ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”ยอมถอย เลิกดันคืนภาษีมุมน้ำเงินช่วยเหลือผู้ส่งออก หลังประเมินแล้วทำได้ยาก หันใช้มาตรการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาผลิตส่งออกแทน เพราะทำได้ทันที เตรียมหารือคลังภายในสัปดาห์นี้ เชื่อไม่กระทบการเก็บภาษี เหตุลดให้เฉพาะกลุ่มที่ไม่ได้คืนตามมาตรา 19 ทวิ จับตาแถลงส่งออกก.ค.วันนี้ มูลค่าสูงสุดในรอบปีแต่ยังติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน วันนี้ (19 ส.ค.) นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ จะไม่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณามาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกด้วยการคืนภาษีมุมน้ำเงิน 3-5% จากเดิมที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม เพราะหลังจากหารือกับกระทรวงการคลังแล้วไม่เห็นด้วย อีกทั้งหากจะใช้มาตรการนี้จริง กระทรวงการคลังจะต้องแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งจะยุ่งยากมากและใช้เวลานาน ที่สำคัญต้องพิจารณาต้นทุนเป็นรายสินค้า ซึ่งจะใช้เวลานานเช่นกัน และไม่ทันต่อการให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออก ประกอบกับยังผิดหลักเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (WTO) และอาจทำให้ประเทศคู่ค้าฟ้องร้องไทยได้
ส่วนแนวทางในการให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออก กระทรวงพาณิชย์จะหารือกับกระทรวงการคลังอีกครั้งภายในสัปดาห์นี้ เพื่อใช้มาตรการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาผลิตเพื่อส่งออกแทนการคืนภาษีมุมน้ำเงิน เพราะเป็นมาตรการที่ใช้ได้ทันที ไม่ต้องแก้ไขกฎหมายให้ยุ่งยาก และไม่ผิดกฎ WTO โดยคาดว่า จะลดในทุกกลุ่มสินค้า
และรัฐจะเสียรายได้เฉพาะกลุ่มวัตถุดิบที่อยู่นอกเหนือการคืนภาษีตามมาตรา 19 ทวิเท่านั้น
“นางพรทิวาได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการส่งออกทำหนังสือไปยังสมาคมการค้าต่างๆ และผู้ส่งออกในแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบ อุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนต่างๆ ที่นำมาผลิตเพื่อส่งออก รวมถึงอัตราภาษีนำเข้าที่ต้องเสีย เพื่อประกอบการจัดทำมาตรการดังกล่าว จากนั้นจะมีการหารือกับผู้ส่งออกเพื่อกำหนดแนวทางและอัตราการลดภาษีนำเข้าที่ผู้ส่งออกจะได้ประโยชน์ และไม่กระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในระยะยาวอีกครั้ง คาดว่า จะได้ข้อสรุปภายใน 1 เดือนนี้ หรือไม่เกินเดือนต.ค.นี้ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังแล้ว กระทรวงพาณิชย์จะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป”รายงานข่าวระบุ
ทั้งนี้ หากรัฐบาลใช้มาตรการนี้จริง จะทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในปีนี้ติดลบ 10% ถึงลบ 13% จากเดิมที่คาดว่า หากรัฐบาลไม่ช่วยเหลือภาคส่งออกจะติดลบ 18% ถึงลบ 20% แน่นอน
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า การประกาศตัวเลขส่งออกสินค้าไทยเดือนก.ค.2552 ที่กระทรวงพาณิชย์จะแถลงในวันนี้ (19 ส.ค.) คาดว่า การส่งออกจะมีมูลค่าสูงสุดในรอบปีนี้ แต่มีแนวโน้มติดลบในอัตราสูงเช่นกัน เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขส่งออกเดือนก.ค.2551 ซึ่งขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือเพิ่มขึ้น 45.05% มูลค่า 17,300 ล้านเหรียญสหรัฐ จะทำให้การส่งออกในเดือน ก.ค.ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นพบว่าทุกกลุ่มสินค้า ทั้งเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรม เช่น อาหาร กุ้ง ไก่ น้ำตาล มีการส่งออกเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี ยกเว้นกลุ่มรถยนต์และส่วนประกอบ ที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัว
“หลังจากนี้ไป จะได้เห็นสัญญาณการส่งออกที่เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นทุกเดือนในช่วงครึ่งปีหลัง เพราะจากการสอบถามผู้ส่งออกหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ต่างบอกว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้ากลับมาแล้ว หลังจากเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟื้นตัว เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน ที่จีดีพีไตรมาส 2 เป็นบวก ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของการส่งออกสินค้าไทย”รายงานข่าวระบุ
