ปัจจุบันต้องยอมรับว่าภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย มีอัตราการชะลอตัวลงอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยยอดการส่งออกสินค้าไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 6.82 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 23.5% ส่วนนำเข้า 6 เดือนแรกมูลค่า 5.72 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 35.4% โดยในช่วง 6 เดือนแรกไทยเกินดุล 1.09 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
สถานการณ์การส่งออกที่ยังคงขยายตัวติดลบ ไม่ใช่มีเพียงแค่ประเทศไทยประเทศเดียว แต่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกที่เป็นประเทศผู้ส่งออกต่างก็ประสบปัญหาการส่งออกชะลอตัวเช่นเดียวกัน แต่การส่งออกของไทยเริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นว่า การส่งออกน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังจะฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง
ผลจากการที่ส่งออกที่ยังคงสามารถประคองตัวได้ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจประเทศคู่ค้า เกิดภาวะวิกฤตนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่กระทรวงพาณิชย์ได้อัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกอย่างเต็มที่ ทั้งการรักษาตลาดหลัก และการบุกเจาะตลาดใหม่ พร้อมกับได้มีการนำมาตรการใหม่ๆ ในการกระตุ้นการส่งออกมาใช้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมไปถึงการนำข้อมูลทางการค้าต่างๆ มาชี้แจงให้กับผู้ส่งออกของไทย เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจในการส่งออก
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า สถานการณ์การส่งออกปัจจุบันที่อยู่ในภาวะชะลอตัว กรมฯ ได้เล็งเห็นว่าระบบข้อมูลการค้าเป็นเรื่องสำคัญในอันดับต้น แต่เนื่องจากข้อมูลมีความหลากหลาย ประกอบกับความต้องการของผู้รับบริการแตกต่างกัน กรมฯ จึงได้เพิ่มช่องทางการให้บริการเพื่อที่ผู้มาติดต่อจะได้รับความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ดำเนินธุรกิจส่งออกอยู่แล้วและต้องการข้อมูลเชิงลึก โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อผ่านสายด่วน 1169 ซึ่งมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก โดยได้ปรับระบบการให้ข้อมูล เพื่อให้ภาคเอกชนที่ต้องการทราบข้อมูลต่างๆ สามารถติดต่อกับกรมส่งเสริมการส่งออกได้โดยตรง
สำหรับข้อมูลที่ได้มีการจัดหมวดหมู่ และเปิดให้บริการกับผู้ส่งออก ได้แก่
ข้อมูลด้านการตลาด เช่น กฏระเบียบทั่วไปในการนำเข้าสินค้า สถิติการนำเข้าส่งออก ช่องทางการจำหน่ายสินค้า Country profile รายงานจากต่างประเทศ สามารถติดต่อได้ที่ สำนักพัฒนาการตลาดต่างประเทศ โทร. 02-513-7602 email intmk@depthai.go.th
ข้อมูลรายสินค้า การร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขาย คณะผู้แทนการค้า งานแสดงสินค้า กฏระเบียบการนำเข้าและอัตราภาษีนำเข้าเป็นรายสินค้า สามารถติดต่อได้ที่
- สำนักบริการส่งออก 1 (สินค้าอาหารและไลฟ์สไตล์) โทร. 02-511-6002 Email esdep@depthai.go.th
- สำนักบริการส่งออก 2 (สินค้าแฟชั่นและอุตสาหกรรมหนัก) โทร. 02-513-3036 Email tfdep@depthai.go.th
- สำนักส่งเสริมธุรกิจบริการ (ธุรกิจบริการ) โทร. 02-513-4521 Email services@depthai.go.th
ข้อมูลการค้าทั่วไป สามารถติดต่อได้ที่สำนักให้คำปรึกษาธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบการยังไม่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ หรือผ่านสายด่วน 1169 Email marks@depthai.go.th
สำหรับข้อมูลการส่งออก ทั้งในเรื่องตลาด สินค้า และกิจกรรม ภาคเอกชนสามารถค้นหารายละเอียดเบื้องต้นได้ที่ www.depthai.go.th
นอกจากนี้ เพื่อรักษาประสิทธิภาพในการให้บริการ กรมส่งเสริมการส่งออกขอความร่วมมือภาคเอกชนในกรณีที่ได้รับบริการไม่เป็นที่พอใจ ขอให้แจ้งมายังศูนย์รับเรื่องร้องเรียน หมายเลขโทรศัพท์ 1169 หรือ Email marks@depthai.go.th หรือสามารถส่งตรงมายังอธิบดีได้ที่ Email rachane@depthai.go.th อีกทางหนึ่งด้วย โดยขอให้แจ้งชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน เพื่อกรมส่งเสริมการส่งออกจะได้ทำการตรวจสอบและติดต่อกลับโดยทันที
