหนจากภาค4-หลบหน้าเข้ากรุง
ที่ จ.ขอนแก่น วานนี้ ((8 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่กองบังคับการตำรวจภูธรภาค 4 จังหวัดขอนแก่น เพื่อขอสัมภาษณ์ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.ภาค 4 หลังจาก ป.ป.ช.มีมติ 8 ต่อ 1 ว่าการกระทำของ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.ภาค 4 อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ตามแผน“กรกฎ 48” ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของพันธมิตรฯ ด้วยแก๊สน้ำตาวันที่ 7 ตุลาฯ51 ได้ปฏิบัติหน้าที่เกินกว่าเหตุทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จึงต้องรับผิดชอบการผลักดันผู้ชุมนุมทั้งหมดทุกสถานการณ์ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานทำร้ายประชาชนในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงและกระทำหรือละเว้นการกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เสียหาย แก่ราชการอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 79 (3) (5) (6) และมีมูลความผิดทางอาญาตามมาตรา 157
เมื่อไปถึงผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่า พล.ต.ท.สุชาติ ไม่ได้อยู่ในพื้นที่โดยเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครตั้งแต่เช้าวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมาเพื่อปฏิบัติราชการเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ขณะที่บรรยากาศด้านหน้ากองบังคับการตำรวจภูธรภาค 4 เป็นไปอย่างเงียบเหงา