สำหรับการส่งออกสินค้าไทยในปีหน้า กระทรวงพาณิชย์ จะประชุมร่วมกับทูตพาณิชย์ ในเดือนก.ย.นี้ เพื่อประเมินเป้าหมายการส่งออก ซึ่งอาจปรับเพิ่มเป้าหมายใหม่ จากเดิมที่คาดว่าปี 2553 จะขยายตัว 12-15% เพราะสัญญาณเศรษฐกิจโลกเริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน วันนี้ (19 ส.ค.) นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ จะไม่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณามาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกด้วยการคืนภาษีมุมน้ำเงิน 3-5% จากเดิมที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม เพราะหลังจากหารือกับกระทรวงการคลังแล้วไม่เห็นด้วย อีกทั้งหากจะใช้มาตรการนี้จริง กระทรวงการคลังจะต้องแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งจะยุ่งยากมากและใช้เวลานาน ที่สำคัญต้องพิจารณาต้นทุนเป็นรายสินค้า ซึ่งจะใช้เวลานานเช่นกัน และไม่ทันต่อการให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออก ประกอบกับยังผิดหลักเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (WTO) และอาจทำให้ประเทศคู่ค้าฟ้องร้องไทยได้
ส่วนแนวทางในการให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออก กระทรวงพาณิชย์จะหารือกับกระทรวงการคลังอีกครั้งภายในสัปดาห์นี้ เพื่อใช้มาตรการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาผลิตเพื่อส่งออกแทนการคืนภาษีมุมน้ำเงิน เพราะเป็นมาตรการที่ใช้ได้ทันที ไม่ต้องแก้ไขกฎหมายให้ยุ่งยาก และไม่ผิดกฎ WTO โดยคาดว่า จะลดในทุกกลุ่มสินค้า
และรัฐจะเสียรายได้เฉพาะกลุ่มวัตถุดิบที่อยู่นอกเหนือการคืนภาษีตามมาตรา 19 ทวิเท่านั้น
“นางพรทิวาได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการส่งออกทำหนังสือไปยังสมาคมการค้าต่างๆ และผู้ส่งออกในแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบ อุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนต่างๆ ที่นำมาผลิตเพื่อส่งออก รวมถึงอัตราภาษีนำเข้าที่ต้องเสีย เพื่อประกอบการจัดทำมาตรการดังกล่าว จากนั้นจะมีการหารือกับผู้ส่งออกเพื่อกำหนดแนวทางและอัตราการลดภาษีนำเข้าที่ผู้ส่งออกจะได้ประโยชน์ และไม่กระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในระยะยาวอีกครั้ง คาดว่า จะได้ข้อสรุปภายใน 1 เดือนนี้ หรือไม่เกินเดือนต.ค.นี้ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังแล้ว กระทรวงพาณิชย์จะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป”รายงานข่าวระบุ
ทั้งนี้ หากรัฐบาลใช้มาตรการนี้จริง จะทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในปีนี้ติดลบ 10% ถึงลบ 13% จากเดิมที่คาดว่า หากรัฐบาลไม่ช่วยเหลือภาคส่งออกจะติดลบ 18% ถึงลบ 20% แน่นอน
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า การประกาศตัวเลขส่งออกสินค้าไทยเดือนก.ค.2552 ที่กระทรวงพาณิชย์จะแถลงในวันนี้ (19 ส.ค.) คาดว่า การส่งออกจะมีมูลค่าสูงสุดในรอบปีนี้ แต่มีแนวโน้มติดลบในอัตราสูงเช่นกัน เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขส่งออกเดือนก.ค.2551 ซึ่งขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือเพิ่มขึ้น 45.05% มูลค่า 17,300 ล้านเหรียญสหรัฐ จะทำให้การส่งออกในเดือน ก.ค.ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นพบว่าทุกกลุ่มสินค้า ทั้งเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรม เช่น อาหาร กุ้ง ไก่ น้ำตาล มีการส่งออกเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี ยกเว้นกลุ่มรถยนต์และส่วนประกอบ ที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัว
“หลังจากนี้ไป จะได้เห็นสัญญาณการส่งออกที่เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นทุกเดือนในช่วงครึ่งปีหลัง เพราะจากการสอบถามผู้ส่งออกหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ต่างบอกว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้ากลับมาแล้ว หลังจากเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟื้นตัว เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน ที่จีดีพีไตรมาส 2 เป็นบวก ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของการส่งออกสินค้าไทย”รายงานข่าวระบุ
สำหรับการส่งออกสินค้าไทยในปีหน้า กระทรวงพาณิชย์ จะประชุมร่วมกับทูตพาณิชย์ ในเดือนก.ย.นี้ เพื่อประเมินเป้าหมายการส่งออก ซึ่งอาจปรับเพิ่มเป้าหมายใหม่ จากเดิมที่คาดว่าปี 2553 จะขยายตัว 12-15% เพราะสัญญาณเศรษฐกิจโลกเริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