นับเป็นอีกหนึ่งบริการดีๆ ที่กรมส่งเสริมการส่งออกได้เปิดให้บริการเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ส่งออกไทยสามารถฝ่าวิกฤตการส่งออกในครั้งนี้ แต่หากใครที่ยังติดใจหรือมีข้อสงสัยอะไร ก็สามารถสอบถามไปได้ เพราะการปรับตัวสู้ศึกการส่งออกในภาวะที่ตลาดส่งออกจำกัด หากใครรู้ข้อมูลก่อน เข้าถึงข้อมูลได้ก่อน ก็จะชิงความได้เปรียบได้ก่อน และจะประสบความสำเร็จในการส่งออกได้ก่อน
สถานการณ์การส่งออกที่ยังคงขยายตัวติดลบ ไม่ใช่มีเพียงแค่ประเทศไทยประเทศเดียว แต่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกที่เป็นประเทศผู้ส่งออกต่างก็ประสบปัญหาการส่งออกชะลอตัวเช่นเดียวกัน แต่การส่งออกของไทยเริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นว่า การส่งออกน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังจะฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง
ผลจากการที่ส่งออกที่ยังคงสามารถประคองตัวได้ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจประเทศคู่ค้า เกิดภาวะวิกฤตนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่กระทรวงพาณิชย์ได้อัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกอย่างเต็มที่ ทั้งการรักษาตลาดหลัก และการบุกเจาะตลาดใหม่ พร้อมกับได้มีการนำมาตรการใหม่ๆ ในการกระตุ้นการส่งออกมาใช้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมไปถึงการนำข้อมูลทางการค้าต่างๆ มาชี้แจงให้กับผู้ส่งออกของไทย เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจในการส่งออก
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า สถานการณ์การส่งออกปัจจุบันที่อยู่ในภาวะชะลอตัว กรมฯ ได้เล็งเห็นว่าระบบข้อมูลการค้าเป็นเรื่องสำคัญในอันดับต้น แต่เนื่องจากข้อมูลมีความหลากหลาย ประกอบกับความต้องการของผู้รับบริการแตกต่างกัน กรมฯ จึงได้เพิ่มช่องทางการให้บริการเพื่อที่ผู้มาติดต่อจะได้รับความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ดำเนินธุรกิจส่งออกอยู่แล้วและต้องการข้อมูลเชิงลึก โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อผ่านสายด่วน 1169 ซึ่งมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก โดยได้ปรับระบบการให้ข้อมูล เพื่อให้ภาคเอกชนที่ต้องการทราบข้อมูลต่างๆ สามารถติดต่อกับกรมส่งเสริมการส่งออกได้โดยตรง
สำหรับข้อมูลที่ได้มีการจัดหมวดหมู่ และเปิดให้บริการกับผู้ส่งออก ได้แก่
ข้อมูลด้านการตลาด เช่น กฏระเบียบทั่วไปในการนำเข้าสินค้า สถิติการนำเข้าส่งออก ช่องทางการจำหน่ายสินค้า Country profile รายงานจากต่างประเทศ สามารถติดต่อได้ที่ สำนักพัฒนาการตลาดต่างประเทศ โทร. 02-513-7602 email intmk@depthai.go.th
ข้อมูลรายสินค้า การร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขาย คณะผู้แทนการค้า งานแสดงสินค้า กฏระเบียบการนำเข้าและอัตราภาษีนำเข้าเป็นรายสินค้า สามารถติดต่อได้ที่
- สำนักบริการส่งออก 1 (สินค้าอาหารและไลฟ์สไตล์) โทร. 02-511-6002 Email esdep@depthai.go.th
- สำนักบริการส่งออก 2 (สินค้าแฟชั่นและอุตสาหกรรมหนัก) โทร. 02-513-3036 Email tfdep@depthai.go.th
- สำนักส่งเสริมธุรกิจบริการ (ธุรกิจบริการ) โทร. 02-513-4521 Email services@depthai.go.th
ข้อมูลการค้าทั่วไป สามารถติดต่อได้ที่สำนักให้คำปรึกษาธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบการยังไม่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ หรือผ่านสายด่วน 1169 Email marks@depthai.go.th
สำหรับข้อมูลการส่งออก ทั้งในเรื่องตลาด สินค้า และกิจกรรม ภาคเอกชนสามารถค้นหารายละเอียดเบื้องต้นได้ที่ www.depthai.go.th
นอกจากนี้ เพื่อรักษาประสิทธิภาพในการให้บริการ กรมส่งเสริมการส่งออกขอความร่วมมือภาคเอกชนในกรณีที่ได้รับบริการไม่เป็นที่พอใจ ขอให้แจ้งมายังศูนย์รับเรื่องร้องเรียน หมายเลขโทรศัพท์ 1169 หรือ Email marks@depthai.go.th หรือสามารถส่งตรงมายังอธิบดีได้ที่ Email rachane@depthai.go.th อีกทางหนึ่งด้วย โดยขอให้แจ้งชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน เพื่อกรมส่งเสริมการส่งออกจะได้ทำการตรวจสอบและติดต่อกลับโดยทันที
นับเป็นอีกหนึ่งบริการดีๆ ที่กรมส่งเสริมการส่งออกได้เปิดให้บริการเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ส่งออกไทยสามารถฝ่าวิกฤตการส่งออกในครั้งนี้ แต่หากใครที่ยังติดใจหรือมีข้อสงสัยอะไร ก็สามารถสอบถามไปได้ เพราะการปรับตัวสู้ศึกการส่งออกในภาวะที่ตลาดส่งออกจำกัด หากใครรู้ข้อมูลก่อน เข้าถึงข้อมูลได้ก่อน ก็จะชิงความได้เปรียบได้ก่อน และจะประสบความสำเร็จในการส่งออกได้ก่อน